Skip to main content
sharethis

ช่อง 'ปั่นประสาท Channel' เผยแพร่คลิปรายการ 'เกรด A ยูเรก้า' Ep. 5 ซึ่งเป็นการพูดคุยกับ อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ศาสตราจารย์และอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถึงประเด็นความเป็นไปได้ที่ชนชั้นนำจะใช้เรื่อง "มือที่สาม" เข้ามาจัดการกับการชุมนุมประท้วงของนักเรียนนักศึกษา การรัฐประหาร และว่าด้วยเรื่องการเมืองภาคประชาชนในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน

เกี่ยวกับงานวิจัยเรื่อง 'มือที่สาม' ของ อรรถจักร์ โดยสรุปการศึกษาเรื่องวัฒนธรรมการเมือง มือที่สาม มีฐานจากกรอบความคิดของชนชั้นนำไทยที่มีระหว่างผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครองว่าเป็นความสัมพันธ์ที่ราบรื่น ไร้ซึ่งความขัดแย้ง หากเป็นความขัดแย้งย่อมเป็นเหตุที่เกิดจากคนอื่นที่ประสงค์นอกเหนือจากความเป็นอยู่ที่ดีของชาติ ที่คือการตีความเหนือกรอบความจริงที่จำกัดทั้งเรื่องของพื้นที่ภายใต้การกำกับของรัฐและการแบ่งบทบาทหน้าที่ภายใต้พื้นที่นั้น ๆ เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและประชาชนถูกมองอย่างคับแคบในลักษณะตรงไปตรงมา ไร้ซึ่งความขัดแย้ง การจัดการปัญหาใดๆ ที่เป็นอันตรายต่อความสัมพันธ์นี้จึงเป็นการจัดการกับมือที่สามโดยรัฐเป็นผู้จัดการ ส่วนประชาชนนั้นก็เพียงรอคอยให้รัฐคืนความสุขให้

เกรด A ยูเรก้า : จากวันนั้นที่เขียนวิจัยเรื่องนี้จนถึงวันนี้คิดว่าเรื่องการอ้างมือที่สามยังมีอิทธิพลอยู่มั้ยในการเมืองไทยเวลานี้ ในปัจจุบัน

อรรถจักร์: ต้องตอบว่าการอ้างมือที่สามยังมีอิทธิพลสำหรับกลุ่มผู้ปกครอง กลุ่มผู้ปกครองยังคงใช้มือที่สามในการอธิบาย ลองนึกถึงการเคลื่อนไหวของนักศึกษาในวันนี้ เราจะพบว่าอีลีท ชาชั้นนำจำนวนมาก ทหาร โดยเฉพาะฝั่งทหารเค้าจะบอกว่า นักศึกษา นักเรียนเป็นผู้บริสุทธิ์แต่มีคนยุยง อันนี้คือมือที่สามที่ยังถูกใช้อยู่

มันน่าสนใจคือ ถูกใช้อย่างที่เรียกว่ากระหน่ำใช้ แต่สิ่งสำคัญคือสังคมโดยรวมไม่ค่อยอินกับเรื่องนี้ไปแล้ว ปัจจุบันมันเปลี่ยนไปแล้ว

ทัศนคติของประชาชนที่มีส่วนร่วมทางการเมืองเพียงเฉพาะในเวลาของกระบวนการการเลือกตั้ง คือไปโหวตแล้วจบ สิ่งนี้เป็นการยอมรับการจำกัดจินตนาการเรื่องพื้นที่ทางสังคมหรือเปล่า เพราะวัฒนธรรมแบบนี้ใช่มั้ย เรื่องมือที่สามเลยยังมีความหมายอยู่ ถ้าเราอยากแก้สิ่งนี้เราต้องทำอย่างไร

ใช่ คงจะตอบว่าใช่และไม่ใช่ ใช่อย่างหนึ่งคือส่วนใหญ่ของสังคมไทยในช่วงที่ผ่านมา คนกลุ่มใหญ่ silent majority ยังคงเป็นกลุ่มที่มีบทบาทการเมืองเฉพาะโหวตเสร็จแล้วก็นั่งรอนักการเมืองทำอะไรให้ ขณะเดียวกันอาจจะสัก 1 ใน 3 หรืออาจจะกว่าครึ่งเริ่มมีบทบาท การเคลื่อนไหวของสีเหลืองหรือการเคลื่อนไหวของสีแดงหรือขบวนการสีแดงได้เคลื่อนเข้ามา เปลี่ยน passive citizen มาเป็น active citizen มากขึ้น แปลว่ามาเป็นพลเมืองที่เข้าไปสำนึกเกี่ยวข้องมากขึ้น ถ้าให้ผมเดานะ ผมยังไม่ได้เข้าไปตามจริงๆ กลุ่มฝั่ง active citizen เริ่มไม่ให้ความสำคัญกับความคิดมือที่สามแล้ว เช่น คนจำนวนหนึ่งที่พ่อแม่ของนักเรียนที่เคลื่อนไหวบอกว่า แม้เค้าไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ลูกทำแต่ในฐานะที่เป็นพลเมืองไทย พ่อแม่บอกเค้าต้องทำหน้าที่ปกป้องไม่ให้ลูกเค้าทำอะไรและปกป้องให้ลูกเค้าได้แสดงออก อันนี้คือทำให้ลูกเค้าไม่ได้เป็นมือที่สามหรือมือที่สามยุยงอยู่อีกต่อไป ดังนั้นมีทั้งใช่และไม่ใช่ซ้อนกันอยู่

อาจารย์คิดว่าความแตกต่างระหว่างรุ่นของคนมีอิทธิพลต่อการบอกว่าเขาเซนซิทีฟกับเรื่องมือที่สามไหม แบบคนที่อายุเยอะกว่าอาจจะเซนซิทีฟกับเรื่องนี้ เด็กรุ่นใหม่อาจจะไม่เท่าไหร่แล้ว

อันนี้ผมเห็นด้วย 100% ผมคิดว่าคนรุ่นแก่ รุ่น 40 ขึ้นเค้ายังรู้สึกหรือคิดว่าความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและสังคมมันต้องเป็นอย่างงี้ มันดี และผู้นำรัฐต้องคอยมาช่วยเหลือ คนพวกนี้ก็จะรู้สึกถึงมือที่สามถ้าใครเคลื่อนไหว ถ้ารุ่นใหม่ คือรุ่นคุณหรือรุ่นก่อนคุณหรือว่ารุ่นหลังคุณ ผมคิดว่าเค้าเติบโตมาเองและการตัดสินใจอยู่บนฐานการคิดของเค้าเองแล้ว ไม่ว่าเราจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย แต่ว่าเค้าคิดของเค้าเอง เค้ารู้สึกของเค้าเอง ดังนั้นสิ่งที่คุณพูดน่าสนใจมากคือ คนรุ่นใหม่หรือ young generation เป็นกลุ่มคนที่ไม่ให้ราคา คุณใช้คำว่าไม่ซื้อความคิดนี้คือ ดี ชัด คือไม่ซื้อความคิดเรื่องมือที่สามอีกแล้ว

แล้วในหมู่ชนชั้นนำ

คิดว่าอีลีทของไทยเองในด้านหนึ่งเค้าเชื่อเรื่องมือที่สาม เพราะโดยมากเค้าเป็นคนรุ่นอายุมาก แต่อีกด้านสิ่งที่ต้องคิดกันวันนี้คือ อีลีทเองมองเห็นการเปลี่ยนปลงระดับหนึ่ง ผมคิดว่าอีลีทจำนวนมากเริ่มอยากจะ “ฉวยโอกาส” ของความเปลี่ยนแปลงนี้เพื่อจะทำให้เค้ายังอยู่ในสถานะของอีลีท ดังนั้นการยืมหรือไม่ยืมมือที่สามของอีลีทหลายกลุ่มไม่ได้เกิดขึ้นโดยความตั้งใจ

สรุปง่าย ๆ คืออยากจะบอกนักเรียนนักศึกษาด้วยว่า การเคลื่อนไหวของพวกเราที่จะไปถึงจุดหนึ่งอาจจะถูก hijack จากอีลีทกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นเค้าอาจจะใช้มือที่สามเพื่อทำให้การ hijack ของเค้าราบรื่นขึ้น เช่น พูดให้เป็นรูปธรรมคือเมื่อคุณเคลื่อนไหวไปถึงจุดหนึ่งแล้ว อีลีทได้ที่เค้าต้องการแล้ว ได้ลดอำนาจอะไรบางอย่างแล้ว เค้าอาจจะหยิบมือที่สามมาเล่นกับคุณหนักขึ้นในช่วงนั้นเพื่อที่จะขโมยแรงงานของพวกคุณไป อีลีทจำนวนหนึ่งเท่าที่เค้าพูดคุยในตอนนี้ เค้ากำลังรอให้นักศึกษาไปเรื่อยๆ เพื่อจะทำให้สถาบันลดอำนาจลงไป เพราะเค้าเองเค้าก็อึดอัด แต่พอถ้านักศึกษา นักเรียนสู้ไปจนสถาบันลดอำนาจไปได้ขนาดนั้นแล้ว เค้าอาจจะพอแล้วก็หักหลังนักศึกษา อันนี้ตรงไปตรงมา บอกให้รู้กันไว้ แต่ไม่ใช่ให้กลัวเพราะกลัวแล้วคุณก็ไม่ได้ทำอะไร คนรุ่นผมกลัว 6 ตุลา จนไม่กล้าทำอะไรไปเยอะแยะเลย

ในงานวิจัยเล่มนี้บทที่สาม อาจารย์พูดถึงการเมืองภาคประชาชน เป็นการพูดถึงในแง่ของการเมืองภาคประชาชนเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ไปหักล้างกับวัฒนธรรมเรื่องมือที่สาม มุมมองของอาจารย์ ณ ปัจจุบัน การเมืองภาคประชาชนในประเทศไทยในฐานะเครื่องมือการสร้างพื้นที่คานอำนาจการเมืองแบบสถาบันหลักในระบบรัฐสภามันมีความแข็งแรงมากแค่ไหน

ก่อนความขัดแย้งเหลืองแดงเกิดขึ้น ก่อนความเคลื่อนไหวของพันธมิตร กปปส. เราคิดว่าฐานของสิ่งที่เราเรียกกว้าง ๆ ว่าการเมืองภาคประชาชนน่าจะเป็นอนาคตที่เข้มแข็งพอ

การเมืองภาคประชาชนเกิดจากการเคลื่อนของพี่น้องคนจนค่อยๆ ขยับขึ้นและสามารถดึงเอาชนชั้นกลางเข้ามาร่วมได้จำนวนมากพอสมควร การรณรงค์รัฐธรรมนูญปี 40 เนี่ย ตอนนั้นเราค่อนข้างดีใจรู้สึกว่าเป็นอนาคต แต่หลังความขัดแย้งเหลืองแดงที่โผล่ขึ้นมา ไอ้การเมืองที่เราคิดว่าน่าจะเป็น civil society มันกลายเป็น evil society เราก็เลยต้องมาคิดกันใหม่ว่า การเมืองภาคประชาชนที่ครั้งหนึ่งเราเคยให้เครดิตสูงมากมันไม่จริงอย่างนั้น เราเข้าใจผิด แต่ถ้ามองในด้านมองโลกในแง่ดี มันทำให้คนจำนวนมากมายมหาศาลในประเทศไทย รวมทั้งเหลืองแดงด้วยเข้ามาสัมพันธ์กับการเมือง ดังนั้นมันน่าจะเป็นฐานที่สำคัญของการเติบโตของ civil society หรือการเมืองภาคประชาชนได้ในอนาคตถ้าเราสามารถข้ามพ้นความขัดแย้ง 10 ปีและอาจจะต่อไปอีก 2-3 ปีนี้ไปได้

ในความเห็นของอาจารย์ กรณีการเกิดขึ้นมาของพรรคอนาคตใหม่ เนื่องจากคนในพรรคอนาคตใหม่หลายคนเป็นคนที่เคยเคลื่อนไหวในพื้นที่การเมืองภาคประชาชนมาก่อน จนมีคนอาจพูดว่าความสำเร็จของ สนนท. คือพรรคอนาคตใหม่ จึงอยากถามอาจารย์ว่าการเกิดขึ้นมาของพรรคอนาคตใหม่เป็นการส่งเสริมความแข็งแรงของการเมืองภาคประชาชนหรือเป็นการกลับไปให้ความสำคัญหรือความหวังกับระบบรัฐสภามากกว่า

ตอนเกิดอนาคตใหม่ผมคิดว่าคนจำนวนมากรวมทั้งคนในภาคประชาชนรู้สึกว่าเรามีช่องทางที่จะผลักการเมืองภาคประชาชนไปอยู่ในรัฐสภา เราคิดว่าพรรคอนาคตใหม่จะนำปัญหาของพี่น้องเข้าไปคุยในระกับการตัดสินใจทางการเมืองโดยพี่น้องไม่ต้องใช้เวลาในนอนอยู่หน้าทำเนียบอีกแล้ว

เพียงแต่ว่าการเกิดขึ้นของพรรคอนาคตใหม่มันทำให้ปีกอีลีททั้งหมดกังวลมากขึ้นและหาทางที่จะสามัคดีบาทา ดังนั้นอนาคตใหม่ในวันนี้จึงไม่ใช่ช่องทางแบบที่เราหวังคือช่องทางที่ทำให้ปัญหาชาวบ้านขึ้นไปอยู่ในรัฐสภา จะถามว่าชาวบ้านทั่วไปหรือพี่น้องประชาชนทั่ว ๆ ไปควรจะคิดถึงทางแก้ปัญหาของเค้าในรัฐสภามั้ย ผมคิดว่าเค้ายังต้องคิดอยู่ เราหนีระบบรัฐสภาไม่ได้เพราะการเมืองบนท้องถนนที่ผ่านมากินแรงและกินชีวิตพวกเราไปมาก เพียงแต่วันนี้ก้าวไกลไม่ได้แสดงอะไรที่ชัดเจนเหมือนที่ครั้งหนึ่งอนาคตใหม่ทำ ไม่รู้เพราะบทเรียนการถูกยุบพรรคหรือเปล่า

ที่พูดถึงอนาคตใหม่เพราะตอนนั้นอนาคตใหม่มีโมเดลที่ค่อนข้างชัดที่ต้องการพยายามจะสร้างให้พรรคเป็พรรคมวลชน อยากถามอาจารย์ว่าการมุ่งเป้าไปสู่การจัดตั้งพรรคการเมืองแบบพรรคมวลชนสามารถเป็นเครื่องมือในการต่อต้านกับวัฒนธรรมมือที่สามได้หรือไม่

ได้เลย ถ้าหากเรามีการเลือกตั้ง สมมติว่าอนาคตใหม่จบไปก็ได้ แต่มีการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องไปอีก 2-3 ครั้งอยู่ 2 ปีบ้าง 3 ปีบ้างก็ไม่เป็นไร ผมเชื่อว่าพรรคการเมืองส่วนใหญ่จะต้องปรับมาสู่การจับมวลชนมากขึ้น ส่วนใครจะสามารถจับและเปลี่ยนตัวเองเป็นพรรคการเมืองมวลชนได้อันนี้ผมไม่รู้ ผมยังมองไม่ออก ไม่เห็นพรรคไหนนะครับ ท้ายสุดแล้วมันจะทำให้ความคิดว่าการเคลื่อนไหวของชาวบ้านนอกการเมืองหลักเป็นมือที่สามจะลดลงไปทันทีเพราะพรรคการเมืองที่ต้องเล่นกับมวลชนก็จะหยิบขึ้นมา

นึกถึงพรรคภูมิใจไทยที่อยากจะรักษาฐานเสียงกลุ่มหนึ่งของตัวเองไว้ คุณก็ทำเรื่องกัญชาเป็นหลัก นี่เป็นส่วนที่คุณเห็นด้วยหรือไม่ทั้งพรรคไม่รู้แต่คุณต้องลงไปเล่น และท้ายสุดคนอย่างคุณวิฑูรย์ซึ่งครั้งหนึ่งเคยสู้ในการเมืองภาคประชาชนอื่น ๆ สามารถเข้าไปสู่ตรงนั้นได้ มันคงเป็นทางออกหลักอันหนึ่ง แน่นอนมันคงมีทางออกหลักหลายด้าน

ในทางทฤษฎี ความสำเร็จหรือวิวัฒนาการของการเมืองภาคประชาชน เป้ามันคือพรรคแบบมวลชนหรือไม่

คิดว่าเป็น 2 ด้าน พรรคแบบมวลชนก็เป็นช่องทาง แต่การเมืองภาคประชาชนหรือ civil society ก็ยังคงต้องมีต่อไป เพราะพรรคการเมืองจะสามารถสื่อสารกับคนได้ก็ต่อเมื่อคุณมาเชื่อมกับ civil society ตรงนี้ก็น่าสนใจ คือ การเมืองภาคประชาชนมันก็เปลี่ยน ครั้งหนึ่งมันเป็นการเมืองภาคประชาชนของผู้ยากไร้ ผู้ที่ถูกกดทับ ในวันนี้เวลาเราพูดถึง civil society ในเขตเมือง เราพบว่ามีคนชนชั้นกลางในเมืองกระโดดเข้ามาสร้างเมืองอื่นๆ เยอะแยะ ในกรณีเชียงใหม่มีกลุ่มใหม่ๆ ที่พยายามเสนอประเด็นตัวเองที่เชื่อมต่อกับผลประโยชน์รวมของเมืองเยอะมาก และคนพวกนี้เป็นชนชั้นกลาง และคนพวกนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ สมัชชาคนจน แต่เค้าโผล่ขึ้นมา ดังนั้นมันคงมี 2 ทางซ้อนกัน

เราสะท้อนบทเรียนอะไรจากพรรคสามัญชนได้ไหน เขาคือการเมืองภาคประชาชนที่เปลี่ยนตัวเป็นพรรคหรือแตกหน่อออกมาเป็นพรรคการเมืองแต่ไม่สามารถที่จะไปถึงฝั่งฝันได้

จริง ๆ ตอนเค้าตั้งใหม่ ๆ พวกเราในเชียงใหม่เชียร์เค้านะ เพียงแต่เรารู้สึกว่าเค้ายังอิงอยู่กับการเมืองภาคประชาชนแบบเดิม ซึ่งไม่ได้แปลว่าผิด เค้าอิงอยู่กับการเมืองของผู้ยากไร้ การเมืองของ NGO การเมืองของพวกนี้โดยที่เค้าไม่แสดงตัวว่าสามัญชนมันมากกว่านั้น คนจนเมืองนอกจากสลัมสี่ภาค เยอะแยะ Grab ล่ะ นึกออกมั้ย ดังนั้นตัวสามัญชนเองการเป็นการเมืองพลเมือง เค้าไปขีดเส้นพลเมืองของเค้าที่มันไม่กว้างขวางพอ ด้วยข้อจำกัดของเค้า ข้อจำกัดของการตั้งพรรคและอื่น ๆ

ฉะนั้นแปลว่าเราอยู่ในช่วงจังหวะสังคมของการจัดตั้งพรรคการเมืองของมวลชนมันเป็นไปได้ยากมาก และการเมืองภาคประชาชนอาจารย์เขียนไว้ในหนังสือว่ามันมักถูกโจมตีโดยชนชั้นนำว่ามันเป็นการเมืองแบบไร้ระเบียบ ไม่ organize มัน disorder และมันไม่สามารถไปสู่ฉันทามติของสาธารณะได้ นี่แปลว่าจะต้องพัฒนาการเมืองภาคประชาชน ประเทศไทยเราควรจะต้องพัฒนาการเมืองภาคประชาชนของเราไปในทิศทางไหน

คิดว่าอันแรก สังคมไทยต้องเข้าใจก่อนว่าถ้าหากเรามองการเมืองประชาธิปไตยของมวลชนจริง ๆ เราจะพบว่าส่วนที่สำคัญอันหนึ่งมันเกิดขึ้นจากข้างล่างแล้ว เราทำยังไงจะเชื่อมมัน เช่น เราจะพบว่าการเมืองในระดับ อบต. เข้มแข็งมากขึ้น ชาวบ้านเริ่มสามารถกดดันและเปลี่ยนตัวนายก อบต. ได้ กดดันให้นายก อบต. ต่างๆ ตอบสนองได้มากขึ้น มองเห็นส่วนรวมมากขึ้น เราคงต้องคิดถึงการสร้างการเชื่อมต่อของการเมืองจากข้างล่าง เชื่อมต่อกับการเมืองระดับกลาง เช่น ในอนาคตเรากำลังจะพูดถึงว่า ถ้าหากเราสามารถมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯได้ และขยับขึ้นไป เราคงต้องไตร่ตรองการสร้างหรือการมีส่วนร่วมทางการเมืองในชีวิตประจำวันของชาวบ้านในทุกระดับ

อันนี้ผมพยายามจะตอบจากฐานที่ผมทำวิจัยเรื่องหนึ่งคือความเปลี่ยนแปลงในชนบท ประชาธิปไตยที่อยู่บทความเคลื่อนไหว ผมพบว่าตัว อบต. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในหลายระดับเริ่มปรับตัวและชาวบ้านเริ่มมีอำนาจในการคุม ถ้าเราไม่คิดเฉพาะพรรคการเมืองในส่วนกลางอย่างเดียว เราคิดกว้างไป ไม่รู้ว่า ผมไม่ได้ตาม พวกพรรคก้าวไกลเริ่มคิดถึงการลงไปเลือกตั้งท้องถิ่น ถ้าหากเค้าคิดถึงการเลือกตั้งท้องถิ่นเพื่อทำให้ชาวบ้านในท้องถิ่น ประชาชนในท้องถิ่นเปลี่ยนตัวเองมาสู่พลเมือง นี่เป็นเป้าที่น่าสนใจ แต่ย้ำว่าผมก็ไม่ได้ตามเค้าแล้วว่าก้าวไกลลงไปสนับสนุนการเลือกตั้งท้องถิ่น เป้าคืออะไรนี่ผมไม่รู้

อาจารย์อธิบายไว้ในงานวิจัยว่า การใช้วัฒนธรรมมือที่สามสะท้อนว่าชนชั้นนำปฏิเสธที่จะยอมรับประชาชนให้เข้ามาอยู่ในกระบวนการแก้ไขปัญหากับเค้า แต่ ณ เวลานี้เรามองว่าขบวนการของนักศึกษามีความบริสุทธิ์มาก คือเขายืนยันตัวเองว่าเขาคือคนที่สู้เพื่ออนาคตของตัวเอง ไม่มีใครอยู่เบื้องหลังเด็ดขาด มันหมายความว่าวัฒนธรรมมือที่สามน่าจะใช้ไม่ได้ผลกับการเคลื่อนไหวรอบนี้ อย่างน้อยก็มองจากสถานการณ์ตอนนี้ แล้วถ้ามือที่สามถูกใช้ได้กับเรื่องของนักศึกษาแล้วรัฐไม่มีเหตุผลชอบธรรมมากพอในการสลายชุมนุม แปลว่ารัฐต้องเปิดให้นักศึกษาเข้ามาอยู่ในกระบวนการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

อันแรกก่อนคือ วัฒนธรรมมือที่สาม เด็กเค้าไม่ได้สนใจเลย เขาบอกไม่มีใครอยู่เบื้องหลังในขณะเดียวกันชนชั้นนำก็ยังใช้อยู่ ปัญหาตอนนี้คือปัญหาช่วงชิงมวลชนหรือชนชั้นกลางอื่น ๆ ถ้าหากรัฐสามารถระดมใช้มือที่สาม ปลุกระดมคนได้สัก 2 ใน 3 ของประเทศแล้วเกิดความชอบธรรม ถ้าเกิด 2 ใน 3 ตอนนี้มันยังไม่เคลื่อนไหวดี มันก็จะกดดันให้ขบวนการนักศึกษาฝ่อลงไป ถ้าในกรณีนี้ รัฐคงยังคงเป็นรัฐแบบเดิมคือเป็นรัฐที่เมตตา แต่เป็นการเมตตาที่ก้มลงไปช่วย ไม่ใช่รัฐประชาธิปไตยที่คนเสมอกัน นี่คือสถานการณ์แรก

สถานการณ์ที่ 2 คือหากการเคลื่อนไหวของนักศึกษาและนักเรียนต่าง ๆ ขยับไปและชิงชัยชนะได้ รัฐเริ่มปรับตัวเอง เริ่มปรับเปลี่ยนอำนาจของตัวเองเพื่อเปิดช่องให้คนหลากหลายเข้ามา นักศึกษาเป็นคนกลุ่มหนึ่งมั้ยที่เข้าไปสู่กระบวนการตรงนี้ ผมคิดว่านักศึกษาไม่ควรเข้า เค้าคงจะเชิญเข้าไปเหมือนตอนนี้ร่างรัฐธรรมนูญก็จะเอานักศึกษาเข้าไป 5 คน 10 คน ผมคิดว่านักศึกษาควรจะออกมาอยู่อย่างงี้แล้วคอยเสนอประเด็นต่อสังคมต่อไป แต่อย่างไรก็ตามถ้าเป็นสถานการณ์ที่ 2 ผมคิดว่าคนทุกกลุ่มในสังคมก็จะมีส่วนได้เข้าไปแชร์การเมืองมากขึ้น มากน้อยต่างกันไป ในทางที่สองไม่ได้แปลว่าอีลีทจะสละทั้งหมดแต่อีลีทจะตะล่อมอำนาจของส่วนที่ over institute ให้มาอยู่ในสถาบันเพื่อทำให้ทุกกลุ่มเคลื่อนไหวไปได้ นั่นแปลว่าสถานการณ์ที่ 2 คือการจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจใหม่ นักศึกษาจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่า civil society กลุ่มใหญ่ ถ้าสถานการณ์ที่ 2 เกิดขึ้นมันก็น่าจะเป็นนิมิตหมายที่ดีของประเทศไทย

อาจารย์พูดว่ามันเป็นเรื่องการแย่งชิงฐานมวลชน อาจารย์คิดว่าตอนนี้กลุ่มคนที่นักศึกษาควรจะเพ่งเป้าไปสู่การสร้างให้เป็นพันธมิตรของนักศึกษาให้ได้คือคนกลุ่มไหนเป็นพิเศษ จุดประสงค์คือเรื่องการบล็อกเรื่องการใช้มือที่สาม

คิดว่าตรงไปตรงมาเลยคือชนชั้นกลาง ตอนนี้คือพ่อแม่ของเค้า กลุ่ม 40 ขึ้น คือตอนนี้พ่อแม่ของนักศึกษาคืออายุ 35-60 กว่าเนี่ย ซึ่งพวกนี้ผมคิดว่าจำนวน 80% เป็นพวกที่โตมากับระบบเศรษฐกิจที่รัฐมอบให้ ถ้าหากเราไม่โกหกตัวเอง แม้กระทั่งกลุ่มกลางล่างเค้าก็เติบโตมาพร้อมกับรัฐทักษิณมอบให้เค้า ต้องทำงานกับคนพวกนี้ให้มากขึ้นเพื่อดึงคนพวกนี้ออกจากความเชื่อวัฒนธรรมมือที่สาม ทั้งเหลืองทั้งแดงนะ แดงอาจจะเบาหน่อยเพราะผมรู้สึกว่าเค้าถอยมาจากทักษิณได้ค่อนข้างมากแต่เหลืองนี่ลำบาก

คนกลุ่มนี้เราจะสื่อสารกับเค้ายังไง ผมก็ไม่รู้นะเพราะว่ามันไม่ได้เล่นเฟซเล่นอะไรแบบเดียวกับกลุ่มนักศึกษา ขณะเดียวกันยังเป็นกลุ่มคนที่ดูทีวีอยู่ แต่ทีวมันก็ไม่เสนอข่าวให้ ยกเว้นเนชั่นหรือส้อยซ์ ว้อยซ์ก็ออกจากทีวี จะทำยังไงให้สื่อสารกับคนพวกนี้ได้ เพราะว่ารุ่นผมเป็นคนรุ่นดูทีวีคือรุ่นพ่อแม่คุณนั่นแหละ ทำยังไงจะหาช่องสื่อ จะย้ายให้ผมไปดูแบบพวกคุณก็น่าจะได้อยู่แต่จะทำยังไงไม่รู้

หากว่ามันไม่มีปรากฏการณ์อะไรมาทำให้มันพังหรือจบเสียก่อน การเข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาของนักศึกษาแปลว่าจะต้องใช้ระบบตัวแทน ซึ่งคำถามกลับมาสู่ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองภาคประชาชนของนักศึกษาและการเมืองตัวแทนแบบสถาบันแบบพรรคการเมือง อาจารย์มองความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาและการเมืองตัวแทน ควรจัดความสัมพันธ์อย่างไร ณ เวลานี้ ผมคิดว่ามันอันตราย พูดตรง ๆ อย่างธนาธรจะมาขึ้นเวทีกับนักศึกษาแต่ก็อิหลักอิเหลื่อเพราะเขาก็รู้กันอยู่แล้วว่าสนับสนุน จะสนับสนุนอย่างไร

คิดว่ากลุ่มนักศึกษาเองจะต้องทำให้ประเด็นของตัวเองเป็นประเด็นกลางให้ได้ การทำให้เป็นประเด็นกลางจะทำให้ธนาธร ก้าวไกลหรือแม้กระทั่งเพื่อไทยเองก็ต้องหยิบไปเล่น เช่น สมมติว่า พวกเราไม่ค่อยชอบใช้แต่ว่าโอเค ถ้าสมมติว่าไม่เกิดรุ้งพูด 10 ข้อ หยิบประเด็นของอานนท์มาเชียร์แล้วทำให้มันสั้นลง กระชับขึ้น ผมคิดว่าพรรคการเมืองหลายพรรคจะหยิบเค้ามาเล่น ไม่เป็นรูปธรรม 1 2 3 4 5 แบบ 10 ข้อนั้น คือทำยังไงนี่ก็เป็นปัญหา เพื่อไทยเองมันแกว่ง นึกถึงคุณหญิงหน่อยก็แกว่ง แต่ถ้าเราเป็นประเด็นกลาง คนจำนวนมากเห็นด้วยไม่ว่าจะผ่านสื่ออื่น ๆ ผมคิดว่าจะมีพรรคอื่นที่เข้ามาร่วมและลดทอนแรงเสียดทาน เอก ธนาธร ปิยบุตร ลงไป

แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากไม่มี ไม่สามารถสร้างตรงกลางได้ ธนาธร ปิยบุตรเองถึงจุดหนึ่งคุณก็อาจจะต้องกระโดดลงมา โดดลงมาแล้วพังทั้งหมดเลยนะ เอกก็พัง นักศึกษาก็พังก็เป็นไปได้ หรือเอกโดดลงมาแล้วคุณอาจจะชนะก็ได้ นี่ก็เป็นสถานการณ์ที่อยู่ข้างหน้า คือวันนี้เค้าโดดลงมาไม่ได้ เค้ารู้สึกว่าโดดลงมาแล้วนักศึกษาพัง แต่ถึงจุดหนึ่งสมมติว่าเกิดรัฐประหาร หรือสมมติว่าเกิดการใช้ความรุนแรงอย่างรุนแรง ธนาธรไม่โดดลงมาไม่ได้ แต่โดดมาแล้วเสียมั้ยก็กลายเป็นอีกปีกหนึ่งจะบอกว่า เห็นมั้ยอยู่ข้างหลัง โดดมาแล้ว ถ้าหากนักศึกษาไม่สร้างประเด็นกลาง ไอ้ภาวะที่เป็นแบบนี้มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นสูง สมมติว่าเกิดรัฐประหาร ธนาธรจะนั่งอยู่เฉย ๆ ก็ไม่ได้ ธนาธร ปิยบุตรโดดลงมาก็เสร็จเค้าอีก ดังนั้นต้องทำให้คนโดดลงมาเป็นคุณหญิงหน่อย สมมติรัฐประหารแล้วคุณหญิงหน่อยหรืออนุทินโดดลงมาแบบนี้ เพราะว่าสองคนนี้ไม่อยากโดดแต่ต้องโดดเพราะมวลชนบอกว่ามึงต้องโดด (แต่นักศึกษาจะยอมรับหรือเปล่า) นักศึกษาก็ต้องเห็น บางครั้งคุณก็ต้องยอมรับคนบางคนที่โดดลงมาเพราะผลประโยชน์มันก็อาจจะต้องยอมรับ สมมติว่าอีก 2 อาทิตย์รัฐประหาร ยุ่งเลยนะ ผมเชื่อว่าธนาธร ปิยบุตรก็ต้องโดดลงมาแต่ก็ยุ่งอีก ถ้าธนาธร ปิยบุตร คุณหญิงหน่อย อนุทิน เนวิน สมมตินะ โดดมาเยอะๆ เลย เอ้ย สบาย ก็เดินไปข้างหน้าได้ คือศัพท์คนรุ่นผมเหมือนสถานการณ์มันบีบบังคับเหมือนโดนเตะปากแต่สู้ไม่ได้ คุณต้องกลืนเลือด

เวลาอาจารย์วิเคราะห์สถานการณ์แบบนี้ อาจารย์ใช้วิธีวิเคราะห์แบบสถานการณ์สุกงอมไหม เมื่อไหร่ธนาธรมาถึงจะไม่ตาย ปิยบุตรมาถึงจะรุ่ง ตอนไหนมาแล้วไม่ได้ อาจารย์วิเคราะห์ช่วงเวลาแบบนี้ยังไงหรือเราไม่มีทางรู้เลยว่าเวลาไหนเป็นแบบไหน

เราไม่มีทางรู้ ที่ผมพูดถึงรัฐประหารมันใช้เหตุการณ์เป็นตัวหลัก

พอจะมีสัญญาณ ตัวแปรอะไรบางอย่างมั้ย ถ้าเกิดอะไรบางอย่างแบบนี้ปุ๊ป แปลว่าสถานการณ์ใกล้สุกงอมแล้ว ปฏิกิริยาของคนบางคน การตอบโต้ที่เปลี่ยนไป อะไรทำนองนี้

นึกไม่ออกนะ แต่ผมกำลังนึกว่า สมมติว่าอะไรที่จะทำให้การเคลื่อนไหวของนักศึกษาประสบผลสำเร็จ สมมติว่านัดวันที่ 19 แล้วอีกทีนัดวันที่ 28 วันที่ 19่่ คนมาแสนนึง ไปอีกครั้งหนึ่งคนมาสามแสนแล้วการพูดเริ่มพูดชัดเจนขึ้น ตกประเด็นมากขึ้น ผมคิดว่าคนที่เข้ามาร่วมทั้งหมดจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ธนาธรหรือปิยบุตรอาจจะต้องไปนั่งคิดว่าถึงจังหวะที่จะ ถ้ามาร์กซ์พูดคือถึงโร้ดแล้ว โดดมาสิ ซึ่งถึงวันนี้ผมไม่รู้ แต่ถ้าเป็นเหตุการณ์ รัฐประหาร พลั๊ว คุณต้องออกนะ ยากฉิบหายเลย

ขบวนการนักศึกษา ขบวนการเคลื่อนไหวควรเตรียมตัวรับมือกับการใช้เรื่องมือที่สามอย่างไร และถ้าเขาใช้ไปแล้วเราต้องตอบโต้อย่างไร ณ วันนี้เขายังไม่ใช้ เราควรเตรียมตัวอย่างไร

คิดว่าอันแรก ขบวนการนักศึกษาแต่ละกลุ่ม ซึ่งมันเป็นกลุ่มแยกย่อย ทุกกลุ่มถ้าหากมีความปรารถนาดีจริง ๆ คุณต้องเปิดเผยทั้งหมด เปิดเผยในที่นี้หมายความว่า ที่มาของเงิน การเคลื่อนไหวอะไรทั้งหมดต้องโปร่งใสทั้งหมด สอง นักศึกษาระวังนิดนึงได้มั้ย สมมติว่าคุณฟังฝั่งอาจารย์ปวินหรืออาจารย์สมศักดิ์ กลับมาไตร่ตรองในกลุ่มของพวกคุณนิดหนึ่งได้มั้ย ข้อเสนอของเค้าดีแน่ แต่ในบางจังหวะคุณจะทำตามข้อเสนอนั้นทั้งหมดอาจจะไม่ได้ แปลว่านักศึกษาอาจจะต้องเป็นผู้ที่เข้าใจสถานการณ์ในแต่ละช่วงให้มากกว่าอาจารย์ปวินและอาจารย์สมศักดิ์ แน่นอนว่าอาจารย์สมศักดิ์แหลมคมในเรื่องพวกนี้ เห็นด้วยว่าเค้าแหลมคม เพียงแต่สถานการณ์มันไม่ใช่ เค้าอยู่ในโน้นเค้าไม่ได้เข้าใจสถานการณ์ทั้งหมด ดังนั้นตัวนักศึกษาแต่ละกลุ่มเองจำเป็นจะต้องใคร่ครวญและทำอย่างไรจะเกิดพื้นที่กลางๆ ที่ทุกคนเข้ามาร่วมได้ เพื่อทำให้มองเห็นซึ่งกันและกัน ตอนนี้มันเป็นแยกย่อย ผมใช้คำว่า fragment แล้วในการเคลื่อนแต่ละครั้งมันใช้ประเด็น ใช้เวลา ซึ่งด้านหนึ่งมันไม่เป็นเอกภาพและด้านหนึ่งมันจะถูกทำให้เกิดเป็นมือที่สามได้ง่ายขึ้น แต่ทำอย่างไรผมไม่รู้ ผมเดาว่าพวก สนท. หรือกลุ่มเคลื่อนไหวคงสื่อสารอยู่บนเนี้ย เพียงแต่ว่าให้มันสาธารณะมากขึ้น กว้างมากขึ้น ด่ามันด่าก็ด่า แต่เรานำกลับมาไตร่ตรองกระจายกัน อาจจะสัก 3 กลุ่มที่เป็นสาธารณะ กลุ่มที่รับกันได้ กับกลุ่มของกู แล้วเอาจากกลุ่มกูโยนไปกลุ่มที่ว่ารับกันได้ โยนไปกลุ่มสาธารณะ เพื่อสื่อสารระหว่างกัน ผมกังวลเรื่อง fragmented ในขบวนการนักศึกษาและกลุ่มนักเรียน เพราะขบวนการประชาธิปไตยพอมันเสร็จปุ๊ปเกิดมีวีรชนเอกชนโผล่ไปไกลขึ้น มันลากเพื่อนให้ไปลำบากคือเพื่อนก็ต้องไปช่วยเพื่อนนึกออกมั้ย ผมกังวลวีรชนเอกชนมันดันเรื่องไปจนพวกเราต้องเหนื่อย ต่อให้ไม่เสียหายพวกเราก็เหนื่อยอย่างไม่ควรจะเหนื่อย

หากมองข้ามช็อต ถ้าหากเขามีการใช้มือที่สาม เราควรตอบโต้อย่างไรเพื่อรักษาขบวนไว้ได้หรือนั่นคือจบแล้ว

ถ้าเค้าใช้มือที่สามแล้วตามมาด้วยความรุนแรง ทำให้ความรุนแรงนั้นมันลดมากที่สุด เช่น สมมติเริ่มจะล้อมปราบแบบ 6 ตุลานี่สุดขั่วเลยนะ ยอมแพ้หมดเลย ยอมแพ้การเมืองในจังหวะนั้นหมดเลย เพื่อให้เห็นว่ากูยอมแพ้แล้ว จะทำอย่างไรก็ทำ สมมติว่าเค้าอยากจับ 3,000 คน แล้วหลังจากนั้นผมคิดว่ามันจะคลี่คลายสู้ได้ว่ามันไม่ใช่ มันไม่มี ห้ามตอบโต้ด้วยความพยายามจะใช้ความรุนแรงเพราะยังไงเราก็สู้เค้าไม่ได้ เค้าเป็นผู้ผูกขาดความรุนแรงอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น กปปส. นปช. เค้าพยายามจะใช้คนไปกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงตลอดเวลา ผมคิดว่ามันไม่คุ้ม สมมติว่าปราบ เราต้องพอรู้ต่อกร ยอม จริง ๆ คำอันหนึ่งของสมศักดิ์ก่อน นปช. จะเคลื่อน ซึ่งผมเห็นด้วยกับเค้านะ ผมเสนอแล้วถูกเพื่อนด่าฉิบหายเลยเรื่องถอยทางการเมือง นปช. ถอยเลยเพื่อที่จะทำให้ทุกอย่างมันลดลงไป ทำนองเดียวกันผมคิดว่าเค้าใช้มือที่สามระดมคนให้ได้มากขึ้น ๆ และพร้อมใช้ความรุนแรง ในเหตุการณ์ที่จะเกิดความรุนแรง เรายอมเสียการเมืองในตอนนี้

ถ้าไม่ยอมเสียการเมือง

เราเสียชีวิต เจ็บปวด เป็นบาดแผลและการต่อสู้มันจะนานมากขึ้น ถ้าไม่ยอมแพ้และไม่ยอมเสียการเมือง หอกที่มันใช้แทงเราเรื่องมือที่สามมันจะตรึงเราไว้เลย ดังนั้นถ้าเราจะหนีตรงนี้และขยับสังคม ยอมแพ้การเมืองในบางช่วงเวลา

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net