มช. เยียวยาใคร? ท่ามกลางสภาวะโรคระบาด

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

จากผลกระทบของโควิด-19 จะเห็นได้ว่ามีผลกระทบต่อประชาชนในทุกระดับในขณะที่การแก้ไขของรัฐบาล รวมไปถึงมหาวิทยาลัยที่ได้ตรงจุด กรณีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีการออกมาช่วยเหลือนักศึกษา แบบผักชีโรยหน้า ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการแก้ไขปัญหาแบบไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ตรวจสอบไม่ได้ ดังต่อไปนี้

มช. มีการจัดตั้งกองทุนที่รับบริจาคมา แต่ให้นักศึกษากู้ยืม แม้เงิน 250 ล้านบาทเป็นเงินที่รับบริจาคมาก็ตามซึ่งยิ่งก่อหนี้สินให้กับนักศึกษา นอกจากไม่มีความคุ้มค่ายังอาจจะสร้างภาระให้กับนักศึกษาบางคนที่ไม่มีทางเลือกจนต้องกู้ยืมกองทุนดังกล่าว และจนกระทั่งวันนี้ยอดบริจาคก็ไม่ถึงตามที่ตั้งไว้

การลดค่าธรรมเนียมมากถึง 10% สำหรับนักศึกษาปริญญา ตรี-โท แต่มีเงื่อนไขบางประการ คือถ้าได้รับทุนการศึกษาไม่มีสิทธิ์รับส่วนลดดังกล่าว อีกทั้งปัญหาที่พบเจอก็คือ เรื่องของการบังคับให้จบ 4 ปีไม่สามารถจบก่อนได้ ทำให้เดิมต้องมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นอยู่แล้ว ในขณะที่นักศึกษาบางคน อาจจะลงเรียนไม่กี่วิชาแต่มีการบังคับจายแบบเหมาจ่ายและลดให้เพียง 10% จึงเป็นคำถามที่น่าสนใจ ต่อไปว่า การลดค่าเทอมดังกล่าวมีความคุ้มค่ามากน้อยเพียงใด ทั้งๆ ที่จะต้องเรียนออนไลน์ไม่ได้ใช้สวัสดิการของมหาวิทยาลัย

ซิมฟรี ดีแค่ไหน มช. ยังคงมีนักศึกษาจาก พื้นที่ห่างไกลเพราะ มช. มีโครงการนักศึกษาชาติพันธุ์ อาจจะมีปัญหาในการใช้และส่งผลให้การเรียนไม่มีประสิทธิภาพ แม้ว่ามหาวิทยาลัยจะมีการช่วยเหลือให้สามารถมาพักอาศัย หอพักในมหาวิทยาลัยได้จริง แต่ ค่าใช้จ่ายในเมืองเชียงใหม่ก็ยังคงถือว่าสูง ผู้ปกครองขาดรายได้ ก็จะเกิดคำถามตามมาว่า จะใช้ชีวิตอย่างไร ในมหาวิทยาลัยเพราะมหาวิทยาลัยไม่ได้ช่วยเหลือได้เพียงพอจริง ปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยมีการจำกัดจำนวนในการรับข้าวฟรีเพียงวันละ 300 กล่อง นักศึกษาสะท้อนมาว่า บางวันก็ครบจำนวนตั้งแต่ช่วงเช้า ซึ่งนักศึกษาที่ยังไม่ได้กลับบ้านมีจำนวนหนึ่ง ซึ่งก็ไม่แน่ใจเลยว่ามหาวิทยาลัยใส่ใจในการเก็บข้อมูลมากแค่ไหน ที่สำคัญ นักศึกษาบางคนไม่ได้มีอุปกรณ์ในการเรียนออนไลน์ เช่น คอมพิวเตอร์ แทบเล็ต ฯลฯ

การสำรวจความคิดเห็นต้องระมัดระวังการสร้างข้อมูล และต้องนำมาแก้ปัญหาจริงๆ ดังนั้นการที่มหาวิทยาลัยจะสำรวจนักศึกษาอาจจะต้องจริงจัง และใช้เทคโนโลยีที่ตรวจสอบได้อย่างแม่นยำ เช่น การใช้ อีเมล์ มหาวิทยาลัยในการเข้าถึงข้อมูลนักศึกษา และจะต้องสามารถนำมาแก้ปัญหาให้ตรงจุด

ในขณะนี้เรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่หรือทั่วไป คือ เรื่องของความชัดเจนในการเรียนการสอนออนไลน์ของ เทอม 1 ปีการศึกษา 2563 มหาวิทยาลัยควรประกาศให้ชัดเจนเรื่องของการจัดการเรียนการสอน ซึ่งการทำงานที่ล่าช้า “เป็นราชการในร่างเอกชน” ทำให้นักศึกษาต้องจัดการตนเองไม่ว่าจะเป็นเรื่องการย้ายหอ ที่อาจจะกังวลว่า ต้องย้ายกลับเข้ามาเพราะมหาวิทยาลัยไม่แน่นอนชัดเจน หรือในบางกรณียังคงมีค่านักศึกษาจำนวนหนึ่งมีสัญญากับหอพัก ซึ่งการจัดการตนเองภายใต้ความไม่ชัดเจนของมหาวิทยาลัยคือเรื่องของการจัดการการใช้เงินในขณะที่เศรษฐกิจก็ตกต่ำ บางครอบครัวเดือดร้อนมากจริงๆ แต่มหาวิทยาลัยไม่สามารถชีแจงความชัดเจนได้ อีกทั้งการเรียน การสอบออนไลน์ในช่วงนี้ ส่งผลให้มีค่าใช้จ่าย ค่าไฟที่เพิ่มขึ้น มีค่าเช่าในทุกๆเดือน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ผู้ปกครองขาดรายได้ ซึ่งมีนักศึกษาสะท้อนออกมาเป็นจำนวนมากต่อค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ค่าหอ ที่ไม่ลดราคา ค่าไฟฟ้า เพิ่มขึ้น สินค้าอุปโภคบริโภคบางอย่างก็มีราคาสูงขึ้น ผู้ปกครองขาดรายได้จากการประกอบอาชีพ นักศึกษาเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยแต่ไม่ได้รับการเยียวยาจากภาครัฐ ซึ่งจะต้องติดตามการดำเนินงานของรัฐบาลต่อไป

น่าสนใจมากว่าการกดดันของนักศึกษา ทั้งทางออนไลน์และการยื่นหนังสือยังไม่ได้มีผลและถูกรับไปแก้ไขมากเท่าที่ควร ถือเป็นสถานการณ์ที่ต้องติดตามและ กระตุ้นให้เกิดการช่วยเหลืออย่างตรงจุดจริงๆ

 

 

ที่มาภาพ:  กลุ่มนักศึกษา ม.เชียงใหม่ยื่นข้อเรียกร้องผู้บริหารมหาวิทยาลัย ลดค่าธรรมเนียมการศึกษาลง 30% และอื่นๆ บรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาฝุ่น PM2.5 และการระบาดของโควิด-19 แต่ นศ.ถูกกันไม่ให้ฟังการแถลง ย้ำติดตามผลใกล้ชิด เตรียมเดินหน้ากดดันต่อ prachatai.com/journal/2020/04/87247

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท