Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

กฎหมายทางอาญาที่ล้าสมัยของกรมราชทัณฑ์ ที่ทำให้นักโทษกว่า 1.6 ล้านคนถูกจำคุกทั้งที่เป็นคดีที่ไม่รุนแรง แต่ประเทศต่างๆกลับล้มเหลวในการตอบสนองความต้องการและสิทธิขั้นพื้นฐานของคนเหล่านั้น ทั้งยังทำให้สังคมขาดแรงงานสำคัญ ดังนั้นการปล่อยผู้ต้องขังที่มีคดีความผิดไม่รุนแรงในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 ในเรือนจำต่างๆกำลังเป็นที่ยอมรับในผู้มีอำนาจทั่วโลก โดยเฉพาะคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งมักถูกกระทำรุนแรงเกินความจำเป็นไม่เหมาะสมกับความผิด ควรที่ให้ผู้ต้องขังเหล่านี้ได้มีโอกาสใช้ชีวิตแบบอื่นแทนการจำคุกเพื่อชดเชยความผิดให้กับสังคม 

ในประเทศฝรั่งเศส ในบางรัฐของสหรัฐอเมริกา ในประเทศตุรกี หรือประเทศอินโดนีเซีย ศาลได้เริ่มปล่อยตัวผู้ต้องขังเพื่อในมาตรการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19แล้ว ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่กลายเป็นข่าวพาดหัวอย่างรวดเร็ว แต่น่าประหลาดใจ ที่ไม่มีข้อขัดแย้ง หรือการต่อต้านทางอุดมการณ์ใดๆ

หรือแม้กระทั้งการอภิปรายในประเด็นสำคัญที่ควรได้รับความสนใจมานานแล้ว

การตัดสินใจของประเทศเหล่นี้เผยให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ในเรือนจำที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ต้องขัง ที่มีจำนวนนับล้านคนซึ่งถูกคุมขังอยู่ทั่วโลก จึงเป็นเรื่องที่ต้องตั้งคำถามสำหรับความปลอดภัย การไร้ความสามารถของสังคมในการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของผู้ต้องขัง ที่ถูกกระทำเกินความผิดในบางประเภท

ผู้ต้องขังกำลังเผชิญกับความเสี่ยงในชีวิตประจำวันถูกจำกัดเสรีภาพ และต้องพบกับความรุนแรง และความไม่เป็นระเบียบ ทำให้ต้องอยู่ในภาวะโดดเดี่ยว

เจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์เองก็อยู่ในภาวะที่ลำบาก เพราะต้องคอยรักษาความสมดุลย์ระหว่างการบังคับผู้ต้องขัง การลงโทษ และการสนองความต้องการสิทธิพื้นฐานของผู้ต้องขัง ซึ่งมักจะเกิดความล้มเหลว เนื่องจากขาดทรัพยากร และการสนับสนุนด้านจิตวิทยา

จากวิกฤตของการระบาดโรคโควิด 19 ทำให้เห็นข้อมูลต ตลอด 30 ปีที่ผ่านมาว่า เราเลือกจะจำคุกผู้ที่เปราะบางที่สุดในสังคม ทั้งที่ไม่ใช่ผู้ที่ใช้ความรุนแรง หรือเป็นความผิดเพียงเล็กน้อย แต่กลับก่อให้เกิดความเสียหายกับเศรษฐกิจและสังคมอย่างมหาศาล

งานวิจัยแสดงให้เห็นข้อมูลที่น่าตกใจว่า จากจำนวนผู้ต้องขัง 2 ล้านคนทั่วโลกจากคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด  พบว่ามีถึง 83% ที่ถูกจับขังเพียงเพราะมียาเสพติดไว้ครอบครองหรือการใช้ยาเสพติดผิดแบบกฎหมาย และอีก 600,000 คนที่ถูกกักขัง ในสถานบำบัดยาเสพติดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกกลาง

ประเทศต่างๆ มักจะเลือกการห้ามใช้ เพื่อเป็นการกำจัดยาเสพติด รวมถึงการผลิตและการขนส่งยาเสพติดเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย แต่กลับละเลยการควบคุมตลาดที่ทำกำไรอย่างมหาศาลให้แก่องค์กรอาชญากรรม ปล่อยให้องค์กรเหล่านี้หาโอกาสกับผู้ที่ยากจน และด้อยโอกาส 

ในประเทศโคลัมเบีย มีนักโทษคดียาเสพติดเพียง 2% ที่อยู่ในระดับกลาง หรือสูงในองค์กรค้ายาเสพติด และในประเทศตูนีเซีย มีคนหนุ่มสาวถูกจับกุมในข้อหาเกี่ยวกับยาเสพติด โดยได้รับโทษอย่างน้อย 1 ปีจากการใช้ยาเสพติดหรือมียาเสพติดในครอบครองถึง 90%  ซึ่งเป็นเพียง 2 ตัวอย่างในหลักฐานที่รวบรวมมาจากทั่วโลก 

คนหนุ่มสาวเหล่านี้ควรจะได้เป็นกำลังสำคัญให้กับชุมชนและครอบครัว ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในช่วงภาวะวิวิกฤตระดับโลกที่เรากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ แต่เขาเหล่านั้นกลับถูกคุมขังด้วยความผิดเพียงเล็กน้อย

จึงปฎิเสธไม่ได้ว่า การเร่งปล่อยตัวผู้ต้องขังในคดียาเสพติดที่ไม่มีความรุนแรงทั่วโลก จะช่วยปกป้องชีวิตคนเหล่านี้ รวมทั้งเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ และชุมชน ให้พ้นจากโรคระบาดโควิด 19 นี้ด้วย

ผู้เขียนเป็นอดีตผู้นำจากรัฐบาลของประเทศบราซิล ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่ต่างกันอย่างมากทั้งสามประเทศ ได้เสนอข้อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ให้การนำผู้มีความผิดมาพิจารณาใหม่ โดยยึดถือปฏิบัติให้บทลงโทษควรจะเป็นสัดส่วนกับอาชญากรรม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการห้ามปราม รวมถึงการให้คนเหล่านี้กลับคืนสู่สังคม โดยการจำคุกควรควรเป็นมาตรการสุดท้ายของบทลงโทษ

วิกฤตการณ์์ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ขณะนี้ จึงเป็นโอกาสให้เกิดการรับมือกับความท้าทาย ในจัดการสภาพความเป็นอยู่ของผู้ที่ถูกลิดรอนเสรีภาพ จึงควรมีนโยบายส่งเสริมให้กรมราชทัณฑ์คำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน และลดการล่วงละเมิดที่ทำให้เกิดความรุนแรงในกำแพงเรือนจำ

ทั้งผู้ต้องขัง และเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ไม่ควรถูกลิดรอนศักดิ์ศรีในช่วงวิกฤติในขณะนี้ หรือแม้ในยามภาวะปกติก็ตาม

 

UNOFFICIAL TRANSLATION: https://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/1902315/time-to-let-non-violent-drug-offenders-out-of-jail

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net