ไต้หวันมีความสำคัญต่อประชาคมโลกในการปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

 

อาชญากรรมทางไซเบอร์ไร้พรมแดน ไต้หวันจึงต้องการความร่วมมือกับนานาประเทศ 
เนื่องจากปัจจุบันใคร ๆ ก็สามารถใช้อินเตอร์เน็ตเข้าถึงอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตทุกที่ในโลก จึงเกิดเป็นช่องว่างให้กลุ่มอาชญากรจึงฉวยโอกาสใช้นามแฝงและเสรีภาพในโลกออนไลน์ในการปกปิดตัวตนที่แท้จริงเพื่อกระทำความผิดต่าง ๆ เช่นการเผยแพร่สื่อลามกอนาจารเด็ก การละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การขโมยข้อมูลความลับทางการค้า อีเมลหลอกลวงข้อมูล (Phishing) และมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (ransomware) เป็นอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นบ่อย อาชญากรยังใช้สกุลเงินดิจิตอล (Virtual Currency) ในการทำธุรกรรมและการฟอกเงิน เนื่องจากอาญากรรมทางไซเบอร์ไร้พรมแดน ไต้หวันยินดีที่จะทำงานร่วมกับหน่วยงานสืบสวนสอบสวนและผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญากรรมทางไซเบอร์จากนานาประเทศ พร้อมแบ่งปันประสบการณ์จากห้องปฏิบัติการพิสูจน์พยานหลักฐานทางดิจิทัล (Digital forensics Laboratory) ที่ได้มาตรฐาน ISO 17025 เพื่อร่วมต่อต้านและปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ (cybercrime) 

ตั้งแต่โรคโควิด-19 (COVID-19) เริ่มระบาดในช่วงปลายปี พ.ศ.2562 และแพร่ระบาดลุกลามไปทั่วโลก เนื่องจากรัฐบาลไต้หวันได้ออกมาตรการยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอย่างรวดเร็วและประชาชนชาวไต้หวันให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้ไต้หวันสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ประชาคมโลกกำลังต่อสู้กับโรคโควิด-19 อย่างเต็มความสามารถ โลกไซเบอร์ก็กำลังเผชิญหน้ากับภัยคุกคามด้วยเช่นกัน รายงานภัยคุกคามทางไซเบอร์ในช่วงกลางปี พ.ศ.2563 (The Cyber Attack Trends: 2020 Mid-Year Report) ซึ่งเผยแพร่ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2563 โดยบริษัท เช็ค พอยท์ ซอฟแวร์ เทคโนโลยีส์ จำกัด (Check Point Software Technologies Ltd.) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านความมั่นคงและปลอดภัยด้านไอที (IT Security) ได้ระบุในรายงานว่า เว็บไซต์หลอกหลวงข้อมูล (phishing) และการโจมตีของโปรแกรมประสงค์ร้ายที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 ทั่วโลกนั้นได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจากน้อยกว่า 5,000 ราย ต่อสัปดาห์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 200,000 ราย ต่อสัปดาห์ในช่วงปลายเดือนเมษายน พ.ศ.2563 

ในขณะที่โรคโควิด-19 เป็นภัยร้ายแรงต่อชีวิตและความปลอดภัยของมนุษย์ แต่อาชญากรรมทางไซเบอร์อาจจะละเมิดและสร้างความเสียหายอย่างมหันต์ต่อความมั่นคงของประเทศ การดำเนินธุรกิจ และความปลอดภัยด้านข้อมูลส่วนตัวและทรัพย์สินบุคคล ไต้หวันนอกจากจะประสบความสำเร็จในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในการเผชิญกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ และความท้าทายทั้งหลายในโลกไซเบอร์นั้น ไต้หวันได้มุ่งพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านความมั่นคงและปลอดภัยด้านไอที (IT Security) และสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมความมั่นคงและปลอดภัยด้านไอที (IT Security Industry) และสร้างด้านเทคโนโลยีนวัตกรรม ด้านความปลอดภัยของข้อมูล (Innovative Technologies) อีกด้วย ไต้หวันมีส่วนร่วมในการต่อต้านโรคระบาดและอาชญากรรมไซเบอร์มาโดยตลอด

เนื่องจากการโจรกรรมข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ระดับชาติแพร่หลาย ดังนั้นจะขาดการให้ข้อมูลจากหน่วยข่าวกรองไต้หวันไม่ได้ 

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2563 กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (The US Department of Homeland Security) สำนักงานสอบสวนกลาง (FBI: Federal Bureau of Investigation) และกระทรวงกลาโหม (Department of Defense) ของสหรัฐอเมริกา ได้เปิดเผยรายงานวิเคราะห์มัลแวร์ (Malware Analysis Report) ว่ากลุ่มอาชญากรคอมพิวเตอร์ (hacker) ระดับชาติหนึ่งช่วงนี้ได้ปรับเปลี่ยนโปรแกรม Taidoor ซึ่งเป็นโปรแกรมประสงค์ร้ายที่ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 ในการโจมตี หน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจหลายแห่งของไต้หวันซึ่งเคยถูกโจมตีจากโปรแกรมประสงค์ร้ายดังกล่าว ในปี พ.ศ.2555 และมีข้อสังเกตในรายงานของบริษัทเทรนด์ ไมโคร (Trend Micro Inc.) ว่าผู้ที่ถูกโจมตีจากโปรแกรมประสงค์ร้ายดังกล่าวอยู่ในไต้หวันทั้งหมด และส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไต้หวัน ในแต่ละเดือน หน่วยงานภาครัฐของไต้หวันถูกโจมตีทางไซเบอร์ (cyberattack) จากต่างประเทศ ประมาณ 20 – 40 ล้านครั้งต่อเดือน ประสบการณ์ดังกล่าว ทำให้ไต้หวันทราบแหล่งที่มา วิธีการ และโปรแกรมประสงค์ร้ายที่ใช้ในการโจมตี ถ้าหากสามารถร่วมแบ่งปันข้มูลสามารถช่วยใช้ประเทศอื่นเข้าใจรูปแบบการจู่โจมทางไซเบอร์สร้างกลไกแนวป้องกันร่วมกัน และป้องกันมิให้แฮกเกอร์ใช้เซร์ฟเวอร์กระโดดต่างประเทศในการสร้างจุดขาดช่วงในการสืบสวนสอบสวน ทุกประเทศควรร่วมมือกันและแบ่งปันข้อมูลเพื่อปะติปะต่อเส้นทางการโจมตีข้ามชาติ

ไต้หวันสามารถช่วยต่อต้านอาชญากรรมทางไซเบอร์
การต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติต้องขอความร่วมมือจากทุกประทศ จึงจะสามารถปราบปรามได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไต้หวันและไทยร่วมปราบปรามอาชญากรรม รักษาความปลอดภัยและสุขสวัสดิ์ของประชาชนทั้งสองฝ่าย ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2559 มีการโจรกรรมข้อมูลในระบบธนาคารที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในไต้หวัน โดยมีการถอนเงินเป็นจำนวน 83.27 ล้านดอลลาร์ไต้หวันใหม่ ออกจากตู้เอทีเอ็ม (ATM: Automated Teller Machine) ของธนาคาร First Commercial Bank ภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เพียงแต่ได้ติดตามเงินที่ถูกขโมยไปกลับมาได้จำนวน 77.48 ล้านดอลลาร์ไต้หวันใหม่ และกุมผู้ร่วมกระทำความผิดอาชญากรรมได้ 3 ราย คือ นาย Andrejs Peregudovs ชาวลัตเวียร์ นาย Mihail Colibaba ชาวโรมาเนีย และนาย Niklae Penkov ชาวมอลโดวา เหตุการณ์นี้เป็นที่จับตาของประชาคมโลกเป็นอย่างมาก และเดือนกันยายนปีเดียวกัน เหตุการณ์โจรกรรมตู้เอทีเอ็ม (ATM) ที่มีรูปแบบคล้ายกันเกิดขึ้นในประเทศโรมาเนีย และมีผู้ต้องสงสัยคือ นาย Babii ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโจรกรรมข้างต้นที่เกิดขึ้นในไต้หวัน ทางการได้คาดการณ์ว่าเป็นการกระทำโดยกลุ่มอาชญากรเดียวกัน ตำรวจยูโรโพลได้เชิญกรมสอบสวนอาชญากรรมของไต้หวัน (CIB: Taiwan’s Criminal Investigation Bureau) ไปที่ยูโรโพลเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและหลัฐานถึง 3 ครั้ง ทั้ง 2 หน่วยงานได้ร่วมกันก่อตั้ง Operation TaiEX (Technical Assistance and Information Exchange) และโดยมีกองบัญชาการตำรวจสอบสวนอาชญากรรมไต้หวัน หรือ CIB ได้ให้หลักฐานสำคัญกับยูโรโพล ซึ่งช่วยระบุตำแหน่งของนาย Dennys ในประเทศสเปน ซึ่งผู้ต้องสงสัยหลักที่อยู่เบื้องหลังการก่ออาชญากรรมทั้ง 2 ครั้งนี้ต่อมา ยูโรโพลร่วมกับตำรวจสเปนสามารถจับคุมนาย Dennys และทำลายกลุ่มอาชญากรรมได้สำเร็จ 

การปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศ ไต้หวันพร้อมและยินดีที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะทำให้พื้นที่ไซเบอร์(cyberspace) มีความปลอดภัยมากขึ้น กรุณาสนับสนุนไต้หวันเข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่ประจำปีขององค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (Annual INTERPOL General Assembly) ในฐานะผู้สังเกตการณ์ (observer) และการประชุมกลไกและกิจกรรมอบรมต่าง ๆ ขององค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ ขอให้ท่านสนับสนุนไต้หวันมีส่วนร่วมในองค์กรระหว่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรมและที่สำคัญ เพื่อร่วมปราบปรามอาชญากรรมไซเบอร์ได้ Taiwan Can Help!

 

หวง หมิงเจา (Huang Ming-chao) เป็นผู้บัญชาการ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนคดีอาชญากรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) 

แปลและเผยแพร่โดย ฝ่ายสารนิเทศ Information Division Taipei Economic & Cultural office in Thailand สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย
40/64 ซ.วิภาวดีรังสิต 66 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 

ที่มาภาพ: http://intendesign.com/2020/02/24/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99/

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท