Skip to main content
sharethis

ในขณะที่เราถกเถียงกันอย่างเอาเป็นเอาตายเกี่ยวกับการกระทำบางอย่างของม็อบราษฎรในช่วงที่ผ่านมา เช่น การสาดสีใส่ตำรวจ สิ่งที่เรามักมองข้ามกันตลอดปีก็คือ  ไม่มีครั้งใดเลยที่ม็อบราษฎรปราศจากการต่อสู้แบบสันติวิธี เหตุการณ์ปะทะที่มีให้เห็นบ้างมักเป็นข่าวครึกโครม แต่การต่อสู้สันติวิธีกลับได้รับการบันทึกอย่างไม่เป็นกิจจะลักษณะเท่าที่ควร

จากการรวบรวมข้อมูลข่าวสารตลอดปีที่ผ่านมา (ก.พ.-ธ.ค.2563) พบว่า ม็อบราษฎรได้ใช้ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงไปแล้วถึง 72 วิธีจากทั้งหมด 198 วิธีตามตำรา The Politics of Nonviolent Action เล่มสองของยีน ชาร์ป (Gene Sharp) ซึ่งเป็นบิดาของสันติวิธีสมัยใหม่และได้รับฉายาว่า ‘มาคิอาเวลลีแห่งสันติวิธี’

ตามนิยามของชาร์ป ปฏิบัติการไร้ความรุนแรง หมายถึง “วิธีการประท้วง ต่อต้าน การแทรกแซงที่ปราศจากความรุนแรงเชิงกายภาพ โดยสมาชิกของกลุ่มที่ไม่ใช้ความรุนแรงกระทำการบางอย่างหรือปฏิเสธที่จะกระทำการบางอย่าง”[1]

สันติวิธีตามแนวทางนี้แบ่งเป็น 2 หมวดใหญ่ ได้แก่ การกระทำอะไรบางอย่าง (acts of commission) และการไม่ทำอะไรบางอย่าง (acts of comission) หรืออาจแบ่งเป็น 3 หมวดก็ได้ คือ

1. การประท้วงและจูงใจ (protest and persuasion)
2. การไม่ให้ความร่วมมือ (non-cooperation)
3. การแทรกแซงโดยไม่ใช้ความรุนแรง (nonviolent intervention)

ในการนับวิธีปฏิบัติการไร้ความรุนแรงของม็อบราษฎรและกลุ่มผู้สนับสนุน เราเก็บข้อมูลเฉพาะปฏิบัติการที่แสดงออกถึงเจตนารมณ์ในการต่อต้านรัฐบาล การต่อต้านผู้สนับสนุนรัฐบาล หรือต่อต้านนโยบายของรัฐบาลอย่างชัดเจนเท่านั้น โดยมีกรณีที่เกิดขึ้นจริง 72 วิธี 

ต้องออกตัวไว้ก่อนว่า

  • ในแต่ละวิธีอาจมีมากกว่า 1 เหตุการณ์เป็นหลักฐานสนับสนุน แต่เนื่องจากต้องการพิสูจน์เพียงว่าผู้ประท้วงใช้วิธีการดังกล่าวแล้วหรือไม่ จึงไม่มีเหตุจำเป็นให้รวบรวมทั้งหมด เช่น การเยาะเย้ยเจ้าหน้าที่ (taunting officials) มีทั้งกรณีที่ผู้ประท้วงส่องกระจกใส่ตำรวจและกรณีที่ผู้ประท้วงวางอาหารสุนัขหน้าสถานีตำรวจ ในเบื้องต้นจะนับเพียงกรณีเดียวก่อน
  • นอกจาก 72 วิธีนี้อาจมีวิธีการอื่นๆ ที่เราอาจไม่พบข้อมูล และอาจมีวิธีการอื่นที่ไม่ได้อยู่ใน 198 วิธีตามตำราของยีน ชาร์ป ด้วย ตัวอย่างเช่น ไมเคิล เบียร์ได้บันทึกรวบรวมต่อยอดจากงานของยีน ชาร์ป แล้วพบว่าปัจจุบันมีปฏิบัติการไร้ความรุนแรงทั้งหมด 348 วิธี

เน้นการประท้วงและจูงใจ

ช่วงที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่รัฐและผู้สนับสนุนรัฐบาลพยายามกล่าวหาว่าผู้ประท้วงเป็นฝ่ายยุยงปลุกปั่นและใช้ความรุนแรงอยู่เนืองๆ การรวบรวมบันทึกข้อมูลการต่อสู้ด้วยสันติวิธีของม็อบราษฎรไม่ได้ช่วยพิสูจน์ว่ามีความรุนแรงเกิดขึ้นหรือไม่ หรือเกิดจากฝ่ายใด (กรณีเหล่านี้มีการรายงานและอภิปรายกันในที่อื่นๆ แล้ว) แต่บันทึกข้อมูลนี้น่าจะช่วยให้เห็นได้บ้างไม่มากก็น้อยว่า ม็อบราษฎรใช้สันติวิธีอย่างไร

การนับเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ หลังวันที่ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่นำไปสู่การประท้วงเรื่อยมาถึงปัจจุบัน พบว่าม็อบราษฎรและผู้สนับสนุนใช้ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงไปแล้ว 72 วิธี เมื่อแบ่งเป็นหมวดหมู่กลยุทธ์ตามที่มีระบุในตำราของยีน ชาร์ป พบว่ามีสัดส่วนดังนี้ :

  • หมวดการประท้วงและจูงใจ 41 วิธี (จาก 54 วิธี)
  • หมวดการไม่ให้ความร่วมมือ 21 วิธี (จาก 103 วิธี)
  • หมวดการแทรกแซงโดยไม่ใช้ความรุนแรง 10 วิธี (จาก 41 วิธี) 

ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ ม็อบราษฎรเน้นไปที่ 'การประท้วงและจูงใจ' มากที่สุด สังเกตได้จากการที่พวกเขาใช้วิธีการในหมวดนี้มากที่สุด (41 วิธี) รองลงมาคือ การไม่ให้ความร่วมมือ (21 วิธี) และ การแทรกแซงโดยไม่ใช้ความรุนแรง (10 วิธี) ตามลำดับ

จริงอยู่ที่ตัวเลขวิธีการไม่สามารถบ่งชี้ได้เสมอไปว่า ผู้ประท้วงให้น้ำหนักไปที่กลยุทธ์ประเภทไหน เพราะบางวิธีอาจมีการใช้หลายครั้ง และไม่ได้บ่งชี้ว่าวิธีการของผู้ประท้วงมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพราะการใช้วิธีการจำนวนมากไม่ได้แปลว่ามีประสิทธิภาพเสมอไป ทว่าตัวเลขเหล่านี้น่าจะบ่งชี้ได้ว่าผู้ประท้วงเน้นกลยุทธ์แบบใดเป็นหลัก เพราะเห็นได้ชัดอยู่แล้วว่าที่ผ่านมาม็อบราษฎรเน้นการจัดประท้วงอย่างสม่ำเสมอ แต่เป็นแบบ ‘แฟลชม็อบ’ เพื่อหลีกเลี่ยงการปราบปรามรุนแรงจากฝ่ายรัฐ

การเน้นไปที่การประท้วงและจูงใจก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะขบวนการเคลื่อนไหวทั่วโลกส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็เป็นเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม การพิจารณาจุดแข็งและจุดอ่อนของยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ของผู้ประท้วงในปัจจุบันเป็นหัวข้อใหญ่ที่ต้องอภิปรายกันในโอกาสต่อไป

สำหรับปฏิบัติการไร้ความรุนแรง 72 วิธีที่ผู้ประท้วงใช้ในช่วงที่ผ่านมา ประกอบด้วย:

วิธีการ

มี

คาดว่ามี

ไม่มี

รายละเอียด

สุนทรพจน์ต่อสาธารณชน

1

  

นักกิจกรรมมักพูดปราศัยในการประท้วงบ่อย ๆ เช่น คำปราศรัยของอานนท์ นำภา

จดหมายต่อต้านหรือสนับสนุน

1

  

ผู้ประท้วงเขียนจดหมายถึงในหลวงวชิราลงกรณ์เรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์

คำประกาศโดยองค์กรหรือสถาบัน

1

  

เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยกว่า 140 คนออกแถลงการณ์ชี้ข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ไม่ผิดกฎหมาย

แถลงการณ์ล่ารายชื่อ

1

  

เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัย 120 คน ลงนามแถลงการณ์หนุนข้อเรียกร้องของคณะราษฎร

แถลงการณ์กล่าวหาและประกาศเจตนารมณ์

1

  

คำแถลงการณ์ของคณะราษฎรเพื่อจัดประท้วงแบบไร้แกนนำ

การลงชื่อร้องเรียนโดยกลุ่มหรือมวลชน

1

  

ilaw รวบรวมรายชื่อ 100,000 คนเพื่อเรียกร้องให้แก้รัฐธรรมนูญ

คำขวัญ การ์ตูนล้อเลียน และสัญลักษณ์

1

  

สัญลักษณ์สามนิ้ว การ์ตูนไข่แมว "คำขวัญศักดินาจงพินาศ ประชาราษฎร์จงเจริญ"

แบนเนอร์ โปสเตอร์ และการสื่อสารผ่านการแสดงรูปแบบต่างๆ

1

  

ป้ายข้อความ "ยกเลิก 112"

ใบปลิว จุลสาร และหนังสือ

1

  

หนังสือ "สถาบันกษัตริย์กับสังคมไทย"

หนังสือพิมพ์และวารสาร

 

 1

ไม่มี

บันทึก วิทยุ และโทรทัศน์

1

  

นักกิจกรรมสร้างเพจเฟสบุ๊คเพื่อเผยแพร่อุดมการณ์และประชาสัมพันธ์การประท้วง เช่น ธรรมศาสตร์และการชุมนุม

การเขียนข้อความบนท้องฟ้าและการเขียนข้อความบนพื้นดิน

1

  

การพ่นสีหรือเขียนสีชอล์คบนถนน เช่น ข้อความ “รัฐประหารมึงเจอกู

การตั้งคณะผู้แทน

1

  กลุ่มราษฎร ส่ง "ราษฎรสาส์น" ถึงรัชกาลที่ 10

การให้รางวัลประชด

1

  

ครูใหญ่อรรถพลให้รางวัลแก่ผู้นำรัฐบาลและสำนักข่าวเนชั่น

การวิ่งเต้นเป็นกลุ่ม

 

 1

ไม่มี

การประท้วงปิดทางเข้าอาคาร

 

 1

ไม่มี

การจัดสาธิตเลือกตั้ง

  

1

ไม่มี

การแสดงธงหรือสีเชิงสัญลักษณ์

1

  

ผู้ประท้วงโบกธงสามนิ้ว

การแสดงสัญลักษณ์ผ่านเครื่องแต่งกาย

1

  

ผูกโบว์ขาว

การสวดมนต์และพิธีกรรมศาสนา

1

  

การทำพิธีไล่เผด็จการที่ขอนแก่น

การส่งมอบสิ่งของเชิงสัญลักษณ์

1

  

การแจกจ่ายหมุดคณะราษฎรไปตามช่องทางต่าง ๆ ในฐานะของที่ระลึก

การเปลื้องผ้าประท้วง

1

  

ผู้เปลื้องผ้าเหลือแต่ชุดชั้นประท้วงการล่วงละเมิดทางเพศ

การทำลายทรัพย์สินตนเอง

1

  

เผาหนังสือนครินทร์ เมฆไตรรัตน์

การใช้แสงไฟเชิงสัญลักษณ์

1

  

จุดเทียนประท้วงการยุบพรรคอนาคตใหม่

การแสดงภาพบุคคล

1

  

การแสดงภาพบุคคลที่ถูกบังคับสูญหาย

การวาดสีเพื่อประท้วง

1

  

ผู้ประท้วงสาดสีป้ายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

การทำป้ายหรือตั้งชื่อใหม่

1

  

เปลี่ยนชื่อถนนจาก “ราชดำเนิน” เป็น “ราษฎรดำเนิน” เปลี่ยนชื่อจาก “สนามหลวง" เป็น “สนามราษฎร” และการขึ้นป้าย “เขตราษฎร”

การใช้เสียงเชิงสัญลักษณ์

1

  

การตะโกน "ไอ้เหี้ยตู่" ในการประท้วงต่าง ๆ

การทวงคืนสัญลักษณ์

1

  

ผู้ประท้วงวางหมุดคณะราษฎรในสนามหลวง ทวงคืนสัญลักษณ์คณะราษฎร

การใช้ท่าทางหยาบคาย

1

  

ชูนิ้วกลางใส่ขบวนเสด็จ

การ "ตามหลอกหลอน" เจ้าหน้าที่

1

  

การ์ดเชียงใหม่ให้สัมภาษณ์ว่าเดินตามเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบเพื่อเอาคืนที่บุคคลเหล่านี้มาสะกดรอยตามพวกเขา

การเยาะเย้ยเสียดสีเจ้าหน้าที่

1

  

ส่องกระจกใส่ตำรวจ

การตีสนิท

  

1

 

การสงบนิ่ง

1

  

สงบนิ่ง 44 วินาที รำลึก 44 ปีเหตุการณ์ 6 ตุลา

การแกล้งและเสียดสีโดยใช้อารมณ์ขัน

1

  

นักเรียนชูสามนิ้วระหว่างถ่ายรูปกับประยุทธ์

การแสดงละครและดนตรี

1

  

เพลงมาร์ชราชวัลลภรีมิกซ์

การร้องเพลง

1

  

การร้องเพลง 1 2 3 4 5 ไอ้เหี้ยตู่ ฯลฯ

การเดินขบวน

1

  

ผู้ประท้วงเดินขบวนไปทำเนียบรัฐบาล

ขบวนพาเหรด

1

  

ไพร่พาเหรด

ขบวนแห่ทางศาสนา

  

1

 

การเดินเท้าทางไกล

  

1

 

ขบวนรถพาหนะ

 

 1

 

การไว้อาลัยทางการเมือง

1

  

ผู้ประท้วงที่ยะลาไว้อาลัยแก่ประชาธิปไตยไทย

การจัดงานศพล้อเลียน

1

  

ราษฎรอุดรธานีจัดงานศพไล่ประยุทธ์

การจัดงานศพเพื่อประท้วง

  

1

 

การคารวะหลุมศพ

1

  

รำลึก 14 ปีลุงนวมทองไพรวัลย์ (นับเป็นกรณีเทียบเคียง)

การชุมนุมประท้วงหรือสนับสนุน

1

  

การประท้วงแฮรี่ พอตเตอร์

การจัดประชุมประท้วง

1

  

การจัดงานเสวนาต่าง ๆ เพื่อแก้รัฐธรรมนูญ

การจัดประชุมแบบลับๆ เพื่อประท้วง

 

 1

ไม่มี

การบรรยายสาธารณะ

1

  

การบรรยายของปิยบุตร แสงกนกกุล ในหัวข้อต่าง ๆ

การเดินออก

 

 1

 

การเงียบใส่

  

1

 

การปฏิเสธรางวัล

  

1

 

การหันหลัง

1

  

ผู้ประท้วงหันหลังให้ขบวนเสด็จ

การคว่ำบาตรทางสังคม

1

  

การคว่ำบาตรนักแสดงดาราที่สนับสนุนเผด็จการ

การคว่ำบาตรทางสังคมโดยเลือกประเด็น

1

  

ไม่ขายของให้เจ้าหน้าที่ หากไม่ถอดเครื่องแบบ

การไม่ยอมมีเพศสัมพันธ์

1

  

มีแฮชแท็กรณรงค์ให้งดเพศสัมพันธ์กับ "สลิ่ม"

การขับไล่ออกจากกลุ่ม

 

 1

 

การห้ามไม่ให้เข้าวัดหรือโบสถ์

  

1

 

การระงับกิจกรรมทางสังคมและกีฬา

  

1

 

การคว่ำบาตรกิจกรรมทางสังคมต่างๆ

1

  

ไม่เข้าร่วมพิธีรับปริญญา

การนัดหยุดเรียน

1

  

นักเรียนบดินทร์นัดหยุดเรียน

การแหวกขนบสังคม

1

  

ไม่ยืนในโรงภาพยนตร์

การถอนตัวจากสถาบันทางสังคม

1

  

เยาวชนตัดขาดกับครอบครัวเพราะเหตุผลทางการเมือง

การเก็บตัวอยู่ในบ้าน

  

1

 

การไม่ให้ความร่วมมือในทางส่วนตัวอย่างเด็ดขาด

  

1

 

หนีหายจากงานไปเฉยๆ โดยไม่บอกกล่าว

  

1

 

ที่หลบภัย

 

 1

 

การหายตัวไปเป็นกลุ่ม

  

1

 

การอพยพเพื่อประท้วง (ฮิจเราะห์)

  

1

 

การคว่ำบาตรโดยผู้บริโภค

1

  

งดเซเว่นทุกวันพุธ

การไม่บริโภคสินค้าที่ถูกคว่ำบาตร

1

  

No Salim Shopping List

นโยบายรัดเข็มขัด

  

1

 

การหยุดชำระค่าเช่า

  

1

 

การไม่เช่า

1

  

ไม่เช่าพื้นที่โฆษณาของ MRT

การคว่ำบาตรต่างชาติโดยผู้บริโภคภายในประเทศ

  

1

 

การคว่ำบาตรประเทศหนึ่งโดยผู้บริโภคนานาชาติ

  

1

 

การคว่ำบาตรโดยคนงาน

  

1

 

การคว่ำบาตรโดยผู้ผลิต

  

1

 

การคว่ำบาตรโดยผู้ค้าส่งและผู้จัดส่ง

  

1

 

การคว่ำบาตรโดยผู้ค้าปลีก

  

1

 

การไม่ให้หรือไม่ขายทรัพย์สิน

  

1

 

การระงับการจ้างงาน

  

1

 

การหยุดให้ความช่วยเหลือทางอุตสาหกรรม

  

1

 

การ "นัดหยุดงานใหญ่" โดยพ่อค้า

  

1

 

การถอนเงินฝากธนาคาร

1

  

ถอนเงิน SCB

การไม่จ่ายค่าธรรมเนียม

  

1

 

การไม่จ่ายหนี้หรือดอกเบี้ย

  

1

 

การตัดแหล่งเงินทุนหรือสินเชื่อ

1

  

การกดดันให้สปอนเซอร์ถอนตัวจากเนชั่น

การไม่จ่ายภาษี

  

1

 

การไม่รับเงินจากรัฐบาล

 

 1

 

การห้ามซื้อขายภายในประเทศ

  

1

 

การขึ้นบัญชีดำผู้ซื้อขาย

  

1

 

การคว่ำบาตรจากนานาชาติโดยประเทศผู้ขาย

  

1

 

การคว่ำบาตรจากนานาชาติโดยประเทศผู้ซื้อ

  

1

 

การคว่ำบาตรทางการค้าโดยนานาชาติ

  

1

 

การนัดหยุดงานประท้วง

  

1

 

การผละงานเพื่อตอบโต้สถานการณ์เฉพาะหน้า  

1

การนัดหยุดงานโดยชาวนา

  

1

 

การนัดหยุดงานโดยคนงานในเรือกสวนไร่นา

  

1

 

ปฏิเสธการบังคับเกณฑ์แรงงาน

  

1

 

นักโทษนัดหยุดงาน

  

1

 

ช่างฝีมือนัดหยุดงาน

  

1

 

กลุ่มวิชาชีพนัดหยุดงาน

  

1

 

การนัดหยุดงานทั้งบริษัท

  

1

 

การนัดหยุดงานทั้งกลุ่มอุตสาหกรรม

  

1

 

การนัดหยุดงานเพื่อสนับสนุนอีกกลุ่มหนึ่ง

  

1

 

การนัดหยุดงานเพิ่มขึ้นทีละน้อย

  

1

 

การนัดหยุดงานทีละบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรม

  

1

 

การถ่วงงานให้ช้าลง

  

1

 

การทำงานแค่ตามสั่ง

  

1

 

การแจ้งลาป่วย

  

1

 

การนัดหยุดงานด้วยการลาออก

  

1

 

การนัดหยุดงานโดยจำกัดเวลางาน

  

1

 

การนัดหยุดงานโดยเลือกไม่ทำงานบางประเภท

  

1

 

การนัดหยุดงานโดยกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ บางส่วน

  

1

 

การนัดหยุดงานโดยกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ส่วนใหญ่

  

1

 

การหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดชั่วคราว

  

1

 

การปิดระบบเศรษฐกิจทั้งหมด

  

1

 

การระงับหรือเพิกถอนความภักดี

 

 1

 

สาธารณชนหยุดให้การสนับสนุน

  

1

 

การเขียนวรรณกรรมหรือกล่าวสุนทรพจน์เพื่อสนับสนุนการต่อต้าน

1

  

เพนกวินเรียกร้องให้นัดหยุดงาน

การคว่ำบาตรฝ่ายนิติบัญญัติ

  

1

 

การคว่ำบาตรการเลือกตั้ง

  

1

 

การคว่ำบาตรตำแหน่งงานและการจ้างงานของรัฐบาล

  

1

 

การคว่ำบาตรทบวงกรม องค์กร และหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐบาล

  

1

 

การถอนตัวจากสถาบันการศึกษาของรัฐบาล

  

1

 

การคว่ำบาตรองค์กรที่รัฐบาลสนับสนุน

  

1

 

ปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือแก่เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย

  

1

 

การรื้อถอนป้ายบอกสถานที่

  

1

 

การไม่ยอมรับเจ้าหน้าที่ที่รัฐบาลแต่งตั้ง

 

 1

 

การไม่ยอมยุบสถาบันต่างๆ ที่มีอยู่

 

 1

 

การปฏิบัติตามด้วยความลังเลและล่าช้า

 

 1

 

การไม่เชื่อฟังเมื่อไม่มีคนสอดส่องดูแลโดยตรง

1

  

พนักงานทำความสะอาดที่ถูกสั่งให้เข้าร่วมประท้วงเสื้อเหลือง ชูสามนิ้วขณะรถสิบล้อขับผ่านผู้ประท้วง

การไม่เชื่อฟังโดยประชาชน

1

  

ผู้ประท้วงฝ่าฝืนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง

การขัดขืนโดยอำพราง

1

  

เสื้อเหลืองแอบชูสามนิ้ว

การขัดคำสั่งห้ามชุมนุมหรือห้ามจัดประชุม

1

  

ผู้ประท้วงชุมนุมต่อ แม้เจ้าหน้าที่สั่งให้สลายการชุมนุม 

การนั่งประท้วง

1

  

การนั่งประท้วงตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น ในการประท้วงที่แยกอโศก มีประโยชน์ในการหลีกเลี่ยงการปะทะ

การไม่ให้ความร่วมมือกับการเกณฑ์ทหารและการเนรเทศ

 

 

1

 

การซ่อนตัว หลบหนี และปลอมตัว

1

  

พระปัญญาลี้ภัย หลังโดน พ.ร.บ. คอม

การอารยะขัดขืนกฎหมายที่ "ไม่ชอบธรรม"

1

  

การฝ่าฝืนมาตรา 112 ในวาระต่าง ๆ 

เจ้าหน้าที่รัฐบาลหยุดช่วยเหลือบางเรื่อง

  

1

 

การขัดขวางเส้นทางการออกคำสั่งและส่งถ่ายข้อมูล

  

1

 

การหยุดและขัดขวางการทำงาน

  

1

 

ข้าราชการหยุดให้ความร่วมมือ

  

1

 

ฝ่ายตุลาการหยุดให้ความร่วมมือ

1

  

ศาลอาญาไม่สั่งปิดสื่อ ไม่รับฝากขังนักกิจกรรมในหลายกรณี

เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย จงใจถ่วงงาน และหยุดให้ความร่วมมือในบางงาน

 

1

 

วอชิงตันโพสต์ระบุ มีเรื่องเล่าบนโซเชียลว่าตำรวจช่วยผู้ประท้วง และลังเลที่จะปราบปราม

การขัดขืนคำสั่ง

  

1

 

การหลีกเลี่ยงหรือถ่วงเวลาโดยใช้ข้อกฎหมายที่มีลักษณะก้ำกึ่ง

  

1

 

หน่วยงานรัฐบาลในท้องถิ่นไม่ให้ความร่วมมือ

  

1

 

การเปลี่ยนตัวแทนทางการทูตและตัวแทนอื่นๆ

  

1

 

การถ่วงเวลาหรือยกเลิกนัดหมายทางการทูต

  

1

 

การไม่รับรองสถานะของรัฐบาล

  

1

 

การตัดขาดความสัมพันธ์ทางการทูต

  

1

 

การถอนตัวจากองค์กรระหว่างประเทศ

  

1

 

การไม่เข้าเป็นสมาชิกองค์กรระหว่างประเทศ

  

1

 

การไล่ออกจากองค์กรระหว่างประเทศ

  

1

 

การทุกรกิริยา

1

  

ยืนชูสามนิ้ว 12 ชั่วโมง

การอดอาหาร

1

  

กลุ่มนวชีวินอดอาหารประท้วง

การพลิกกระบวนการพิจารณาคดี

  

1

 

การก่อกวนราวีโดยไม่ใช้ความรุนแรง

  

1

 

การเข้าไปนั่งประท้วง

 

 1

 

การเข้าไปยืนประท้วง

 

 1

 

การขึ้นรถขนส่งมวลชนโดยไม่รับอนุญาต

  

1

 

การเข้าชายหาดหวงห้าม

  

1

 

การเดินประท้วงในอาคาร

  

1

 

การเข้าไปสวดมนต์ในศาสนสถานที่ห้ามเข้า

  

1

 

การเข้ายึดสถานที่โดยไม่ใช้ความรุนแรง

  

1

 

การระดมทิ่งสิ่งของจากท้องฟ้า

  

1

 

การบุกรุกเขตหวงห้ามโดยไม่ใช้ความรุนแรง

1

  

บุกสนามหลวง

การใช้ร่างกายขวางทาง (เชิงจิตวิทยา)

1

  

'ฟอร์ด' ขวางตำรวจควบคุมฝูงชน

การใช้ร่างกายขัดขวาง (เชิงกายภาพ)

 

 1

 

การยึดกุมพื้นที่โดยไม่ใช้ความรุนแรง

  

1

 

การสร้างแบบแผนทางสังคมรูปแบบใหม่

1

  

การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และศิษย์ ผ่านเพลง "ผู้ใหญ่เอ๋ยผู้ใหญ่ดี" และการสร้างชุมชนออนไลน์ต่าง ๆ 

การกรูเข้าไปขอรับบริการจนล้นระบบ

  

1

 

การยื้อเวลาช่วงที่ได้รับบริการ

  

1

 

การพูดแทรกขัดจังหวะในงานประชุมพบปะ

  

1

 

การแสดงป่วนเวทีหรือนอกสถานที่ (guerilla theatre)

1

  

ประท้วงแฮมทาโร่

การสร้างสถาบันสังคมทางเลือก

1

  

คอมมอนสคูล

การสร้างระบบการสื่อสารทางเลือก

1

  

รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส

การทำงานเกินกว่าที่ร้องขอ

  

1

 

การนัดหยุดงานโดยอยู่เฝ้าที่ทำงาน

  

1

 

การเข้ายึดกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยไม่ใช้ความรุนแรง

  

1

 

การต่อต้านการปิดล้อม

  

1

 

การปลอมเอกสารและเงินตราเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง

  

1

 

การชิงซื้อก่อนฝ่ายตรงข้าม

  

1

 

การยึดทรัพย์สิน

  

1

 

การเทขายสินค้าเพื่อกดราคา

  

1

 

การอุดหนุนช่วยเหลือผู้ประกอบการ

 

 1

 

การสร้างตลาดทางเลือก

1

  

ตลาดนัดประชาธิปไตย

การสร้างระบบคมนาคมทางเลือก

  

1

 

การสร้างสถาบันเศรษฐกิจทางเลือก

 

 1

 

การเพิ่มภาระให้ระบบบริหาร

  

1

 

การเปิดเผยอัตลักษณ์ของสายลับ

1

  

มีการเปิดโปงว่าเสื้อเหลืองมาจากค่ายทหาร

การหาเรื่องถูกจับ

  

1

 

การอารยะขัดขืนกฎหมายที่ "เป็นกลาง"

  

1

 

การทำงานต่อไปโดยไม่ให้ความร่วมมือ

  

1

 

การสถาปนาอำนาจอธิปไตยและรัฐบาลคู่ขนาน

  

1

 

รวม

72

 

  

ข้อถกเถียงผ่าวร้อน

ข้อถกเถียงเรื่องสันติวิธีมักมาพร้อมกับข่าวกิจกรรมทางการเมืองบางอย่างที่เกิดขึ้นในระหว่างการประท้วง เช่น:

  • วันที่ 18 กรกฎาคม ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ หรือ แอมมี่ The Bottom Blues ศิลปินชื่อดัง ได้พังแนวแผงเหล็กกั้นและสาดสีน้ำเงินทั้งถังใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งยืนอยู่หลังแผงเหล็ก ก่อให้เกิดข้อถกเถียงวิจารณ์ตามมามากมาย เนื่องจากถกเถียงกันหนัก ผู้ประท้วงจึงหันไปสาดสีใส่สิ่งอื่นแทน เช่น สาดสีใส่ตัวเอง และสาดสีใส่ป้ายสำนักงานตำรวจแห่งชาติในวันที่ 19 พฤศจิกายน เป็นต้น
  • วันที่ 27 ตุลาคม วิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย กรีดแขน 3 ครั้ง เพื่อเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับฟังปัญหาของผู้ประท้วงและเยาวชน ส.ส. พรรครัฐบาลออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าวิสารทำผิดระเบียบด้วยการพกอาวุธเข้ามาในพื้นที่ของรัฐสภา
  • วันที่ 25 ตุลาคม ผู้ประท้วงเริ่มพ่นสีบนถนนหน้าสถานทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย จากนั้นมีการพ่นสีในการประท้วงครั้งอื่นตามมา และทุกครั้งก็จะมีเสียงวิจารณ์จากฝ่ายอนุรักษ์นิยมและผู้ประท้วงด้วยกันเอง
  • วันที่ 17 พฤศจิกายน เกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมเพื่อประชาธิปไตยกับผู้ชุมนุมเสื้อเหลืองและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้ชุมนุมใช้ปฏิบัติการสาดสีเหมือนครั้งก่อนๆ เช่นกัน แต่มีสิ่งที่เพิ่มเข้ามาด้วยคือการกรอกทรายเข้าไปในรถฉีดน้ำเพื่อทำให้รถไม่สามารถทำงานได้ และเป็นประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันเป็นวงกว้าง

เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้เป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับสันติวิธีที่น่าสนใจ แต่บางครั้งบทสนทนาในปัจจุบันยังขาดความละเอียดลออ เนื่องจากมีคำถามที่ทับซ้อนกันอยู่หลายประเด็น เช่น นิยามของสันติวิธี ความชอบธรรม ความเหมาะสม และการรักษาแนวร่วม เป็นต้น ยิ่งการถกเถียงในเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นในพื้นที่ออนไลน์อย่างไม่เป็นกิจจะลักษณะเท่าที่ควรด้วยแล้ว การพิจารณาอย่างระมัดระวังถือเป็นเรื่องสำคัญ

พ่นสีบนถนน สาดสีใส่สิ่งของ กรีดแขน

สันติวิธีมีหลายแบบ สำหรับสิ่งที่ผู้ประท้วงในปัจจุบันกำลังใช้อยู่นั้น ในทางวิชาการมีชื่อเรียกหลายอย่าง แต่โดยรวมแล้วมีความหมายเหมือนๆ กัน

ปฏิบัติการไร้ความรุนแรง (nonviolent action)
การต่อสู้โดยไม่ใช้ความรุนแรง (nonviolent struggle)
การต่อต้านขัดขืนโดยพลเมือง (civil resistance)
ปฏิบัติการทางตรง (direct action)
ขบวนการพลังประชาชน (people’s power)

ทั้งหมดล้วนหมายถึง การต่อสู้ของประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม โดยใช้วิธีการที่ไม่ใช้ความรุนแรง

ส่วนปฏิบัติการไร้ความรุนแรงตามนิยามของยีน ชาร์ป นั้นเน้นถึงปฏิบัติการที่ไม่ก่อให้เกิดความรุนแรงในเชิงกายภาพต่อผู้อื่น จากงานวิจัยของเขา มีการเก็บข้อมูลกรณีศึกษาการต่อสู้แบบสันติวิธีในเหตุการณ์ต่างๆ ในประวัติศาสตร์โลก เช่น การปฏิวัติอเมริกา การปฏิวัติอินเดีย ฯลฯ สามารถรวบรวมไว้ได้ทั้งหมด 198 วิธี ปรากฏอยู่ในหนังสือ The Politics of Nonviolent Action เล่มสอง ดังที่ได้กล่าวไป

ในกิจกรรมต่างๆ ที่มีการถกเถียงกันในสังคมไทยช่วงที่ผ่านมา วิธีการที่อยู่ในขอบเขตนิยามสันติวิธีของชาร์ปแน่ๆ คือ การพ่นสีบนถนน (วิธีการที่ 12) และการสาดสีใส่สิ่งของ (วิธีการที่ 26) 

ดูเหมือนว่ายีน ชาร์ป จะยอมรับให้การแบกรับความทุกข์ทรมานไว้เองเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการไร้ความรุนแรง แม้ว่าผู้ปฏิบัติการจะเป็นผู้กระทำตัวเองก็ตาม สอดคล้องกับข้อเสนอของชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ที่บอกว่าความรุนแรงคือการยอมฆ่าผู้อื่นเพื่อบางสิ่งบางอย่าง (to kill for) ขณะที่สันติวิธีคือการยอมตายได้เพื่อบางสิ่งบางอย่าง (to die for)[2]

ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงหลายครั้งเป็นการท้าทายต่อเรื่อง ‘ปกติ’ ในสังคม เนื่องจากวางอยู่บนพื้นฐานของการปฏิเสธความชอบธรรม การไม่เชื่อฟังคำสั่ง และการขัดขวางกิจวัตรบางอย่างที่สนับสนุนระบอบกดขี่ ปฏิบัติการสันติวิธีเหล่านี้อาจทำให้เกิดความไม่สะดวกสบายและความกระอักกระอ่วนใจในชีวิตประจำวันของผู้อื่นบ้าง แต่ตราบใดที่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้นำไปสู่การบาดเจ็บล้มตายของคนอื่น มันย่อมไม่ใช่ความรุนแรง และไม่ควรถูกเรียกสับสนปนเปกับความรุนแรง

ปฏิบัติการสันติวิธีหลายครั้งมีพลังทำลายล้างโครงสร้างสังคมแบบเดิม หรือนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหรือรูปแบบของรัฐบาล มันจึงถูกมองจากสายตาของนักปรัชญาฝ่ายซ้ายบางคนว่าเป็น "ความรุนแรง" ตัวอย่างเช่น สลาวอย ชิเชก (Slavoj Žižek) เคยบอกว่า “คานธีนั้นรุนแรงยิ่งกว่าฮิตเลอร์” เพราะความรุนแรงในความหมายของชิเชกคือการ ‘สร้างความเปลี่ยนแปลงจริง ๆ (to really change things)’ อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงที่ถูกพูดถึงในลักษณะนี้ไม่ควรถูกมองว่าเป็นความรุนแรงจริงๆ เพราะผู้ปฏิบัติการไม่ได้มุ่งทำให้ใครบาดเจ็บล้มตาย แค่เปลี่ยนแปลงสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น

ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงเป็นยุทธศาสตร์การต่อสู้ที่ก่อให้เกิดกลไกการเปลี่ยนแปลง 4 แบบด้วยกัน คือ

1.เปลี่ยนใจฝ่ายตรงข้าม (conversion)
2.กดดันให้ฝ่ายตรงข้ามโอนอ่อนผ่อนตาม (accommodation)
3.บีบบังคับฝ่ายตรงข้ามโดยไม่ใช้ความรุนแรง (nonviolent coercion)
4.ทำให้ฝ่ายตรงข้ามล่มสลายไป (disintegration)

จากงานวิจัยของเอริกา เชนโนเวธ (Erica Chennoweth) ชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงจะมีพลังอำนาจมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เข้าร่วม การต่อสู้ด้วยสันติวิธีนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าความรุนแรงเพราะโดยเฉลี่ยแล้วทำให้มีผู้เข้าร่วมมากการต่อสู้ด้วยความรุนแรงถึง 11 เท่า ส่งผลให้มีวิธีการต่อสู้หลากหลายกว่า เมื่อต่อสู้ด้วยสันติวิธี ผู้คนจะรู้สึกว่าชอบธรรมกว่า ปลอดภัยกว่า และเข้าร่วมได้ง่ายกว่าเพราะไม่จำเป็นต้องฝึกอาวุธ[3] 

สันติวิธีสีเทา: การสาดสี สาดขี้ สาดเลือด

หลายครั้งการตอบว่ากิจกรรมบางอย่างเป็นสันติวิธีหรือไม่ก็หาข้อสรุปได้ยาก หลังจากกรณีแอมมี่สาดสีใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจในช่วงที่ผ่านมา บทความเรื่อง "สีของทางเลือกนอกกรอบ? ย้อนคิดใคร่ครวญถึงปฏิบัติการไม่ใช้ความรุนแรงในศตวรรษที่ 21" ของชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ได้ถูกนำมาแปลเป็นภาษาไทยโดย ภัควดี วีระภาสพงษ์ บทความดังกล่าวเสนอว่า สันติวิธีในศตวรรษที่ 21 เป็น ‘สีเทา’ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัจจุบันมีผู้ใช้ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ทำให้มีวิธีการต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาขึ้นด้วยเช่นกัน

ในบทความดังกล่าว มีการพูดถึงกิจกรรมที่เป็นหัวข้อถกเถียงในช่วงเวลาที่เขียน ได้แก่ การขว้างปาอุจจาระ การขว้างปารองเท้า และการสาดเลือด กิจกรรมทั้งสามนี้คล้ายกับการสาดสีใส่ตำรวจของแอมมี่เพราะค่อนข้างดูแคลนเป้าหมายพอสมควร และมีโอกาสทำให้ผู้โดนสิ่งเหล่านี้บาดเจ็บหรือล้มป่วยได้ แต่ในกรณีเหล่านี้ยังไม่มีเหตุการณ์ใดที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือล้มป่วย แม้พูดอย่างเข้มงวดกรณีเหล่านี้จะยังไม่ถือเป็นเหตุการณ์ความรุนแรง แต่ก็พูดยากเหมือนกันว่าเป็นสันติวิธีหรือไม่  

สำหรับการกรอกทรายหรือน้ำตาลใส่รถฉีดน้ำ จริงอยู่ในแง่หนึ่งเป็นการทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น (ซึ่งไม่น่าจะนับรวมอยู่ในสันติวิธีของยีน ชาร์ป) แต่อีกด้านหนึ่งวิธีการเช่นนี้ก็สามารถมองว่าเป็นการป้องกันตัว ไม่ให้ประชาชนถูกทำร้ายได้ แม้จะไม่ได้อยู่ในขอบเขตของปฏิบัติการสันติวิธีตามแนวทางของยีน ชาร์ป ต่อกรณีเหล่านี้ก็ชี้ให้เห็นว่าบางอย่างอาจไม่ได้อยู่ในขอบเขตของสันติวิธี แต่ก็อาจเป็นการกระทำที่สมเหตุสมผล 

การถกเถียงกันในเรื่องเหล่านี้นับเป็นการสร้างความเจริญงอกงามทางปัญญาของมหาชน แต่การถกเถียงเหล่านี้ก็เป็นโจทย์ที่อาจเบี่ยงเบนความสนใจของมหาชน เพราะการรณรงค์เคลื่อนไหวของไทยในปัจจุบันยังคงมีส่วนที่เป็น ‘สันติวิธีตามตำรา’ อีกมาก ปัญหาสำคัญที่น่าถกเถียงเช่นกันก็คือ ผู้ประท้วงไทยใช้ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงอย่างไร อะไรคือยุทธศาสตร์การต่อสู้ อะไรคือจุดแข็งของผู้ประท้วง และอะไรคือความท้าทายของการต่อสู้ด้วยสันติวิธีเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน

บทความนี้มีการแก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 หลังปรึกษาความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ บางกรณีถูกตัดออกจากขอบเขตของ 'ปฏิบัติการไร้ความรุนแรง' เนื่องจากกรณีดังกล่าวไม่ตรงกับนิยามดั้งเดิมที่อยู่ใน Politics of Nonviolent Action ของยีน ชาร์ป ผู้เขียนขออภัยในความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และยังหวังว่าบันทึกฉบับแก้ไขจะยังมีประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการต่อสู้ด้วยสันติวิธีในประเทศไทย


[1]  “Nonviolent action refers to those methods of protest, resistance, and intervention without physical violence in which the members of the nonviolent group do, or refuse to do, certain things.” -  Gene Sharp, Social Power and Political Freedom, Boston: Porter Sargent Publishers, p. 218 (2018).

[2] โปรดดู, สีของทางเลือกนอกกรอบ? ย้อนคิดใคร่ครวญถึงปฏิบัติการไม่ใช้ความรุนแรงในศตวรรษที่  เขียนโดย ชัยวัฒน์ สถาอานันท์แปลโดยภัควดี วีระภาสพงษ์

[3] โปรดดู เหตุใดต่อต้านด้วยสันติวิธีจึงได้ผล : ตรรกะเชิงยุทธศาสตร์ของความขัดแย้งแบบไม่ใช้ความรุนแรง เขียนโดย มาเรีย สเตฟาน และเอริกา เชนโนเวธ แปลโดย จันจิรา สมบัติพูนศิริ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net