Skip to main content
sharethis

สถานทูตแคนาดา มูลนิธิแอ็พคอม กลต. จัดวงถก "บางกอก ไพรด์ 2.0 - การฟื้นฟูหลังโควิด 19 เพื่อมุ่งสู่การหลอมรวมผู้มีความหลากหลายทางเพศ"  

2 ก.ค.2564 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิแอ็พคอมและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) จัดกิจกรรม "บางกอก ไพรด์ 2.0 - การฟื้นฟูหลังโควิด 19 เพื่อมุ่งสู่การหลอมรวมผู้มีความหลากหลายทางเพศ"  

รศ.ณัฐวุฒิ พิมพา นักวิชาการด้านธุรกิจระหว่างประเทศ ม.มหิดล กล่าวเปิดงาน กล่าวขอบคุณผู้สนับสนุน ปัจจุบันเดือนไพร์ดได้กล้าวมาไกลมากขึ้น สิ่งที่น่าคิดคือจะทำอย่างไรให้ผลักดันความหลากหลายทางเพศในภาคธุรกิจได้ก้าวไปสู่การพัฒนาทั่งยืน โควิด-19 ส่งผลกระทบสำคัญต่อกลุ่มเปราะบาง ตลอดจนการทำงาน จนถึงชีวิตประจำวัน

โควิด-19 กับข้อจำกัดในการรวมกลุ่มแสดงออก

ซาร่าห์ เทย์เลอร์ เอกอัคราชทูตแคนาดา ประจำประเทศไทย กล่าว ว่าโควิด-19 ทำให้เกิดข้อจำกัดในการรวมกลุ่มแสดงออก แต่หวังว่าทุกอย่างจะเป็นปกติในเร็ววัน จุดประสงค์เพื่อเพิ่มความตระหนักในการถูกเลือกปฏิบัติผู้มีความหลากหลาย ซึ่งแคนดาได้พยายามสนับสนุนอย่างเต็มที่ แล้วเราจะหลอมรวมในสังคมโดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไร? เศรษฐกิจ สังคม - Equal Rights Coliation ที่แคนาดาได้เป็นสมาชิก จะสามารถขับเคลื่อนงานด้านนี้อย่างไร การถูกเลือกปฏิบัติทำให้นำไปสู่การจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะภาคธุรกิจบริการ รัฐบาลแคนาดาให้สนับสนุนผู้ลี้ภัยที่มีความหลากหลายทางเพศ ตลอดจตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือ เราต้องขับเคลื่อนร่วมกันต่อไปเพื่อความก้าวหน้าในเรื่องสิทธิอย่างสมบูรณ์ D&I ในภาคธุรกิจเป็นสิ่งที่เราเน้นย้ำเพื่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตลอดจนความก้าวหน้าของนวัตกรรม 

รื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ กลต. กล่าวว่า โควิด 19 ส่งผลกระทบสำคัญโดยเฉาะกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ กลต. พบว่า UNDP ATPN พ.ค. 63 การระบาดของโควิด 19 ได้รับผลกระทบมาก กว่า 50 เปอร์เซนต์พบว่า ตกงาน เราจะก้าวข้ามผ่านผลกระทบนี้อย่างไร กลต ขับเคลื่อนบริษัทจดทะเบียน ผลักดันธุรกิจและสิทธิมนุษยชน 

Boston Consulting Group ได้กล่าวถึง การส่งเสริมความเท่าเททียมทางเพศจะเป็นผลดีทางเศรษฐกิจ บริษัทที่เปิดกว้างจะดึงดูดผู้มีความสามารถสูงได้เป็นอย่างดี ตลอดจนได้รับหารสนับสนุนจากลูกค้า ผู้มีส่วนได้เสีย ส่งผลดีต่อสังคมโดยรวม 

กลต. ลงนามปฏิญญาส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ เป็นองค์กรที่สนับสนุนชัดเจน ม.ค. 65 กลต. กำหนดให้บริษัทจดทะเบียน 700 แห่งจัดทำรายงานความยั่งยืน ใช้หลักส่งเสริมความเสมอภาคอย่างไร เป็นวิธีการผลักดันการส่งเสริมมากขึ้น การยอมรับ ให้เกียรติ เปิดโอกาสโดยไม่ทิ้งจะช่วยให้ภาคธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน และบรรลุ SDG 2030 ได้ 

นโยบาย กฎหมาย และการปฏิบัติ

นรีลักษณ์ แพชัยภูมิ จากกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 ว่าได้ให้คุ้มครองผู้มีหลากหลายทางเพศในฐานะกลุ่มเปราะบาง โดยแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ที่จะคุ้มครองแรงงาน สิ่งแวดล้อม นักปป้องสิทธิ์ บรรษัทข้ามชาติ ซึ่งผู้มีความหลากหลายทางเพศถูกคุ้มครองในหมวดแรงงาน  การประกาศเจตนารมณ์ ดำเนินงานโดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) 6 ประเด็น การแต่งกาย การจัดพื้นที่เหมาะสม การใช้ถ้อยคำกิริยา การประกาศรับสมัครงาน การป้องกันและการแก้ไขปัญหาหารล่วงละเมิด การสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในหน่วยงาน 

พ.ร.บ. ความเท่าเทียมระหว่างเพศ 2558 ตลอดจนการผลักดัน พรบ. คู่ชีวิต มีการสำรวจมุมมองศาสนา ความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มหลากหลายทางเพศ แผนต่อไปคือจัด FGD LGBTQI+ เพื่อกระชับนโยบายให้เข้มแข็งขึ้น การให้ความรู้เจ้าหน้าที่องค์กร ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ อบรม เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย  สร้างความรู้ความเข้าใจสาธารณชนสาธารณะ ทั้งกิจกรรม สื่อประชาสัมพันธ์ เช่น วีดีโอ ฯลฯ 

ร่วมมือกับ กสทช. ในการจัดทำแนวปฏิบัติขิงสื่อมวลชนต่อการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับผู้มีความหลากหลายทางเพศ โยมองว่าสื่อจะช่ยสร้างความเข้าใจต่อประชาชน  การส่งเสริมความหลากหลายทางเพศในภาคธุรกิจเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ  ส่งเสริมบทบาทภาคฑุรกิจแหละส่งเสริมความหลากหลายทางเพศในหน่วยงาน 8 ประการ - นโยบาย, สินค้าบริการ, การจ้างงานที่เป็นธรรม, สิทธิสวัสดิการ, ส่งเสริมความรู้, ปฏิบัติอย่างเหมาะสม, จัดช่องทางร้องทุกข์, เยียวยาเมื่อถูกละเมิด ปัจจุบันมีความพยายามส่งเสริมศักยภาพเครือข่าย LGBTQI Friendly Business

การทำงานของ วลพ.

ผศ.อารยา สุขสม คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (คณะกรรมการ วลพ. ) กล่าวถึง พ.ร.บ.ควมหลากหลายทางเพศว่า ใช้เวลานานกว่าจะสำเร็จ รัฐธรรมนูญเป็นประตูบานแรกที่จะนำความหลากหลายทางเพศเข้ามาในประเทศไทย ความหลากหลายทางเพศได้ถูกตีความใต้ร่มของรัฐธรรมนูญ 

พ.ร.บ. เท่าเทียมเป็นเรื่องของการใช้กฎหมาย ซึ่งมี 3 กลไกสำคัญคือ 1. กลไกการกำหนดนโยบาย (สตพ.) 2. คณะกรรมการ วลพ.  และ 3. กองทุนเยียวยาผู้เสียหายจากการถูกละเมิดฯ  โดย ม.3 และ ม.17 ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติความหลากหลายทางเพศ / การแสดงออกต่างจากเพศกำเนิด, การใช้คำพูดรุนแรง 

พ.ร.บ. นี้ล้อตามกฎหมายระหว่างประเทศ รวบไปถึงจับหลักความเสมอภาคใช้เอกชน กล่าวคือ รัฐกับเอกชนอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน (ม.17) ม.17 วรรค 2 พรบ.เท่าเทียม - ศาสนา ความมั่นคง ความปลอดภัย เป็นประเด็นที่สามารถทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติได้  วลพ. พบว่ามีการเลือกปฏิบัติจากภาครัฐมากที่สุด และ 70 เปอร์เซนต์มาจากกลึ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ

ภาคเอกชน กรณีที่พบเจอบ่อยสุดคือ  1. การจ้างงาน การประเมินเพื่อให้ผ่านงาน แนวทางแก้ไขคือนายจ้างระบุนโยบายให้ชัดเจน  2. การเข้าใช้บริการโรงแรม ซึ่งเลือกปฏิบัติห้ามคนข้ามเพศเข้าใช้บิการ โดนผู้ประกอบการอ้างว่าเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพผู้อื่น (ม.17 วรรค 2)  วลพ. มีอำนาจตาม ม. 20 ในการปรับนโยบายและสามารถสั่งการเยียวยาได้ถ้าพบการถูกเลือกปฏิบัติจริงโดยกองทุน ความหลากหลายทางเพศไม่ใช่ความผิดปกติ แต่คือความแตกต่างที่กฎหมายรับรู้แล้ว  จุดอ่อน ของพ.ร.บ. คือ ไม่ได้ระบุรายละเอียดชัดเจน ซึ่งต้องกลับไปดู รัฐธรรมนูญ 

"หากภาคธุรกิจเปิดใจปรับชุดความคิด ความเสมอภาคก็จะเกิดขึ้น" ผศ.อารยา กล่าว

 

56-1 One Report เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 

วนิดา กุลตังวัฒนา ผอ. ส่งเสริมธรรมาภิบาล กลต. กล่าวว่า ผู้ลงทุนคาดหวังว่าบริษัทดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม นำไปสู่การจัดทำรายงาน เพื่อให้เกิดการจัดการกำหนดนโนบายนำไปสู่ภาคปฏิบัติเพื่อเปิดเผยข้อมูล

โครงสร้าง One Report ส่วนที่ 1-3 การขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน (56-1 เดิม ส่วนที่ 10: CSR) ส่วนที่ 2 การดูแลกำกับกิจการ (56-1 เดิม:  8-โครงสร้างการจัดการ, 9-การกำกัดดูแลกิจการ) การขับเคลื่อนธุรกิจความยั่งยืน 1. นโยบายและเป้าหมายการจัดการ 2. การจัดการผลกระทบต่อผ็มีส่วนได้เสีย 3. การจัดการความยั่งยืน และ 4.การจัดการในมิติสังคม

มิติสังคมว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เป้าหมายการจัดการสอดคล้องกลยุทธ์ทั้งระยะสั้น - ยาว แนวนโยบายปละการปฏิบัติ  การประเมินและบริหารความเสี่ยง ผลการดำเนินงานและผลลัพธ์การจัดการด้านสังคมรวมถึงการเคารพสิทธิ มนุษยชนและความหลากหลายทางเพศ

ขณะที่รายงานจะถูกนำส่งต่อกระทรวงพาณิชย์ การตอบโจทย์ต่อ SDGs 1. กำหนดวิสัยทัศน์ มองถึงความสามารถไม่เลือกปฏิบัติเพศสภาพ 2. ทำความเข้าใจ 3. จัดดลำดับความสำคัญ 4. วัดผลการดำเนินงาน 5. รายการและสื่อสาร

แสนสิริทำไพรด์มา 5 ปี จากแรงบันดาลใจในการไปร่วมงานไพรด์ที่ต่างประเทศ

ทศพร กรกิจ กล่าวว่า ผจก. สื่อสารองค์กร แสนสิริ  แสนสิริเริ่มต้นจากการทำงานเพื่อความเท่าเทียมจากเด็ก จนขยับมาสู่ความหลากหลายทางเพศ  ภายใต้แนวคิด แสนสิริ เท่ากับ Live Equally  ได้ร่วมลงนามใน Standard of Conduct for Business โดยใส่ลงในฝ่ายบุคคลว่าด้วยขจัดการเลือกปฏิบัติในเรื่องเพศ 

หลังโควิดกับการเสริมสร้างความหลากหลายทางเพศ พัฒนาฝ่ายบุคคล สร้างบรรยาศที่เป็นมิตรต่อความหลากหลายทางเพศ จัดการอบรมสร้างความเข้าใจ ติดตามและประเมินผล ขณะที่ระดับชุมชน ใส่ใจลูกค้าโดยไม่เลือกปฏิบัติเพศสภาพสนับสนุนความหลากหลายทางเพศวงกว้าง สร้างเครือข่ายเพื่อร่วมผลักดันนโยบาย และเสริมสร้างมิติความหลากหลาย

นายจ้างสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางเพศเพื่อให้เกิดความเท่าเทียม

สุภาณี พงษ์เรืองพันธุ์ ผจก. ธุรกิจสิทธิมนุษยชน UNDP TH กล่าวว่า Standard of Conduct  ที่พัฒนามาจากมากกว่า 100 บริษัทและ UNDP โดยเน้นการเคารพสิทธิมนุษยชนในกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะ ในเรื่องในเรื่องพื้นที่ของการทำงาน และพื้นที่สำหรับลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 

ประโยชน์ของการมี Standard of Conduct 1. ดึงดูดและรักษาคนมีความสามารถ 2. สร้างแรงจูงใจให้พนักงานรักในองค์กร 3. สร้างแรงจูงใจภาคธุรกิจในการลงทุน 4. สร้างแรงจูงใจในการทำงาน 5. ช่วยให้เกิดการแก้ไขปัญหาได้ดี สำหรับบรรยากาศการทำงาน

สำหรับองค์กร บริษัทควรมีกฎระเบียบลายลักษณ์อักษร มีการตั้งคณะกรรมการ มีการจ้างงานที่เป็นธรรมทั้ง HR/ Recruitment ควรนำไปฏิบัติ โดยเน้นการไม่ระบุเพศเพื่อลดไบแอส ควรสร้างบรรยากาศที่ไม่เลือกปฏิบัติ สนับสนุนการแสดงออกอัตลักษณ์ทางเพศ ตลอดจนเครื่องแบบ ห้องน้ำ หรือการใช้สรรพนาม

สำหรับพนักงาน ควรสนับสนุนสวัสดิการสำหรับสุขภาพคนข้ามเพศ ตลอดจนคู่สมรสเพศเดียวกัน สำหรับภายนอกองค์กร ควรจัดห้องน้ำสำหรับทุกเพศ การใช้สรรพนามที่เป็นกลางโดยใช้คุณ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมความหลากหลายทางเพศ ส่งเสริมการตระหนักถึงความหลากหลาย เช่นทำ statement ทางการ ผ่านสื่อออนไลน์ สื่อกระแสหลัก

แบ่งปันประสบการณ์ของการเป็นนักกิจกรรมโดยจุดเริ่มต้นมาจากการถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศสภาพ

นาดา ไชยจิตต์ นักกิจกรรมสิทธิมนุษยชน กล่าวถึงกรณีประวัติศาสตร์จากการชนะคดีเกี่ยวกับการแต่งกายตามเพศวิถีว่า ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อนโยบายที่สนับสนุนความหลากหลายทางเพศ 

"การทำงานต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศ ถือเป็นการทำงานที่ต้องอยู่กับความฟ่อนเฟะจากการกดทับ แต่เป็นความฟ่อนเฟะที่น่าทำงานด้วย เพราะเราสามารถรื้อถอนมันทิ้งได้" นาดา กล่าว

การทำงานเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับฐานราก ไม่สามารถทำได้ในระยะสั้น "อยากให้เดือนไพรด์มีทุกเดือน"" ในเดือนไพรด์ รับมาแล้วบางเคส เช่น การเลือกปฏิบัติว่าด้วยเพศสภาพผู้สมัคร Au pair  การถูกล่วงละเมิดทางเพศจากภาคธุรกิจห้างสรรพสินค้า

"แผนปฏิบัติงานที่ถูกเขียนมาอย่างดี แต่ส่งต่อไปไม่ถึงภาคธุรกิจ" นาดา กล่าว พร้อมระบุว่า การขาดจรรยาบรรณการรับผิดชอบลูกค้าจากสถาบันความงาม

พ.ร.บ. ความเท่าเทียมทางเพศ หากใช้ได้จริงคลอบคลุมสิทธิมนุษยชน จะได้ผลดีมาก ซึ่งได้ผลชัดเจนมากกว่าแคมเปญโปรโมทความเท่าเทียมที่ลงทุนไปมหาศาล

สิ่งที่น่าคิดต่อไป ทำอะไรให้ Code of Conducts ส่งไปถึงธุรกิจอื่นๆ ในระดับฐานราก เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีต่อพนักงาน เพื่อสร้างความสร้างสรรค์ใหม่ๆ ในสังคม  เสียงของพนักงาน เป็นเสียงสำคัญนอกไปจากฝ่ายบุคคล ฝ่ายบริหาร และเป็นการสร้างการหลอมรวมผนวกความหลากหลายทางเพศที่แท้จริง

"GO Thai Be Free แต่คนไทยต้อง Go Out ถึงจะ Be Free" นาดา กล่าว

มิดไนท์ พูนเกษตรวัฒนา ผู้อำนวยการมูลนิธิแอพคอม กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมเสวนา พร้อมระบุว่า มันสำคัญที่มีองค์กรที่เป็นตัวเชื่อมภาคประชาสังคม และภาครัฐ ตลอดจนเอกชนที่มาร่วมขับเคลื่อนงานด้วยกัน

โควิด-19 ส่งผลกระทบสำคัญต่อทุกคนในสังคม โดยเฉพาะระดับรากหญ้า จึงมองว่าองค์กรประชาสังคมเป็นส่วนสำคํญที่จะขับเคลื่อนงานตรงนี้เพื่อช่วยเหลือทุกคนอย่างทั่วถึง

ผู้อำนวยการมูลนิธิแอพคอม กล่าวถึงความร่วมมือกับองค์กรชุมชนไทย 15 องค์กรในการช่วยเหลือฉุกเฉินแก่กลุ่มประชากรเปราะบาง ตลอดจนการจัดเวทีต่างๆ ทั้ง LGBTQI+ Biz การจัดเสวนาเดือนไพรด์ ขับคลื่อนงานทั้งด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ และกลุ่มเปราะบางจากสถานการณ์โควิด และเพื่อนำไปสู่การจัดงาน Bangkok Pride สำหรับปี 2022 ตลอดจนการร่วมงานกันในอนาคต 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net