Skip to main content
sharethis


ที่มาภาพ: Blognone

28 พ.ย. 2563 เพจ Army Spoke Team ของทีมโฆษกกองทัพบก ชี้แจงกรณีมีการเผยแพร่เอกสารนำเสนอ เกี่ยวกับการใช้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ของหน่วยทหาร และอ้างว่ามีการจ้างบริษัทเอกชน เพื่อทำการอย่างใดอย่างหนึ่งผ่านแอพพลิเคชั่นทวิตเตอร์นั้น

กองทัพบกได้ตรวจสอบกับส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว ขอเรียนในประเด็นข้อเท็จจริงว่ากองทัพบก/หน่วย ไม่ได้มีการว่าจ้างบริษัทเอกชนไปดำเนินการปฏิบัติการข่าวสารตามที่มีความพยายามกล่าวหาโดยใช้การตีความจากเอกสารที่ถูกนำมาเผยแพร่ดังกล่าว เพราะวัตถุประสงค์ในการสื่อสารทางโซเชียลมีเดียของกองทัพบกนั้นมุ่งเน้นการสื่อสารสร้างการรับรู้ อย่างสร้างสรรค์ เท่าทันสถานการณ์

อย่างไรก็ตามในยุคสื่อสังคมออนไลน์ ทหาร/กองทัพเองก็ต้องมีการเรียนรู้พัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มต่างๆให้ทันกับสภาพสังคม โดยมีการจัดอบรมบรรยายและให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าวกับกำลังพลในทุกระดับให้มีความเข้าใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม

สำหรับภาพและข้อมูลในสื่อโซเชียลที่ปรากฎ นั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการอบรมกำลังพลของหน่วย (พล.ร.2รอ.)ในการใช้แอพพลิเคชั่นทวิตเตอร์ สนับสนุนงาน ประชาสัมพันธ์ของหน่วยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีกลุ่มเครือข่ายภาคประชาชนที่มีทักษะความรู้ด้านการตลาดดิจิทัลและในการใช้สื่อออนไลน์ที่ทันสมัย มาเป็นผู้ให้คำแนะนำการใช้งาน โดยไม่มีการว่าจ้าง ทั้งนี้ ซอฟต์แวร์ที่นำมาใช้กระจายข้อมูลเชิงบวกก็เป็น “ฟรีซอฟต์แวร์” ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เช่น Tweet Broadcast และ free Messenger เป็นต้น

สำหรับผังโครงสร้างที่ปรากฎก็เป็นการจัดหน่วยประชาสัมพันธ์ เพื่อทดลองกระจายข้อมูลเชิงบวกให้กับบัญชีทวิตเตอร์ด้วยแอพพลิเคชั่นดังกล่าว และมีการลงทะเบียนใช้งานอย่างเปิดเผย ระบุตัวตนได้ ส่วนเนื้อหาที่นำลงก็เป็นการประชาสัมพันธ์เชิงบวก กิจกรรมเทิดทูนสถาบัน การสร้างภาพลักษณ์ ภารกิจกองทัพบกและการช่วยเหลือประชาชน ในขณะเดียวกันหากมีผู้ไม่หวังดีนำข้อมูลที่ไม่ถูกต้องบิดเบือน หรือข่าวเท็จ(ข้อมูลที่เป็นสีเทา หรือสีดำ) ที่ส่งผลกระทบต่อหน่วยงานก็จะมีการตรวจสอบและเร่งเผยแพร่ข้อเท็จจริงในสื่อสังคมออนไลน์อย่างทันท่วงที เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ โดยไม่ได้มีลักษณะที่บ่งบอกถึงการนำเอาแพลตฟอร์มดังกล่าวไปดำเนินการเพื่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่บุคคลหรือองค์กรใด หรือทำให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อสังคมโดยรวม

นอกจากนี้ ข้อมูลที่ปรากฏเป็นข่าว ก็เป็นข้อมูลที่ผู้หนึ่งผู้ใดสามารถ download ได้ สะท้อนให้เห็นว่าทางกองทัพและผู้พัฒนาโปรแกรม ไม่มีเจตนาปกปิด หรือกระทำสิ่งใดที่ผิดกฎหมาย จึงเป็นสิทธิที่กองทัพสามารถดำเนินการ แสดงออกและกระจายข้อมูลเชิงบวกเข้าสู่ระบบสังคมออนไลน์ได้ตามเจตนารมณ์

ขอเรียนยืนยันอีกครั้งว่ากองทัพบกใช้โซเชียลมีเดียโดยเฉพาะแพลตฟอร์ม Twitter เพื่อสนับสนุน งานการประชาสัมพันธ์ของหน่วยระดับต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์การช่วยเหลือประชาชนการสื่อสารกับกำลังพลในพื้นที่ประสบภัยและเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับสาธารณชนเท่านั้น นอกจากนี้ กองทัพบกได้มีการปรับระบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการปฏิบัติงานโดยเฉพาะด้านการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้

โดยล่าสุดคณะทำงานด้านการประชาสัมพันธ์ในระดับกองทัพบกได้มีการจัดตั้งเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ของศูนย์ประชาสัมพันธ์ของหน่วยทหารจนถึงระดับกองพันจำนวน 578 หน่วย ซึ่งจะทำให้สามารถสร้างการรับรู้ในข่าวสารด้านความมั่นคง งานช่วยเหลือประชาชน งานบรรเทาภัย ได้รวดเร็วและกว้างขวางยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ เว็บไซต์ Blognone รายงานเพิ่มเติมว่า สัปดาห์นี้ ผู้ใช้ทวิตเตอร์ @SaraAyanaputra ได้เปิดเผยเอกสารนำเสนอของกองทัพบกแสดงกระบวนการทำงานของกลุ่มไอโอกองทัพ ที่ประสานงานผ่านแอปสองตัว คือ Twitter Broadcast และ Free Messenger ทางกองทัพบกก็ออกมายอมรับว่าสไลด์ดังกล่าวเป็นของจริง โดยระบุว่าเป็นการเรียนรู้ของกองทัพ "ให้มีความเข้าใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม" และการใช้งานแอปพลิเคชั่นทั้งสองตัวจากบริษัท เอส-แพลนเนต จำกัด ก็ไม่มีค่าใช้จ่าย

ข้อความในสไลด์ระบุถึงกระบวนการประสานงานเพื่อทวีตเรื่องเดียวกันโดยกำลังพลของกองทัพกว่า 17,000 คน โดยระบุช่วงเวลารับผิดชอบ, แบ่งหน้าที่ของกลุ่มเทา/ดำสำหรับทวีตโจมตีฝ่ายตรงข้ามที่ได้รับจากผู้ผลิตสื่อสีดำ, และกระบวนการหลบเลี่ยงการแบนจากทวิตเตอร์

ทีมโฆษกกองทัพบกไม่พูดถึงกลุ่มสีเทา/ดำ ในสไลด์นำเสนอแต่พูดเพียงว่าเป็นการจัดหน่วยประชาสัมพันธ์เพื่อกระจายข้อมูลเชิงบวก และตัวแอปก็เปิดให้ใครดาวน์โหลดก็ได้แสดงว่าทางกองทัพไม่มีเจตนาจะปกปิด

รองโฆษก ทบ. ระบุไม่ได้มีลักษณะที่บ่งบอกถึงการนำเอาแพลตฟอร์มดังกล่าวไปดำเนินการเพื่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่บุคคลหรือองค์กรใด 

ไทยรัฐออนไลน์ รายงานเพิ่มเติมว่า พอ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษก ทบ. กล่าวว่ากองทัพบกได้ตรวจสอบกับส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว ขอเรียนในประเด็นข้อเท็จจริงว่า กองทัพบก/หน่วย ไม่ได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนไปดำเนินการปฏิบัติการข่าวสารตามที่มีความพยายามกล่าวหาโดยใช้การตีความจากเอกสาร ที่ถูกนำมาเผยแพร่ดังกล่าว เพราะวัตถุประสงค์ในการสื่อสารทางโซเชี่ยลมีเดียของกองทัพบกนั้น มุ่งเน้นการสื่อสารสร้างการรับรู้อย่างสร้างสรรค์ เท่าทันสถานการณ์

อย่างไรก็ตาม ในยุคสื่อสังคมออนไลน์ ทหาร/กองทัพเอง ก็ต้องมีการเรียนรู้พัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มต่างๆ ให้ทันกับสภาพสังคม โดยมีการจัดอบรมบรรยาย และให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าวกับกำลังพลในทุกระดับให้มีความเข้าใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม

สำหรับภาพและข้อมูลในสื่อโซเชียลที่ปรากฏนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับการอบรมกำลังพลของหน่วย (พล.ร.2รอ.) ในการใช้แอปพลิเคชันทวิตเตอร์สนับสนุนงานประชาสัมพันธ์ของหน่วยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีกลุ่มเครือข่ายภาคประชาชน ที่มีทักษะความรู้ด้านการตลาดดิจิทัลและในการใช้สื่อออนไลน์ที่ทันสมัย มาเป็นผู้ให้คำแนะนำการใช้งาน โดยไม่มีการว่าจ้างแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ซอฟต์แวร์ที่นำมาใช้กระจายข้อมูลเชิงบวกก็เป็น "ฟรีซอฟต์แวร์" ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เช่น Tweet Broadcast และ Free Messenger เป็นต้น

สำหรับผังโครงสร้างที่ปรากฏก็เป็นการจัดหน่วยประชาสัมพันธ์ เพื่อทดลองกระจายข้อมูลเชิงบวกให้กับบัญชีทวิตเตอร์ด้วยแอปพลิเคชันดังกล่าว และมีการลงทะเบียนใช้งานอย่างเปิดเผย ระบุตัวตนได้ ส่วนเนื้อหาที่นำลงก็เป็นการประชาสัมพันธ์เชิงบวก กิจกรรมเทิดทูนสถาบัน การสร้างภาพลักษณ์ ภารกิจกองทัพบก และการช่วยเหลือประชาชน ในขณะเดียวกันหากมีผู้ไม่หวังดีนำข้อมูลที่ไม่ถูกต้องบิดเบือน หรือข่าวเท็จ (ข้อมูลที่เป็นสีเทาหรือสีดำ) ที่ส่งผลกระทบต่อหน่วยงานก็จะมีการตรวจสอบและเร่งเผยแพร่ข้อเท็จจริงในสื่อสังคมออนไลน์อย่างทันท่วงที เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ โดยไม่ได้มีลักษณะที่บ่งบอกถึงการนำเอาแพลตฟอร์มดังกล่าวไปดำเนินการเพื่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่บุคคล หรือองค์กรใด หรือทำให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อสังคมโดยรวม

นอกจากนี้ ข้อมูลที่ปรากฏเป็นข่าว ก็เป็นข้อมูลที่ผู้หนึ่งผู้ใดสามารถ download ได้ สะท้อนให้เห็นว่าทางกองทัพและผู้พัฒนาโปรแกรม ไม่มีเจตนาปกปิด หรือกระทำสิ่งใดที่ผิดกฎหมาย จึงเป็นสิทธิที่กองทัพบกสามารถดำเนินการ แสดงออกและกระจายข้อมูลเชิงบวกเข้าสู่ระบบสังคมออนไลน์ได้ตามเจตนารมณ์

ขอเรียนยืนยันอีกครั้งว่า กองทัพบกใช้โซเชียลมีเดียโดยเฉพาะแพลตฟอร์ม Twitter เพื่อสนับสนุน งานการประชาสัมพันธ์ของหน่วยระดับต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์การช่วยเหลือประชาชนการสื่อสารกับกำลังพลในพื้นที่ประสบภัยและเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับสาธารณะชนเท่านั้น นอกจากนี้ กองทัพบกได้มีการปรับระบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการปฏิบัติงานโดยเฉพาะด้านการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ โดยล่าสุด คณะทำงานด้านการประชาสัมพันธ์ในระดับกองทัพบกได้มีการจัดตั้งเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ของศูนย์ประชาสัมพันธ์ของหน่วยทหารจนถึงระดับกองพันจำนวน 578 หน่วย ซึ่งจะทำให้สามารถสร้างการรับรู้ในข่าวสารด้านความมั่นคง งานช่วยเหลือประชาชน งานบรรเทาภัย ได้รวดเร็วและกว้างขวางยิ่งขึ้น

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net