Skip to main content
sharethis

สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ยื่นจดหมายเปิดผนึก เรื่อง การยุติการซ้อมทรมานและช่วยเหลือเหยื่อให้ได้รับความเป็นธรรม ต่อองค์การสหประชาชาติ และ พล.อ.ประยุทธ์

ภาพจากเพจ Cross Cultural Foundation (CrCF)

26 มิ.ย.2563 เนื่องใน วันช่วยเหลือเหยื่อจากการทรมานสากล (International Day in Support of Victims of Torture) สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ยื่นจดหมายเปิดผนึก เรื่อง การยุติการซ้อมทรมานและช่วยเหลือเหยื่อให้ได้รับความเป็นธรรม ต่อองค์การสหประชาชาติ และนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา

โดยเนื้อหาจดหมายเรียกร้องให้มีการยุติการซ้อมทรมานจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐในการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม และมีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหา และเชิญชวนให้คนในสังคมหันมาช่วยกันยุติการทรมาน การปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม ย่ำยีศักดิ์ศรี และเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายให้ได้รับความเป็นธรรม

รายละเอียดจดหมายของสมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย

จดหมายเปิดผนึก

เรื่อง การยุติการซ้อมทรมานและช่วยเหลือเหยื่อให้ได้รับความเป็นธรรม

วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ตามที่ถูกกำหนดให้เป็น “วันช่วยเหลือเหยื่อจากการทรมานสากล” (International Day in Support of Victims of Torture) แต่ในประเทศไทยมักคุ้นเคยกันในนาม “วันต่อต้านการทรมานสากล”ซึ่งประกาศโดยองค์การสหประชาชาติ เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาและเชิญชวนให้คนในสังคมหันมาช่วยกันยุติการทรมาน หรือการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ายีศักดิ์ศรี และเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายให้ได้รับความเป็นธรรม

ประเทศไทยได้ลงนามและเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการซ้อมทรมานฯ ของสหประชาชาติ มาตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งเป็นช่วงรัฐบาลทหาร ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทำให้ไทยมีภารกิจที่จะต้องปรับปรุงกฎหมายของตนเองให้สอดคล้องกับอนุสัญญาตั้งแต่นั้นมา กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ภายใต้กระทรวงยุติธรรม เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ร่างกฎหมายดังกล่าว โดยเริ่มแรกนั้น มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ให้มีเรื่องการซ้อมทรมานอยู่ด้วย แต่ร่างแก้ไขกฎหมายอาญาดังกล่าว ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากจากผู้ที่ทางานต่อต้านการทรมานว่า มีช่องโหว่จานวนมาก เช่น ให้นิยามการซ้อมทรมานไว้แคบมาก รวมถึงจุดมุ่งหมายของการกระทาก็เขียนไว้อย่างแคบ นิยามนั้นจากัดอยู่แค่การทาร้ายร่างกาย ข่มขืน และล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งใน CAT บทที่หนึ่งนั้น ได้กำหนดว่า การซ้อมทรมาน ไม่ใช่แค่การกระทำที่ทำให้ความเจ็บปวดทางร่างกาย แต่รวมถึงจิตใจด้วย นอกจากนี้ ปี 2010 ภาคประชาชนจึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติว่า เรื่องซ้อมทรมานโดยเฉพาะ ที่ครอบคลุมความผิดแบบต่างๆ อย่างกว้างขวางขึ้น และรัดกุมขึ้น ภาคประชาชนมองว่า ต้องมีกฎหมายแยกออกมาพิเศษ แค่การแก้กฎหมายอาญา กับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้นไม่พอ เพราะเมื่อไหร่ที่มีการประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง เช่น กฎอัยการศึก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นต้น ถูกบังคับใช้ ก็จะมีการให้อานาจพิเศษเพิ่มกับเจ้าหน้าที่ ที่ละเลยสิ่งที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอาญาได้ ซึ่งรูปแบบการซ้อมทรมานและการละเมิดสิทธิมนุษยชนระหว่างปี 2562 – 2563 สามารถจาแนกได้ เป็น 8 ประเภท คือ 1. การบังคับให้ยืนเปลือยในห้องแอร์เป็นเวลานาน 2. การขู่ทาร้ายญาติและ ครอบครัวของเหยื่อ 3. การทาร้ายและการทรมานที่ทิ้งร่องรอยบาดแผล 4. การทรมานในลักษณะ waterboarding 5. การห้ามปฏิบัติศาสนกิจ 6. การย่ายีเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์7. การซ้อม ทรมานที่สร้างความเสียหายให้กับอวัยวะภายในโดยไม่ทิ้งร่อยรอยภายนอก และ 8. การตบกกหู

ในนามสมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (สนมท.) ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรมขอเรียกร้องให้มีการยุติการซ้อมทรมานจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐในการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมระหว่างการถูกควบคุมตัวเพื่อให้ได้มาซึ่งคารับสารภาพจากวิธีการที่ผิดและมีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวนี้เพื่อเป็นการให้ความเป็นธรรมกับเหยื่อผู้ถูกกระทำจากการถูกซ้อมทรมาน

(1) ยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ถูกใช้ในการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน ของประชาชนโดยปราศจากการตรวจสอบถ่วงดุล และหมดความจาเป็นในการป้องกันการ ระบาดของโควิด-19 แม้ว่ารัฐได้ประกาศยกเลิกการบังคับใช้มาตรการเคอร์ฟิวและได้เข้าสู่ การผ่อนปรนระยะที่สี่แล้ว แต่ก็ยังมีการบังคับใช้และคงอานาจจาก พ.ร.ก. ฉุกเฉินอยู่ ดังนั้นจึง ยังมีข้อกังวลต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยอาศัยอานาจของ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ทั้งนี้รัฐบาลควร เลือกใช้มาตรการทางกฎหมายอื่นๆ เพื่อจัดการกับการแพร่ระบาดของโรคแทนที่ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เช่นการใช้พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เป็นต้น

(2) ห้ามไม่ให้มีการคุมตัวในสถานที่ลับ สถานที่คุมตัวนั้นต้องเป็นสถานที่ทางการ ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการและสามารถตรวจสอบได้ มีการกำหนดสิทธิให้ผู้ถูกคุมขังสามารถแจ้งสถานที่ สภาพคุมขัง กับญาติหรือทนายได้ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมตัวจะต้องบันทึก ชื่อ นามสกุล รูปพรรณสัณฐาน วัน เวลา สถานที่ ของการคุมขัง คาสั่งที่ให้มีการจากัดเสรีภาพ และเหตุแห่งการออกคาสั่งนั้น และวันเวลา สถานที่ที่มีการปล่อยตัว นอกจากนั้น ครอบครัวหรือญาติของผู้ถูกคุมตัวสามารถขอให้ศาลสั่งให้ยุติการทรมานได้ และศาลอาจสั่งให้มีการปล่อยตัว ให้ผู้เสียหายไปพบแพทย์ และออกมาตรการเยียวยาเบื้องต้น

(3) การดำเนินคดีได้กำหนดให้ผู้ใดก็ตามที่พบเห็นการกระทำความผิดมีหน้าที่ต้องแจ้ง และเจ้าหน้าที่รัฐที่รับการร้องเรียนนั้น ต้องส่งต่อให้กรรมการ ส่วนในการสอบสวนนั้น คณะกรรมการตามหมวดที่ 3 จะเป็นผู้มีอานาจในการเลือกคณะสอบสวน “โดยคานึงถึงหลักประสิทธิภาพและหลีกเลี่ยงมิให้เกิดความขัดกันของตาแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหา กับผู้เป็นพนักงานสอบสวน” และยังให้มีนักนิติวิทยาศาสตร์ หรือแพทย์ หรือจิตแพทย์เข้ารวมในการสืบสวนสอบสวนอีกด้วย

(4) ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอให้มีการยกเลิกประกาศใช้ทั้ง กฎอัยการศึก และ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน โดยสามจังหวัดนั้นอยู่ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2548 และเมื่อมีการประกาศกฎอัยการศึกเมื่อเกิดการรัฐประหารปี 2549 ทั่วประเทศ แม้กฎอัยการศึกจะถูกยกเลิกในพื้นที่อื่นๆ แต่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้กลับไม่มีการยกเลิก สามจังหวัดจึงอยู่ภายใต้กฎหมายพิเศษทั้งสองฉบับตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน

สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (สนมท.) หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทางหน่วยงานสหประชาชาติในประเทศไทยจะพิจารณาปฏิบัติตามข้อเรียกร้องดังกล่าว และตระหนักถึงความสาคัญของสิทธิเสรึภาพ สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ

สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net