Skip to main content
sharethis

เครือข่ายรณรงค์ทำแท้งปลอดภัยเรียกร้องยกเลิก ม.301 ปมลงโทษผู้ทำแท้ง ไว้อาลัยกฎหมายทำแท้งฉบับใหม่ ที่หน้ารัฐสภา พร้อมยื่นแถลงการณ์และข้อเรียกต่อเลขาธิการวุฒิสภา ด้าน ส.ว. ผ่าน กม. แต่ไร้วี่แววแก้ ม.301 ยังกำหนดความผิดหญิงทำแท้งอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ 

‘รณรงค์ทำแท้งปลอดภัย’ ชุมนุมหน้าสภา ร้องยกเลิก ม.301 ที่ลงโทษผู้ทำแท้ง 

25 ม.ค. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. เฟซบุ๊คแฟนเพจ ‘iLaw’ รายงานกิจกรรมที่หน้ารัฐสภาเกียกกาย ถนนสามเสน นำโดยตัวแทนกลุ่มทำทาง กลุ่มเฟมินิสม์ปลดแอก กองทุนสนันสนุนการทำแท้งปลอดภัยนานาชาติ และเครือข่ายรณรงค์เพื่อสิทธิ์ทำแท้งปลอดภัย ทำกิจกรรมวางพวงหรีดไว้อาลัยร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาทำแท้งปลอดภัย 

วันเดียวกัน (25 ม.ค.64) ช่วงเวลา 16.40 น. ที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณาร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ทำแท้งปลอดภัย โดยมีมติ "รับหลักการ" ในวาระที่หนึ่ง ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 187 ไม่เห็นด้วย 5 และงดออกเสียง 15 กระบวนการต่อไปคือวาระ 2 

โดยก่อนหน้าและระหว่างนั้นการชุมนุมที่หน้ารัฐสภา กลุ่มเครือข่ายที่รณรงค์ด้านการทำแท้ง อันประกอบไปด้วย เฟมินิสต์ปลดแอก กลุ่มทำทาง คุยกับผู้หญิงที่ทำแท้ง และ SAAF (Safe Abortion Action Fand) ได้จัดชุมนุมเพื่อเรียกร้องต่อสภาและผู้ที่เกี่ยวข้อง ในประเด็นกระบวนการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว มีลำดับกิจกรรมและสรุปข้อเรียกร้อง ดังนี้

เวลา 15.55 น. กลุ่มเครือข่ายที่รณรงค์เรื่องการทำแท้งได้ชูป้ายและชูพวงหรีดไว้อาลัยกฎหมายทำแท้ง ตัวแทนกลุ่มระบุว่าเป็นกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ทั้งนี้ ภายในรัฐสภาได้มีการพิจารณาร่างพ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา #ทำแท้งปลอดภัย ซึ่งในขณะนั้นยังอยู่ในการพิจารณาวาระที่หนึ่งของวุฒิสภา

เวลา 16.00 น. ตัวแทนของกลุ่มทำทาง เฟมินิสต์ปลดแอก และกองทุนสนับสนุนการทำแท้งปลอดภัยนานาชาติ ได้แจกเอกสารแถลงการณ์และข้อเรียกร้องและแถลงกำหนดการต่อสื่อมวลชน และประกาศข้อเรียกร้องต่อการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา #ทำแท้งปลอดภัย ว่าหากไม่สามารถยกเลิกความผิดฐานทำแท้งได้ ขอเรียกร้องดังนี้

1. ผู้เกี่ยวข้องในการออกกฎหมาย ทบทวนแนวคิด และแนวทางการแก้ไขกฎหมายอาญา ทำแท้ง ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ และพิจารณาหาแนวทางการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 ที่ลงโทษผู้ที่ทำแท้งอย่างเร่งด่วน

2. เรียกร้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจัดสรรจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องต่อบริการสาธารณสุข #ทำแท้งปลอดภัย รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์ด้านข้อมูลทางสุขภาพให้ทั่วถึง เพื่อให้บุคคลได้เข้าถึงการทำแท้งอย่างปลอดภัย

3. กระทรวงสาธารณสุข แพทยสภา และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติป้องกันและ แก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ต้องรับประกันว่า กระบวนการ ขั้นตอน วิธีการที่จะกำหนดขึ้นจะไม่ทำให้การเข้าสู่บริการยุติการตั้งครรภ์ปลอดภัยของผู้ที่มารับบริการในอายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์ที่ผ่านการปรึกษา ทางเลือกและยืนยันจะยุติการตั้งครรภ์ต้องล่าช้าออกไปหรือถูกปฏิเสธการให้บริการในภายหลังเนื่องจากอายุ ครรภ์เกินกำหนดซึ่งเป็นผลมาจากขั้นตอนที่ยุ่งยากสำหรับผู้ที่เข้าข่ายรับบริการในมาตรา 305 (1) - (4) ซึ่งไม่ได้กำหนดอายุครรภ์ กระบวนการคัดกรองว่า เข้าข่ายหรือไม่ ก็ไม่ควรทำให้เกิดความล่าช้าในการให้บริการเช่นเดียวกัน

4. ในบริการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย ผู้ให้บริการควรคำนึงเสมอว่า ผู้ที่รับบริการ อาจจะเป็นผู้ที่ระบุอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองว่าเป็นเพศหญิงหรือเพศอื่นๆ ก็ได้ ผู้ให้บริการต้องให้บริการ โดยเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนทุกเพศ ทุกวัย

5. กรมอนามัย และ กระทรวงศึกษาธิการ จะต้องทบทวนยุทธศาสตร์การให้การศึกษาเรื่องเพศอย่างรอบด้าน และบริการคุมกำเนิดที่เข้าถึงได้ เพื่อให้ประชาชนสามารถป้องกันการท้องไม่พร้อมอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

เวลา 16.10 น. ตัวแทนจากกลุ่มทำทางอีกรายแถลงสถานการณ์ว่าทางกลุ่มไม่ได้ถูกเชิญไปมีส่วนร่วมในการพิจารณากฎหมาย และมีแพทย์ที่ระบุว่าแม้จะทำแท้งเกิน 12 สัปดาห์ก็ยังมีความปลอดภัย เหตุใดในกระบวนการร่างกฎหมายถึงรับฟังเพียงความเห็นของแพทย์ราชวิทยาลัยสูติฯ ซึ่งไม่ประสงค์จะให้บริการทำแท้ง เหตุใดจึงฟังข้อมูลเพียงฝั่งเดียวโดยไม่ฟังข้อมูลอีกฝั่ง ซึ่งได้นำเสนอประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน สาธารณสุข รวมไปถึงการเปรียบเทียบข้อมูลต่างประเทศที่กำหนดเกิน 12 สัปดาห์

ย้ำวัตถุประสงค์หลักของกลุ่มว่าอยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนำบทบัญญัติเรื่องการทำแท้งออกจากประมวลกฎหมายอาญา และให้ใช้สติปัญญาในการออกแบบกฎหมายใหม่ที่เป็นเรื่องทำแท้งโดยเฉพาะ

เวลา 16.24 น. ชุมาพร แต่งเกลี้ยง หรือ วาดดาว ได้เชิญชวนบุคคลที่มาร่วมกิจกรรมไว้อาลัยแก่กฎหมายที่ยังเอาผิดผู้หญิงทำแท้ง ทั้งในชั้นสภาผู้แทนราษฎรซึ่งพิจารณาวาระที่สองและวาระที่สามไปแล้วเมื่อ 20 มกราคม 2564 และในการพิจารณาของวุฒิสภาวันนี้ เรียกร้องให้วุฒิสภาพิจารณาข้อมูลให้หลากหลาย ระบุว่าเราต้องการยกเลิกมาตรา 301 และปรับปรุงมาตรา 305

16.45 น. ตัวแทนจากกลุ่ม Queer and Non-binary ได้ปราศรัยว่าอัตลักษณ์ทางเพศของบุคคลอาจไม่ตรงกับเพศกำเนิดก็ได้  ดังนั้นบุคคลที่ตั้งครรภ์ได้และประสงค์จะทำแท้งจึงไม่ได้จำกัดแค่ผู้มีอัตลักษณ์ทางเพศเป็นหญิง

เวลา 16.52 น. วาดดาวได้ประกาศว่าวุฒิสภามีมติ "รับหลักการ" ร่างกฎหมายดังกล่าว และแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการประชุมวุฒิสภาที่ยังพิจารณาในมิติทางศีลธรรมและยังคงความผิดทำแท้งแก่หญิง

16.57 น. ผู้ปราศรัยซึ่งเป็นผู้มีเพศกำเนิดชายได้ปราศรัยว่าการยกเลิกมาตรา 301 ซึ่งลงโทษผู้หญิงรวมไปถึงผู้ที่ตั้งครรภ์ได้ จะส่งผลให้ระบอบชายเป็นใหญ่ที่กดทับหญิงต่อไป ผู้ที่มีอำนาจในการออกกฎหมายต่างเป็นส่วนหนึ่งที่กดขี่พวกเรา

เวลา 17.00 น. ตัวแทนจากกลุ่มทำทางได้เล่าประสบการณ์ของหญิงผู้หนึ่งซึ่งทำแท้งด้วยตนเองและมีอาการเสี่ยงจะเสียชีวิต ซึ่งทางผู้ที่ทำงานด้านทำแท้งได้บอกให้ผู้หญิงคนนั้นไปพบแพทย์ แต่เธอก็ปฏิเสธเนื่องจากกลัวตำรวจจะดำเนินคดี จึงอยากสะท้อนให้ผู้มีอำนาจได้คิดและออกแบบกฎหมายได้ตอบสนองปัญหาดังกล่าวด้วย ยกตัวอย่างประเทศเดนมาร์กที่กำกับองค์กรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้ต้องบริการแก่หญิงที่ทำแท้งเพื่อให้เกิดการทำแท้งที่ปลอดภัย

เวลา 17.14 น. ตัวแทนจากสำนักเลขาธิการวุฒิสภาได้มารับข้อเสนอทั้งห้าข้อจากเครือข่ายที่ขับเคลื่อนด้านทำแท้ง ระบุว่าจะนำส่งเอกสารข้อเรียกร้องของเครือข่ายฯ ให้แก่วุฒิสภา ขณะนี้วุฒิสภากำลังพิจารณากฎหมายอยู่และมีการถ่ายทอดสด ประชาชนสามารถติดตามได้

ส.ว. ผ่าน กม. ไร้วี่แววแก้ ม.301 ยังกำหนดความผิดหญิงทำแท้งอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์

เวลา 17.27 น. เครือข่ายรณรงค์ทำแท้งปลอดภัยยุติการชุมนุมหน้ารัฐสภา ขณะที่ในรัฐสภา วุฒิสภายังคงพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวต่อไป โดยเป็นการพิจารณาในวาระที่สอง พิจารณารายมาตรา ซึ่งเวลา 17.40 น. ก็ไม่ปรากฏว่ามีสมาชิกวุฒิสภาขอแก้ไขมาตรา 301 ซึ่งยังกำหนดความผิดแก่หญิงที่ทำแท้งเมื่ออายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์และไม่เข้าเงื่อนไขอื่นที่กฎหมายกำหนด

 

จนกระทั่ง ต่อมาเวลา 21.46 น. ทวิตเตอร์ @iLawclub รายงานว่าที่ประชุมวุฒิสภามีมติ "เห็นชอบ"  กับร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา #ทำแท้งปลอดภัย กระบวนการต่อไปคือการประกาศใช้เป็นกฎหมาย ซึ่งต้องให้ทันภายใน 12 ก.พ.2564 (ภายใน 360 วันนับแต่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย) เห็นด้วย 165 ไม่เห็นด้วย 7 งดออกเสียง 21 

iLaw ยังระบุด้วยว่า ภาพรวม มีการแก้ไขมาตรา 305 เหตุยกเว้นความผิด เช่น ทำแท้งได้ภายในอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และแก้มาตรา 301 ทำแท้งอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ มีความผิด แต่โทษน้อยจากเดิม  โดยกรณีที่ทำแท้งเกิน 12 สัปดาห์จะมีความผิด คือต้องไม่เข้าเงื่อนไขอื่นๆ ด้วย iLaw ยังเชิญชวนติดตามอัพเดทเรื่อง #ทำแท้งปลอดภัย ได้อีกครั้งหลังกฎหมายประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา 

รายละเอียดของแถลงการณ์เครือข่ายรณรงค์ทำแท้งปลอดภัย

แถลงการณ์จากกลุ่มทําทาง กลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอก และกองทุนสนับสนุนการทําแท้งปลอดภัยนานาชาติ

25 มกราคม 2564

เรื่อง : ขอแสดงความสิ้นหวัง และไว้อาลัยแด่กฎหมายทําแท้งฉบับใหม่ที่ยังคงเอาผิดผู้ที่ทําแท้งอายุครรภ์ มากกว่า 12 สัปดาห์

สืบเนื่องจากกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติผ่านร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 และ 305 หมวดว่าด้วยการทําแท้ง เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา โดยรับรองร่างแก้ไขมาตรา 301 ที่ผ่านความ เห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งระบุว่า

“หญิงใดทําให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทําให้ตนแท้งลูก ขณะมีอายุครรภ์เกินสิบสองสัปดาห์ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ”

และรับรองร่างแก้ไขมาตรา 305 ที่เสนอโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณากฎหมายฉบับนี้ ซึ่งระบุ ว่า “มาตรา 305 ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา 301 หรือมาตรา 302 เป็นการกระทําของผู้ประกอบวิชาชีพเวช กรรมและตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้กระทําไม่มีความผิด

(1) จําเป็นต้องกระทําเนื่องจากหากหญิงตั้งครรภ์ต่อไปจะเสี่ยงต่อการได้รับอันตราต่อสุขภาพทางกายหรือจิตใจของหญิงนั้น 

(2) จําเป็นต้องกระทําเนื่องจากมีความเสี่ยงอย่างมากหรือมีเหตุผลทางการแพทย์อันควรเชื่อได้ว่าหากทารกคลอดออกมาจะมีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง 

(3) หญิงยืนยันต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าตนมีครรภ์เนื่องจากมีการกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศ 

(4) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์ไม่เกินสิบสองสัปดาห์ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์

(5) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกินสิบสองสัปดาห์ แต่ไม่เกินยี่สิบสัปดาห์ ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ ภายหลังการตรวจและรับคําปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดโดยคําแนะนําของ แพทยสภา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ ในวัยรุ่น

ตลอดระยะเวลาเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญาหมวด ว่าด้วยความผิดฐานทําแท้ง มาตรา 301 ขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 28 และมาตรา 305 แม้ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญแต่ ก็สมควรให้มีการปรับปรุงแก้ไข โดยระบุว่าคําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญจะมีผลบังคับใช้ใน 360 วันให้หลังนั้น กลุ่มทําทาง ในฐานะตัวแทนของผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์ทําแท้ง และหน่วยงานที่ทําหน้าที่ให้คําปรึกษา ทางเลือกกับผู้ที่ต้องการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย ได้แสดงความประสงค์ขอเข้าไปมีส่วนร่วมใน กระบวนการพิจารณาแก้ไขกฎหมาย ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขกฎหมายต่างๆ ในหลายวาระ แต่ก็ไม่ มีหน่วยงานใดเลยที่เปิดโอกาสให้ตัวแทนประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ได้เข้าไปมีส่วนร่วมใน กระบวนการแก้ไขกฎหมายอย่างมีความหมาย

อย่างไรก็ตามทางกลุ่มทําทาง และภาคีเครือข่ายในนามตัวแทนจํานวนประชาชนที่เข้าร่วมลงชื่อ สนับสนุนการยกเลิกมาตราดังกล่าว กว่า 37,000 คน ในเว็บไซต์ change.org ก็ได้ใช้ความพยายามอย่างมากจนมี โอกาสได้เข้าไปยื่นหนังสือ นําเสนอรายงาน และข้อเสนอสนับสนุนการยกเลิกมาตรา 301 ในประมวลกฎหมาย อาญาที่กําหนดความผิดและลงโทษผู้ที่ทําแท้งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขกฎหมายหลายคณะ ได้แก่ คณะกรรมการชุดพิจารณาปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาหมวดว่าด้วยการทําแท้งของสํานักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกา, คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความ หลากหลายทางเพศ สภาผู้แทนราษฎร, คณะทํางานปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายทําแท้ง และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ตัวแทนของพรรคการเมืองบางพรรค และ คณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาปรับปรุงแก้ไขร่างกฎหมาย สภาผู้แทนราษฎร โดยมุ่งหวังว่า ข้อเท็จจริงจากงานวิจัยทาง การแพทย์ และจากข้อมูลตัวเลขจากรายงานการให้บริการของหน่วยงานที่ดําเนินงานยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย รวมถึงหลักฐานด้านสิทธิมนุษยชน และกติการะหว่างประเทศต่าง ๆ ที่รับรองสิทธิการเข้าถึงการทําแท้งที่ ปลอดภัยว่าเป็นสิทธิมนุษยชน และเป็นบริการอนามัยเจริญพันธุ์ที่จําเป็นขั้นพื้นฐานซึ่งอยู่ในเอกสารดังกล่าวจะ ได้รับการรับฟัง และถูกนํามาพิจารณาประกอบการแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับหลัก สิทธิมนุษยชนสากล หากแต่ในที่สุดแล้วผลการลงมติรับร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาของสภาผู้แทนราษฎรที่ออกมา (ซึ่งคาดว่าในการพิจารณาร่างแก้ไขกฎหมายเดียวกันนี้ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2564 ของสมาชิกวุฒิสภา ก็ไม่น่าจะมีผล แตกต่างไปจากนี้มากนัก) ก็ได้สะท้อนให้เห็นว่า ผู้มีอํานาจในการแก้ไขกฎหมายในสังคมไทย ไม่ได้นําเอา หลักการสิทธิมนุษยสากลมาเป็นหลักในการแก้ไขกฎหมายแม้แต่น้อย เนื่องจากตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล แล้ว สิทธิในการยุติการตั้งครรภ์ถือเป็นสิทธิของผู้ที่ตั้งครรภ์อย่างชัดเจน และไม่มีหลักการสิทธิมนุษยชนสากล ใดให้การรับรองสิทธิของตัวอ่อนในครรภ์ ดังเช่นที่ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมไทยกล่าวอ้างว่าจะต้อง คํานึงสิทธิของ"ทารกในครรภ์" นอกจากนี้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการแก้ไขกฎหมายของรัฐไทย ซึ่ง รวมทั้งตัวแทนจากกรมอนามัย และสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ยังจงใจที่จะละเลยข้อมูลงานวิจัย ข้อมูลทางการแพทย์ และข้อมูลจากแพทย์ผู้ให้บริการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยที่ยืนยันว่า การยุติการ ตั้งครรภ์ในอายุครรภ์ 12-24 สัปดาห์ซึ่งดําเนินการโดยแพทย์ มีความปลอดภัยสูง ทั้งนี้แม้ในร่างกฎหมายที่ผ่าน การลงมติในมาตรา 305 (5) จะระบุว่าให้หญิงอายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์ยังสามารถขอรับบริการยุติการตั้งครรภ์ จากแพทย์ได้ แต่ก็ยังคงกําหนดเงื่อนไข และข้อจํากัดที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการของผู้ที่ตั้งครรภ์ให้ ยุ่งยากมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้การเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยล่าช้าออกไปโดยไม่เป็นผลดีต่อตัว ผู้รับบริการแต่อย่างใด

จากแนวคิดที่อยู่เบื้องหลัง รวมถึงกระบวนการพิจารณาแก้ไขกฎหมายดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึง มุมมองที่ไม่ยอมรับ และเคารพสิทธิในการตัดสินใจในอนามัยเจริญพันธุ์ของเจ้าของร่างกาย สิทธิในการเข้าถึง บริการสุขภาพ สิทธิที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติ มีอิสระจากการถูกทรมาน ลงโทษอย่างโหดร้าย และย่ํายีศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ตามหลักปฏิญญาและกติการะหว่างประเทศอย่างชัดเจน

เนื่องในวาระที่กฎหมายฉบับใหม่ที่ยังคงความอยุติธรรมต่อผู้ที่ตั้งครรภ์กําลังจะผ่านการพิจารณาใน วาระสุดท้ายในวันที่ 25 มกราคม 2564 นี้ กลุ่มทําทาง และกลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอก จึงขอแสดงความสิ้นหวัง และ ไว้อาลัยแด่กฎหมายทําแท้งฉบับใหม่ที่ละเมิดหลักการสิทธิมนุษยชน ด้วยการยังคงเอาผิดผู้ที่ทําแท้งที่อายุครรภ์ เกิน 12 สัปดาห์ ทั้งที่ที่ผ่านมาและภายหลังกฎหมายบังคับใช้ยังไม่มีมาตรการใดในการสื่อสารสาธารณะกับ สังคมให้มีข้อมูลความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย หรือมีมาตรการที่ชัดเจนเกี่ยวกับการ บังคับใช้กฎหมายให้สถานบริการสาธารณสุขของรัฐทุกแห่งให้บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย หรือ ส่งต่อ ผู้รับบริการ ตามกฎหมายใหม่ที่ออกมา อันจะรับประกันได้ว่าผู้ที่ต้องการยุติการตั้งครรภ์จะได้รับข้อมูลรอบด้าน และเข้าสู่บริการได้ทันภายในกรอบระยะเวลาตามที่กฎหมายใหม่กําหนด

ข้อเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ในการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 และ มาตรา 305

วันที่ 25 ม.ค. 2564

กลุ่มทําทางในนามของตัวแทนผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์ทําแท้งโดยตรง และองค์กรที่ให้บริการ คําปรึกษากับผู้ที่ต้องการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย และกลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอก ซึ่งขับเคลื่อนประเด็นสิทธิ ทางเพศ ความเท่าเทียมทางเพศ และประชาธิปไตย ขอเรียกร้องให้

1.สถาบัน หน่วยงาน ตัวแทนผู้มีอํานาจ และมีส่วนเกี่ยวข้องในการออกกฎหมาย ได้ทบทวนตนเอง และยอมรับว่า แนวคิด แนวทางการแก้ไขกฎหมายตามคําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ตลอดจนกระบวนการแก้ไข ประมวลกฎหมายอาญาหมวดว่าด้วยการทําแท้งของประเทศไทย ไม่ได้เป็นไปตามหลักการสิทธิมนุษยชนสากล และพิจารณาหาแนวทางการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 ที่ลงโทษผู้ที่ทําแท้งอย่างเร่งด่วน

2.กระทรวงสาธารณสุข กําหนดและจัดสรรงบประมาณในการเพิ่มจํานวนโรงพยาบาล และบุคลากรผู้ ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ให้บริการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย และเป็นมิตร ให้ครอบคลุมทุกจังหวัดใน ประเทศไทย อย่างน้อย 1 จังหวัด 1 สถานบริการ และทุกหน่วยบริการสุขภาพต้องสามารถให้คําปรึกษาทางเลือก และส่งต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย อย่างกว้างขวาง เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบข้อมูล และเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยตาม กรอบระยะเวลาที่กฎหมายใหม่กําหนดไว้ที่ 12 สัปดาห์

เนื่องจากการทําแท้งด้วยยาเองที่บ้านสามารถทําได้อย่างปลอดภัย แต่รัฐยังขาดการประชาสัมพันธ์เรื่อง นี้อย่างจริงจัง ทั้งในแง่ชนิด ปริมาณ และวิธีการใช้ยา รวมถึงกระบวนการแท้งและอาการแทรกซ้อน ข้อมูล ดังกล่าว จึงจําเป็นที่จะต้องถูกเผยแพร่อย่างเป็นทางการ อย่างเปิดเผย และกว้างขวาง จากหน่วยงานที่ถูกระบุใน กม.นี้ เช่น กระทรวงสาธารณสุข แพทยสภา เป็นต้น

กระทรวงสาธารณสุข และแพทยสภาฯ จําเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อพัฒนามาตรฐานการประกอบอาชีพ เวชกรรม เพื่อปรับปรุงให้แพทย์มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย อยู่บนพื้นฐานความเป็น จริงของงานวิจัย ยึดหลักเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และเสรีภาพส่วนบุคคล โดยไม่นําความคิดความเชื่อส่วน ตนของแพทย์มาตัดสินใจในการให้บริการ หรือ งดเว้นการบริการ ต้องมีการทําวิจัยเกี่ยวกับทัศนคติของแพทย์ เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนลดอคติของแพทย์ ทั้งในส่วนที่ให้บริการยุติการตั้งครรภ์อยู่ ณ ปัจจุบัน และ แพทย์ที่ปฏิเสธการ ให้บริ

3.กระทรวงสาธารณสุข แพทยสภา และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติป้องกันและ แก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จะต้องรับประกันว่า กระบวนการ ขั้นตอน วิธีการที่จะกําหนดขึ้นจะไม่ทําให้ การเข้าสู่บริการยุติการตั้งครรภ์ปลอดภัยของผู้ที่มารับบริการในอายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์ที่ผ่านการปรึกษา ทางเลือกและยืนยันจะยุติการตั้งครรภ์ต้องล่าช้าออกไปหรือถูกปฏิเสธการให้บริการในภายหลังเนื่องจากอายุ ครรภ์เกินกําหนดซึ่งเป็นผลมาจากขั้นตอนที่ยุ่งยาก

สําหรับผู้ที่เข้าข่ายรับบริการในมาตรา 305 (1) - (4) ซึ่งไม่ได้กําหนดอายุครรภ์ กระบวนการคัดกรองว่า เข้าข่ายหรือไม่ ก็ไม่ควรทําให้เกิดความล่าช้าในการให้บริการเช่นเดียวกัน

4. ในบริการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย และเป็นมิตร ควรคํานึงเสมอว่า ผู้ที่รับบริการ อาจจะเป็นผู้ที่ ระบุอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองว่าเป็นเพศหญิง หรือ เพศอื่นๆ ก็ได้ ผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องจําเป็นต้องมีความ ละเอียดอ่อนในการให้บริการโดยเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนทุกเพศ ทุกวัย ตลอดทั้งกระบวนการ

5. กรมอนามัย และ กระทรวงศึกษาธิการ จะต้องทบทวนยุทธศาสตร์การให้การศึกษาเรื่องเพศอย่าง รอบด้าน และบริการคุมกําเนิดที่เข้าถึงได้ เพื่อให้ประชาชนสามารถป้องกันการท้องไม่พร้อมอย่างมี ประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีความเข้าใจที่ถูกต้องว่าภาวะท้องไม่พร้อม มิได้เป็นปัญหาของวัยรุ่นเท่านั้น แต่เกิด ขึ้นกับคนทุกวัย กรมอนามัยจะต้องทํางานร่วมกับสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อให้ผู้ที่สามารถตั้ง ครรภ์ได้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการคุมกําเนิดทุกประเภทที่รัฐให้บริการอยู่ได้ฟรี โดยเฉพาะยาคุมกําเนิดแบบฝัง ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุด

6. รัฐบาลต้องตระหนักว่า เป็นหน้าที่ของตนที่พึงพัฒนาให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพ อย่างถ้วนหน้าและที่มีประสิทธิภาพในประเด็นการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย ดังที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2560 หมวด 5 หน้าที่รัฐ ว่า "รัฐต้องพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง"


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net