Skip to main content
sharethis

ผู้สื่อข่าว ผู้ประกอบอาชีพสื่อ นักเรียนสื่อ และประชาชน 224 รายชื่อ ร่วมออกแถลงการณ์ขอให้ยุติการใช้ความรุนแรงกับประชาชนผู้ชุมนุมทางการเมืองและสื่อมวลชน - ด้านช่อง 8 ออกแถลงการณ์ ระบุนักข่าวอาการปลอดภัย ขอบคุณทุกความห่วงใย ยืนยันทำหน้าที่อย่างดีที่สุด

เครือข่ายสื่ออีสานเรียกร้ององค์กรวิชาชีพหามาตรการรักษาหลักการเสรีภาพสื่อ
6 องค์กรวิชาชีพสื่อขอให้ทุกฝ่ายอดทน-ค้านความรุนแรง

21 มี.ค. 2564 ผู้สื่อข่าว ผู้ประกอบอาชีพสื่อ นักเรียนสื่อ และประชาชน 224 รายชื่อ ร่วมออกแถลงการณ์ 'ขอให้ยุติการใช้ความรุนแรงกับประชาชนผู้ชุมนุมทางการเมืองและสื่อมวลชน' ระบุว่าจากการชุมนุมของกลุ่ม REDEM ที่ท้องสนามหลวงและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กรุงเทพมหานคร เมื่อค่ำวานนี้ (20 มีนาคม 2564) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียกร้องให้อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ขับไล่ทหารออกจากการเมือง และปฏิรูปให้เกิดระบบรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า

แต่ปรากฏว่า รัฐได้นำตู้คอนเทนเนอร์มาขวางกั้น และได้ฉีดน้ำใส่ฝูงชน เมื่อถึงช่วงค่ำก็ได้ใช้ตำรวจควบคุมฝูงชนสลายการชุมนุม มีการใช้อาวุธเป็นกระบอง กระสุนยาง และอื่น ๆ ทำให้มีประชาชน เยาวชน ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก

ในจำนวนนี้มีผู้สื่อข่าว ช่างภาพ และบุคลากรของสำนักข่าวหลายแห่ง ทั้งไทยและต่างประเทศได้รับบาดเจ็บในการปฏิบัติหน้าที่ในการรายงานข่าวเพื่อตอบสนองสิทธิที่จะรู้ของประชาชน

ทั้งนี้ การชุมนุมของกลุ่ม REDEM และประชาชน เป็นไปโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ซึ่งเป็นไปตามข้อ 20(1) ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งรับรองเสรีภาพในการชุมนุม และยังได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ได้บัญญัติรับรองเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบไว้ในมาตรา 44

การเข้าสลายการชุมนุมของประชาชนโดยตำรวจควบคุมฝูงชนจึงไม่สามารถทำได้

แม้จะมีการอ้างว่า ผู้ชุมนุมบางคนมีอาวุธ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ต้องดำเนินการไปเฉพาะบุคคลนั้น ไม่สามารถใช้กำลังสลายการชุมนุมของประชาชนทั้งหมดได้

กระนั้นก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นกลับมีการสลายการชุมนุม ซึ่งการดำเนินการก็มิได้เป็นไปตามหลักสากลที่ลงนามไว้กับองค์การสหประชาชาติ (UN) อีกด้วย โดยเฉพาะการประกาศเตือนให้ผู้ชุมนุมทราบและเข้าใจขั้นตอนโดยทั่วถึงก่อนการเข้าสลายการชุมนุม และต้องใช้ขั้นตอนจากเบาไปหาหนัก

ที่สำคัญคือ เมื่อมีการประกาศแล้วก็ไม่ใช่ว่า จะจัดการอย่างไรก็ได้ แต่ต้องใช้มาตรการที่คำนึงถึงเสรีภาพและความปลอดภัยของผู้ชุมนุมเป็นสำคัญ โดยดำเนินมาตรการอย่างมีขอบเขตจำกัดที่สุด

การใช้อำนาจของฝ่ายรัฐที่เกิดขึ้น ทำให้พวกเราดังรายนามแนบท้าย มีความกังวลในสวัสดิภาพของประชาชนผู้ชุมนุม และสื่อมวลชนภาคสนามที่อยู่ในเหตุการณ์ และใกล้พื้นที่การชุมนุมทางการเมือง ที่พยายามรายงานข่าวรับใช้สิทธิที่จะรู้ของสาธารณะ

พวกเรายังเห็นว่า เสรีภาพของประชาชนเป็นที่มาของเสรีภาพสื่อ สื่อจะไม่สามารถมีเสรีภาพได้เลยหากประชาชนไม่มีเสรีภาพ

จึงขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้

1. เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานต้องยึดถือว่า มีหน้าที่รับใช้ประชาชน ต้องส่งเสริมปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในฐานะที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย มิใช่ใช้ความรุนแรง ละเมิดเสรีภาพของประชาชน ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามหลักสิทธิมนุษยชนอันเป็นหลักพื้นฐานสากล

2. ขอให้กำลังใจสื่อมวลชนทุกแขนงที่ยืนหยัดรายงานข่าวให้สังคมได้ทราบ แม้จะทำให้ได้รับบาดเจ็บและอยู่ในเหตุการณ์ความรุนแรงจากฝ่ายรัฐที่เกิดขึ้น

3. เรียกร้องให้องค์กรวิชาชีพ ยืนยันเสรีภาพการแสดงออกของประชาชน และเสรีภาพการรายงานข่าวของสื่อ โดยมีมาตรการคุ้มครอง ดูแล สวัสดิภาพของสื่อมวลชนที่รายงานในพื้นที่ความขัดแย้งและพื้นที่เสี่ยงภัย

โดยมีรายนามทั้ง 224 คนดังต่อไปนี้
1.    กมลพร สุนทรสีมะ อิสระ
2.    กรุณพร เชษฐพยัคฆ์ The MATTER 
3.    กฤตนัน ดิษฐบรรจง กองบรรณาธิการโมเดิร์นนิสต์ สตูดิโอ
4.    กวิน สุวรรณณัฐวิภา มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.    กอเลต หะยีเหย็บ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6.    กัญญาภัค ทิศศรี ลูกศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 
7.    กัลญาภรณ์ เทวรักษ์ธนา    คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
8.    กัลยรัตน์ ธีรกฤตยากร นักศึกษาสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยศิลปากร
9.    กัลย์สุดา ปานพรม Thai PBS
10.    กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์  Thai PBS
11.    กาญจนา ปลอดกรรม สื่ออิสระ
12.    กิตติคุณ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา Urban Creature
13.    กิตติทัศน์ เรืองพัชรวงศ์    ลูกศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 
14.    กิตติ พันธภาค    Voice tv
15.    เกวลิน แซ่อึ้ง ศิษย์เก่านิเทศศาสตร์ เอกวิทยุและโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
16.    เกียรติศักดิ์ มาตโสภา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
17.    โกรพ อัจฉริยะกุล ประชาชน
18.    ขวัญศิริ สุพร นักศึกษา
19.    ขัตติยา กล้าหาญ ประชาชน
20.    เขมิสรา ศรีเกตุสุข มหาวิทยาลัยศิลปากร
21.    คณิน นวลคำ ลูกศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 
22.    คาลิล พิศสุวรรณ a day
23.    คุลิกา แก้วนาหลวง    
24.    จรูญวิทย์ ดอกไม้เงิน สื่ออิสระ
25.    จอนปรอท วงษ์เทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
26.    จามร ศรเพชรนรินทร์ Shots Doc
27.    จารุกิตติ์ ธีรตาพงศ์ Thaipublica
28.    จิดาภา พันธ์สมบัติ นักศึกษาคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
29.    จิรเดช โอภาสพันธ์วงศ์    a day
30.    จิรัชญา ชัยชุมขุน The MATTER
31.    จิรายุ สุวรรณมณี นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
32.    จุฑาทิพย์ ประชาชน
33.    จุฑารัตน์ กุลตัณกิจจา ประชาไท
34.    จุมพฏ สายหยุด    มติชน
35.    จุลวรรณ เกิดแย้ม มหาวิทยาลัยศิลปากร
36.    จุฬาลักษณ์ พักตร์จันทร์    Freelance
37.    ชนฐิตา ไกรศรีกุล ศิษย์เก่าคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
38.    ชนิตสิรี จันทร์หงษ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
39.    ชมพูนิกข์ ปึงศิริเจริญ มหาวิทยาลัยศิลปากร
40.    ชยพล มาลานิยม คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
41.    ชัยภัทร เอี่ยมรักษา    
42.    ชัยรัตน์ จิโรจน์มนตรี สำนักข่าวชายขอบ
43.    โชษิตา จิตรไทย    มหาวิทยาลัยศิลปากร
44.    ญาณิน พงศ์สุวรรณ มหาวิทยาลัยศิลปากร
45.    ญาณิศา เดชเทวพร มหาวิทยาลัย
46.    ฐิตาภา สิริพิพัฒน์ ไทยรัฐ ทีวี
47.    ฐิตินบ โกมลนิมิ    ศูนย์สื่อสารวาระทางสังคมและนโยบายสาธารณะ ThaiPBS
48.    ฐิติภรณ์ สุวรรณศรี อิสระ
49.    ฐิติยา พจนาพิทักษ์  นักวิชาการ
50.    ณภัทร เฟื่องฟู มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิศวกรรมศาสตร์
51.    ณรรธราวุธ เมืองสุข ผู้สื่อข่าวอิสระ
52.    ณัชนภัส รุเทียนชัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
53.    ณัชพล เนตรมหากุล The Momentum
54.    ณัฏฐ์ชญา จันทรัตน์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
55.    ณัฐกมล วันนุวาส นักศึกษาสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยศิลปากร
56.    ณัฐจิตรา ผดุงทรัพย์สิริ ศิษย์เก่าคณะวารสารศาสตร์ฯ
57.    ณัฐชยา สุทธิพงษ์ นักศึกษาเอกการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยศิลปากร
58.    ณัฐธนีย์ ลิ้มวัฒนาพันธ์ ลูกศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 
59.    ณัฐนนท์ เจตนากานต์ นักเรียนสื่อ
60.    ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน Spaceth.co
61.    ณัฐพงศ์ มาลี สำนักข่าวราษฎร-Ratsadon News
62.    ณัฐรุจา เสือทองคำ 
63.    ณิชากร เมฆวรวุฒิ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
64.    ดวงกมล ทองเจริญ สื่อสารมวลชน
65.    ตรีนุช อิงคุทานนท์ The Momentum 
66.    ตุลยา สวนสันต์    Urban Creature
67.    ทวีศักดิ์ เกิดโภคา Voice Online
68.    ทศพล เพิ่มพูล    a day
69.    ทัดดาว ทองอิ่ม    สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
70.    ทัตตพันธุ์ สว่างจันทร์  ลูกศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 
71.    ทัพพนัย บุญบัณฑิต ข่าวสด
72.    เทวฤทธิ์ มณีฉาย ประชาไท
73.    ธนพงศ์ ธานี The Momentum
74.    ธนพร เกาะแก้ว    คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
75.    ธนวัฒน์ เกตุแก้ว มหาวิทยาลัยรามคำแหง
76.    ธนะ วงษ์มณี Len.game
77.    ธนาวิ โชติประดิษฐ มหาวิทยาลัยศิลปากร
78    ธมนวรรณ กัวหา The Momentum
79.    ธัญนพ พจีดำรง    มหาวิทยาลัยศิลปากร
80.    ธัญวรัตม์ ศราวรณ์พงศ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
81.    ธีรดา ศิริมงคล    ข่าวสด
82.    ธีรพล พัฒนภักดี พัฒนภักดีผู้ประกอบการ
83.    ธีรภัทร์ เจนใจ สำนักพิมพ์แซลมอน
84.    ธีรภัทร ลี้สกุล สำนักข่าวออนไลน์ Mass Media Thailand
85.    ธีระพล อันมัย นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
86.    นครินทร์ พันธุมจินดา อิสระ
87.    นนทพร ชิณวงศ์    Thai PBS
88.    นนทยา สุทัศน์ นักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
89.    นนทรัฐ ไผ่เจริญ    Radio Free Asia / Benarnews
90.    นพเก้า คงสุวรรณ ข่าวสด
91.    นภสร ทองหล่อ    กรุงเทพธุรกิจ
92.    นภัสวรรณ นพอาภรณ์ ศิษย์เก่าคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ม.ธรรมศาสตร์ 
93.    นภัส วิภูษณะภัทร์ อาชีพอิสระ
94.    นรวรรธน์ ผิวคำ    คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยราชมงคล ธัญบุรี
95.    นราธร เนตรากูล อิสระ 
96.    นฤมล ทับจุมพล    คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
97.    นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์    ประชาไท
98.    นันท์นภัส อังสกุลอาภรณ์  Tokyo Newspaper
99.    นิฐิญาภรณ์ สุวรรณโกสินธุ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
100.    นิมินันท์ วรวิรุฬห์ธนา มหาวิทยาลัยศิลปากร
101.    นิรมล ยุวนบุณย์    ประชาชน
102.    นิษณาต นิลทองคำ happening magazine
103.    บุษยมาศ ธวัชชัย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
104.    ปณิศา เอมโอชา VOICE TV
105.    ปนัดดา ใบคำเลิศ THE STANDARD
106.    ปพิชญา บุญงอก ผู้สื่อข่าวอิสระสำหรับสำนักข่าวต่างประเทศ
107.    ปภังกร บำรุงเมือง echo
108.    ประภาวี เหมทัศน์ นิเทศศาสตร์จุฬา รหัส 44 
109.    ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ LearnistA
110.    ปราณปริยา พลายแก้ว    
111.    ปรียานุช ปรีชามาตย์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
112.    ปรียาลักษณ์ บุญมั่น บ.MKT จำกัด ผลิตข่าวเช้า ททบ.5
113.    ปารณีย์ สิงหเสนี ลูกศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 
114.    ปารย์พิรัชย์ ผดุงเจริญ  มหาวิทยาลัยศิลปากร
115.    ปาลิตา โหน่งที    
116.    ปิยะโชติ อินทรนิวาส สมาคมหนังสือสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย
117.    ปิยะธิดา จันทิวงศ์ นักศึกษา สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
118.    ปุญญิศา คำนนสิงห์ Journalism ICT
119.    พงศ์ธร ยิ้มแย้ม    THE MOMENTUM
120.    พงศ์พนม โพธิติก ไร้สังกัด
121.    พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์    The MATTER
122.    พรทิพย์ โม่งใหญ่ workpoint23
123.    พรรณปพร เข็มทอง ผู้เรียนสื่อสารมวลชน
124.    พรรษาสิริ กุหลาบ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
125.    พรรัตน์ วชิราชัย    บัณฑิตนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
126.    พระจันทร์ เอี่ยมชื่น Brandthink
127.    พริมา ศิริวสุนธรา นิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
128.    พสชนัน คนึงหมาย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
129.    พัชญ์สิตา ไพบูลย์ศิริ Urban Creature
130.    พัชฤนาถ ตั้งใจมั่น ลูกศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 
131.    พันธุ์ชัย อินทร์ชูรันต์ Thai PBS
132.    พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ สื่อมวลชน
133.    พิมพ์ลภัส คงเจริญวุฒิชัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
134.    พิมพ์อร นทกุล    The Cloud
135.    พิรัชย์ ทิชินพงศ์    Room 44
136.    พีรพงษ์ เด่นสท้าน นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
137.    พุฒิพงศ์ ธัญญพันธุ์ มหาวิทยาลัยราชมงคล ธัญบุรี
138.    แพรพรรณ  หรรษา นักเรียนสื่อ มหาวิทยาลัยศิลปากร
139.    แพรวพรรณ พรมสิงห์ นักศึกษาคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
140.    แพร ศิริศักดิ์ ดำเกิง มหาวิทยาลัยศิลปากร
141.    ภวัต กันตวิรุฒ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
142.    ภัทราภรณ์ ผ่องดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
143.    ภัทราภรณ์ ศรีทองแท้ Backpack journalist ,TPBS
144.    ภัทรียา พัวพงศกร The Cloud 
145.    ภานุพันธ์ จันทนะ    
146.    ภาสกร อธิเตโชกุล อิสระ
147.    ภีมรพี ธุรารัตน์    มติชน
148.    ภูริชา สงวนพงศ์ นักเขียนอิสระ
149.    ภูริภัทร สังขพัฒน์ The Asahi Shimbun
150.    มนัสนันท์ ขยันทำ ประชาชน
151.    มยุรา ยะทา Bangkokbiznews online 
152.    ยงยุทธ บุตรศรี    นักเขียนอิสระ
153.    ยิ่งศิวัช ยมลยง    echo
154.    รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา WAY Magazine
155.    รชา เหลืองบริสุทธิ์  นักเขียนอิสระ 
156.    รตา อัมพรรัตน์    มหาวิทยาลัยศิลปากร
157.    รวิภาส บุญเทพ    มหาวิทยาลัยศิลปากร
158.    รอมฎอน ปันจอร์ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
159.    รัฐธรรม ทรัพย์เกิด คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
160.    รัตติพร นิมมานภัทร ประชาชน
161.    รัตนาพร เขม้นกิจ ประชาไท
162.    ฤทธิกร มหาคชาภรณ์ Voice
163.    ลักษณาพร ทาระพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
164.    วชิรวิทย์ เลิศบำรุงชัย Thai PBS
165.    วรรณนิภา กิ่งแก้ว ประชาชน
166.    วราภัสร์ มาลาเพชร มหาวิทยาลัยศิลปากร
167.    วโรดม เตชศรีสุธี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
168.    วัฒนชัย วินิจจะกูล สื่อมวลชนอิสระ
169.    วัฒนพล วัฒนไกร นักศึกษาคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
170.    วิฑูรย์  ไตรรัตน์วงศ์ บริษัท ท็อปทีมโปรโมชั่น จำกัด
171.    วิทวัส มณีจักร    VoiceTv
172.    วิภาภรณ์ สุภาพันธ์ กรุงเทพธุรกิจ
173.    วิริยะ สว่างโชติ    อิสระ
174.    วิสณี เผ่ามณี นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
175.    วุฒิพงษ์ วงษ์ชัยวัฒนกุล    Thai PBS
176.    ศกุนตลา แย้มปิ๋ว Urban Creature
177.    ศรีสิทธิ์ วงศ์วรจรรย์ กรุงเทพธุรกิจ
178.    ศักดินา เศรษฐโกมุท มติชน (Digital Media)
179.    ศาสวัต บุญศรี    มหาวิทยาลัยศิลปากร
180.    ศิวรินทร์  จันทร์คงวงษ์    นักเรียนสื่อ มหาวิทยาลัยศิลปากร
181.    ศุภสุตา สุริยันต์    มหาวิทยาลัยศิลปากร
182.    ศุภิสรา นิลเกต    มหาวิทยาลัยศิลปากร
183.    สมบัติ แก้วเนื้ออ่อน อิสระ
184.    สมโภชน์ อดุลวิทย์ ThaiVoice.ORG2
185.    สมฤดี ยี่ทอง ไทยรัฐทีวี
186.    สมัชชา นิลปัทม์    คณะวิทยาการสื่อสาร ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
187.    สรวุฒิ วงศ์ศรานนท์ ประชาไท
188.    สาริศา รักษา นักข่าวอิสระ
189.    สาวกานต์ชนก พรรัตนวิสัย ลูกศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 
190.    สิทธิพงศ์ ทรัพย์ศุกล นิสิตเก่าคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
191.    สิริกาญจน์สิงห์โสดา นักศึกษา
192.    สิริลักษณ์ สุขสวัสดิ์ Urban Creature 
193.    สุขพรรณสิณี สมเพ็ญกุล    คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
194.    สุดารัตน์ พรมสีใหม่ a day
195.    สุทธิพัฒน์ กนิษฐกุล The MATTER
196.    สุพรรษา อเนกบุณย์ ศธ
197.    สุพาสินี วงศ์กุลพิศาล ประชาชน
198.    สุภัทริณี ศรประดิษฐ์  a day
199.    สุภาพร แต้ภักดี    นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร 
200.    ฬิกา อธึกธนากร    คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
201.    อชิรญา ทองจันทร์ โรงเรียนเทพศิรินทร์สมุทรปราการ
202.    อติพร บริณายกานนท์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
203.    อธิวัฒน์ บุญซ้อน มหาวิทยาลัยศิลปากร
204.    อภิตา คงตราสกุล มหาวิทยาลัยศิลปากร
205.    อภิสรา ปุจฉาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
206.    อรปวีณ์ วงศ์วชิรา ช่อง 9 สำนักข่าวไทย
207.    อรรณนพ ชินตะวัน มหาวิทยาลัยศิลปากร
208.    อรรถยุทธ บุตรศรีภูมิ    
209.    อริน เจียจันทร์พงษ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
210.    อริสา นนท์เต นักศึกษาสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยศิลปากร
211.    อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
212.    อันนา  คือเบล คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
213.    อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
214.    อาคิรา เดชารัตน์ 
215.    อาทิตยา ศรีพุทธา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
216.    อาภาภัทร อภัยวงศ์ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
217.    อารี ชัยเสถียร
218.    อิชย์อาณิคม์ ชิตวิเศษ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
219.    อิสร์ ทวีผลสมเกียรติ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
220.    อิสรากรณ์ ผู้กฤตยาคามี    นายรอบรู้นักเดินทาง
221.    อิสราชัย จงภัทรนิชพันธ์    มติชนสุดสัปดาห์
222.    อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการอิสระด้านสื่อ
223.    ไอยคุปต์ กฤตบุญญาลัย    Voice tv
224.    ไอริณ ทองตันไตรย์ นักศึกษาเอกสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยศิลปากร


ช่อง 8 ออก แถลงการณ์ระบุข่าวอาการปลอดภัย ขอบคุณทุกความห่วงใย ยืนยันทำหน้าที่อย่างดีที่สุด

ช่อง 8 ออก แถลงการณ์ระบุข่าวอาการปลอดภัย ขอบคุณทุกความห่วงใย ยืนยันทำหน้าที่อย่างดีที่สุด

วันเดียวกันนี้ (21 มี.ค.) ช่อง 8 ออก แถลงการณ์เหตุการณ์ชุมนุม 20 มี.ค. 2564 "ผู้สื่อข่าวช่อง 8 อาการปลอดภัย ขอบคุณทุกความห่วงใย ยืนยันทำหน้าที่อย่างดีที่สุด" ระบุว่าจากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองของกลุ่ม REDEM เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564 เกิดการปะทะกันหลายจุดระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุม และเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งสองฝ่าย รวมถึงมีสื่อมวลชนได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ด้วย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ แพรว พนิตนาฏ พรหมบังเกิด ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 ที่ลงพื้นที่รายงานเหตุการณ์ ท่ามกลางสถานการณ์ชุลมุน ที่ คฝ.เข้ากระชับพื้นที่ ผู้สื่อข่าวช่อง 8 ได้ถูกกระสุนยางเข้าบริเวณเหนือขมับด้านขวา แล้วเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ประชาชื่นตามที่เป็นข่าวไปแล้วนั้น

ความคืบหน้าอาการบาดเจ็บของผู้สื่อข่าวช่อง 8 หลังจากแพทย์ได้สแกนสมอง และสั่งให้เฝ้าดูอาการในห้องไอซียู ขณะนี้ได้ออกจากห้องไอซียู มาพักในห้องผู้ป่วยปกติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถพูดคุย ตอบสนองได้ตามปกติ แต่ยังคงมีอาการเจ็บบริเวณที่ถูกกระสุนยาง เนื่องจากได้รับการกระทบกระเทือน และมีรอยช้ำบวม บริเวณสมองเล็กน้อย ซึ่งสามารถรักษาได้ตามอาการ

ฝ่ายข่าวช่อง 8 และคุณแพรว พนิตนาฏ ขอขอบคุณทุกความห่วงใยที่ส่งเข้ามาในทุกช่องทาง และยังคงยืนยันการทำหน้าที่สื่อมวลชนอย่างดีที่สุด ท่ามกลางสถานการณ์ขัดแย้งทางการเมือง เราตระหนักถึงการทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาในทุกมิติข่าว และไม่ปรารถนาที่จะเห็นการใช้ความรุนแรงไม่ว่าจะกรณีใดหรือฝ่ายใดก็ตาม

จึงแจ้งมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
21 มี.ค. 2564

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net