Skip to main content
sharethis

Fairness Team ร่วมกับกลุ่มเสรีมวลชนเพื่อสังคม จัดกิจกรรมค่ายเครือข่ายใยแมงมุมคนรุ่นใหม่เพื่อสิทธิมนุษยชน ที่ จ.มหาสารคาม หวังสร้างการตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนและการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์สังคม

Fairness Team รายงานว่า เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2563 ที่ผ่านมา Fairness Team ร่วมกับกลุ่มเสรีมวลชนเพื่อสังคม จัดค่ายให้ความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับการการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในสถานการณ์ COVID-19 ภายใต้ค่ายเครือข่ายใยแมงมุมคนรุ่นใหม่เพื่อสิทธิมนุษยชน: 'การละเมิด' ใน 'การละเมิด' ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของ 'ผีน้อย' ในสถานการณ์ COVID-19 ณ โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ ต.นาโพธิ์ อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม โดยมีผู้ดำเนินโครงการรวม 11 คน เป็นนิสิต 10 คน และอาจารย์ที่ปรึกษาอีก 1 คนทั้งนี้มีนักเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เข้าร่วมโครงการ 29 คน 

กิจกรรมประกอบด้วย ฐาน 1 'คอยอยู่เคียงข้างกันเสมอ และเป็นเธอคนเดิมเสมอ' กล่าวถึง สิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิดไม่สามารถพราก ถ่ายโอนหรือสละสิทธินั้นได้ สิทธิมนุษยชนคือสิ่งที่ทำให้คนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์คือหัวใจสำคัญของสิทธิมนุษยชนที่มองว่ามนุษย์ทุกคนมีเป้าหมายในตนเองและไม่ควรถูกลดทอนลงเป็นเพียงเครื่องมือของใครเราเป็นคนเราจึงมีสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แมว หมา ไม่มีสิทธิมนุษยชนคนเท่านั้นที่จะมีและจะติดตัวเราไปตั้งแก่เกิดจนเราตาย 

ฐาน 2 'ดวงตาของฉันมันมืดมิดแต่ชีวิตของฉันไม่มืดมน' ฐานนี้อธิบายถึง 'การละเมิด' ศักดิ์ศรีความป็นมนุษย์ของ 'ผีน้อย' ในสถานการณ์ COVID-19 ที่ถูกกดขี่ทั้งในตอนที่เป็นแรงงานผิดกฎหมายในประเทศเกาหลีใต้และเมื่อเดินทางกลับประเทศไทยก็ถูกตีตราจากสื่อและสังคม มีการเลือกปฏิบัติ ไล่ล่า แบ่งแยก แต่ถึงแม้ว่าเขาจะเลือกเดินทางผิดแต่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเขายังควรได้รับการเคารพคุ้มครองในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

และฐาน 3 'ทานตะวันชูคอชูช่อรออยู่คอยชะเง้อดูรอพอกลับมา' ฐานนี้อธิบายถึง 'การละเมิด' ใน 'การละเมิด' ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความจริงแล้ว 'ผีน้อย' เลือกทางผิดหรือความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่เป็นกรอบที่บีบบังคับ 'ผีน้อย'ถูกจำกัดให้เป็นคนชายขอบที่ไม่ได้รับการเหลียวแลจากรัฐอยู่ในสังคมที่ไม่เอื้อให้พวกเขาเดินตามความฝันได้ พวกเขาจึงต้องดิ้นรนไขว่คว้าด้วยตัวเองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและการที่ 'ผีน้อย' โดนละเมิดเมื่อเป็นแรงงานผิดกฎหมาย หรือเมื่อเดินทางกลับไทยล้วนไม่ใช่เรื่องของโชคชะตาฟ้าลิขิต แต่เป็นเพราะความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่นำไปสู่ความเหลื่อล้ำทางสังคมซึ่งมาจากโครงสร้างที่มีปัญหา รัฐสวัสดิการ และระบบราชการ   ที่ไม่ได้เอื้อให้กับพลเมืองทุกคนในรัฐทำให้คนบางกลุ่มโดนลดทอนโอกาสในการบรรลุเป้าหมายของตนเองและลดทอนอำนาจในการต่อรอง ดังนั้นแล้ว 'ผีน้อย'คือการถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในตัวของมันเองเพราะเขาไม่ได้ถูกละเมิดแค่ตอนที่เป็นผีน้อยแต่เขาถูกละเมิดจากโครงสร้างตั้งแต่ตอนที่ยังไม่ได้เป็น 'ผีน้อย' มันจึงเป็น 'การละเมิด' ใน 'การละเมิด'

จากนั้นได้มีการมอบจุลสารเสรีปริทัศน์ซึ่งจัดทำขึ้นโดยทางกลุ่มเสรีมวลชนเพื่อสังคม แก่ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนก่อนมีพิธีปิด จากที่ได้จัดโครงการนี้ทำให้นิสิตผู้ดำเนินโครงการและนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนและการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยมุ่งหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์สังคมที่เคารพในสิทธิ และหน้าที่ เพื่อที่จะพาสังคมไทยกลับเข้าสู่สังคมภาดรภาพมี่สงบและสันติบนพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net