สมัชชาแรงงานแห่งชาติชุมนุมหนุน 3 ข้อ 'ประชาชนปลดแอก' พร้อมฝันสร้างสู่รัฐสวัสดิการ-ประชาธิปไตย

สมัชชาแรงงานแห่งชาติ ชุมนุมหนุนประชาชนปลดแอก ร้องหยุดคุกคามประชาชน แก้ไขรัฐธรรมนูญ ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ และเดินหน้าสู่รัฐสวัสดิการถ้วนหน้าครบวงจร-สังคมประชาธิปไตย เกิดเหตุวุ่นวายกลุ่มชายชุดดำขึ้นห้าม ปธ.สนท.ปราศรัยเรื่องงบประมาณสถาบันกษัตริย์ แต่ผู้ชุมนุมไล่กลุ่มชายดังกล่าวออกจากที่ชุมนุม iLaw เผยกลุ่มดังกล่าวเป็นการ์ดที่ผู้ร่วมชุมนุมประสานมาเพื่อดูแล

21 ส.ค.2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ เมื่อเวลา 17.00 น. หน้าสำนักงานสภายานยนต์แห่งประเทศไทย BTS ปู่เจ้า จ.สมุทรปราการ สมัชชาแรงงานแห่งชาติ และเครือข่ายแรงงานต่อต้านการคุกคามประชาชน จำนวน 109 สหภาพฯ จึดกิจกรรมชุมนุม #แรงงานปฏิวัติ เพื่อสนับสนุน #ประชาชนปลดแอก โดยมีผู้ใช้แรงงานทั้งจากโรงงานอุตสาหกรรม อาชีพอิสระนักเรียนนักศึกษาผลัดกันขึ้นปราศรัยถึงปัญหาคุณภาพชีวิต ค่าแรง และเรียกร้องให้มีรัฐสวัสดิการ

ข้อเรียกร้องหลัก 4 ข้อ ประกอบด้วย 1. หยุดคุกคามประชาชนทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงโดยใช้กฎหมายที่ไม่มีความชัดเจน หรือทางอ้อมในการกดดันให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจแทรกแซงการเคลื่อนไหว หรือการข่มขู่ประชาชนในรูปแบบต่างๆ 2. แก้ไขรัฐธรรมนูญที่เอื้อต่อระบอบอำนาจนิยม ยกเลิกการรองรับคำสั่งประกาศและการกระทำของ คสช. และหัวหน้า คสช. เพื่อให้ผู้คนสามารถโต้แย้งรัฐธรรมนูญได้ และยกเลิกสมาชิกวุฒิสภาจากการแต่งตั้งที่เป็นกลไกสำคัญต่อการสืบทอดอำนาจ พร้อมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ที่ต้องมีคุณสมบัติสามประการ ดังต่อไปนี้ 1) อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนอย่างแท้จริงพร้อมทั้งต้องมีหลักประกันด้านสิทธิเสรีภาพทั้งในความคิดและการแสดงออก 2) ต้องมีหลักประกันด้านความเสมอภาค และ3) ต้องมีหลักประกันด้านคุณภาพชีวิต

3. ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ คืนอำนาจให้ประชาชน และ 4. เดินหน้าสู่รัฐสวัสดิการถ้วนหน้าครบวงจร เพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิต คืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพื่อรับประกันเสรีภาพในชีวิต และสร้างสังคมประชาธิปไตย

นิต วงษ์คำหาญ ผู้นำแรงงานกล่าวถึงความไม่มั่นคงในการทำงานโดยเฉพาะ การใช้ระบบซัพคอนแทร็ค สภาพการทำงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ได้เพียงค่าจ้างขั้นต่ำ ผลกระทบจากมาตรการแก้ปัญหาโควิดของรัฐบาล

นิต วงษ์คำหาญ

แกนนำแรงงานอีกคน กล่าวว่าต้องการยกระดับการศึกษาให้เท่าเทียม ค่าจ้างที่มีคุณภาพที่ดีที่สามารถครอบคลุมครอบครัว รัฐธรรมนูญนี้ไม่เกิดความยุติธรรมโดยเฉพาะ 250 ส.ว.ไม่ควรเกิดขึ้นมา เราเรียกร้องให้ยุบสภาอย่างเดียวไม่ได้เพราะรัฐบาลนี้ก็จะกลับมาอีก ดังนั้นต้องแก้รัฐธรรมนูญก่อน

จากนั้น 18.15 น. มีความวุ่นวายเกิดขึ้นบนเวที ในขณะที่ จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ ประธานสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.)ปราศรัยในประเด็นงบประมาณสถาบันกษัตริย์มีชายชุดดำ 3 คนผมเกรียนขัดขวางไม่ให้ปราศรัยทำให้เกิดการยื้อยุดบนเวทีก่อนที่ผู้ชุมนุมจะช่วยกันกันทั้งสามคนลงเวทีไปและขับไล่ออกไปจากบริเวณที่ชุมนุม ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวพยายามสอบถามสังกัดของกลุ่มชายดังกล่าว ไม่ได้รับการชี้แจงแต่อย่างใด

ภายหลังทวิตเตอร์ของ iLaw รายงานว่า ชายกลุ่มดังกล่าวเป็นการ์ดที่ผู้ร่วมชุมนุมประสานมาเพื่อดูแลผู้ชุมนุมและเฝ้าระวังและสกัดป้ายที่มีข้อความเกี่ยวกับสถาบันฯ เมื่อได้ยินเรื่องงบสถาบันพระมหากษัตริย์จึงเกิดความเข้าใจผิดว่าพูดไม่ได้

ไทยพีบีเอส รายงาน ว่า พ.ต.อ.อาทิตย์ ซิ้มเจริญ ผกก.สภ.สำโรงเหนือ กล่าวหลังเหตุชายฉกรรจ์พยายามนำตัว "จุฑาทิพย์" ลงจากเวทีปราศรัยของกลุ่มสมัชชาแรงงานแห่งชาติ โดยระบุว่า ไม่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือตำรวจที่เข้ามาดูแลความปลอดภัยในพื้นที่เนื่องจากว่าได้แจ้งข้อมูลให้กับผู้จัดว่า ในประเด็นที่ล่อแหลมเราขอ ทางผู้จัดก็ให้ความร่วมมือ แต่ทาง จุฑาทิพย์ พูดในเรื่องที่เริ่มจะล่อแหลม ทางผู้จัดซึ่งดูแลกันเองก็ขึ้นไปขอร้องว่าไม่ให้พูดต่อในประเด็นเหล่านี้ ก็มีการเข้าใจผิดระหว่างมวลชน เรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับตำรวจและทหาร

หลังจากจุฑาทิพย์เดินทางออกจากสถานที่ชุมนุมไปแล้ว เวลา 20.35 น. เธอได้โพสต์แจ้งว่าปลอดภัยแล้วและนำเนื้อหาที่เธอเตรียมมาพูดลงในเฟซบุ๊ก Jutathip Sirikhan ของเธอว่า

“เวลาพูดถึงคำว่าปลดแอก ข้อนึงที่เราจะไม่พูดถึงไม่ได้คือ ปลดแอกนั้นหมายถึงการทำลายพันธนาการทางชนชั้นด้วย เพราะไม่ได้มีแค่แอกที่กดทับเราอยู่ หากแต่เราทุกคนมีโซ่ตรวนทางชนชั้นที่พันธนาการและฉุดรั้งให้เราก้าวไปข้างหน้าไม่ได้

เพราะฉะนั้นปากท้อง ชนชั้น และประชาธิปไตย คือเรื่องเดียวกันทั้งสิ้น และเราจะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปไม่ได้”

เธอกล่าวต่อว่าในสมัยศักดินา สามัญชนถูกกดขี่โดยเหล่าขุนนาง จวบจนสมัยหนึ่งเหล่าขุนนางได้แปรสภาพไปกดขี่ในรูปแบบของชนชั้นนายทุน แต่ของประเทศไทยขุนนางศักดินากลับยังอยู่และจับมือกับนายทุนมากดขี่ประชาชนไม่ให้มีฝันและคุณภาพชีวิตที่ดี

เธอกล่าวถึงงบของสถาบันกษัตริย์โดยเฉพาะงบประมาณส่วนราชการในพระองค์ ที่เพิ่งได้มีการพูดถึงในคณะกรรมาธิการเมื่อวานนี้ ในปี 2563 มีจำนวน 7,685 ล้านบาท แต่ในปี 2564 เพิ่มเป็น 8,980 ล้านบาท โดยไม่มีการชี้แจงและตรวจสอบไม่ได้ ที่สำคัญคือภาษีของประชาชน ซึ่งสามารถนำมาสร้างรัฐสวัสดิการได้

“ลองจินตนาการดูว่า ประเทศไทยจะไม่มีใครต้องอดอยากอีกต่อไป พวกเราไม่จำเป็นต้องทำงานหนักขนาดนี้เพื่อมีชีวิต ตอนนี้พวกเราทำงานจนไม่มีชีวิตแล้ว งบประมาณเหล่านั้นต้องถูกนำมาจัดสรรเป็นรัฐสวัสดิการ การศึกษา การรักษาพยาบาล ขนส่งสาธารณะ”

ถ้าการเมืองดีคนไทยทุกคนจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีถ้วนหน้า ฝุ่นควันจะหมดไป รถไฟจะทั่วถึง และไม่มีใครต้องตื่นแต่รุ่งเช้าไปทำงานตอนแปดโมง ความเจริญจะกระจายไปทุกจังหวัดทำให้คนไม่ต้องมากระจุกที่กรุงเทพ ครอบครัวจะพร้อมหน้าความอบอุ่นจะเป็นของทุกคน ไม่ใช่เฉพาะคนมีต้นทุนทางสังคมและเป็นสิ่งที่เกิดได้จริงไม่ใช่แค่ฝัน

“แน่นอนว่าเพดานการเคลื่อนไหวในแนวดิ่งได้ถูกทำลายไปแล้ว วันนี้เราพูดถึงสถาบันกษัตริย์อย่างตรงไปตรงมา แต่เราจะไม่หยุดแค่นั้น ถึงเวลาแล้วที่พวกเราทุกคนต้องมาทำลายผนังของการต่อสู้ในแนวขนานให้ทำลายลงด้วย นั่นคือเราต้องตั้งคำถามไปถึงแก่นแกนของชนชั้น แก่นแกนของการกดขี่ นายทุน ขุนศึก และศักดินาต้องพินาศ ประชาธิปไตยและประชาราษฎร์ต้องเสมอหน้าและยั่งยืน”

จุฑาทิพย์กล่าวปิดท้ายว่า เผด็จการต้องจบในรุ่นเรานั่นเป็นสิ่งที่แน่นอน แต่ยังไม่พอ ต้องทำให้รัฐสวัสดิการเกิดขึ้นเพื่อให้ชีวิตที่ดีกว่ามันเกิดในรุ่นเราด้วย

สหภาพอาชีพอิสระแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์สนับสนุนของเรียกร้องของประชาชนปลดแอกสามข้อที่เรีกร้องให้ยุติการคุกคามผู้เห็นต่างทางการเมือง แก้ไขรัฐธรรมนูญ และให้ยุบสภา แต่ก็ยังมีการใช้กฎหมายจับกุมและคุกคามผู้ที่ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพ

ในฐานะแกนนำจึง อยากขอแสดงเจตนารมณ์ในการชุมนุมอย่างสันติ ปราศจากอาวุธ ไม่มีเบื้องหลังและผลประโยชน์ในทางการเมืองแอบแฝงในทุกการชุมนุมของประชาชนทุกกลุ่ม ทุกภาคส่วน ทั่วประเทศเพื่อเพียงแต่ต้องการแสดงสิทธิความคิดเห็นทางการเมืองตามสิทธิของชาวไทย ในฐานะเจ้าของประเทศทั่วกัน และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อการพัฒนาประเทศร่วมกันอย่างสันติ ยุติการใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมและทบทวนข้อเรียกร้องต่างๆ เพื่อให้สถานการณ์ที่ย่ำแย่ในประเทศฟื้นฟูโดยเร็วที่สุด

ก่อนเสร็จสิ้นกิจกรรมวันนี้ อมรฤทธิ์ แสงยะรักษ์ เลขาธิการสมัชชาแรงงานแห่งชาติได้ขึ้นอ่านแถลงการณ์ของสมัชชและเครื่องแรงงานต่อต้านการคุกคามประชาชน จำนวน 109 สหภาพฯ โดยมีสาระสำคัญคือ ขณะนี้สหภาพแรงงานถูกคุกคามจากรัฐบาลทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานตกต่ำสูญเสียงานนับล้าน โดยกลุ่มเยาวชนได้เห็นความไม่เป็นธรรมจึงได้ออกมาแสดงจุดยืนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ทางสมัชชาจึงมีข้อเรียกร้อง 4 ประการคือ

  1. หยุดคุกคามประชาชนทุกรูปแบบ

  2. แก้ไขรัฐธรรมนูญที่เอื้อต่อระบอบอำนาจนิยม ยกเลิกการรองรับคำสั่งประกาศและการกระทำของ คสช. และหัวหน้า คสช. เพื่อให้ผู้คนสามารถโต้แย้งรัฐธรรมนูญได้ และยกเลิกสมาชิกวุฒิสภาจากการแต่งตั้งที่เป็นกลไกสำคัญต่อการสืบทอดอำนาจ

  3. ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ คืนอำนาจให้ประชาชน

  4. เดินหน้าสู่รัฐสวัสดิการถ้วนหน้าครบวงจร เพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิต คืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพื่อรับประกันเสรีภาพในชีวิต และสร้างสังคมประชาธิปไตย

แถลงการณ์สมัชชาแรงงานแห่งชาติ และเครือข่ายแรงงานต่อต้านการคุกคามประชาชน จำนวน 109 สหภาพฯ

จากสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันได้มีความเหลื่อมล้ำที่ขยายออกอย่างต่อเนื่องภายใต้รัฐบาลตลอด 6 ปีที่ผ่านมา การละเมิดสิทธิแรงงานเกิดขึ้นในวงกว้าง สหภาพแรงงานถูกคุกคามจากรัฐบาลทั้งทางตรงและโดยอ้อม กลุ่มทุนขนาดใหญ่มีความสัมพันธ์แนบชิดกับรัฐบาล ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศตกต่ำ ไม่สามารถต่อรองได้ และเมื่อเกิดวิกฤติโรคระบาดก็ได้สะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำยากจนที่ฝังรากลึกในประเทศนี้ ผู้คนนับล้านสูญเสียงาน กลุ่มนายจ้างจำนวนมากฉกฉวยช่องว่างทางกฎหมายในการเลิกจ้าง บังคับลาออกเปลี่ยนสภาพการจ้าง ผู้ใช้แรงงานจำนวนมหาศาลต้องใช้ชีวิตอย่างสิ้นหวัง รอคอยการถูกเลิกจ้าง ลดเงินเดือน อย่างไร้อำนาจการต่อรอง เพราะกลไกทางกฎหมายและรัฐสภาก็ไม่สามารถเป็นที่พึ่งได้ ประเด็นที่ก้าวหน้าที่นำเสนอโดยชนชั้นแรงงาน เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับแก้ไข หรือ พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติก็ถูกยื้อเวลา จนทำให้ขบวนการแรงงานทั้งผองรู้สึกสิ้นหวังในกลไกสืบทอดอำนาจของรัฐบาลที่ทำให้รัฐสภาไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง

ความเดือดร้อนแผ่ไปทุกหย่อมหญ้า กลุ่มคนรุ่นใหม่ นักเรียน นิสิต และนักศึกษาที่มองเห็นถึงความไม่เป็นธรรมในสังคมและความสิ้นหวังของประเทศนี้ได้ออกมาแสดงจุดยืนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเมืองสู่ความเป็นประชาธิปไตย กลับถูกคุกคามจากอำนาจรัฐ ถูกตั้งข้อหาอย่างไม่เป็นธรรม แม้ความต้องการของพวกเขาจะเป็นเพียงแค่การปรารถนาความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การเมืองที่เป็นประชาธิปไตย และสังคมที่เท่าเทียมอันเป็นข้อเสนอเดียวกันกับขบวนการแรงงานทุกยุคทุกสมัย ที่ผู้นำแรงงานจำนวนมากนำชีวิตเข้าเสี่ยงภัย ถูกสังหารและอุ้มหายมาตลอดหลายสิบปี การคุกคามประชาชน คือการทำลายประชาธิปไตย ทำลายสิทธิในการส่งเสียง คือการทำลายขบวนการแรงงานด้วยเช่นเดียวกัน สมัชชาแรงงานแห่งชาติจึงขอประกาศแถลงข้อเรียกร้อง สี่ประการดังนี้

1. หยุดคุกคามประชาชนทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงโดยใช้กฎหมายที่ไม่มีความชัดเจน หรือทางอ้อมในการกดดันให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจแทรกแซงการเคลื่อนไหว หรือการข่มขู่ประชาชนในรูปแบบต่างๆ
2. แก้ไขรัฐธรรมนูญที่เอื้อต่อระบอบอำนาจนิยม ยกเลิกการรองรับคำสั่งประกาศและการกระทำของ คสช. และหัวหน้า คสช. เพื่อให้ผู้คนสามารถโต้แย้งรัฐธรรมนูญได้ และยกเลิกสมาชิกวุฒิสภาจากการแต่งตั้งที่เป็นกลไกสำคัญต่อการสืบทอดอำนาจ พร้อมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ที่ต้องมีคุณสมบัติสามประการ ดังต่อไปนี้

1) อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนอย่างแท้จริงพร้อมทั้งต้องมีหลักประกันด้านสิทธิเสรีภาพทั้งในความคิดและการแสดงออก

2) ต้องมีหลักประกันด้านความเสมอภาค และ

3) ต้องมีหลักประกันด้านคุณภาพชีวิต

3. ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ คืนอำนาจให้ประชาชน
4. เดินหน้าสู่รัฐสวัสดิการถ้วนหน้าครบวงจร เพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิต คืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพื่อรับประกันเสรีภาพในชีวิต และสร้างสังคมประชาธิปไตย

110 รายชื่อสหภาพแรงงานที่สนับสนุน

  1. สภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย
  2. สหพันธ์แรงงานโตโตต้า 
  3. สหพันธ์แรงงานชิ้นส่วนยานยนต์แห่งประเทศไทย 
  4. สมาพันธ์แรงงานฮอนด้า 
  5. สมาพันธ์แรงงานฟอร์ดและมาสด้า 
  6. สมาพันธ์แรงงานรถยนต์มิตซูบิชิ 
  7. สมาพันธ์แรงงานเด็นโซ่ 
  8. สมาพันธ์แรงงานอีซูซุประเทศไทย 
  9. สหภาพแรงงานโตโยต้า ประเทศไทย 
  10. สหภาพแรงงานสยาม โตโยต้า 
  11. สหภาพแรงงานโตโยต้า โกเซ  
  12. สหภาพแรงงานชีวิตใหม่ (มิตซูบิชิ ฟอร์จจิ้ง) 
  13. สหภาพแรงงานซากะ ฟาสเซินเนอร์ 
  14. สหภาพแรงงานไทยดีคัล 
  15. สหภาพแรงงานไทยโตชิ 
  16. สหภาพแรงงานฮีโน่ ประเทศไทย 
  17. สหภาพแรงงานผู้บริหารโตโยต้า ประเทศไทย 
  18. สหภาพแรงงานผู้บริหารเด็นโซ่ ประเทศไทย 
  19. สหภาพแรงงานที่ที่เค โลจิสติกส์ ประเทศไทย 
  20. สหภาพแรงงานเซ็นทรัลมอเตอร์วีลประเทศไทย 
  21. สหภาพแรงงานโตโยดะ ไทยแลนด์ (เจเทค) 
  22. สหภาพแรงงานยานยนต์และอะไหล่อีซูซู ประเทศไทย 
  23. สหภาพแรงงานเครื่องยนต์และอะไหล่อีซูซุ แห่งประเทศไทย 
  24. สหภาพแรงงานโรเด้นสต๊อก ประเทศไทย 
  25. สหภาพแรงงาน ไลเน็กซ์ ประเทศไทย 
  26. สหภาพแรงงานสยามชิโตเซะ 
  27. สหภาพแรงงานเด็นโซ่ ประเทศไทย 
  28. สหภาพแรงงานสยามเด็นโซ่และสยามเคียวซัน 
  29. สหภาพแรงงานยานภัณฑ์ 
  30. สหภาพแรงงานโซเด นากาโน ประเทศไทย 
  31. สหภาพแรงงานที่-ปี-เอฟ-เอส-ที่ 
  32. สหภาพแรงงานสยามเอที สัมพันธ์ 
  33. สหภาพแรงงานเอสที่บีเท็กซ์ไทล์ 
  34. สหภาพแรงงานอินโนแอค ประเทศไทย 
  35. สหภาพแรงงานพนักงานโตไอริคะ 
  36. สหภาพแรงงานทั้งกะลอยด์ แมนูแฟคเจอริง 
  37. สหภาพแรงงานฮิฮารา 
  38. สหภาพแรงงานเย็นดีเค 
  39. สหภาพแรงงานอันเด็น ประเทศไทย 
  40. สหภาพแรงงานมิตซุยสยามแห่งประเทศไทย 
  41. สหภาพแรงงานโตโยต้า ยานยนต์ประเทศไทย 
  42. สหภาพแรงงานเอเอสซีแอล ประเทศไทย 
  43. สหภาพแรงงานบริดจ์สโตนไทร์ 
  44. สหภาพแรงงานดาลโซนิค คันเซ ประเทศไทย 
  45. สหภาพแรงงานผู้บังคับบัญชาบริษัทสมบูรณ์โซมิคฯ 
  46. สหภาพแรงงานรูเทคไทย 
  47. สหภาพแรงงานในล์สไทย 
  48. สหภาพแรงงานสยามมาบูชิ 
  49. สหภาพแรงงานมาบูชิ 
  50. สหภาพแรงงานวอล์คเกอร์ เอ็กซอสท์ ประเทศไทย 
  51. สหภาพแรงงานไทยชนาธร 
  52. สหภาพแรงงานซูมิโตโม รับเบอร์ 
  53. สหภาพแรงงานเด็มโก้ ประเทศไทย 
  54. สหภาพแรงงานไทยโดวะ ประเทศไทย 
  55. สหภาพแรงงานไทยโซบิ 
  56. สหภาพแรงงานวายเอ็นพี สัมพันธ์ 
  57. สหภาพแรงงานไอซิน สัมพันธ์ 
  58. สหภาพแรงงาน เอ็ม เอส พี ทรานส์ 
  59. สหภาพแรงงานล็อกไทย โอโลเท็กซ์ 
  60. สหภาพแรงงานขนส่งกลุ่มร่วมกิจรุ่งเรือง ประเทศไทย 
  61. สหภาพแรงงานพนักงานไทยซัมมิทออโต้พาร์ท 
  62. สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ มอเตอร์ไซเคิล 
  63. สหภาพแรงงานไทยออโตคอนเวอร์ชั่น (TAC) 
  64. สหภาพแรงงานเซอิมิกซุไทย 
  65. สหภาพแรงงานจิบูฮิน 
  66. สหภาพแรงงานไทยซัมมิทฮาร์เนส 
  67. สหภาพแรงงานวิวเทคเอซีย 
  68. สหภาพแรงงานเอส เค ออโต้ อินทีเรีย 
  69. สหภาพแรงงานอาอิชิ อินเตอร์เนชั่น 
  70. สหภาพแรงงานไทย นิปปอน เซอิกิ 
  71. สหภาพแรงงานที่ซีแมนูแฟคเจอริ่ง 
  72. สหภาพแรงงานเอฟซี 
  73. สหภาพแรงงานฟอร์ดและมาสด้าประเทศไทย 
  74. สหภาพแรงงานผู้บริหารฟอร์ดและมาสด้า ประเทศไทย 
  75. สหภาพแรงงานดูคาติมอเตอร์ประเทศไทย 
  76. สหภาพแรงงานซันโดโกเซ ประเทศไทย 
  77. สหภาพแรงงานโฟรเรอเซีย อีมิสชั่นคอนโครล 
  78. สหภาพแรงงานเคดีไอ 
  79. สหภาพแรงงานทาเอเบะไทยแลนด์ 
  80. สหภาพแรงงานที่ซีซีโร่ โลจิสติกส์ ประเทศไทย 
  81. สหภาพแรงงาน เอส ซี 
  82. สหภาพแรงงานรถยนต์มิตซูบิชิแห่งประเทศไทย 
  83. สหภาพแรงงานอาเคโบโนเบรก ประเทศไทย 
  84. สหภาพแรงงาน เอ็น เอส เค แบริ่ง 
  85. สหภาพแรงงานไพโอเนีย ประเทศไทย 
  86. สหภาพแรงงานไทยโกเบเวลดิ้ง แห่งประเทศไทย 
  87. สหภาพแรงงานไทยโกเบเวลดิ้งแห่งประเทศไทย
  88. สหภาพแรงงานโกเบมิกไวร์ แห่งประเทศไทย 
  89. สหภาพแรงงานมูซาชิ ออโต้พาร์ท ไทยแลนด์ 
  90. สหภาพแรงงานไอจิ ฟอร์จ แห่งประเทศไทย 
  91. สหภาพแรงงานซัมมิท โอโตบอดี้อันดัสที่ 99 
  92. สหาภาพแรงงานยานยนต์ไทยสัมพันธ์ 
  93. สหภาพแรงงานโบการ์ท ไทยแลนด์ 
  94. สหภาพแรงงานนิตโต้มาเทค (ประเทศไทย) 
  95. สหภาพแรงงานซัมมิท อาร์แอนด์ดี เซนเตอร์ 
  96. สหภาพแรงงานซัมมิท 
  97. สหภาพแรงงานซัมมิทสเตียริงสัมพันธ์ 
  98. สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอการตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย 
  99. สหภาพแรงงานอาหารและเครื่องดื่มแห่งประเทศไทย
  100. สหภาพแรงงานไทยซัมมิทโอโตโมทีฟ 
  101. สหภาพแรงงานสยามกเก้น 
  102. สหภาพแรงงานไทยซัมมิท โอโตพาร์ท 
  103. สหภาพแรงงานไทยซัมมิทอินเตอร์ซีตส์ 
  104. สหภาพแรงงงาน โอซาก้า 
  105. สหภาพแรงงานทาคาตะสัมพันธ์ 
  106. สหภาพแรงงานไทฟฟูโกกุ 
  107. สหภาพเเรงงานเอสแอนด์ซีซี่
  108. สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ 
  109. สหภาพแรงงานเอฟเวอรี่ 
  110. สหภาพแรงงานอัลมอนด์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท