องค์กรสื่อห่วงนักข่าวภาคสนามทำข่าวการชุมนุม

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเผยแพร่คำชี้แจงการใช้ปลอกแขนสัญลักษณ์สื่อมวลชนในการทำข่าวการชุมนุม ห่วงนักข่าวภาคสนามทำข่าวการชุมนุม ย้ำการใช้ปลอกแขน ขอทุกฝ่ายไม่คุกคามการทำหน้าที่

 

คำชี้แจง การใช้ปลอกแขนสัญลักษณ์สื่อมวลชน ในการทำข่าวการชุมนุม ตามที่มีการจัดตั้ง...

โพสต์โดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยThai Journalists Association เมื่อ วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม  2021

 

เมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2564 ที่ผ่านมา เพจสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย Thai Journalists Association ได้เผยแพร่ โดยระบุว่าคำชี้แจง การใช้ปลอกแขนสัญลักษณ์สื่อมวลชน ในการทำข่าวการชุมนุม ระบุว่าตามที่มีการจัดตั้ง “ศูนย์ประสานงานสื่อมวลชนในสถานการณ์การชุมนุม (ศปสช.)” ตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย. 2563 เป็นต้นมา และได้จัดทำ “ปลอกแขนสัญลักษณ์สื่อมวลชน” ในการปฏิบัติหน้าที่ในการรายงานข่าวการชุมนุม  โดยมีเงื่อนไขในการลงทะเบียนขอรับปลอกแขน สำหรับสื่อมวลชนที่มีต้นสังกัดเป็นสมาชิกของ 3 องค์กรสื่อ ได้แก่ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ส่วนกรณีที่ไม่ได้เป็นสมาชิก ให้พิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป นั้น 

จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 6 เดือน ศูนย์ประสานงานฯ ได้รับฟังเสียงสะท้อนทั้งปัญหาและความคิดเห็น ที่ต้องความไม่เข้าใจ ดังนี้ 

1. ปลอกแขนสัญลักษณ์สื่อมวลชน ที่มีโลโก้ 3 องค์กรวิชาชีพ ได้แก่ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ มีเพียงสีเดียว คือ สีขาว โดยทุกปลอกแขนมี เลขกำกับเฉพาะของแต่ละชิ้น เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตน ติดตามตรวจสอบได้ว่าปลอกแขนเลขดังกล่าวเป็นของใคร สังกัดใด ภายใต้การกำกับดูแลกันเองของสื่อมวลชน 

2. ปลอกแขนสัญลักษณ์สื่อมวลชน เป็นสัญลักษณ์บอกฝ่ายมีไว้เพื่อแสดงตัวตนอย่างบริสุทธิ์ใจในการลงพื้นที่ทำข่าวการชุมนุมตามหลักสากลที่สื่อมวลชนหลายประเทศพึงใช้ ที่ต้องการเสรีภาพในการทำข่าวการชุมนุมอย่างรอบด้าน ปราศจากการกดดันและคุกคามจากทุกฝ่าย 

3. ปลอกแขนฯ ไม่สามารถใช้แทนบัตรประจำตัวสื่อมวลชนได้ โดยเฉพาะในกรณีที่สื่อมวลชนต้องเข้าไปทำข่าวในสถานที่ต่างๆ อาทิ สถานที่ราชการ สถานที่ส่วนบุคคล ที่ต้องใช้บัตรประจำตัว บัตรผ่าน หรือ ต้องแลกบัตรเพื่อรับอนุญาตของสถานที่นั้นๆ

ทั้งนี้ 6 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด มีความห่วงใยสื่อมวลชนภาคสนาม เพื่อความปลอดภัยในการทำข่าวการชุมนุม ขอให้ทีมข่าวภาคสนามและกองบรรณาธิการ จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อความปลอดภัย ประเมินความเสี่ยงของสถานการณ์ร่วมกัน เพื่อลดความเสียหายของอุปกรณ์การทำงานและไม่เป็นผู้บาดเจ็บ หากเกิดปัญหาหรืออุปสรรคใดในการทำหน้าที่ กรุณาแจ้งข้อมูลเพื่อให้องค์กรวิชาชีพมีส่วนในการช่วยประสานและคลี่คลายปัญหา

ช่องทางติดต่อ “ศูนย์ประสานงานสื่อมวลชนในสถานการณ์การชุมนุม (ศปสช.)” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย หมายเลขโทรศัพท์ 02-668-9422 Facebook แฟนเพจ “สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยThai Journalists Association”  และ Oficial line “สมาคมนักข่าว-TJA Thai Journalists Association”

6 มี.ค. 2564 

สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ 
สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย 
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย 
สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย 
สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์
สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท