166 ชื่อ-องค์กรนักวิชาการ ภาคประชาชน ย้ำ 'ปราศจากเสรีภาพย่อมปราศจากสุขภาพที่ดี'

150 รายชื่อร่วมกับ 16 องค์กรเครือข่ายนักวิชาการ ภาคประชาชน ออกแถลงการณ์ ย้ำปราศจากเสรีภาพย่อมปราศจากสุขภาพที่ดี

10 เม.ย.2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ เครือข่ายนักวิชาการ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม จำนวน 150 รายชื่อบุคคล และ 16 องค์กร ออกแถลงการณ์ "ปราศจากเสรีภาพย่อมปราศจากสุขภาพที่ดี" เรียกร้องให้รัฐ เร่งทบทวนแนวนโยบาย “สุขภาพนำเสรีภาพ” โดยปกป้องคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร และรักษาพื้นที่ของการ นำเสนอทุกข์ร้อนของประชาชน

พร้อมทั้งเรียกร้องให้องค์กรสิทธิมนุษยชนและองค์กรสื่อในระดับท้องถิ่น จนถึงระดับประเทศ ได้จับตาและเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด ถึงผลพวงที่เกิดขึ้นจากคำประกาศ “สุขภาพนำเสรีภาพ” อันอาจจะเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และเรียกร้องให้ประชาชนเชื่อมั่นในสิทธิ สวัสดิภาพในชีวิตความเป็นอยู่ และเสียงของประชาชน ซึ่งภาครัฐมีหน้าที่ปกป้อง คุ้มครอง และส่งเสริมไปพร้อมกับได้รับการดูแลด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นความมั่นคงในชีวิตอย่างไม่แยกส่วนกัน

โดยมีรายละเอียดของแถลงการณ์และรายชื่อดังนี้

 

แถลงการณ์เครือข่ายนักวิชาการ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม เรื่อง ปราศจากเสรีภาพย่อมปราศจากสุขภาพที่ดี

จากการอ้างถึง “สุขภาพนำเสรีภาพ” ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และการประกาศเคอร์ฟิว (การห้ามออกจากเคหะสถานในยามค่ำคืนตั้งแต่เวลา 22.00-04.00 น.) ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เครือข่ายนักวิชาการ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคมมีความกังวลว่าความหมายและท่าทีของนโยบาย “สุขภาพนำเสรีภาพ” กำลังก่อให้เกิดความสับสน และสร้างปัญหาทับซ้อนในการรับมือกับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ (pandemic) ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย เนื่องจากหลักการ “เสรีภาพ” เชื่อมโยงโดยตรงถึงสิทธิมนุษยชนในหลายมิติ เช่น สิทธิพลเมือง สิทธิชุมชน สิทธิในชีวิตและทรัพย์สิน สิทธิในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและบริการจากรัฐ สิทธิในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงสิทธิในการรับรู้ข่าวสาร ฯลฯ ภายใต้แนวทางการจัดการสุขภาพที่ขาดมิติเสรีภาพและไม่เคารพหลักการสิทธิมนุษยชน ย่อมจะนำไปสู่ปัญหาเชิงสุขภาพและสังคมที่หนักหน่วงยิ่งขึ้น

ดังกรณีที่สื่อ ปาตานีโนตส์ (Patani NOTES) ได้นำเสนอข่าวใน หน้าเฟซบุ๊ค (Facebook page) Patani NOTES ภายใต้หัวข้อ “กักตัวทั้งครอบครัว มีลูกสาวคนเดียวส่งข้าวส่งน้ำ” ในวันที่ 1 เมษายน 2563 ซึ่งเป็นการรายงานเรื่องราวร้องทุกข์ของครอบครัวหนึ่งในตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ที่ได้รับคำสั่งให้กักตัวภายในบ้านเป็นเวลา 14 วันโดยที่ ณ เวลานั้นยังไม่เข้าใจถึงรายละเอียดของการกักตัว หรือ มาตรการในการช่วยเหลือที่ชัดเจน จนทำให้เกิดความกังวลถึงชีวิตความเป็นอยู่และปากท้องในช่วงเวลาดังกล่าว

การนำเสนอข่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและสุขภาพของประชาชน หากในเวลาต่อมา ปาตานีโนตส์กลับถูกคุกคามและกดดันอย่างหนักจากกลุ่มบุคคลที่อ้างว่า การนำเสนอข่าวเช่นนี้เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการด้านสุขภาพของภาครัฐ จนทำให้ต้องถอดข่าวนี้ออกจากพื้นที่สื่อไปในช่วงค่ำของวันที่ 3 เมษายน 2563 

กรณีปาตานีโนตส์สะท้อนว่าแนวคิด “สุขภาพนำเสรีภาพ” นั้น ได้นำไปสู่การใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดที่ลิดรอนสิทธิของสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ประชาชนสูญเสียพื้นที่ในการร้องทุกข์ ซึ่งซ้ำเติมประชากรกลุ่มเปราะบางที่มีฐานทรัพยากรน้อย คนเหล่านี้เป็นผู้ที่ไร้สิทธิไร้เสียง (voiceless) ในสังคม การเบี่ยงประเด็นให้ปัญหาสุขภาพเป็นเพียงการควบคุมผู้คนไร้สิทธิ ไร้เสียง ยิ่งทำให้พวกเขาไม่อาจส่งเสียงความทุกข์ร้อนและปัญหาของตนเอง เนื่องจาก “เสียง” ที่ถูกส่งออกมาจะกลายเป็นสิ่งที่ขัดกับนโยบายรัฐ และจะกลายเป็นการรุกรานละเมิดความปลอดภัยและสุขภาพของส่วนรวมไปในทันที คำประกาศของนายกรัฐมนตรี ดังกล่าวจึงส่งผลกระทบต่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเปราะบาง ทำให้พวกเขาไม่มีทั้งเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน และไม่มีสุขภาพ (ที่ดี) ไปในเวลาเดียวกัน

ทั้งนี้ช่องว่างในการปฏิบัติงานหรือข้อผิดพลาดในการสื่อสาร ระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชน เป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ทั่วไปใน สภาวะวิกฤติ ความเข้าใจต่อมาตรการต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงและมี รายละเอียดเชิงเทคนิคไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่จะทำความเข้าใจในหมู่ประชาชน อีกทั้งข้อเท็จจริงในการนำเสนอข่าวควรเป็นเป็นเรื่องที่สังคมวงกว้างได้มีส่วนร่วมในการพิจารณา ทั้งยังเป็นโอกาสให้เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการได้รับทราบเสียงสะท้อนของประชาชน เพื่อเป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือการรักษาพื้นที่ส่งเสียง (voice) ความ เดือดร้อนของประชาชน เนื่องจากหากมีเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสาร ก็จะมีโอกาส "กระจายความเป็นธรรม” (distributive justice) สู่ประชาชน กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเปราะบางมากขึ้น ซึ่งเป็นการส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงความช่วยเหลือหรือบริการจากภาครัฐที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในช่วงเวลาวิกฤติ เครือข่ายนักวิชาการ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม ทั้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และในที่อื่นทั่วประเทศตามรายชื่อแนบท้ายจำนวน 116 คน และ 12 เครือข่าย/องค์กร จึงขอเรียกร้องไปยังรัฐบาล องค์กรสิทธิมนุษยชน องค์กรสื่อ และสังคมไทยดังนี้

ข้อที่ 1 ขอเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาครัฐ เร่งทบทวนแนวนโยบาย “สุขภาพนำเสรีภาพ” โดยปกป้องคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร และรักษาพื้นที่ของการ นำเสนอทุกข์ร้อนของประชาชน ซึ่งสามารถนำไปเป็นข้อมูลในการ ปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยไม่ควรมองว่าเสียงเหล่านั้นเป็นคู่ขัดแย้งหรืออุปสรรคของการทำงานจัดการวิกฤติด้านสุขภาพของภาครัฐ ซึ่งต้องการความจริงใจในการแก้ปัญหา

ข้อที่ 2 ขอเรียกร้องให้องค์กรสิทธิมนุษยชนและองค์กรสื่อในระดับท้องถิ่น จนถึงระดับประเทศ ได้จับตาและเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด ถึงผลพวงที่เกิดขึ้นจากคำประกาศ “สุขภาพนำเสรีภาพ” อันอาจจะเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เป็นข้ออ้างในเชิงการเมือง และให้ใช้กลไกสิทธิมนุษยชนทุกระดับเพื่อปกป้อง คุ้มครองเสรีภาพของสื่อ ในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร โดยมีการตอบสนองอย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์คุกคามสื่อ

ข้อที่ 3 ขอเรียกร้องให้ประชาชนเชื่อมั่นในสิทธิ สวัสดิภาพในชีวิตความเป็นอยู่ และเสียงของประชาชน ซึ่งภาครัฐมีหน้าที่ปกป้อง คุ้มครอง และส่งเสริมไปพร้อมกับได้รับการดูแลด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นความมั่นคงในชีวิตอย่างไม่แยกส่วนกัน กล่าวคือ “สุขภาพต้องการเสรีภาพ” โดยไม่อาจขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ ทั้งนี้ประชาชนพึงตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมโดยรวมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาวิกฤติเช่นนี้ด้วย

ด้วยความศรัทธาเชื่อมั่นว่า “สุขภาพต้องการเสรีภาพ”

เครือข่ายนักวิชาการ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม

รายชื่อแนบท้าย

ลงชื่อในนามบุคคล:

  1. Hara Shintaro (นักวิชาการอิสระ)
  2. กนกวรรณ มะโนรมย์ (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
  3. กรกนก คำตา (การเมืองหลังบ้าน)
  4. กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์
  5. กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช
  6. กฤษณ์พชร โสมณวัตร (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  7. กฤษณะ โชติสุทธิ์
  8. กิตติ วิสารกาญจน (มหาวิทยาลัยศิลปากร)
  9. กุสุมา กูใหญ่ (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
  10. กุสุมา จันทร์มูล (การเมืองหลังบ้าน)
  11. เกษม เพ็ญภินันท์
  12. เกษียร เตชะพีระ
  13. คมลักษณ์ ไชยยะ (มหาวิทยาลัยราชัฎพระนครศรีอยุธยา)
  14. คอรีเยาะ มานุแช (ทนายความ)
  15. คารินา โชติรวี
  16. เคท ครั้งพิบูลย์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  17. งามศุกร์ รัตนเสถียร (สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล)
  18. จารียา อรรถอนุชิต (คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  19. จุฑามาส ศรีหัตถผดุงกิจ (นักกิจกรรม)
  20. ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์
  21. ชลัท ศานติวรางคณา
  22. ชลิตา บัณฑุวงศ์ (ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  23. ชวินโรจน์ ธีรพัชรพร
  24. ชัชวาล ปุญปัน (ข้าราชการบำนาญ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  25. ชัยพงษ์ สำเนียง (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  26. ชัยพร สิงห์ดี
  27. ชาญคณิต อาวรณ์ (มหาวิทยาลัยพะเยา)
  28. ชาญณรงค์ บุญหนุน  (ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร)
  29. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
  30. ชิงชัย เมธพัฒน์  (นักวิชาการอิสระด้านมานุษยวิทยาการแพทย์)
  31. เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์
  32. ไชยันต์ รัชชกูล (คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา)
  33. ซัมซู  สาอุ (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
  34. ณภัค เสรีรักษ์
  35. ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี (มหาวิทยาลัยนครพนม)
  36. ณรรธราวุธ เมืองสุข (สื่อมวลชนอิสระ)
  37. ณัชปกร นามเมือง (iLaw)
  38. ณัฐดนัย นาจันทร์
  39. ณัฐดนัย นาจันทร์
  40. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  41. เดชรัต สุขกำเนิด (นักวิชาการเศรษฐศาสตร์)
  42. ตะวัน วรรณรัตน์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร)
  43. ถนอม ชาภักดี
  44. ทวีศักดิ์ ปิ (โครงการจัดตั้งสมาคมเพื่อการศึกษาและการพัฒนา)
  45. ทัศนัย เศรษฐเสรี (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  46. ธนภาษ​ เดชพาวุฒิกุล​ (สำนักวิชาศิลปศาสตร์​ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)
  47. ธนรัตน์​ มังคุด​ (สำนักวิชารัฐศาสตร์​และนิติศาสตร์​ มหาวิทยาลัย​วลัย​ลักษณ์​)
  48. ธนศักดิ์ สายจำปา (สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)
  49. ธวัช มณีผ่อง (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
  50. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
  51. ธีระพล อันมัย (คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
  52. นราสิทธิ์ วงษ์ประเสริฐ (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
  53. นัทมน คงเจริญ (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  54. นาตยา อยู่คง (มหาวิทยาลัยศิลปากร)
  55. นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์
  56. นิมิตร์ เทียนอุดม
  57. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
  58. บารมี ชัยรัตน์ (สมัชชาคนจน)
  59. บุญเลิศ วิเศษปรีชา (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  60. บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล
  61. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว (มหาวิทยาลัยมหิดล)
  62. ประภัสสร์ ชูวิเชียร มหาวิทยาลัยศิลปากร
  63. ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ
  64. ปรัชญา โต๊ะอิแต
  65. ปราโมทย์ ระวิน
  66. ปวินท์ ระมิงค์วงศ์ (มหาวิทยาลัยพะเยา)
  67. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี (คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  68. พงษ์ศักดิ์ รัตนวงศ์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  69. พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ (นักกิจกรรมอิสระ)
  70. พรรณราย โอสถาภิรัตน์ (คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  71. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์
  72. พันธุ์พิพิธ พิพิธพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
  73. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์
  74. พิภพ  อุดมอิทธิพงศ์
  75. พิสิษฏ์ นาสี (คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  76. แพร จิตติพลังศรี
  77. ภัควดี วีระภาสพงษ์
  78. ภาสกร อินทุมาร (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  79. มนตรา พงษ์นิล (คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา)
  80. มัจฉา พรอินทร์ (สร้างสรรค์อนาคตเยาวชน)
  81. มัทนา เชตมี (การเมืองหลังบ้าน)
  82. มาหามะสาบรี เจ๊ะเลาะ
  83. มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง (มหาวิทยาลัยรามคำแหง)
  84. ยศ สันตสมบัติ
  85. ยุกติ มุกดาวิจิตร (คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  86. เยาวนิจ กิตติธรกุล (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
  87. เยาวลักษ์ อนุพันธุ์
  88. รชฎ สาตราวุธ (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
  89. รัตนา โตสกุล ข้าราชการบำนาญ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  90. รามิล กาญจันดา
  91. รุ่งทิพย์ จันทร์ธนะกุล (มหาวิทยาลัยศิลปากร)
  92. รุสนันท์ เจ๊ะโซ๊ะ (มหาวิทยาลัยมลายา)
  93. ลม้าย มานะการ
  94. วลักษณ์กมล จ่างกมล (คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
  95. วันพิชิต ศรีสุข (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
  96. วาสนา ละอองปลิว
  97. วิจิตรา เตรตระกูล
  98. วินัย ผลเจริญ วินัย ผลเจริญ (วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
  99. วิภาดา วาสินธุ์ (เครือข่ายคนใจอาสาจังหวัดสุราษฎร์ธานี)
  100. วิริยะ สว่างโชติ
  101. วีรบูรณ์ วิสารทสกุล (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  102. วีระวัฒน์ ภัทรศักดิ์กำจร (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  103. เวียง-วชิระ บัวสนธ์ (บรรณาธิการสำนักพิมพ์สามัญชน)
  104. ศยามล เจริญรัตน์ (หน่วยปฏิบัติการวิจัยความมั่นคงของมนุษย์และความเท่าเทียม. สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  105. ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  106. ศรายุทธ  ตั้งประเสริฐ
  107. ศศิประภา ไร่สงวน (ทนายความ)
  108. ศิริพร ฉายเพ็ชร
  109. ษมาพร แสงสุระธรรม (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  110. ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  111. สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  112. สมใจ สังข์แสตมป์
  113. สมชาย ปรีชาศิลปกุล (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  114. สมฤทธิ์ ลือชัย (นักวิชาการอิสระ)
  115. สมัชชา นิลปัทม์ (คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
  116. สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์ (นักวิชาการอิสระ)
  117. สร้อยมาศ รุ่งมณี
  118. สัณห์ธวัช ธัญวงษ์ (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
  119. สามชาย ศรีสันต์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  120. สายฝน  สิทธิมงคล (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
  121. สิบปีย์ ชยานุสาสนี จันทร์ดอน (ปรัชญาสังคมและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม)
  122. สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
  123. สุภาภรณ์ มาลัยลอย (มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม)
  124. สุรพศ ทวีศักดิ์
  125. สุรัช คมพจน์ หลักสูตรรัฐศาสตร์ (สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)
  126. สุรินทร์ อ้นพรม
  127. สุไรนี   สายนุ้ย (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
  128. สุไลพร ชลวิไล (นักกิจกรรมอิสระ)
  129. สุฮัยดา กูทา (ห้องเรียนเพศวิถีและสิทธิมนุษยชน - BUKU)
  130. เสาวณิต จุลวงศ์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  131. เสาวณิต จุลวงศ์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  132. เสาวนีย์​ อเลกซานเดอร์​
  133. อนุสรณ์ อุณโณ (คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  134. อรชา รักดี (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
  135. อรรถจักร สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  136. อรอนงค์ ชนะสิทธิ์ (ห้องเรียนเพศวิถีและสิทธิมนุษยชน - BUKU)
  137. อรอนงค์ ทิพย์พิมล (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  138. อรุณี สัณฐิติวณิชย์
  139. อลิสา บินดุส๊ะ
  140. อสมา มังกรชัย
  141. อังคณา นีละไพจิตร
  142. อัญชนา สุวรรณานนท์  (เจ้าหน้าที่โครงการองค์กรอเมริกันจูวิชเวิร์ดเซอร์วิส)
  143. อัญชนา หีมมิหน๊ะ (กลุ่มด้วยใจ)
  144. อันธิฌา แสงชัย (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
  145. อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ
  146. อาจินต์ ทองอยู่คง (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  147. อิมรอน​ ซา​เหาะ
  148. อิลหาม มะนะแล (สื่อมวลชน )
  149. อุเชนทร์ เชียงเสน (สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)
  150. เอกสิทธิ์ หนุนภักดี (คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

ลงชื่อในนามองค์กร:

  1. กลุ่มทำทาง
  2. กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
  3. การเมืองหลังบ้าน
  4. คณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ (PAOW)
  5. เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.)
  6. เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่
  7. โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
  8. มลายูรีวิว
  9. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
  10. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม(ลงชื่อในนามองค์กร)​
  11. มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.)
  12. ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชน
  13. ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น (ศพช.)
  14. สร้างสรรค์อนาคตเยาวชน
  15. ห้องเรียนเพศวิถีและสิทธิมนุษยชน (BUKU)
  16. ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น (ศพช.)

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท