Skip to main content
sharethis

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองผู้บัญชาการทหารบก  พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11รอ.) พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด 

ยศตำแหน่งของนายทหารข้างบนนี้คือสถานภาพในกองทัพของพวกเขาในขณะที่อยู่ในคณะกรรมการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) และต่อมาเปลี่ยนเป็นศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตั้งขึ้นมาเพื่อจัดการกับการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) หรือที่เรียกกันในอีกชื่อว่า "กลุ่มคนเสื้อแดง" ที่ชุมนุมต่อเนื่องกันตั้งแต่ 12 มีนาคม ถึง 19 พฤษภาคม 2553

ชื่อเหล่านี้ล้วนเป็นชื่อที่คุ้นหูกันมาตั้งแต่หลังการสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 เนื่องจากพวกเขาล้วนมีบทบาททางการเมืองที่สำคัญมาตลอดนับตั้งแต่นั้นมา โดยมีตำแหน่งสำคัญๆ ในรัฐบาลทหารที่ปกครองประเทศยาวนานถึง 5 ปี เช่น พล.อ.ประยุทธ์ที่ขณะนี้ได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อเป็นปีที่ 6 ปีแล้ว หรือพล.อ.อภิรัชต์ที่ตอนนี้เป็นถึงผู้บัญชาการทหารบกและกำลังจะเกษียณอายุเร็วๆ นี้ จนกระทั่งเลือกตั้งใหม่แล้วบุคคลเหล่านี้ก็ยังได้กลับเข้ามามีบทบาททางการเมืองอีกครั้งในปัจจุบันน

แต่นอกจากผู้บังคับบัญชาระดับสูงเหล่านี้ที่อยู่ในคณะกรรมการ ศอ.รส.และศอฉ.จะก้าวหน้าในหน้าที่การงานอย่างมากหลังการสลายการชุมนุมแล้ว ยังมีนายทหารอีกหลายนายที่ในขณะนั้นเกี่ยวพันกับการสลายการชุมนุม ไม่ว่าจะเป็นผู้คุมหน่วยทหารในพื้นที่ แล้วปัจจุบันก็ยังคงอยู่ในราชการและเลื่อนยศตำแหน่งขึ้นมาเป็นระดับคุมกำลังที่สูงขึ้นตั้งแต่กองพันจนถึงกองพล หรือบางคนที่เกษียณอายุราชการไปแล้วก็ได้เป็นวุฒิสมาชิก อย่าง พล.อ.วลิต โรจนภักดี หรือพล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณที่ได้เป็นองคมนตรี 

ประชาไทจึงได้รวบรวมรายชื่อนายทหารบางส่วนที่ปรากฏตัวเป็นพยานในชั้นไต่สวนการตายของผู้เสียชีวิต ทหารบางนายถูกอ้างอิงอยู่ในปากคำพยานทหารด้วยกันหรือเอกสารที่ปรากฏในเวลานั้น โดยทั้งหมดเป็นผู้บังคับบัญชาของหน่วยทหารที่เข้าสลายการชุมนุมทั้งปฏิบัติการ “ขอคืนพื้นที่” 10 เมษายน และ “กระชับพื้นที่” ช่วง 13-19 พฤษภาคม 2553 โดยมีตั้งแต่ยศนายร้อยถึงนายพล

รายชื่อนายทหารระดับปฏิบัติการและคุมกำลังในการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53

ชื่อ ยศ/สังกัด ขณะเกิดเหตุยศ /สังกัด ในปัจจุบันความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เป็นรองเสนาธิการทหารบกพลเอก / องคมนตรีมีตำแหน่งเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ ศอฉ. และมีส่วนในการวางแผนยุทธการทหารในเวลานั้น
พล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์พลเอก / องคมนตรีเป็นผู้ควบคุมกองกำลัง
พล.ต.วลิต โรจนภักดี เป็นผู้บังคับการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์สมาชิกวุฒิสภา / พลเอก(เกษียณราชการ)ผู้บังคับบัญชาของหน่วยทหารที่เข้าสลายการชุมนุมที่สี่แยกคอกวัว
พ.อ.กัณฑ์ชัย ประจวบอารีย์ เป็นผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ จังหวัดลพบุรีผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 15 จังหวัดเพชรบุรี (16 ต.ค.2562)อยู่ในหน่วยที่คุมพื้นที่บริเวณปากซอยรางน้ำ เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของชาญณรงค์ พลศรีลา
พ.อ.ธรรมนูญ วิถี เป็นรองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์พลโท / แม่ทัพภาคที่ 1ผู้บังคับบัญชาของหน่วยทหารที่เข้าสลายการชุมนุมที่สี่แยกคอกวัว
พ.อ.ประวิตร ฉายะบุตร เป็นผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 2พลโท / ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบกผู้บังคับบัญชาของหน่วยทหารที่เข้าสลายการชุมนุมที่สี่แยกคอกวัว
พ.อ. กู้เกียรติ ศรีนาคา เป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์พลเอก / รองปลัดกระทรวงกลาโหมอยู่ในหน่วยทหารที่เข้าสลายการชุมนุมที่สี่แยกคอกวัว
พ.อ. เพชรพนม โพธิ์ชัย เป็นผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 5 กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์พันเอก / เสนาธิการสำนักงานพัฒนาภาค 2 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาคุมกำลังบนถนนพระราม 4 เป็นพยานฝ่ายทหารในการเสียชีวิตของ บุญมี เริ่มสุข และฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง
พ.อ.ณัฐวัฒน์ อัคนิบุตรพลโท / ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก / นายทหารราชองครักษ์ผู้บังคับบัญชาของหน่วยทหารที่อยู่ในพื้นที่แอร์พอร์ทลิงก์ราชปรารภ ถนนราชปรารภ เป็นพยานในคดีการเสียชีวิตของด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ และพัน คำกอง
พ.อ.โกญจนาท ธูปเทียนรัตน์พันเอก / กรมทหารม้าที่ 5 รักษาพระองค์คุมกำลังทหารที่รุกคืบเข้าไปตามถนนราชดำริในเช้าวันที่ 19 พ.ค.2553 เป็นพยานในคดีการเสียชีวิตของถวิล คำมูล
พ.อ.จิรศักดิ์ พรรังสฤษฎ์พันเอก / ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในส่วนวางแผนของหน่วยทหารที่รุกคืบเข้าไปตามถนนราชดำริในเช้าวันที่ 19 พ.ค.2553 เป็นพยานในคดีการเสียชีวิตของฟาบิโอ โปเลงกี ช่างภาพอิตาลี
พ.อ.นพสิทธิ์ สิทธิพงศ์โสภณพลตรี / ทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์คุมกำลังทหารที่รุกคืบเข้าไปตามถนนราชดำริในเช้าวันที่ 19 พ.ค.2553 เป็นพยานในคดีการเสียชีวิตของฟาบิโอ โปเลงกี ช่างภาพอิตาลี
พ.ท.ยอดอาวุธ พึ่งพักตร์ เป็นกรมทหารราบที่ 31 กองพันทหารราบที่ 2 กองพลทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์พันเอก / เสนาธิการ พล.1 รอ.คุมกำลังทหารที่รุกคืบเข้าไปตามถนนพระราม 1 จนถึงวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
พ.ท.ณัฐพงศ์ บัวจันทร์ รองเสนาธิการ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์พันเอก / ข้อมูล ณ 5 กันยายน 2560 ยังเป็นเสนาธิการ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์เป็นผู้นำหน่วยทหาร ได้นำกำลังทหารขอคือพื้นที่จากกลุ่ม นปช. บริเวณถนนวิทยุและอาคารเคี่ยนหงวน
พ.ท.วรการ ฮุ่นตระกูล เป็นผู้บังคับกองพันที่ 31 ทหารปืนใหญ่ รักษาพระองค์พันเอก / ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 51 สำนักงานพัฒนาภาค 5 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาผู้บังคับบัญชาของหน่วยทหารที่อยู่ในพื้นที่แอร์พอร์ทลิงก์ราชปรารภ ถนนราชปรารภ เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ และพัน คำกอง
พ.ท.ทรงสิทธิ์ ไชยยงค์ เป็นรองผู้บังคับกองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ (ร.1 พัน 3 รอ.)พลตรี / ผู้อํานวยการกองเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมฝ่ายยุทธการ (อ) ทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กรมการเสนาธิการกองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลตรี)อยู่ในหน่วยทหารที่อยู่ในพื้นที่แอร์พอร์ทลิงก์ราชปรารภ ถนนราชปรารภ เป็นพยานในคดีการเสียชีวิตของด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ และพัน คำกอง
พ.ท.พงษ์ศักดิ์ เอี่ยมพญาพลตรี / นายทหารราชองครักษ์ผู้บังคับบัญชาของหน่วยทหารที่เข้าสลายการชุมนุมที่สี่แยกคอกวัว
ร.อ.มลชัย ยิ้มอยู่ เป็นนายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ จังหวัดลพบุรีพันโท / เสนาธิการ ร.31 รอ. (ข้อมูล ณ วันที่ 5 พ.ย.2562)อยู่ในหน่วยที่คุมพื้นที่บริเวณปากซอยรางน้ำ เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของชาญณรงค์ พลศรีลา
ร.อ. กฤษฒิชัย กองกิจ เป็นสังกัดกองพันทหารม้าที่ 13 จ. เพชรบูรณ์พันโท / เสนาธิการหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารม้าที่ 2คุมหน่วยทหารในเหตุการณ์เดียวกับการเสียชีวิตของ ร.ต.ณรงค์ฤทธิ์ สาละ
ร.อ.ผดุงศักดิ์ ปิ่นเกตุ เป็นกองพันทหารม้าที่ 5 กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์พันโท / กองพันทหารม้าที่ 25 กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ทหารในหน่วยทหารบนถนนพระราม 4 เป็นพยานฝ่ายทหารในการเสียชีวิตของ บุญมี เริ่มสุข และฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง
ร.อ.พนม จันนินลา หัวหน้าหน่วยของกรมทหารราบที่ 31 กองพันทหารราบที่ 2 กองพลทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์พันตรี / ฝ่ายยุทธการ(ฝอ.3) กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2558 ไม่ทราบข้อมูลปัจจุบัน)ร่วมปฏิบัติการในเหตุการณ์ที่วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
พ.ท.นิมิตร วีระพงษ์ รองผู้บังคับกองพันรบพิเศษที่ 1 กรมรบพิเศษที่ 3ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 4 (ข้อมูล ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2556)คุมหน่วยทหารที่ปฏิบัติการบนรางรถไฟฟ้าหน้าวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร

ทั้งนี้สำหรับเจ้าหน้าที่ทหารบางนายก็ไม่สามารถหาข้อมูลสถานะทางทหารได้ เช่น พ.ท.จิรภัทร เศวตเศรณี หัวหน้าฝ่ายส่งกำลังบำรุง กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นผู้นำหน่วยทหารขอคือพื้นที่จากกลุ่ม นปช. บริเวณถนนวิทยุและอาคารเคี่ยนหงวน ร.ท.พิษณุ ทัศแก้ว พลเปล ร่วมปฏิบัติการในเหตุการณ์ที่วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร และกลุ่มทหารบางนายที่ร่วมปฏิบัติการอยู่บนรางรถไฟฟ้าหน้าวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร จ.ส.ท.วิทูรย์ อินทำ ทหารจากกรมทหารราบที่ 31 กองพันทหารราบที่ 2 กองพลทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ และ ทหารจากกองพันชุดจู่โจม รบพิเศษ 3 ค่ายเอราวัณ ได้แก่ ส.อ. ภัทรนนท์ มีแสง จ่าสิบเอกสมยศ ร่มจำปา สิบเอกเดชาธร มาขุนทด กรมรบพิเศษที่ 3 ค่ายเอราวัณ จ.ลพบุรี 

หรือทหารสองนายจากทหารสังกัดกองพันทหารม้าที่ 5 รักษาพระองค์ จังหวัดสระบุรี ที่ถูกถ่ายวิดีโอขณะกำลังใช้ปืนติดกล้องช่วยเล็งยิงจากบนอาคารหน้าทางเข้าสนามมวยลุมพินี พระราม 4 คือ สิบเอก คชารัตน์ เนียมรอด ขณะนี้ไม่ทราบสถานภาพทางทหาร ส่วนทหารอีกนายที่อยู่ด้วยกันคือ สิบเอกศฤงคาร ทวีชีพ จากข่าวพบว่าได้ปลดประจำการไปแล้ว

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net