Skip to main content
sharethis

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานสถาบันปรีดี พนมยงค์ และอดีตผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนานโยบายสาธารณะ สํานักนายกรัฐมนตรี

22 มี.ค. 2563 นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานสถาบันปรีดี พนมยงค์ และอดีตผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนานโยบายสาธารณะ สํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงมาตรการปิดห้างสรรพสินค้า ปิดร้านอาหาร ปิดสถานบันเทิง ปิดสถาบันการศึกษา และยกเลิกกิจกรรมที่มีการชุมนุมของคนจํานวนมากเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ว่าเป็นมาตรการที่มีความจําเป็นต่อการควบคุมการแพร่ระบาด แต่ปัญหาคือการสื่อสารของรัฐที่จะต้องมีการชัดเจน ไม่สับสนเพื่อทําให้เกิดความร่วมมือต่อมาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดดังกล่าว มาตรการเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพเมื่อรัฐบาลต้องมีมาตรการหรือนโยบายอื่นๆในการสนับสนุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดให้ได้มากที่สุดและลดผลกระทบทางเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด การออกมาตรการต่างๆแบบไม่บูรณาการกันจะทําให้ได้ผลตรงกันข้ามกับทีตั้งเป้าหมาย การหยุดและสั่งให้ปิดกิจการต่างๆ โดยไม่ชดเชยรายได้ทําให้ คนจํานวนมาก กลับต่างจังหวัด และทําให้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคอาจมีความซับซ้อนมากขึ้นในขอบเขตทั่วประเทศมาตรการต่างๆที่ออกมาจะต้องบูรณาการกันและต้องมีความละเอียดรอบคอบรัดกุม การประกาศปิดพื้นที่เสี่ยงในกรุงเทพและปริมณฑล 22 ประเภทกิจการทําให้แรงงานนอกระบบจํานวนมากมีความเสี่ยงที่จะถูกเลิกจ้าง สูญเสียรายได้ชั่วคราว (กรณีลูกจ้างรายวัน) และ อาจนํามาสู่การสูญเสียรายได้ยาวนานหรือถาวรหากเศรษฐกิจถดถอยยาวนาน แรงงานจํานวนมากจะทะยอยกลับภูมิลําเนาในต่างจังหวัด เกิดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของโรค COVID-19 จากพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการติดเชื้อมากที่สุด ไปยังพื้นที่อื่นๆ ของประเทศซึ่งบางจังหวัดยังคงเป็นพื้นที่ปลอดเชื้อ 

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการและผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนานโยบายสาธารณะ สํานักนายกรัฐมนตรีจึงมีข้อเสนอและมาตรการเพิ่มเติมเพื่อให้ตอบสนองต่อพลวัตของวิกฤตการณ์ทั้งในไทยและในต่างประเทศที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคตดังต่อไปนี้โดยมีข้อเสนอ 4 ประการเพื่อให้สามารถควบคุมโรค COVID-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งลดผลกระทบความยากลําบากที่เกิดขึ้นกับประชาชนและผู้ประกอบการ ดังต่อไปนี้

1. การมีมาตรการชดเชยรายได้ให้กับผู้ใช้แรงงานโดยเฉพาะลูกจ้างรายวัน แรงงานนอกระบบ และ การชดเชยรายได้ให้กับผู้ประกอบการ

1.1 การมีมาตรการชดเชยรายได้ให้กับผู้ใช้แรงงานโดยเฉพาะลูกจ้างรายวัน แรงงานนอกระบบลูกจ้างรายวันและแรงงานนอกระบบที่ต้องหยุดงานและสูญเสียรายได้ต้องได้รับการชดเชยรายได้จากการทํางานไม่ตํ่ากว่า 30-50% ของรายได้ให้กับทุกคนในช่วงที่มีการปิดงานจากมาตรการของรัฐ ลูกจ้างเหล่านี้ที่มีภาระหนี้สินในระบบสถาบันการเงินให้มีการยืดการชําระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยออกไปก่อนประมาณ 6 เดือน หากเป็นลูกหนี้สถาบันการเงินของรัฐสามารถดําเนินการได้เลย หากเป็นลูกหนี้สถาบันการเงินเอกชนให้รัฐปล่อยเงินทุนดอกเบี้ยตํ่าเป็นพิเศษเพื่อให้สถาบันการเงินเอกชนคิดดอกเบี้ยตํ่าพิเศษให้กับลูกจ้างรายวันและแรงงานนอกระบบสําหรับแรงงานในระบบนั้นผลกระทบจะน้อยกว่าเพราะมีกฎหมายคุ้มครองที่ขยายความคุ้มครองเพิ่มเติมและเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีการว่างงานของสํานักงานประกันสังคมเป็นหลักประกันอยู่ คณะกรรมการและอนุกรรมการที่ทําหน้าที่ดังกล่าวได้ทํางานในเชิงรุกและรับมือกับสถานการณ์ได้ดีอันเป็นผลจากการผลักดันการจัดตั้งอนุกรรมการชุดต่างๆในช่วงที่ ท่านหม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ และ ท่านจรินทร์ จักกะพากเป็นปลัดกระทรวงแรงงานและประธานคณะกรรมการสํานักงานประกันสังคมตามลําดับ 

ตนเป็นห่วงในส่วนของแรงงานนอกระบบและลูกจ้างรายวันอย่างมาก แรงงานในระบบแม้นจะเผชิญความยากลําบากทางเศรษฐกิจเพิมขึ้น แต่ตนเชื่อว่าจะสามารถประคับประคองตัวเองไปได้จนกว่าจะพ้นวิกฤตการณ์ COVID-19 ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างในระบบที่ได้รับผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 และผลกระทบจากมาตรการของรัฐ หรือต้องว่างงานจากปัจจัยอื่นๆไม่ว่าจะเป็น การว่างงานตามฤดูกาล (Seasonal Unemployment) ว่างงานจากโครงสร้างเศรษฐกิจ (Structural Unemployment) ว่างงานจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยย่อมได้รับการคุ้มครองของกฎหมายแรงงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานแก้ไขใหม่ โดยจะได้รับการชดเชยกรณีถูกเลิกจ้าง 30-400 วันของค่าจ้างขึ้นอยู่กับอายุงาน หากนายจ้างผิดนัดการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน นายจ้างจะต้องเสียอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี และ หากนายจ้างบอกเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าต้องจ่ายค่าชดเชยเพิ่มเติม ในกรณีที่นายจ้างมีความจําเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน เป็นการชั่วคราวด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สําคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้าง (กรณีที่เกิดขึ้นตอนนี้ คือ หยุดงานจากมาตรการรัฐเพื่อควบคุมโรค COVID-19) จนทําให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้างในวันทํางานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทํางาน หากสถานประกอบกิจการยังคงให้ลูกจ้างทํางานผ่านทางออนไลน์และเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทํางานให้เหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคระบาด นายจ้างต้องจ่ายค่าตอบแทนเต็มจํานวนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 

นอกจากนี้ล่าสุดสํานักงานประกันสังคมยังได้เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีการถูกเลิกจ้างจากผลกระทบโรค COVID-19 ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทํางาน หรือนายจ้างไม่ให้ทํางานประกันสังคมจะจ่ายกรณีว่างงาน อัตราร้อยละ50ของเพดานเงินเดือน15,000บาทเป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน กรณีหน่วยงานภาครัฐ มีคําสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว ประกันสังคมจะจ่ายกรณีว่างงาน ร้อยละ 50 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน นอกจากนี้ยังเพิ่มสิทธิประโยชน์ว่างงานจากกรณีว่างงานอื่นๆ กรณีลาออกร้อยละ 45 เพดานค่าจ้าง 15,000 บาท เป็นระยะเวลา 90 วันและกรณีถูกเลิกจ้างร้อยละ 70 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน มาตรการส่วนนี้บังคับใช้ 2 ปี มาตรการเหล่านี้ได้ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากการถูกเลิกจ้างให้กับแรงงานในระบบได้ระดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีการลดการจ่ายสมทบของนายจ้างผู้ประกันตน (ลูกจ้างในระบบ) เหลือ 4% เป็นระยะเวลา 6 เดือน และ ขยายเวลาการจ่ายเงินสมทบไปอีกสามเดือน อย่างไรก็ตาม มาตรการลักษณะนี้ขอให้ระมัดระวังผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของกองทุนประกันสังคมในอนาคตด้วย นอกจากนี้ ตนอยากให้ กระทรวงแรงงาน ติดตามสถานการณ์การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยที่อาจเกิดมากขึ้นในอนาคตจากผลของมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดโรค COVID-19

1.2 การชดเชยรายได้ให้กับผู้ประกอบการและการเข้าถึงอัตราดอกเบียตํ่ามากเป็ นพิเศษของผู้มีภาระผ่อนชําระบ้านหลังแรกหรือรถยนต์คันแรกผู้ประกอบการรายย่อย ขนาดเล็กที่มีมูลค่าทางธุรกิจตํ่ากว่า 3 ล้านบาทและได้รับผลกระทบจากมาตรการรัฐในการควบคุมโรค COVID-19 และได้แสดงถึงความพยายามในการทําให้ “ลูกจ้าง” ยังคงมีงานทําด้วยวิธีการต่างๆ ขอให้รัฐบาลสนับสนุนเงินทุนไม่มีดอกเบียให้กับกิจการเหล่านี้เป็นระยะเวลา 6 เดือนถึง 1 ปี และควรใช้มาตรการทางการเงินเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงอัตราดอกเบียตํ่ามากเป็นพิเศษของผู้มีภาระผ่อนชําระบ้านหลังแรกหรือรถยนต์คันแรก ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยเหลือประชาชนทีมีภาระหนี้สินและไม่มีงานทําหรือขาดรายได้ รวมทั้งเป็นการช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการขนาดกลางขนาดเล็กทางด้านอสังหาริมทรัพย์และกิจการเกี่ยวกับการซือขายรถยนต์ โดยขอให้ยกเลิกและทบทวนแนวคิดในการจัดตั้งกองทุนพยุงหุ้นและเอาเม็ดเงินจากกองทุนดังกล่าวมาใช้ตามมาตรการที่ ตนเสนอแทนการประคับประคองไม่ให้เศรษฐกิจทรุดลงด้วยการช่วยเหลือประชาชนและกิจการขนาดเล็กจะส่งผลทําให้กิจการและธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ได้ประโยชน์ไปด้วย ราคาหลักทรัพย์และดัชนีตลาดหลักทรัพย์ก็จะปรับตัวในทิศทางดีขึ้นในอนาคต การหยุดความตืนตระหนกใน การเทขายหุ้นและ Negative Wealth Effect ทีเกิดจากการลดลงของราคาหุ้นอย่างรุนแรง ควรใช้มาตรการการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบลดความผันผวน มากกว่าใช้เงินสาธารณะมาพยุงหุ้นการชดเชยรายได้ให้กับบุคคลและกิจการทีต้องการความช่วยเหลือจะช่วยลดการเคลื่อนย้ายของประชากรทีอาจนําไปสู่ความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ไปทั่วประเทศ

2. ให้รัฐบาลทบทวนการจัดสรรงบประมาณปี 2563 และ ปี 2564 โดยลดรายจ่ายที่ไม่จําเป็นและเลื่อนการใช้จ่ายบางอย่างไปก่อนโดยเฉพาะเรื่องการจัดซื้ออาวุธและการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่สามารถเลื่อนไปได้อีก 1-2 ปี โดยให้นําเอางบประมาณส่วนนี้มาช่วยเหลือประชาชนและกิจการที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและผลกระทบจากโรค COVID-19 และนําไปใช้ในกิจการสาธารณสุข ฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวลงทุนในโครงการที่ก่อให้เกิดการจ้างงานในวงกว้าง นอกจากการจัดสรรงบประมาณใหม่แล้ว รัฐบาลต้องไปปรับสมมติฐานในการจัดทํางบประมาณใหม่อีกด้วยเพราะสมมติฐานที่คาดการณ์ว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 3-4 นั้นเป็นไปไม่ได้ และไม่มีอภินิหารใดๆหรือปัจจัยที่จะทําให้เศรษฐกิจในปี 2563 ขยายตัวเป็นบวกได้ฉะนั้นการจัดทํางบประมาณต้องเริ่มต้นด้วยการยอมรับความจริงและตั้งสมมติฐานให้ใกล้เคียงความจริงด้วย เมื่อค่อนข้างชัดเจนว่า เศรษฐกิจปีนี้จะหดตัวและติดลบแล้ว รัฐบาลต้องจัดทําขาดดุลงบประมาณเพิ่มเป็น 7% ของจีดีพีในปีงบประมาณปี 2563-2564 และต้องทํางบประมาณขาดดุลเพิ่มเติมอีกไม่ตํ่ากว่า 6 แสนล้านถึง 8 แสนล้านบาทจากการขาดดุลอยู่แล้วในปี พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564 ที่ระดับ 4.69 แสนล้านและ 5.2 แสนล้านบาท ตามลําดับ

หากติดกรอบวินัยการเงินการคลังเกี่ยวกับเพดานการก่อหนี้เมื่อเทียบกับเงินงบประมาณ ให้เพิ่มขนาดของงบประมาณจากระดับ 3.2-3.3 ล้านล้านให้ขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 3.5-3.8 ล้านล้านบาท และเพิ่มรายได้ภาครัฐด้วยการปรับเงื่อนไขสัมปทานต่างๆที่รัฐบาลชุดนี้ถูกวิจารณ์เรื่องเอื้อกลุ่มทุนขนาดใหญ่ทั้งในประเทศและกลุ่มทุนข้ามชาติให้จ่ายผลประโยชน์เพิ่มเติมให้รัฐบาลเพิ่มเติมในระยะ -5 ปีข้างหน้าและปรับลดการจ่ายผลประโยชน์ในระยะต่อไปเพื่อชดเชยโดยนําหลักการมูลค่าปัจจุบัน (Present Value) มาคํานวณเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จําเป็นและค่าใช้จ่ายฟุ่ มเฟื อยต่างของรัฐบาล ลดการทุจริตคอร์รัปชันรั่วไหลลง ยกระดับประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจเพื่อให้หารายได้ส่งรัฐบาลได้เพิ่มขึ้น เพื่อให้ได้เม็ดเงินงบประมาณเพิ่มเติมเข้ามาเพื่อดูแลเศรษฐกิจและความเดือดร้อนของประชาชนไม่ตํ่ากว่า 3-5 แสนล้านบาท

3. เสนอให้ คณะกรรมการกําหนดนโยบายทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ให้สูงกว่า 0.50% และ ธนาคารแห่งประเทศไทยควรตัดสินใจใช้นโยบาย QE หรือ กึ่ง QE นับจากนี้ไปเป็นระยะเวลา 1 ปีนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษเป็นเพียงมาตรการที่ช่วยประคับประคองเศรษฐกิจเท่านั้น แต่เป็นนโยบายที่จําเป็นเบื้องต้นที่ต้องนํามาใช้แต่ไม่เพียงพอในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและบรรเทาความยากลําบากทางเศรษฐกิจ ต้องอาศัยนโยบายอื่นๆสนับสนุน เนื่องจากตนเชื่อว่าจะเกิดภาวะ liquidity trap หรือกับดักสภาพคล่องอย่างแน่นอน แต่การกดอัตราดอกเบี้ยให้ตํ่าจะช่วยให้การดําเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลเพิ่มเติมมีข้อจํากัดเรื่องต้นทุนน้อยลง รัฐบาลสามารถกู้เงินระยะยาวเพื่อนํามากระตุ้นการลงทุนโดยรัฐ สร้างรายได้และการจ้างงานโดยไม่ก่อให้เกิด Crowding out effect หรือแย่งเม็ดเงินภาคเอกชนแล้วทําให้ จีดีพี ไม่เพิ่มขึ้น แต่ขอให้ระมัดระวังการแสวงหาประโยชน์เพื่อพวกพ้องและเครือข่ายโดยผู้มีอํานาจที่อาจจะเพิ่มขึ้นในภาวะวิกฤติเนื่องจากมี “นักฉวยโอกาสที่อยู่ในคราบของนักการเมืองหรือข้าราชการ” มากกว่า “ข้าราชการมืออาชีพหรือนักการเมืองเพื่อประชาชน” นโยบายสาธารณะหรือมาตรการบางอย่างที่ตนได้นําเสนอจะทําได้ดีเมื่อมีรัฐบาลที่มีความสามารถและเป็นรัฐบาลของประชาชน มาจากประชาชนและทําเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง

4. ให้นําเงินงบประมาณมาดูแลสุขภาพของคนไทย และปรับชุดทักษะการทํางาน skill set ของแรงงานตามความต้องการของผู้ประกอบการรายเล็ก และ SME สําหรับธุรกิจของอนาคตในทุกจังหวัดที่แต่ละจังหวัดต้องช่วยคิดขึ้นมาภายใต้หลักการมีส่วนร่วม หลักการประชาธิปไตย ไม่ใช่เกิดจากการสั่งการของอํานาจจากส่วนกลาง

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานสถาบันปรีดี พนมยงค์ กล่าวห่วงใยถึง สภาวะการขาดแคลนสินค้าบางชนิดที่อาจเกิดขึ้นได้ในปัจจุบันและอนาคต ว่าภาวะการขาดแคลนสินค้าบางประเภทรวมทั้งอาหารบางชนิดอาจเกิดขึ้นได้แม้นกําลังการผลิตในประเทศยังมีอยู่อย่างเพียงพอก็ตาม เนื่องจากภาวะชะงักงันในการผลิตสินค้าบางประเภทในหลายประเทศจากมาตรการปิดเมือง ปิดประเทศ ทําให้ความต้องการและอุปสงค์ในตลาดโลกของสินค้าบางประเภท ยาและอาหารบางชนิดเพิ่มขึ้นแบบฉับพลัน นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของโรคที่เป็น Global Pandemic ทําให้อุปกรณ์ป้องกันการแพร่ระบาด ยาบรรเทาอาการของโรคอุปกรณ์ทางแพทย์ สถานบริการทางการแพทย์ไม่เพียงพอ อุปสงค์หรือความต้องการต่อสิ่งเหล่านี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น การผลิตเพื่อตอบสนองไม่สามารถทําได้ทันกับความต้องการใช้ ขณะเดียวกัน การที่ทุกประเทศต้องดูแลประชากรของประเทศตัวเองก่อนทําให้การไหลเวียนของสินค้าและบริการ กลไกตลาดหรือราคาไม่ทําให้เกิดประสิทธิภาพในการปรับสมดุลของอุปสงค์และอุปทานได้ในระยะสั้น มีแรงเสียดทานจากกฎระเบียบต่างๆเพื่อมุ่งตอบสนองความต้องการภายใน ซึ่งผู้เกี่ยวข้องต้องคอยติดตามพัฒนาการของสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และ ต้องเตรียมที่จะนํานโยบายหรือมาตรการการแบ่งปันหรือการกําหนดโควต้าส่งออกหรือโควต้ามาใช้ในประเทศเมื่อจําเป็น เมื่อนําระบบโควตามาใช้อาจก่อให้เกิดตลาดมืดหรือการกักตุนได้ ซึ่งประเทศก็ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ไม่หลายมาตรฐาน คือ ประเทศต้องมี Rule of Law นั่นเอง

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net