#OCTcinema ชวนรับชมสารคดีและคลิป 6 ตุลา 19

#OCTcinema ชวนรับชมสารคดีและวิดีโอข่าวที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 นับตั้งแต่รายการข่าวโทรทัศน์ ซีดีแจกงานศพ สารคดี และภาพยนตร์สั้น โดยแต่ละเรื่องที่ขอแนะนำมีดังนี้

SYND 6 10 76 STUDENTS AND SECURITY FORCES CLASH

(2519/ 7.20 นาที / AP Archive) https://youtu.be/AOFAGgUXfRE

วิดีโอข่าวจากสำนักข่าว AP บันทึกเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ในฟุตยังมีช่วงการปราศรัยของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลด้วย

นิรโทษกรรม จำเลยคดี 6 ตุลา

(2521 / 53.39 นาที / หอภาพยนตร์) https://youtu.be/zc4JWogjn7k

สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการบันทึกด้วยฟิล์มภาพยนตร์ 16 มม. สี ของฝ่ายข่าวโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 และเป็นการถ่ายบันทึกเสียงลงในฟิล์มโดยตรงขณะถ่ายทำ ทำให้สามารถเก็บเสียงบรรยากาศจริงไว้ได้
โดยวีดีโอนี้ถูกบันทึกเป็นแผ่นซีดี ที่แจกให้กับผู้มาร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ อดีตนายกรัฐมนตรี เฉพาะแผ่นนี้ เป็นการรวบรวมภาพยนตร์บันทึกภารกิจของ พลเอกเกรียงศักดิ์ ในกรณีการเสนอพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างวันที่ 4 - 6 ตุลาคม 2519 ให้เห็นว่าเป็นผลงานสำคัญชิ้นหนึ่งของอดีตนายกรัฐมนตรีผู้นี้

วันประวัติศาสตร์ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย 1 ธ.ค.2525

ที่บ้านบาก ต.บ้านบาก อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร (2525 / 28.14 นาที / YouTube - สังเวียน คำหว้าแก้ว) ชมคลิป https://youtu.be/U3WQaz6saRc

ฟุตวิดีโอบันทึกภาพมวลชนแนวร่วมพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เขตงาน 444 กว่า 400 คน แบกปืนเข้ามอบตัวต่อ พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ผบ.ทบ. สมัยนั้น ในวันที่ 1 ธันวาคม 2525 ณ สนามโรงเรียนบ้านบาก อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร ทั้งนี้ "สหายนิโรธ" เลขาธิการพรรคเขตงาน 444 มอบธงแดงค้อนเคียวและมอบปืนอาร์ก้าให้ พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ขณะที่ พล.ท.พักตร์ มีนะกนิษฐ แม่ทัพภาคที่ 2 ในขณะนั้นมากล่าวต้อนรับด้วย

สำหรับการยุติบทบาทของแนวร่วม พคท. เกิดขึ้นหลังวิกฤตขัดแย้งของขบวน พคท. ประกอบกับคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 เรื่อง นโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ ที่เน้นการเมืองนำการทหาร และปฏิบัติต่ออดีต พคท. ที่ออกมามอบตัวอย่างประชาชนร่วมชาติ

โดยการสู้รบด้วยอาวุธสงครามครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นระหว่างกองกำลังของ พคท. กับตำรวจ ตชด. ในเดือนสิงหาคม 2535 ที่ป่าแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี โดย ตชด. ที่รอดชีวิตได้เขียนบันทึกให้เริงศักดิ์ กำธร ผู้สื่อข่าวเดลินิวส์ตีพิมพ์รายวัน และรวมเล่มในชื่อ "นรก 35 วันในป่าบางกลอย"

อ่านต่อที่ https://prachatai.com/journal/2017/01/69790

การต่อสู้ของกรรมกรหญิงโรงงานฮาร่า (2518) Hara Factory Workers Struggle

(2518 / 55.10 นาที / จอน อึ๊งภากรณ์) https://youtu.be/XJYlTg2AlYA

สร้างโดย จอน อึ๊งภากรณ์ และเพื่อนอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ถ่ายโดยใช้กล้องถ่ายภาพยนตร์ขนาดเล็ก 8 มิลลิเมตร บอกเล่าเรื่องราวการต่อสู้ของเหล่ากรรมกรหญิงในโรงงานผลิตกางเกงยีนส์ฮาร่า ที่เรียกร้องค่าแรงที่ไม่เป็นธรรมจากนายจ้าง ในช่วงปี พ.ศ. 2518-2519

อ่านต่อที่ https://www.fapot.or.th/main/information/article/view/266

THAILAND THE HILL TRIBES INSURGENCY

(2535 / 11.27 นาที / AP Archive) https://youtu.be/GmhilO10O24

สารคดีข่าว THAILAND THE HILL TRIBES INSURGENCY ของ AP นอกจากเรื่องสงครามปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยแล้ว ยังพูดถึง พล.ต.สุตสาย หัสดิน หัวหน้ากองกำลังกระทิงแดง ซึ่งมีการฝึกและติดอาวุธให้กลุ่มชาติพันธุ์ละหู่ (มูเซอ) เพื่อให้เป็นกองกำลังฝ่ายรัฐบาลควบคุมพื้นที่ก่อสร้างถนนสายแม่สอด-อุ้มผาง ซึ่งถนนผ่าเข้าไปในพื้นที่เคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในพื้นที่ติดต่อ 4 จังหวัด (ตาก – สุพรรณบุรี – อุทัยธานี – กาญจนบุรี)

เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519

(2544 / 53.57 นาที / ITV) https://youtu.be/FHp-kjxM6yE

สารคดีรายการย้อนรอย “6 ตุลาคม 2519” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ITV ในวันที่ 6 ตุลาคมปี 2542 เป็นสารคดีที่อธิบายทำความเข้าใจเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 อย่างเบื้องต้น โดยเป็นสารคดีที่ผลิตและเผยแพร่ในช่วงที่บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยหลังรัฐธรรมนูญ 2540

อย่าลืมฉัน Don’t Forget Me

(2546 / 10.13 นาที / มานัสศักดิ์ ดอกไม้) https://youtu.be/1TQCwjYUJyY

หนังสั้นที่ได้รางวัลรัตน์ เปสตันยี ในปี 2546 ความโดดเด่นของหนังอยู่ที่การนำภาพฟุตเทจเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 มาตัดเข้ากับเพลง ‘อย่าลืมฉัน’ ของวงชาตรี และใช้เสียงบรรยายจากสารคดีผีตองเหลือง เป็นความขัดแย้งที่เสียดสีสภาพการเมืองไทยได้อย่างเจ็บปวด

ความทรงจำ-ไร้เสียง (Silence-Memories)

(2557 / 26 นาที / ภัทรภร ภู่ทอง และทีมงาน) 

รับชมที่ https://www.facebook.com/filmkawan/videos/1244963352221335

หนังที่เล่าเรื่องราวและบาดแผลความทรงจำของ 2 ครอบครัวผู้สูญเสียลูกในเหตุการณ์การปราบปรามนักศึกษา 6 ตุลาคม 2519 

แม่เล็ก วิทยาภรณ์ แม่ของคุณมนู วิทยาภรณ์ นักศึกษาปีสุดท้ายของคณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง
พ่อจินดา ทองสินธุ์ พ่อของคุณจารุพงษ์ ทองสินธุ์ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
แม้เวลาจะผ่านไปแล้ว 40 ปี แต่เสียงของผู้ถูกกระทำและเรื่องราวของ 6 ตุลานั้นกลับไม่ได้ถูกบอกเล่าและได้รับความสนใจจากสังคมและรัฐเท่าที่ควร ความเงียบที่เกิดขึ้นต่อเหตุการณ์ 6 ตุลาคม จึงทำให้ครอบครัวผู้เสียชีวิตต้องอยู่กับความเจ็บปวดที่ไม่ได้รับการเยียวยาและความเป็นธรรมจากรัฐแต่อย่างใด

ด้วยความนับถือ (Respectfully yours)

(2559 / 23.50 นาที / ภัทรภร ภู่ทอง และ รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์) https://youtu.be/ig2DCytG8_Y

หนังสารคดี "ด้วยความนับถือ" (Respectfully Yours) ถูกจัดทำขึ้นในโอกาสครบรอบ 40 ปี 6 ตุลา โดยนำเสนอเรื่องราวของผู้เสียชีวิตในฐานะมนุษย์ที่ทรงคุณค่าคนหนึ่งก่อนที่ชีวิตของพวกเขาจะถูกทำลายลงอย่างอำมหิต ผ่านการบอกเล่าจากเพื่อนและคนในครอบครัว

ดาวคะนอง

(2559 / 105 นาที / อโนชา สุวิชากรพงศ์) 

รับชมที่ https://vimeo.com/ondemand/dcbythetimeitgetsdark

หนังเล่าเรื่องภาวะที่เกี่ยวข้องกันอย่างหลวม ๆ ระหว่างตัวละครหลากหลายกลุ่ม ได้แก่ ผู้กำกับภาพยนตร์หญิงและผู้เป็นแรงบันดาลใจของเธอ ซึ่งเคยเป็นอดีตนักศึกษา นักกิจกรรมในทศวรรษ 2510, บริกรสาวผู้เปลี่ยนงานอยู่เป็นประจำ และนักแสดงชาย หญิงคู่หนึ่ง

พิราบ/Pirab 

(2560 / 29.56 นาที / ภาษิต พร้อมนำพล) https://youtu.be/RjnprnAMgWc

ผลงานการกำกับของ ภาษิต พร้อมนำพล หนังสั้นว่าด้วยเรื่องราวของนักศึกษาที่ถูกล้อมปราบในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ได้รับรางวัลพิราบขาว จากมูลนิธิ 14 ตุลา และรางวัลชมเชย สาขาช้างเผือก ในเทศกาลภาพยนตร์สั้นครั้งที่ 21 

เรื่องราวของ รัฐ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงถูกจับและโดนกักขัง จากการล้อมปราบในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในเหตุการณ์ชุมนุมวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ในนั้นเขาได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับพรรคคอมมิวนิสต์จากตะวัน ชายที่ถูกจับมาพร้อมกันกับเขา ซึ่งจะทำให้ชีวิตของรัฐพลิกผันไปตลอดกาล

อ่านต่อที่ https://prachatai.com/journal/2017/10/73574

สองพี่น้อง

(2560 / 20.23 นาที / ธีระวัฒน์ รุจินธรรม,ภัทรภร ภู่ทอง) https://youtu.be/KbQ9817ZZlI

ภาพยนตร์สารคดีสั้นเรื่อง “สองพี่น้อง (The Two Brothers)” เรื่องราวของ วิชัย เกษศรีพงศ์ษา และ ชุมพร ทุมไมย ช่างการไฟฟ้าสองคนที่ถูกแขวนคอที่จังหวัดนครปฐมหลังจากติดโปสเตอร์ต่อต้านการกลับประเทศของ พระถนอม ผู้ถูกขนานนามท้ายชื่อในห้วงนั้นว่า ‘ทรราช’ 

ข้อมูลจาก: 

https://doct6.com/

https://konmongnangetc.com/2016/10/05/6oct-movies/

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท