Skip to main content
sharethis

ประชาไทสนทนากับอานันท์ นักศึกษาปริญญาโทกฎหมายการคลัง ประเทศฝรั่งเศส และแอดมินเพจ 'กฎหมายการคลัง'  ว่าด้วย รัฐธรรมนูญ ม.144 หลังกมธ.งบ 65 มีมติคืนงบที่ตัดได้ 1.6 หมื่นล้าน เข้างบกลาง 

พร้อมทำความเข้าใจ รัฐธรรมนูญ ม.144 ตามตัวบท, เหตุผลในการตรากฎหมายแบบนี้, กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ 2561 ปัญหาของการเอาไปไว้งบกลาง มีปัญหาอย่างไร 

โดย อานันท์ สรุป ประเด็นดังกล่าวว่า

1. งบประมาณตัดแล้วเอาไปโปะได้ ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณกำหนด (ซึ่งก็ไม่ได้มีการกำหนดเอาไว้) มาตรา 144 หลัก ๆ คือ บอกว่าห้ามแปรญัตติเพิ่มงบเฉย ๆ ส่วนวรรคสองเรื่องห้ามงบ ส.ส. นี่เอาไปปราบประชานิยมมากกว่า พวกสร้างศาลา สนามฟุตบอล ฯลฯ การตีความแบบนี้กว้างเกินไป มันเกี่ยวกับ ส.ส. , กรรมาธิการทางอ้อมกันทั้งนั้นแหละเพราะ ส.ส. เป็นผู้แทนประชาชน (ยกเลิกมาตรา 144 วรรคสองนี้ได้ก็ไม่เป็นไร อยากคุมงบประชานิยมก็ไปหาวิธีการควบคุมให้การใช้จ่ายเงินมันโปร่งใสเอา ไม่ใช่มาห้ามกว้างๆ แบบนี้แต่แรก) ดังนั้น เราจะอ้างมาตรา 144 ว่าเป็นเหตุจำเป็นที่จะต้องโอนเงินเข้างบกลางไม่ได้ ผิดฝาผิดตัวกัน

2. ยิ่งไปกว่านั้น การตั้งงบกลางถึงแม้จะบอกย้ำไว้ว่าเป็นงบช่วยโควิด (ไม่ได้โอนเงินให้ประยุทธใช้ตามอำเภอใจเหมือนที่บางสื่อเล่นกันจนเกินความเป็นจรง) มันก็ตั้งได้เฉพาะในกรณีที่มีเหตุผลและความจําเป็นที่ไม่อาจจัดสรรหรือไม่สมควรจัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้แก่หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบได้โดยตรง ตามมาตรา 22 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง 2561

3. ถ้าปล่อยงบ 65 คลอดออกมาได้ ในทางปฏิบัติ งบกลางนี้แทบจะตรวจสอบไม่ได้เลย พ.ร.บ วินัยการเงินการคลัง 2561 เขียนหลักไว้กว้างๆ เฉยๆ ไม่ได้ลงรายละเอียดเรื่องงบกลางเอาไว้ด้วย

4. ทางแก้คือฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ บอกว่าร่างกฎหมายนี้ขัดรัฐธรรมนูญเรื่องวินัยทางการคลังตามแนวคดี 3-4/2557

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากโพสต์ของเพจ  'กฎหมายการคลัง'

หมายเหตุ : 15.37 น. ประชาไท ดำเนินการอัพเดทเนื้อหาบางส่วน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net