Skip to main content
sharethis

'เร็งโง' องค์กรสหภาพแรงงานที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ชี้ว่าแม้อยู่ในภาวะ COVID-19 ระบาด แต่จะไม่หยุดยั้งการเรียกร้องการเพิ่มค่าจ้างให้สมาชิกทั้ง 7 ล้านคน แม้ว่าจะเป็นปีที่เลวร้ายที่สุดในด้านผลกำไรขององค์กรธุรกิจ นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงิน


แฟ้มภาพ: JTUC-Rengo

เมื่อช่วงเดือน พ.ย. 2563 ที่ผ่านมานายริคิโอะ โคซู ประธานสมาพันธ์สหภาพแรงงานญี่ปุ่น (Japanese Trade Union Confederation) หรือ 'เร็งโง' ระบุกับสื่อว่าเขาจะผลักดันให้มีการขึ้นค่าจ้างร้อยละ 4 ซึ่งรวมถึงค่าจ้างพื้นฐาน แม้ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับผลพวงของโรค COVID-19 ระบาด

"ถ้าเราบอกว่าการขึ้นค่าจ้างเป็นไปไม่ได้ในสถานการณ์ COVID-19 เราก็จะละเลยความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจโดยสิ้นเชิง" โคซู กล่าว เขายังระบุว่ามีความกังวลอย่างมากที่ญี่ปุ่นอาจกลับเข้าสู่ภาวะเงินฝืด

การเพิ่มขึ้นของจำนวนคนทำงานน้อยลงแม้ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจยังดี ทำให้ญี่ปุ่นยากที่จะหลุดพ้นจากวงจรเศรษฐกิจที่มีการเติบโตต่ำ และในสถานการณ์ระบาดของ COVID-19 ก็ยิ่งได้ทำให้กำไรของบริษัทต่าง ๆ ลดลง  

แต่เร็งโงกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาค่าจ้างประจำปีในฤดูใบไม้ผลิ ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่เพิ่มสูงขึ้นเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลการดำเนินงานของบริษัทต่าง ๆ ด้วยอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 อีกครั้ง

เร็งโงเรียกร้องให้ขึ้นค่าจ้างร้อยละ 4 เมื่อพูดถึงฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมานี้ ก่อนที่การระบาดของ COVID-19 จะรุนแรงขึ้น แต่กลับได้รับการขึ้นค่าจ้างเฉลี่ยเพียงร้อยละ 1.9 ซึ่งถือเป็นจำนวนที่น้อยที่สุดในรอบ 7 ปี

Mitsubishi UFJ Research & Consulting ระบุว่าในปี 2564 สถานการณ์อาจจะแย่กว่านี้ โดยมองว่าโบนัสในช่วงฤดูหนาวปี 2563 นี้ลดลงร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับปี 2562 ซึ่งลดลงมากกว่าเมื่อวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2552

โคซู กล่าวว่าเป้าหมายการขึ้นค่าจ้างของเร็งโงที่ร้อยละ 12 ไม่ได้ทำให้ความเชื่อมั่นของสาธารณชนแย่ลงหรือสร้างความเสียหายในระยะยาว เพราะการใช้จ่ายของผู้บริโภค (จากค่าจ้างที่เพิ่มมากขึ้น) นั้นคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจ

"ถ้าเศรษฐกิจพังลงความพยายามมากมายที่ทำมาจนถึงตอนนี้ก็ไร้ผล" เขากล่าว

ที่มาเรียบเรียงจาก
Japan’s top union federation to demand wage raises despite pandemic (THE JAPAN TIMES, 19/11/2020)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net