Skip to main content
sharethis

ประธานสมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย(สนมท.) เข้ายื่นหนังสือ กมธ.กฎหมายฯ เรียกร้องให้ตรวจสอบการเก็บ DNA ผู้เข้ารับการคัดการทหารกองประจำการในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ชี้เป็นการเลือกปฏิบัติและละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งยังไม่ทราบว่า DNA ที่ได้ไปนั้นจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านใด

16 ก.ค. 2563 เมื่อเวลา 13.40 น. ที่รัฐสภา มารุวรรณ หะยีดอเล๊าะ ประธานสมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย(สนมท.) เข้ายื่นหนังสือต่อกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ร้องเรียนเรื่องการเก็บสารทางพันธุกรรม หรือ DNA ชายไทยที่เข้ารับการเกณฑ์ทหารและ การผ่อนผันการเกณฑ์ทหารเมื่อเดือน เม.ย. 2562 ซึ่งเป็นการ ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานและเป็นการเลือกปฏิบัติที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญตาม มาตรา 27 และละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (CERD) ที่ไทยได้ร่วมลงนามและมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย 27 ก.พ. 2546 โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวสร้างความไม่เป็นธรรมต่อเยาวชนในพื้นที่ที่เข้ารับการผ่อนผันและ เกณฑ์ทหาร และถูกจํากัดสิทธิ์ในการรับรู้ถึงเหตุผลการนําไปใช้งานของผลตรวจ DNA ตลอดจนไม่สามารถปฏิเสธการตรวจ DNA ในครั้งนั้นได้

มารุวรรณ ระบุด้วยว่า สําหรับปีนี้ ในช่วงระหว่างวันที่ 23 ก.ค. จนถึงตลอดช่วงเดือน ส.ค. จะมีการคัดเลือกทหารกองประจำการ  สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรนําในการขับเคลื่อนประเด็นสิทธิมนุษยชน มีความกังวลและเกรงว่า เหตุการณ์ดังกล่าวในปีที่ผ่านมาจะเกิดขึ้นอีกครั้งเป็นซ้ำสอง ทางสมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย ร่วมด้วยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กลุ่มลูกพ่อขุนไม่รับใช้เผด็จการ สหภาพนักเรียน นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) และกลุ่มพิราบขาวเพื่อมวลชน จึงมีข้อเรียกร้องดังนี้

คัดเลือกทหารเขตเมืองยะลา แถมเก็บ 'ดีเอ็นเอ'

ผ่อนผันทหารที่ยะลา เจอรอตรวจ DNA กว่า 3 ชม. สงสัยทำไมไม่แจ้งก่อน

'ผสานวัฒนธรรม' ร้อง จนท.ยุติและทำลายตัวอย่าง DNA ที่เก็บจากผู้เข้าเกณฑ์ทหารในพื้นที่ชายแดนใต้

'ประยุทธ์' ยันเก็บ DNA ทหารเกณฑ์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลความมั่นคง ย้ำไม่ละเมิดสิทธิ์

1.ขอให้ยุติการตรวจเก็บ DNA ในการเกณฑ์ทหารเพื่อเป็นการปฏิบัติต่อประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่าง เท่าเทียมและผู้ที่ถูกเก็บ "ดีเอ็นเอ" อาจอยู่ในภาวะ "จํายอม" มากกว่า "ยินยอม"

2.ขอให้มีการทําลายผลตรวจ DNA ในครั้งที่ผ่านมา เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอว่า DNA นั้นจะถูก นําไปใช้ประโยชน์ด้านใด จัดเก็บที่ไหน ใครสามารถเข้าถึงได้ และมีกําหนดเวลาในการทําลายตัวอย่างหรือไม่

3.ขอให้ดําเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ที่ใช้กําลังข่มขู่ในการตรวจ DNA ที่ผ่านมา จากรายงานข่าวว่า มีการข่มขู่ประชาชนที่ไม่ ยินยอมให้ตรวจ DNA ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีการอธิบายถึงเหตุผลในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวอย่างชัดเจน ซำ้เมื่อประชาชนมีการ ขัดขืนเจ้าหน้าที่มีการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net