Skip to main content
sharethis

ประชาชนส่วนใหญ่ 70.6% มีสิทธิหรือเข้าถึงมาตรการดูแลเยียวยารายได้ลูกจ้าง แรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ สิ่งที่ประชาชนต้องการจากการเยียวยามากที่สุด ส่วนใหญ่ 70.9% ต้องการเงิน โดยเห็นว่ารัฐควรหาวิธีการเยียวยาที่เข้าถึงประชาชนอย่างทั่วถึงมากที่สุด ชี้หากไม่ได้รับการเยียวยาประชาชนร้อยละ 45.7 จะกู้ยืม จากวิกฤตการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมา ประชาชนแนะรัฐควรให้แรงงานมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อเก็บออม โดยมีรัฐเป็นผู้สมทบในกองทุนมากที่สุด เพื่อเป็นหลักประกันให้กับแรงงาน

1 พ.ค.2563 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) รายงานว่า ทางกรุงเทพโพลล์ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “เสียงสะท้อนคนไทยต่อมาตรการเยียวยา” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,402 คน พบว่า

เมื่อถามประชาชนว่า “มาตรการที่ท่านมีสิทธิได้รับการเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19” ส่วนใหญ่ร้อยละ 70.6 มีสิทธิหรือเข้าถึงมาตรการดูแลเยียวยารายได้ลูกจ้าง แรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ รองลงมาคือ มาตรการดูแลและเยียวยาให้ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อคิดเป็นร้อยละ 21.8 และมาตรการดูแลและเยียวยาจัดหาอุปกรณ์ป้องกันโรค COVID-19 คิดเป็นร้อยละ 12.9

สำหรับสิ่งที่ต้องการมากที่สุดจากการเยียวยาคือ เงินเยียวยาคิดเป็นร้อยละ 70.9 รองลงมาคือ ไม่ถูกพักงานหรือลดเงินเดือนคิดเป็นร้อยละ 7.2 พักชำระหนี้จากสถาบันทางการเงิน คิดเป็นร้อยละ 6.9 ข้าวสารอาหารแห้ง คิดเป็นร้อยละ 4.5 และลดหย่อนค่าสาธารณูปโภค คิดเป็นร้อยละ 4.2

เมื่อถามว่า “คิดเห็นอย่างไรต่อการจัดการมาตรการเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มีหลากหลายมาตรการ ไปยังคนหลากหลายกลุ่ม” ประชาชนร้อยละ 37.5 เห็นว่าควรหาวิธีการเยียวยาที่เข้าถึงประชาชนอย่างทั่วถึงมากที่สุด รองลงมาร้อยละ 25.5 เห็นว่าไม่ต้องมีระบบการลงทะเบียน ควรแจกตามฐานข้อมูลสำเนาทะเบียนราษฎร์ และร้อยละ17.7 เห็นว่าการเยียวยาต้องรวดเร็วและตรวจสอบง่ายมากกว่านี้

 

ทั้งนี้เมื่อถามว่า “ท่านจะทำอย่างไร หากไม่ได้รับการเยียวยาใดๆ เลย” ประชาชนร้อยละ 45.7 จะกู้ยืมมากที่สุด รองลงมาร้อยละ 41.1 จะร้องเรียน / ทบทวนสิทธิประโยชน์อีกครั้ง ร้อยละ 39.5 จะประหยัด พอพียง และร้อยละ 16.1 จะเปลี่ยนอาชีพ หางานพิเศษ    

สุดท้ายเมื่อถามความเห็นต่อแรงงานไทย ผู้มีอาชีพอิสระ ควรได้รับหลักประกันใดที่เหมาะสม จากวิกฤตที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนร้อยละ 30.9 เห็นว่าควรให้แรงงานมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อเก็บออม โดยมีรัฐเป็นผู้สมทบในกองทุนมากที่สุด รองลงมาร้อยละ 27.3 เห็นว่าควรมีการลงทะเบียนแรงงานในระบบที่ตรวจสอบได้ และร้อยละ 19.5 เห็นว่าควรมีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กู้ยืมสำหรับแรงงานเพื่อรักษาสภาพคล่อง ยามจำเป็น    

รายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้ 

1. ข้อคำถาม “มาตรการที่ท่านมีสิทธิได้รับการเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ  COVID-19” (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

มาตรการดูแลเยียวยารายได้ลูกจ้าง แรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ

ร้อยละ

70.6

มาตรการดูแลและเยียวยาให้ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อ

ร้อยละ

21.8

มาตรการดูแลและเยียวยาจัดหาอุปกรณ์ป้องกันโรค COVID-19

ร้อยละ

12.9

มาตรการดูแลและเยียวยาผู้ประกอบการ กลุ่มนักลงทุน เช่น ปล่อยเงินกู้เสริมสภาพคล่อง

ร้อยละ

5.5

มาตรการดูแลและเยียวยากลุ่มบุคลากรทางการแพทย์

ร้อยละ

3.3

อื่นๆ เช่น ถุงยังชีพ เข้าไม่ถึงสิทธิ ไม่ได้รับการเยียวยา

ร้อยละ

14.0

2. สิ่งที่ท่านต้องการมากที่สุดจากการเยียวยา (ตอบเพียง 1 ข้อ)

เงินเยียวยา

ร้อยละ

70.9

ไม่ถูกพักงานหรือลดเงินเดือน

ร้อยละ

7.2

พักชำระหนี้จากสถาบันทางการเงิน

ร้อยละ

6.9

ข้าวสารอาหารแห้ง

ร้อยละ

4.5

ลดหย่อนค่าสาธารณูปโภค    

ร้อยละ

4.2

สิทธิตรวจรักษา COVID-19  ฟรี

ร้อยละ

3.0

อุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรค

ร้อยละ

0.5

อื่นๆ เช่น ลดค่าเช่าร้าน เข้าถึงเงินกู้ง่ายขึ้น

ร้อยละ

2.8

3. ข้อคำถาม “คิดเห็นอย่างไรต่อการจัดการมาตรการเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มีหลากหลายมาตรการ ไปยังคนหลากหลายกลุ่ม” (ตอบเพียง 1 ข้อ)

ควรหาวิธีการเยียวยาที่เข้าถึงประชาชนอย่างทั่วถึง

ร้อยละ

37.5

ไม่ต้องมีระบบการลงทะเบียน ควรแจกตามฐานข้อมูลสำเนาทะเบียนราษฎร์

ร้อยละ

25.5

การเยียวยาต้องรวดเร็วและตรวจสอบง่ายมากกว่านี้

ร้อยละ

17.7

ควรให้การเยียวยาด้วยมาตรการที่เป็นธรรม

ร้อยละ

10.3

ระบบการลงทะเบียนทางอินเทอร์เน็ต อาจทำให้หลายคนตกหล่นไป

ร้อยละ

4.6

ตอบโจทย์ครอบคลุมทุกกลุ่มแล้ว

ร้อยละ

1.9

อื่นๆ เช่น แจกทุกคน แจกทุกบ้าน

ร้อยละ

2.5

4. ข้อคำถาม  “ท่านจะทำอย่างไร หากไม่ได้รับการเยียวยาใดๆ เลย” (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

กู้ยืม

ร้อยละ

45.7

ร้องเรียน / ทบทวนสิทธิประโยชน์อีกครั้ง

ร้อยละ

41.1

ประหยัด พอพียง

ร้อยละ

39.5

เปลี่ยนอาชีพ หางานพิเศษ    

ร้อยละ

16.1

กลับภูมิลำเนาบ้านเกิด

ร้อยละ

7.4

ไม่ได้รับผลกระทบ ไม่เป็นไรเลย

ร้อยละ

1.2

อื่นๆ เช่น ทำใจอยู่ไปวันๆ ดิ้นรนสู้ต่อไป

ร้อยละ

7.6

5. ความเห็นต่อแรงงานไทย ผู้มีอาชีพอิสระ ควรได้รับหลักประกันใดที่เหมาะสม จากวิกฤตที่ผ่านมา (ตอบเพียง 1 ข้อ)

ควรให้แรงงานมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อเก็บออม โดยมีรัฐเป็นผู้สมทบในกองทุน

ร้อยละ

30.9

ควรมีการลงทะเบียนแรงงานในระบบที่ตรวจสอบได้           

ร้อยละ

27.3

ควรมีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กู้ยืมสำหรับแรงงานเพื่อรักษาสภาพคล่อง ยามจำเป็น    

ร้อยละ

19.5

ควรให้แรงงานทุกคนเข้าระบบประกันสังคม ให้มีค่ารักษาพยาบาล และเงินยามเกษียณ

ร้อยละ

16.4

ควรมีระบบฝึกอบรมพัฒนาทักษะแรงงานอย่างเป็นระบบ

ร้อยละ

3.0

อื่นๆเช่น รัฐควรจัดทำฐานข้อมูลแรงงาน รัฐควรช่วยหางานให้

ร้อยละ

2.9

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

  1. เพื่อสะท้อนถึงมาตรการเยียวยาและเรื่องที่อยากให้เยียวยาจากสถานการณ์ covid-19
  2. เพื่อสะท้อนความเห็นต่อแรงงานไทย ผู้มีอาชีพอิสระ ควรได้รับหลักประกันใดที่เหมาะสม จากวิกฤตที่ผ่านมา

ประชากรที่สนใจศึกษา การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย 

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  ± 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล  ใช้การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ ผ่าน social media รูปแบบต่างๆ โดยเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนการประมวลผล           

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล      :  22-29 เมษายน 2563 

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ            :  1 พฤษภาคม 2563

ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง

 

จำนวน

ร้อยละ

เพศ

 

 

            ชาย

383

27.3

            หญิง

1019

72.7

รวม

1,402

100.0

อายุ

 

 

            18 ปี - 30 ปี

497

35.5

            31 ปี - 40 ปี

488

34.8

            41 ปี - 50 ปี

282

20.1

            51 ปี - 60 ปี

115

8.2

               61 ปี ขึ้นไป

20

1.4

รวม

1,402

100.0

การศึกษา

 

 

            ต่ำกว่าปริญญาตรี

999

71.2

            ปริญญาตรี

363

25.9

            สูงกว่าปริญญาตรี

40

2.9

                                 รวม

1,402

100.0

อาชีพ

 

 

               ลูกจ้างรัฐบาล

51

3.6

               ลูกจ้างเอกชน   

296

21.1

               ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร

831

59.3

               เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 

31

2.2

               ทำงานให้ครอบครัว

41

2.9

               พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ

26

1.9

               นักเรียน/ นักศึกษา  

61

4.4

               ว่างงาน/ รวมกลุ่ม

65

4.6

รวม

1,402

100.0

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net