Skip to main content
sharethis

เปิดรายงาน 'ถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลงแบบไพศาล : เหตุใดแรงงานข้ามชาติจึง ต้องมีสิทธิด้านสหภาพแรงงานเพื่อป้องกันการ ใช้แรงงานบังคับในอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทย' เสนอปฏิรูป พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ เปิดโอกาสให้บุคคลไม่ว่ามีสัญชาติใดมีสิทธิจัดตั้งและเป็นแกนนำสหภาพแรงงาน ทำการเจรจาต่อรองร่วมและนัดหยุดงานได้ แนะบรรษัทต่าง ๆ ควรทำการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนรอบด้านในห่วงโซ่อุปทานและสถานที่ทำงานต่าง ๆ


ที่มาภาพ: สภาสิทธิแรงงานนานาชาติ ไอแอลอาร์เอฟ (International Labor Rights Forum - ILRF)

เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2563 สภาสิทธิแรงงานนานาชาติ ไอแอลอาร์เอฟ (International Labor Rights Forum - ILRF) ได้เรียกร้องให้ รัฐบาลไทย บริษัทอาหารทะเลต่าง ๆ และผู้ซื้อในระดับโลก รับรองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรองของแรงงานข้ามชาติ เพื่อยุติปัญหาการใช้แรงงานบังคับที่แพร่หลายในภาคอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทย โดยมีการเผยแพร่รายงาน 'ถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลงแบบไพศาล : เหตุใดแรงงานข้ามชาติจึง ต้องมีสิทธิด้านสหภาพแรงงานเพื่อป้องกันการ ใช้แรงงานบังคับในอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทย' (หรือ Time for a Sea Change:  Why union rights for migrant workers are needed to prevent forced labor in the Thai seafood industry) 

รายงานฉบับนี้ชี้ระบุประเด็นปัญหาหลัก ๆ ที่ห้ามไม่ให้แรงงานข้ามชาติ จัดการกับการละเมิดสิทธิแรงงานด้วยตนเอง ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือการที่แรงงานข้ามชาติถูกห้ามโดยกฎหมายไทย ไม่ให้จัดตั้งสหภาพแรงงานของตนเอง หรือ ทำหน้าที่เป็นผู้นำสหภาพแรงงาน ทั้งนี้แรงงานส่วนใหญ่ในภาคอุตสาหกรรม อาหารทะเลเป็นแรงงานข้ามชาติการปฏิเสธสิทธิเหล่านี้ จึงเป็นการห้ามไม่ให้แรงงานส่วนใหญ่เข้าเจรจาเพื่อ ต่อรองเรื่องค่าจ้างและสภาพการทำงาน รวมไปถึงการชดเชยจากการถูกละเมิดต่าง ๆ ที่ดีขึ้นพวกเขายังขาดการเข้าถึงกลไกการร้องทุกข์ของรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพและยังถูกฟ้องร้องด้วยข้อหาหมิ่นประมาทเมื่อรายงานว่ามีการละเมิดสิทธิเกิดขึ้น

โดยรายละเอียดที่น่าสนใจบางส่วนของรายงานฉบับนี้มีดังนี้

ปัญหาการใช้แรงงานบังคับกับคนงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทย

การแสวงหาประโยชน์ จากคนงานในอุตสาหกรรมอาหารทะเล เป็นผลจากความพยายามของอุตสาหกรรมระดับโลก ที่ต้องการลดต้นทุนทางธุรกิจและมาจากโครงสร้างกฎหมายในประเทศ ที่สะท้อนให้เห็นถึงการเลือกปฏิบัติ และความเหลื่อมล้ำด้านอำนาจอย่างลึกซึ้งระหว่างแรงงานกับนายจ้าง และระหว่างซัพพลายเออร์กับผู้ซื้อ

การผงาดขึ้นของประเทศไทยในฐานะผู้นำการส่งออกอาหารทะเลระดับโลก ส่งผลให้เกิดความต้องการแรงงานอย่างสูงในภาคการประมงและแปรรูปอาหารทะเล ด้วยประชากรไทยที่สูงวัย ประกอบกับคนไทยที่หลีกเลี่ยงการทำงานในอุตสาหกรรมที่มีสภาพการทำงานที่เลวร้ายและมีค่าแรงต่ำแรงงานข้ามชาติจึงเข้ามาอุดช่องว่างความต้องการดังกล่าวมากขึ้น อันประกอบด้วยแรงงานอพยพมากกว่า 200,000 คนจากเมียนมา กัมพูชาและลาว เพื่อทำงานในโรงงานแปรรูปเชิงพาณิชย์บนเรือประมง และในฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

บริษัทในภาคประมงมักแสวงหาแรงงานราคาถูกเพื่อลดต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการลดลงของปริมาณสัตว์น้ำอันเป็นผลมาจากการทำการประมงเกินศักยภาพ ที่ทำให้เรือต้องออกไปหาปลาไกลขึ้นและใช้เวลาอยู่ในทะเลนานขึ้น

ในปี 2557 นักข่าวสืบเจาะลึกพลิกเปิดโปงกรณีแรงงานประมงหลายพันคนบนเรือประมงสัญชาติไทยตกเป็นเหยื่อการใช้แรงงานบังคับเป็นเวลานานถึง 10 ปี พวกเขาถูกบังคับให้ทำงานนานถึง 22 ชั่วโมงต่อกะถูกเฆี่ยนตีด้วยหางปลากระเบน ถูกตัดอวัยวะ หรือแม้แต่ถูกสังหารทิ้งทะเล พวกเขาจับปลาที่นำมาใช้เป็นอาหารของกุ้งที่ถูกส่งออกไปยังซุปเปอร์มาเก็ตชั้นนำทั่วโลก รายงานข่าวยังเปิดโปงสภาพของล้งแกะกุ้งหลายร้อยแห่งที่แรงงานข้ามชาติ รวมถึงเด็ก ๆ โดนทุบตีอย่างรุนแรง ถูกใส่กุญแจมือขังกับแรงงานคนอื่น ๆ และขู่จะยิงทิ้ง เพื่อบังคับให้เขาเหล่านั้นทำงานต่อ

ในปี 2557 ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ลดระดับของประเทศไทยลงต่ำสุด ในรายงานการค้ามนุษย์ประจำปี ในปี 2558 คณะกรรมาธิการยุโรปให้ “ใบเหลือง” เตือนประเทศไทย ถึงความล้มเหลวในการต่อสู้กับการทำประมงผิดกฎหมาย สหพันธ์สหภาพแรงงานระดับโลกและของสหรัฐฯ ต่างยื่นข้อร้องเรียนผ่านกลไกระหว่างประเทศ ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการแสวงหาประโยชน์ ด้านแรงงานและการปฏิเสธไม่ให้คนงานมีสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการสมาคมและการเจรจาต่อรองร่วม

เพื่ อตอบโต้กับแรงกดดันดังกล่าว รัฐบาลไทยจึงรื้อระบบตรวจสอบและบริหารจัดการภาคประมง และทำการปฏิรูปด้านนโยบายที่ทำมาอย่างต่อเนื่องหลายทศวรรษ เพื่อบริหารจัดการการย้ายถิ่นและขจัดการค้ามนุษย์การปฏิรูปเหล่านี้ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างกันในแง่การบรรลุวัตถุประสงค์ และการขาดการมีส่วนร่วมที่จริงจังกับองค์กรแรงงานเป็นอุปสรรคสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินการดังกล่าวจากข้อบกพร่องเหล่านี้ ทำให้ยังมีรายงานการปฏิบัติมิชอบด้านแรงงาน การใช้แรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่อง เป็นประจำในอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทย

การป้องกันการใช้แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์เป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการแก้ปัญหาย้อนหลัง แต่เมื่อคนงานตกเป็นเหยื่อการแสวงหาประโยชน์ แล้วจำเป็นต้องใช้กระบวนการศาลและการฟื้นฟูเยียวยาคนงาน การใช้แรงงานบังคับอาจไม่เกิดร่องรอยของการใช้กำลังกับร่างกาย แต่อาจรวมถึงการตกเป็นหนี้การยึดเอกสารประจำตัว และการจำกัดเสรีภาพในการเดินทาง วิธีการที่ได้ผลมากสุดเพื่อป้องกันไม่ให้คนงานตกเป็นเหยื่อการใช้แรงงานบังคับคือการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในขั้นตอนใดของกระบวนการคนงานเสี่ยงต่อการใช้แรงงานบังคับ หากพวกเขาไม่ทราบถึงสิทธิของตนเอง ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายไม่สามารถเข้าถึงกลไกร้องเรียน หรือกลัวไม่กล้าแจ้งร้องเรียน นายจ้างและนายหน้ามักแสวงหาประโยชน์ จากคนงานที่มีอำนาจน้อยกว่าตน และเมื่อพวกเขาสามารถทำได้โดยไม่ต้องรับผิด

สิทธิด้านสหภาพแรงงานช่วยป้องกันการใช้แรงงานบังคับได้อย่างไร

วิธีการที่เป็นผลมากสุดอย่างหนึ่งเพื่อป้องกันการใช้แรงงานบังคับ คือการประกันให้คนงานมีสิทธิอย่างเต็มที่ที่จะมีเสรีภาพในการสมาคมและการเจรจาต่อรองร่วม สิทธิเหล่านี้ ประกอบขึ้นเป็นมาตรฐานแรงงานหลักสี่ข้อขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งถือเป็นข้อกำหนดขั้นต่ำสำหรับคนงานทุกคนทั่วโลก ไม่ว่ารัฐบาลของพวกเขาจะลงนามในอนุสัญญา ILO หรือไม่ก็ตาม

สหภาพแรงงานช่วยป้ องกันการใช้แรงงานบังคับได้ในสองลักษณะใหญ่ ๆ กล่าวคือทำให้เกิดสมดุลทางอำนาจที่เท่าเทียมกันมากขึ้นระหว่างคนงานกับนายจ้าง ขจัดสาเหตุหลักของการแสวงหาประโยชน์ด้านแรงงาน สหภาพแรงงานยังช่วยเปลี่ยนแปลงสภาพการทำงาน เพื่อป้องกันการหลอกลวง การบังคับ และสภาพการแสวงหาประโยชน์ไม่ให้เกิดขึ้นตั้งแต่แรก

การขาดสิทธิด้านสหภาพแรงงานสำหรับคนงานในประเทศไทย

ราว 75% ของคนงาน 38 ล้านคนในไทยไม่ได้รับการประกันสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการสมาคมและการร่วมเจรจาต่อรองอย่างเต็มที่ภายใต้กฎหมาย ประเทศไทยมีความหนาแน่นด้านสหภาพแรงงานเพียง 1.6% นับว่าต่ำสุดในโลก แรงงานข้ามชาติเกือบสี่ล้านคนของประเทศคิดเป็น 10% ของแรงงานทั้งหมด กฎหมายไม่อนุญาตให้พวกเขาจัดตั้งสหภาพแรงงานหรือเป็นกรรมการสหภาพได้แต่คนงานไทยมีสิทธิเหล่านี้นี่ทำให้เห็นว่ากฎหมายเลือกปฏิบัติอย่างชัดเจน โดยการสร้างมาตรฐานที่แตกต่างไปสำหรับแรงงานข้ามชาติ และทำให้เสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อการแสวงหาประโยชน์

มีคนงานไทยไม่มากนักที่ทำงานที่ใช้ทักษะปานกลางหรือต่ำ อย่างเช่นในการแปรรูปอาหารทะเลพาณิชย์และการประมง ส่งผลให้มีคนงานไม่มากนักที่มีสิทธิจดทะเบียนหรือเป็นผู้นำสหภาพแรงงาน แรงงานในฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำก็ไม่มีสิทธิจัดตั้งหรือเข้าร่วมสหภาพแรงงาน เพราะถือเป็นแรงงานตามฤดูกาลอุปสรรคด้านกฎหมายเหล่านี้ส่งผลให้แรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแต่ละภาคส่วน แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการสมาคมและการเจรจาต่อรองร่วม

แรงงานข้ามชาติจากต่างชาติสามารถเข้าร่วมการเจรจาต่อรองได้ อย่างไรก็ดีคนงานที่รวมตัวหรือจัดกิจกรรมต่อรองนอกสหภาพแรงงานที่จดทะเบียนไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเพียงพอที่ป้องกันการถูกไล่ออก และหากสัญญาจ้างงานของแรงงานข้ามชาติยุติ มีแนวโน้มอย่างมาก ว่าแรงงานข้ามชาติเหล่านั้นจะต้องถูกส่งตัวกลับ ส่งผลให้พวกเขามักไม่ประสงค์หรือไม่กล้าที่จะออกมาเรียกร้อง

แรงงานข้ามชาติสามารถเข้าร่วมองค์กรคนงานอื่น ๆ ได้ตามกฎหมายของไทย เช่น การเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการลูกจ้างหรือคณะกรรมการสวัสดิการ แต่องค์กรเหล่านี้แตกต่างจากสหภาพแรงงาน เพราะไม่เป็นอิสระจากนายจ้าง และไม่สามารถนำไปสู่การทำข้อตกลงสภาพการจ้างงานที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายซึ่งคนงานสามารถใช้เพื่อคุ้มครองตนเองและบังคับให้นายจ้างต้องรับผิดชอบได้ นี่เป็นปัญหาเพราะบริษัทอาหารทะเลอ้างว่าพวกเขาสนับสนุนสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการสมาคมและการเจรจาต่อรองร่วมแล้วโดยจัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการขึ้นในที่ทำงาน

รัฐบาลไทยและบริษัทได้ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญาต่อแกนนำสหภาพแรงงานไทย แรงงานข้ามชาติและนักปกป้ องสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ที่ทำกิจกรรมส่งเสริมการรวมตัวเป็ นสหภาพแรงงาน การเจรจาต่อรองร่วม หรือการรายงานหรือเผยแพร่ข้อมูลการปฏิบัติมิชอบด้านแรงงาน สภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่นี้ การต่อต้านสหภาพแรงงานที่มีลักษณะเลือกปฏิบัติ และการฟ้องคดีหมิ่นประมาทมีเพื่อข่มขู่ ปิดปาก ทำให้นักรวมตัวแรงงานและนักกิจกรรมไม่กล้าเคลื่อนไหว

อ่านรายงานนี้ฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/3fzkD17

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net