Skip to main content
sharethis

กรมอนามัย แนะโรงงานพบ พนง.ติดเชื้อเกิน 10% ไม่ควรปิดบัง ให้แจ้งภายใน 3 ชม.

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ยังเกิดคลัสเตอร์โรงงานกระจายในหลายพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งกรมอนามัยได้ขอความร่วมมือโรงงานขนาดใหญ่ที่มีคนงานตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป จำนวน 3,300 แห่ง ประเมินผ่าน Thai Stop COVID Plus (GOOD FACTORY PRACTICE) โดยโรงงานที่ยังไม่พบพนักงานติดเชื้อ ขอให้ยังคุมเข้ม มาตรการที่ 1-3 ดังนี้

1. มาตรการด้านการป้องกันโรค มีการคัดกรองวัดอุณหภูมิ สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา จัดให้มีที่ล้างมือพร้อมสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ไว้บริการ ลดความแออัด การเว้นระยะห่าง ติดตามข้อมูลของผู้ปฏิบัติงาน จัดให้มีที่ล้างมือพร้อมสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ไว้บริการ รวมถึงการให้ผู้ที่อยู่ในโรงงานปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด

2.มาตรการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัส การจัดการขยะมูลฝอย จัดให้มีการระบายอากาศที่เหมาะสม หอพักสำหรับผู้ปฏิบัติงานต้องสะอาด ไม่แออัด และหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่ม หากมีรถรับ-ส่ง ต้องมีการทำความสะอาด สำหรับการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มในโรงอาหาร ต้องกำหนดเส้นทางการเดิน จุดนั่ง เดิน ยืน หรือที่พักรอ ให้ชัดเจน แยกสำรับอาหาร และไม่ใช้แก้วน้ำ จาน ชาม ร่วมกัน

3. มาตรการเสริมสำหรับโรงงานขนาดกลางและขนาดใหญ่ ต้องมีกลไกการจัดการและแผนเผชิญเหตุ เมื่อเกิดเหตุกรณีพบพนักงานติดเชื้อต้องมีการซักซ้อมแผน หากมีแรงงานต่างด้าวต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย และสำหรับโรงงานขนาดใหญ่ ต้องเข้มเรื่องการคัดกรองผู้ปฏิบัติงานและผู้มาติดต่อ โดยใช้ระบบประเมินตนเองผ่านเว็บไซต์ “ไทยเซฟไทย” ก่อนเข้าปฏิบัติงาน เพื่อประเมินความเสี่ยงรายบุคคล กรณีมีรถรับ-ส่ง ให้พนักงานสวมหน้ากากตลอดเวลา เว้นระยะห่าง วัดอุณหภูมิก่อนขึ้นรถ และเช็ดฆ่าเชื้อในรถหลังใช้งาน ทำความสะอาดฆ่าเชื้อในพื้นที่ส่วนกลาง และจุดสัมผัสร่วมให้เปลี่ยนเป็นระบบอัตโนมัติ เช่น ประตู ก๊อกน้ำ เป็นต้น เพื่อเป็นการลดการสัมผัส

หากโรงงานพบพนักงานติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าร้อยละ 10 ของผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด ไม่ควรปิดบัง ให้ใช้มาตรการหลักที่ 4 คือ มาตรการเมื่อพบผู้ติดเชื้อแจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ภายใน 3 ชั่วโมง เพื่อให้เจ้าหน้าที่สั่งการและคำแนะนำ หลังจากนั้นให้พิจารณาปิดพื้นที่หรือสถานที่และทำความสะอาดพื้นผิวทันที โดยจัดการแบบ Bubble and Seal เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค และให้กระบวนการผลิตสามารถดำเนินการต่อไปได้ ส่วนผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ให้ส่งตรวจเชื้อและกักตนเองทันที

ส่วนผู้เสี่ยงต่ำให้มีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด สำหรับแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการ ผู้ปฏิบัติงาน และแนวทางการปฏิบัติกรณีพบผู้ติดเชื้อ โดยให้ผู้ประกอบการต้องประเมินตนเองอย่างน้อยทุก 2 สัปดาห์ สำหรับพนักงานทุกคนยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน D-M-H-T-T อย่างเคร่งครัด พร้อมยกระดับคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงด้วยชุดตรวจ ATK

ที่มา: ไทยโพสต์, 26/8/2564

รถไฟฟ้าสายส้ม-ชมพู-เหลืองช้ากว่าแผน ขาดแรงงานเพราะ COID-19 ต้องเลื่อนเปิดทุกโครงการ

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างทุกสัญญาทั้ง 3 โครงการ ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี รถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง เริ่มมีผลงานล่าช้ากว่าแผนงาน จากเดิมทุกโครงการจะเร็วกว่าแผนประมาณ 4-5% ปัจจุบันล่าช้ากว่าแผน 2-3% ถึงแม้จะมีมาตรการผ่อนผันให้โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ โครงการก่อสร้างใต้ดิน หากหยุดก่อสร้างอาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างจึงให้สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคยังรุนแรง ประกอบกับมาตรการห้ามเคลื่อนย้ายแรงงาน บางส่วนถูกกักตัวภายในแคมป์คนงาน สามารถออกมาทำงานได้บางส่วน จึงทำให้ขาดแคลนแรงงานก่อสร้าง

นายภคพงศ์กล่าวว่า ทั้งนี้ ปัญหาความล่าช้าดังกล่าวเกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยนอกเหนือการควบคุม รฟม. ได้สั่งการให้ผู้รับเหมาก่อสร้างทุกสัญญาของโครงการรถไฟฟ้า 3 เส้นทาง พิจารณาปรับแผนงานก่อสร้างใหม่เพื่อชดเชยเวลาที่เสียไป รฟม.ยอมรับว่าอาจจะส่งผลทำให้กำหนดการก่อสร้างรถไฟฟ้าทุกโครงการแล้วเสร็จและเปิดให้บริการเดินรถแต่ละสายต้องเลื่อนออกไปจากเดิม เช่น รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เดิมจะทยอยเปิดให้บริการปลายปี 2564 เลื่อนไปต้นปีหรือกลางปี 2565 สายสีชมพู จากต้นปี 2565 เลื่อนเป็นกลางปี 2565 เป็นต้น ส่วนจะมากน้อยแค่ไหนต้องรอผลการประเมินอีกครั้ง

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์, 26/8/2564

ประกันสังคมขยายวงเงินกู้ช่วยสถานประกอบการสูงสุด 30 ล้านบาท

นางสาวลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงการดำเนินการ “โครงการสินเชื่อ เพื่อส่งเสริมการจ้างงาน” ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2563-2564) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สามารถนำเงินกู้ที่ได้จากการขอสินเชื่อไปรักษาการจ้างงานของลูกจ้างในสถานประกอบการ

นางสาวลัดดา กล่าวว่า ทางรัฐบาลได้มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ โดยสั่งการให้ทางสำนักงานประกันสังคมกำหนดให้สถานประกอบการรักษาจำนวนลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตน ให้ไม่น้อยกว่า 80% ของจำนวนผู้ประกันตนทั้งหมด ณ วันที่ได้รับสินเชื่อ และตลอดอายุสินเชื่อ

จากการดำเนินโครงการพบว่า มีสถานประกอบการขนาดใหญ่ที่มีลูกจ้างเป็นจำนวนมาก ยังต้องการเงินกู้มากกว่า 15 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง ซึ่งทางสำนักงานประกันสังคมและคณะกรรมการประกันสังคมฯรับทราบปัญหา และเห็นความสำคัญที่ไม่ควรให้ลูกจ้างต้องถูกเลิกจ้างจำนวนมาก จึงมีมติในการประชุมเมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 เห็นชอบให้ขยายวงเงินสำหรับสถานประกอบการ จากเดิมไม่เกิน 15 ล้านบาทต่อสถานประกอบการ เป็นกำหนดตามจำนวนลูกจ้างในสถานประกอบการ

หากจำนวนลูกจ้างไม่เกิน 200 คน ได้วงเงินไม่เกิน 15 ล้านบาท และจำนวนลูกจ้างตั้งแต่ 201 คนขึ้นไป ได้วงเงินไม่เกิน 30 ล้านบาท ซึ่งกำหนดวงเงินรวมที่ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อให้กับสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 201 คน ขึ้นไป ไม่เกิน 20% ของวงเงินสินเชื่อที่ธนาคารได้รับจัดสรรปัจจุบัน โดยอยู่ระหว่างการแก้ไขบันทึกข้อตกลง (MOU) โดยคาดว่าจะเริ่มเพิ่มวงเงินได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

นางสาวลัดดา กล่าวต่อไปว่า การให้สินเชื่อตามโครงการสินเชื่อ เพื่อส่งเสริมการจ้างงาน ระยะที่ 2 ทางสำนักงานประกันสังคมไม่ได้กำหนดประเภทกิจการ ยังคงให้สถานประกอบการทุกประเภทกิจการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม และจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน สามารถยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือได้กับสำนักงานประกันสังคมได้

โดยปัจจุบันธนาคารในโครงการฯมีจำนวน 5 แห่ง วงเงินรายละ 2,000 ล้านบาท ได้แก่

1. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

2. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

3. ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)

4. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

5. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

การพิจารณาให้สินเชื่อ เป็นไปตามระเบียบและดุลยพินิจของแต่ละธนาคาร กรณีมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน คิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 2.75% ต่อปี และกรณีไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน คิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 4.75% ต่อปี

ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯสามารถขอหนังสือรับรองสถานะความเป็นสถานประกอบการในระบบ e-service ของประกันสังคม (www.sso.go.th/eservices/esv/index.jsp) โดยเลือกหัวข้อ ขอหนังสือรับรอง (โครงการสินเชื่อฯ) หรือสแกน QR code ซึ่งผู้ประกอบการสามารถติดต่อยื่นคำขอสินเชื่อที่ธนาคารทั้ง 5 แห่งข้างต้น ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564

“โครงการสินเชื่อ เพื่อส่งเสริมการจ้างงาน เป็นโครงการที่ดำเนินงานตามระเบียบคณะกรรมการประกันสังคม ว่าด้วยการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม พ.ศ.2559 ที่สามารถนำเม็ดเงินไม่เกิน 10% ของเงินกองทุนประกันสังคมมาลงทุนทางสังคม เพื่อประโยชน์ทางอ้อมแก่นายจ้าง และผู้ประกันตนได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยเป็นทุนหมุนเวียน และเสริมสร้างสภาพคล่องในสถานประกอบการ รักษาสภาพการจ้างงานแล้ว ยังทำให้เกิดทุนหมุนเวียน ในระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ และพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอีกด้วย” นางสาวลัดดากล่าว

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, 25/8/2564

เอกชนขอรัฐบาลจัดสรรวัคซีนให้แรงงานภาคการผลิตมากขึ้น ก่อนกระทบเศรษฐกิจ มองได้รับวัคซีนน้อยและช้าเกินไป

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และ ประธานคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน หอการค้าไทย กล่าวว่า หอการค้าไทยและสมาคมที่เกี่ยวข้อง มีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ในการเร่งจัดสรรวัคซีนโควิด-19 ให้กับแรงงานภาคการผลิตทุกกลุ่มให้มากขึ้นและเร็วกว่าที่เป็นมา ไม่ใช่เฉพาะแรงงานที่อยู่ในส่วนของมาตรา33 เท่านั้น แต่ให้รวมถึงแรงงานนอกประกันสังคมอีกประมาณ 1.3 ล้านคนด้วย เพราะหากต้องการเปิดประเทศและควบคุมการระบาดของโควิด-19 ให้ได้ จะต้องเร่งฉีดวัคซีนให้กับแรงงานครอบคลุมในทุกภาคส่วน โดยมองว่าเวลานี้รัฐบาลยังจัดสรรและฉีดวัคซีนให้กับภาคแรงงานน้อยเกินไป โดยมีความเป็นห่วงว่าหากยิ่งล่าช้าจะทำให้การขาดแคลนแรงงานมีมากขึ้นส่งผลกระทบกับภาคการผลิตเพื่อการส่งออกรวมถึงการผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศด้วย

อย่างไรก็ตาม หอการค้าไทยได้มีการประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจ ตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนสิงหาคมนี้ อยู่ที่ 8 แสน ถึง 1 ล้านล้านบาท และหากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น โดยยังมีการขยายพื้นที่ล็อกดาวน์ความเสียหายต่อเศรษฐกิจในปีนี้จะเกิน 1 ล้านล้านบาทอย่างแน่นอน ในขณะที่ GDP ของประเทศจะขยายตัวติดลบอยู่ที่ร้อยละ 1.5 และจากการเร่งรัดขอรับการจัดสรรวัคซีนที่เพิ่มขึ้นแล้วหอการค้าไทยมีข้อเสนอต่อรัฐบาลในการ สนับสนุนโครงการ Factory Sandbox อย่างต่อเนื่อง โดยต้องเร่งขับเคลื่อนจับคู่ระหว่างสถานประกอบกิจการ โรงพยาบาล และภาครัฐในพื้นที่ และการจัดตั้ง Team Thailand เพื่อศึกษาแนวทางการนำเข้าและบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น จำนวน 500,000 คน

นายผณิศวร ชำนาญเวช รองประธานคณะกรรมการแรงงาน และพัฒนาฝีมือแรงงาน หอการค้าไทย และ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า จากผลกระทบของโควิด-19 ในพื้นที่ภาคอุตสาหกรรม เอกชนได้เร่งดำเนินมาตรการต่างๆเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นและให้สามารถประกอบกิจการต่อไปได้โดยไม่ส่งผลกระทบกับภาคการผลิตภายในประเทศ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเนื่องไปถึงการผลิตสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภคในประเทศและการส่งออก โดยมาตรการที่ทำนั้นถือเป็นมาตรการที่เข้มข้นไม่ปล่อยให้เกิดการระบาดในพื้นที่ อาทิ มาตรการ Factory sandbox ควบคุมพื้นที่การผลิต และแรงงานให้อยู่ในวงจำกัด การใช้ Bubble and Seal แยกส่วนแรงงานอย่างชัดเจน ทำให้ปราศจากเชื้อโควิค-19 100% เป็นการการันตีความปลอดภัยในการผลิตสินค้าของประเทศ

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการผลิตอาหารเวลานี้ ยังสามารถดูแลรักษาพื้นที่ได้ โดยในปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอาหารยังคงขยายตัวร้อยละ 7 และจะใช้วิกฤตในครั้งนี้เป็นโอกาสในการสร้างความเชื่อมั่นด้านมาตรฐานสินค้าให้กับสินค้าไทยเพิ่มขึ้น ดังนั้น มั่นใจว่ามาตรการต่างๆที่ภาคเอกชนดำเนินการ จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้าเพิ่มขึ้น และเวลานี้ยังไม่ได้มีคำสั่งยกเลิกการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศไทย ถึงแม้ว่าจะเริ่มมีบางประเทศใช้มาตรการตรวจสอบที่เข้มข้นมากขึ้น แต่ก็เป็นมาตรการที่ใช้ดำเนินการกับทุกประเทศไม่เฉพาะกับประเทศไทยเพียงประเทศเดียว

ที่มา: สำนักข่าวไทย, 25/8/2564

กลุ่มไรเดอร์ฟู้ดแพนด้าในเชียงใหม่ ยกระดับชุมนุมยื่นหนังสือร้องศูนย์ดำรงธรรม หลังถูกปรับลงค่ารอบ

25 ส.ค. 2564 เมื่อเวลา 10.30 น. ที่บริเวณด้านหน้าอาคารอำนวยการศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มไรเดอร์ส่งอาหาร ของบริษัทฟู้ดแพนด้า จำนวนหลายร้อยคน ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือผ่านศูนย์ดำรงธรรม ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขอให้ดำเนินการช่วยเหลือ กรณีที่ทางกลุ่มไรเดอร์ได้รับความเดือดร้อน และผลกระทบที่ทางบริษัทมีการปรับลดราคาค่ารอบในการส่งอาหาร จากแต่เดิมที่ได้ค่ารอบเกรดสูงสุดในราคา รอบละ 27 บาท ในระยะทางไม่เกิน 3 กิโลเมตร แต่ในขณะนี้ถูกปรับให้ลดลงเหลือเพียงรอบละ 23 บาท ทำให้รายได้จากการวิ่งส่งอาหารลดลงไปประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ จากรายได้เดิมที่ควรจะเป็น ซึ่งก่อนหน้านี้ทางกลุ่มไรเดอร์ได้มีการชุมนุมเพื่อยื่นหนังสือขอคำตอบกับทางบริษัทไปก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อวันที่ 23 ส.ค.64 ที่ผ่านมา แต่ไม่ได้รับคำตอบจากทางบริษัท จึงได้มีการรวมตัวชุมนุมกันอีกครั้ง พร้อมทั้งมีการชูป้ายเรียกร้องความเป็นธรรมและแสดงเชิงสัญลักษณ์ ด้วยการถอดเสื้อคลุมของทางบริษัทออก และประกาศจะไม่ยอมสวมเสื้อของบริษัทในการวิ่งให้บริการ จนกว่าจะได้รับคำตอบ และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

โดยทาง นายธนิสร โล่เมทินี ตัวแทนกลุ่มไรเดอร์ เปิดเผยว่า จากการที่ทางบริษัทมีประกาศการปรับลดราคาค่าวิ่งรอบของไรเดอร์ ส่งผลทำให้ทางกลุ่มไรเดอร์ทุกคน ต่างได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากค่ารอบที่ถูกลดไปถึง 4 บาท และค่ารอบต่ำสุดที่ได้เพียง 17 บาท ซึ่งทางกลุ่มไรเดมองว่าไม่ยุติธรรม และไม่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในตอนนี้ เนื่องจากค่าน้ำมัน และค่าใช้จ่ายหลายอย่าง ทางไรเดอร์ก็ต้องเป็นคนจ่ายทั้งหมด วันนี้จึงมีการรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม โดยข้อเรียกร้องของทางกลุ่มนั้น อยากให้ผู้บริหาร และบริษัทที่ กทม.พิจารณาปรับค่ารอบเป็นแบบเดิมให้กับทางกลุ่มไรเดอร์เท่านั้น เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงโควิด ทางกลุ่มไรเดอร์ก็มีความเดือดร้อนในเรื่องของค่าใช้จ่ายแต่ละวัน อย่างไรก็ตาม หลังจากการยื่นหนังสือแล้ว ทางกลุ่มไรเดอร์ก็จะร่วมกันแสดงสัญลักษณ์ เพื่อส่งไปถึงบริษัทที่ กทม.โดยการไม่สวมเสื้อสัญลักษณ์ของบริษัทวิ่งงานอย่างไม่มีกำหนด จนกว่าจะได้ค่ารอบคืน โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปทั่วทั้งจังหวัดที่มีไรเดอร์ประมาณ 3,000 กว่าคน และที่วิ่งงานจริงจังประมาณ 1,400-1,500 คน

ขณะที่ในการชุมนุมยื่นหนังสือในครั้งนี้ ได้มี นายวสันต์ (สงวนนามสกุล) ตัวแทนจากสหภาพไรเดอร์แห่งประเทศไทย เข้ามารับเรื่องร้องเรียนดังกล่าวอีกทางหนึ่งด้วย โดยระบุว่า ทางสหภาพไรเดอร์แห่งประเทศไทย มีหน้าที่ช่วยเหลือ และเป็นตัวกลางให้ระหว่างกลุ่มไรเดอร์กับทางบริษัท โดยการนำเอกสารข้อร้องเรียนดังกล่าวนี้ ไปมอบให้กับทางบริษัทโดยตรง เนื่องจากทางสหภาพไรเดอร์ฯ สามารถเข้าถึงทางบริษัทได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะไรเดอร์ที่อยู่ต่างจังหวัด และทั่วทุกภูมิภาค ที่ไม่สามารถเข้าถึงบริษัท และจะได้นำข้อเรียกร้องดังกล่าวส่งมอบให้โดยตรง ส่วนความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นนั้นก็ต้องให้ทางบริษัทตรวจสอบเอง และเมื่อได้คำตอบอย่างไร ก็จะนำเรื่องมาแจ้งให้กับทางไรเดอร์อีกครั้งหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ในการเดินทางเข้ายื่นหนังสือร้องศูนย์ดำรงธรรม ครั้งนี้ได้มีเจ้าหน้าที่ตัวแทนจากศูนย์ดำรงธรรม เข้ามารับมอบหนังสือดังกล่าวกับทางกลุ่มไรเดอรที่มาชุมนุมกันบริเวณด้านหน้าศาลากลาง พร้อมทั้งรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้น และจะได้นำหนังสือข้อร้องเรียนดังกล่าว ส่งให้ทางผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อดำเนินการพิจารณาให้การช่วยเหลือต่อไป โดยหลังจากการยื่นหนังสือร้องเรียนแล้ว ทางกลุ่มไรเดอร์ระบุว่า จะได้เดินทางไปชุมนุมกันที่บริเวณลานเอนกประสงค์ข่วงประตูท่าแพ อีกครั้งเพื่อร่วมกันหารือแนวทางในการดำเนินการหลังจากนี้ต่อไป

ที่มา: เชียงใหม่นิวส์, 25/8/2564

ก.แรงงาน' ส่ง 'แรงงานไทย' 142 คน ที่เดินทางไปทำงานใน 'ภาคเกษตร' ภายใต้โครงการ “ความร่วมมือไทย - 'อิสราเอล' เพื่อการจัดหางาน เผยปีงบประมาณ 2564 มีการจัดส่งไปแล้วก่อนหน้านี้จำนวน 5,440 คน

25 ส.ค. 2564 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจ แรงงานไทย จำนวน 142 คน ที่เดินทางไปทำงานใน ภาคเกษตร ภายใต้โครงการ “ความร่วมมือไทย - อิสราเอล เพื่อการจัดหางาน (Thailand-Israel Cooperation on the Placement of Workers :TIC) ณ สนามบินสุวรรณภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

โดยมี นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พล.ต.ต.นันทชาติ ศุภมงคล ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย

นายสุชาติ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และรองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงานให้ความสำคัญกับการส่งเสริม แรงงานไทยให้เดินทางไปทำงานต่างประเทศ เพื่อมีงานทำ นำรายได้เข้าประเทศ โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดนับว่าน่ายินดีที่นายจ้างอิสราเอลมีความต้องการจ้างแรงงานไทยเพิ่มจากโควตาเดิม โดยยังต้องการแรงงานไทยเข้าไปทำงานอีก 1,000 คน

"ในวันนี้ตั้งใจมาให้กำลังใจท่านก่อนที่จะเดินทางไปทำงานในรัฐอิสราเอล ขอให้พี่น้องแรงงานทุกท่านปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 อย่างเคร่งครัด ขอให้มีความขยัน อดทนตั้งใจทำงาน และปฏิบัติตนตามกฎหมายของอิสราเอล ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด สิ่งของมึนเมาและการพนัน หากรู้จักเก็บออม เรียนรู้ ภายหลังจากครบสัญญาก็สามารถนำเงินเก็บ และประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำงานทางเกษตร กลับมาพัฒนาประเทศและเป็นต้นทุนประกอบอาชีพของตนเอง"

ด้าน นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ในวันนี้มี แรงงานไทย ที่จะเดินทางไปทำงานภาคเกษตรในรัฐอิสราเอล จำนวน 142 คน โดยแรงงานเหล่านี้จะเดินทางด้วยเที่ยวบินของสายการบิน El Al Israel Airlines เที่ยวบินที่ LY 088 ออกเดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทยเวลา 23.55 น. และมีกำหนดถึงปลายทางกรุงเทลอาวีฟ เวลา 07.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น

ซึ่งคนงานเหล่านี้จะต้องกักตัว 14 วัน เมื่อครบกำหนดจะได้รับวัคซีนไฟเซอร์ตามมาตรการรัฐอิสราเอล ในแต่ละปีประเทศไทยได้รับโควตาในการจัดส่งปีละ 5,000 คน สำหรับปีงบประมาณนี้มีการจัดส่งไปแล้วจำนวน 5,440 คน ไม่นับรวมที่เดินทางวันนี้ 142 คน และวันที่ 30 สิงหาคมนี้อีก 200 คน ซึ่งถือว่าจัดส่งได้มากกว่าเป้าหมาย

การจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานที่ อิสราเอล เป็นไปตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลอิสราเอล ตามโครงการ “ความร่วมมือไทย – อิสราเอลเพื่อการจัดหางาน” (Thailand-Israel Cooperation on the Placement of Workers : TIC) มีระยะเวลาการจ้างงานครั้งแรก 2 ปี และสามารถทำงานได้ไม่เกิน 5 ปี 3 เดือน ขึ้นอยู่กับการต่ออายุใบอนุญาตการจ้างแรงงานต่างชาติของนายจ้างและวีซ่าการทำงานตามกฎหมายรัฐอิสราเอล

โดยแรงงานไทยจะได้รับเงินเดือนขั้นต่ำก่อนหักภาษีเดือนละ 5,300 เชคเกลอิสราเอล หรือประมาณ 54,590 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น)

ปัจจุบันรัฐบาลอิสราเอลมีนโยบายลดการนำเข้าแรงงานต่างชาติ เนื่องจากอัตราการว่างงานในประเทศสูง จึงอนุญาตเท่าที่จำเป็นเท่านั้น โดยกำหนดประเภทงานที่อนุญาตให้แรงงานต่างชาติสามารถทำได้ 4 ภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ ภาคเกษตรกรรม ภาคบริการร้านอาหาร/ภัตตาคาร ภาคการดูแลคนชรา/คนพิการ และภาคก่อสร้าง ซึ่งมีแรงงานไทยทำงานอยู่ในอิสราเอล ทั้งสิ้น 25,000 คน โดยนายจ้างอิสราเอลยังมีความต้องการจ้างแรงงานไทยเพิ่มจากโควตาปี 64 อีก 1,000 คน ส่วนหนึ่งเพราะแรงงานไทยมีฝีมือและมีความสื่อสัตย์จนเป็นที่ต้องการของนายจ้าง

“กระบวนการจัดส่งของกรมการจัดหางาน มีการคัดเลือกที่โปร่งใสตั้งแต่การรับสมัคร การสัมภาษณ์ การทำสัญญาจ้างงาน และการตรวจสอบข้อมูลจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนเดินทางแรงงานไทยทั้งหมดจะได้รับการอบรมเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายในประเทศและการปฏิบัติตัว วิธีเดินทางออกและกลับเข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมาย สัญญาจัดหางาน สัญญาจ้างงาน ช่องทางการติดต่อขอความช่วยเหลือหน่วยงานราชการไทยในต่างประเทศ และสิทธิประโยชน์กองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานต่างประเทศ

ทั้งนี้ ผู้สนใจเดินทางไปทำงานในรัฐอิสราเอลสามารถติดตามข่าวสารได้ที่เว็บไซต์ www.doe.go.th/overseas และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694” อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าว

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, 25/8/2564

สภาพัฒน์ เปิดตัวเลขไตรมาส 2/2564 ว่างงานพุ่ง 7.3 แสนคน

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงภาวะสังคมไทยไตรมาส 2/2564 มีอัตราการว่างงาน อยู่ที่ 1.89% ลดลงเล็กน้อยจาก 1.96% ในไตรมาสที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่างงาน 7.3 แสนคน ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี สิ่งที่จะต้องจับตาดูในช่วงนี้คือสิ่งที่ผู้ว่างงานโดยไม่เคยทำงานมาก่อน หรือผู้ที่จบการศึกษาใหม่ที่มีการว่างงานเพิ่มขึ้นกว่า 10% ซึ่งขณะนี้มีอยู่กว่า 2.9 แสนคน โดยแนวโน้มผู้ที่จบการศึกษาจากอุดมศึกษา และอาชีวะศึกษา มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจากวิกฤตโควิด โดยมีผู้ว่างงานนานกว่า 12 เดือน กว่า 20.1% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ซึ่งมีอยู่ 11.7%

สำหรับประเด็นที่ต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด คือเรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้นจากากรแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และมาตรการที่เราใช้อยู่ในขณะนี้ ซึ่งกระทบต่อเนื่องไปที่รายได้ของแรงงาน ฉะนั้น ช่วงถัดไปจะต้องมีการดูแลผู้ประกอบการให้สามารถรักษาการจ้างงานให้ได้ ซึ่งเป็นมาตรการที่จะออกมาในระยะถัดไป เพราะขณะนี้ข้อมูลยอดบัญชีคงค้างต่ำกว่า 5 หมื่นบาท ก็ลดลงต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่ามีการนำเงินเก็บออกมาใช้ และจะต้องมีการดูแลแรงงานที่มีการปรับตัว โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาใหม่ จะต้องมีมาตรการออกมาในการจ้างงานระยะสั้น เช่น การฝึกอบรม ทำให้สามารถหารายได้ในช่วงที่รอการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตามขณะที่มาตรการช่วยเหลือการจ้างงานด้วยการจ่ายเงินคนละครึ่งจะออกมาเมื่อไหร่นั้น ขณะนี้สภาพัฒน์กำลังทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยที่ผ่านมาก็มีโครงการของรัฐที่ออกไปช่วยการจ้างงานอยู่หลายโครงการ จะต้องมาพิจารณาอีกครั้งว่าหลายๆ โครงการที่มีการจ้างงานไปแล้วในสถานการณ์เหล่านี้จะต้องมีการต่ออายุโครงการเหล่านั้น เพื่อเร่งคงระดับการจ้างงานไว้ ขณะเดียวกันมาตรการอื่น ๆ ที่จะออกมาขอให้รอติดตาม ซึ่งกำลังจะเร่งเสนอมาตรการอยู่ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการรักษาระดับการจ้างงานได้เช่นกัน

ทั้งนี้ในส่วนการจ้างงานในไตรมาส 2/64 ปรับตัวดีขึ้น 2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยการจ้างงานภาคเกษตรกรรมปรับเพิ่มขึ้น 2.4% เนื่องจากแรงงานที่กลับภูมิลำเนาแล้วเข้าสู่ภาคการเกษตร ขณะที่แรงงานนอกภาคการเกษตร ปรับเพิ่มขึ้น 1.8% ส่วนสาขาการจ้างงานที่มีการปรับลดลง เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น ส่วนชั่วโมงการทำงานปรับดีขึ้นจากปีที่แล้ว เฉลี่ย 41.6% เพิ่มขึ้น 8.8% และจำนวนผู้ทำงานที่ทำงานล่วงเวลา มีกว่า 6 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 4.5 ล้านคน โดยชั่วโมงการทำงานที่ปรับเพิ่มขึ้นในส่วนของภาคการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก เช่น ผลิตภัณฑ์เคมี ชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น

อย่างไรก็ตามมองว่ามาตรการล็อกดาวน์ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบแน่นอนต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งการจะเป็นผู้ว่างงานหรือไม่นั้น ขณะนี้ภาคธุรกิจส่วนใหญ่ก็พยายามที่จะคงการจ้างงานเอาไว้เหมือนกัน แต่อาจจะมีการลดค่าจ้าง และอาจจะมีผู้ที่เป็นลักษณะเสมือนว่างงานเพิ่มขึ้น ในช่วงไตรมาส 3 ส่วนแนวโน้มการว่างงานในไตรมาส 3 นั้น จะต้องพิจารณาอีกครั้ง เพราะในช่วงวิกฤตที่ผ่านมามาตรการควบคุมการแพร่ระบาดพื้นที่ 29 จังหวัด และรัฐบาลก็ได้ออกมาตรการเข้าไปช่วยเหลือบรรเทาระยะสั้นก่อนแล้ว ฉะนั้น การจ้างงานจะต้องมาพิจารณาข้อมูลอีกครั้ง ยังไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่าแนวโน้มจะมีการว่างงานเพิ่มขึ้นหรือไม่

“เศรษฐกิจไทยยังมีความเปราะบาง แต่ยังมีบางสาขาที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ส่วนภาคท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว ฉะนั้น ในส่วนของผู้เสมือนการว่างงานจะยังต้องมีการเฝ้าระวังจากสถานการณ์ของสาขาเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่มีการฟื้นตัวไม่เท่ากัน โดยสาขาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวจะต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อดูผู้ที่เป็นลักษณะเสมือนว่างงานว่าเราคงต้องมีอะไรออกมาช่วยด้วย” นายดนุชา กล่าว

ที่มา: ไทยโพสต์, 25/8/2564

ช่างตัดผม-ความงาม เตรียมบุกสภาฯ ขอนายกฯ ยกเลิกคำสั่งปิดกิจการ

24 ส.ค. 2564 น.ส.สมเพชร ศรีชัยโย นายกสมาคมส่งเสริมพัฒนาอาชีพเสริมสวยและช่างตัดผมไทย เปิดเผยว่า ทางสมาคมฯ ได้รวมตัวกัน 15 สมาคมฯ เช่น สมาคมแฟชั่นผมไทย-ญี่ปุ่น สมาคมช่างผมมืออาชีพแห่งประเทศไทย เสริมสวยแห่งประเทศไทย ชมรมช่างเล็บไทย เป็นต้น เตรียมเดินทางไปรัฐสภา ในวันพรุ่งนี้ (25 ส.ค.) เพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เพื่อขอให้รัฐบาลยกเลิกคำสั่งปิดร้านทำผมและสถานความงาม และขอจัดสรรวัคซีนให้กับช่างในธุรกิจความงาม

ทั้งนี้ ธุรกิจร้านทำผมและสถานความงามได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 โดยกระทบต่อความเป็นอยู่ของแรงงานทั้งหมด เช่น ช่างเสริมสวย ช่างทำเล็บ ช่างสักคิ้ว ช่างแต่งหน้า ซึ่งมีแรงงานประมาณร้อยละ 90 ของบุคลากรในอาชีพทั้งหมด โดยเฉพาะในพื้นที่สีแดงเข้ม 29 จังหวัด ที่ถูกสั่งปิดมีแรงงานได้รับผลกระทบ 153,200 คน จากจำนวนร้าน 34,250 ร้าน ทำให้สูญรายได้เดือนละกว่า 1,900 ล้านบาท หรือคิดเป็นเฉลี่ยต่อปีกว่า 20,000 ล้านบาท

“กลายเป็นสาเหตุที่ทำให้มีร้านทำผมต้องแอบฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งทางสมาคมไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมดังกล่าว แต่เข้าใจดีว่าทุกคนมีความเดือดร้อน จึงอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือให้ทุกคนมีอาชีพหารายได้”

น.ส.สมเพชร กล่าวว่า แม้จะมีการระบาดของโรคโควิด-19 แต่ร้านทำผมและความงามสามารถประกอบอาชีพได้ เพราะมีมาตรการป้องกันอย่างเข้มข้น เช่น การสวมใส่ชุด PPE หน้ากากอนามัย และรับลูกค้าที่ได้รับวัคซีนแล้ว โดยวันพรุ่งนี้ เวลา 08.00 น. ทางกลุ่มช่างตัดผม และความงาม นัดรวมตัวกันใส่ชุด PPE เพื่อรับตัดผมฟรี ณ สวนหลวง ร.9 เพื่อแสดงพลังและสะท้อนภาพให้รัฐบาลได้เห็นว่าร้านทำผมสามารถประกอบอาชีพได้ แม้จะมีการระบาดของโรคโควิด-19

ที่มา: Thai PBS, 24/8/2564

เผยปี 2564 ได้มีการจ้างงานนักศึกษาจบใหม่ในภาคเอกชน 165,625 ราย

นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจและการจ้างงานไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยเองก็ได้รับกระทบต่อการจ้างงานในธุรกิจท่องเที่ยวและบริการเช่นกัน แต่ภาคการผลิตและการส่งออกโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ แผงวงจรอิเล็กโทรนิกส์ เครื่องมือแพทย์ และอาหารแช่แข็ง ยังมีความต้องการแรงงานเป็นจำนวนมาก เนื่องจากหลายประเทศไม่สามารถส่งออกสินค้าได้ รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ไม่ได้นิ่งนอนใจท่านให้ความสำคัญกับพี่น้องประชาชนทุกคนที่ต้องการมีงานทำ โดยเฉพาะนักศึกษาจบใหม่จากผลกระทบโควิด-19 จึงได้ให้นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน สั่งการให้กรมการจัดหางานจัดหาตำแหน่งงานว่างทั้งจากภาคเอกชนและภาครัฐรองรับ

ทั้งนี้โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาจบใหม่ ในปี 2563 มีนักศึกษาจบใหม่ จำนวน 575,230 คน ประกอบด้วย วุฒิ ปวช. จำนวน 140,755 คน วุฒิ ปวส. จำนวน 122,585 คน และวุฒิปริญญาตรี จำนวน 311,890 คน และประมาณการนักศึกษาจบใหม่ต้องการมีงานทำ จำนวน 434,475 ราย ซึ่งได้มีงานทำไปแล้ว จำนวน 316,636 คน ซึ่งอยู่ในภาคเอกชนระบบประกันสังคม จำนวน 230,661 คน แบ่งเป็นประเภทกิจการอื่นๆ การผลิต การขายส่งและการขายปลีก ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร และการก่อสร้างและจากการจ้างงานนักศึกษาจบใหม่ในภาครัฐ ตาม พรก. เงินกู้ของรัฐบาล จำนวน 85,975 คน จากกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงแรงงาน คงเหลือจำนวนนักศึกษาจบใหม่ที่ต้องการมีงานทำแต่ยังไม่มีงาน จำนวน 179,161 คน ส่วนใหญ่มีแนวโน้มสมัครเรียนต่อโดยเฉพาะกลุ่ม ปวช. และประกอบอาชีพอิสระ

โดยในปี 2564 ได้มีการจ้างงานนักศึกษาจบใหม่ในภาคเอกชน 165,625 ราย แบ่งเป็นการผลิต การขายส่งและการขายปลีก การก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ และสาขาอื่นๆส่วนใหญ่เป็นการจ้างงานในกรุงเทพมหานคร ชลบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี และการจ้างงานนักศึกษาจบใหม่ในภาครัฐ โดยใช้งบประมาณจาก พ.ร.ก.เงินกู้ของรัฐบาลอีกจำนวน 58,452 ราย จากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ซึ่ง ครม.มีมติเห็นชอบให้มีการจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจ 10,000 อัตรา เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 รวมวงเงินกว่า 2,200 ล้านบาท โดยจะเปิดรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่จบใหม่

ทั้งนี้นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ยังได้สั่งการให้ กรมการจัดหางาน เตรียมตำแหน่งงานว่างไว้รองรับผู้จบการศึกษาใหม่ (ในช่วงอายุ 18-25 ปี) จำนวน 230,288 อัตรา มีผู้จบการศึกษาใหม่มาใช้บริการสมัครงาน 160,486 คน ได้รับการบรรจุงาน 110,273 คน และยังมีผู้ที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศ (โครงการ IMM) 5,346 คน รวมบรรจุงานทั้งหมด 115,619 คน ทั้งนี้ยังพบว่าผู้จบการศึกษาใหม่ส่วนหนึ่งมีความสนใจที่จะทำงานอาชีพอิสระ (Freelance)

อย่างไรก็ดีกระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางานและรัฐบาลยังมีมาตรการต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้จบการศึกษาใหม่ ทั้งบริการจัดหางานที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ บริการผ่านระบบออนไลน์ได้ด้วยตนเองที่เว็บไซต์ไทยมีงานทำ www.doe.go.th นัดพบแรงงาน ส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระและแหล่งเงินทุน ส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้าน จัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในต่างประเทศ โครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่โดยภาครัฐและเอกชน รวมทั้งจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจทั่วประเทศตามมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐอีกด้วย

“จะเห็นได้ว่ารัฐบาลและกระทรวงแรงงานมีมาตรการช่วยเหลือให้นักศึกษาจบใหม่ได้มีงานทำเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยเหลือสถานประกอบการให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งกระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน กำลังเร่งจัดหาตำแหน่งงานว่างให้อีกเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการและผู้ที่กำลังหางานทำรองรับตลาดแรงงานในอนาคตต่อไป”

ที่มา: สยามรัฐ, 24/8/2564

สศช.เร่งรัฐยกเครื่องแรงงาน หวั่นไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุฉุดเศรษฐกิจระยะยาว

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เสนอให้รัฐบาลเร่งรัดการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต หลังพบว่าคะแนนความสามารถในการแข่งขันการพัฒนาทุนมนุษย์ด้านทักษะของไทยและอัตราการขยายตัวของผลิตภาพแรงงานในปี 2563 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมทั้งโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะชีวิตและการพัฒนาทักษะแรงงาน ตั้งแต่ปี 2560-64 เป็นลักษณะโครงการอบรม สัมมนา และพัฒนาทักษะ ยังไม่ได้มุ่งเน้นการเชื่อมโยงทักษะในการทำงานจริงกับการจัดการเรียนการสอนหากไม่เร่งทำอาจทำให้การพัฒนาคนหลุดจากเป้าหมายได้

สำหรับการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิตนั้น มีเป้าหมายให้คนไทยทุกช่วงวัยมีคุณภาพเพิ่มขึ้น และได้รับการพัฒนาอย่างสมดุล ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา และคุณธรรม จริยธรรม เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะ เช่นเดียวกับรักการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

โดยเน้นการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน และประเทศให้เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพคนไทยตลอดช่วงชีวิต ตั้งแต่ช่วงการตั้งครรภ์ ปฐมวัย วัยรุ่น วัยเรียน วัยแรงงาน และวัยผู้สูงอายุ เพื่อให้คนไทยเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพ มีทักษะความรู้เป็นคนดีมีวินัย เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีความรอบรู้ทางการเงิน มีความสามารถในการวางแผนชีวิตและการวางแผนทางการเงินที่เหมาะสม

ทั้งนี้การบรรลุเป้าหมายในปัจจุบัน มีความเสี่ยงเพราะโครงสร้างประชากรไทยกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสูงวัย โดยได้เปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์ในช่วงปี 2564 ทำให้ประชากรวัยแรงงานเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว

ขณะที่อัตราการเจริญพันธุ์รวมของประชากรไทย ยังต่ำกว่าระดับ อีกทั้งกลุ่มวัยต่าง ๆ ยังคงมีปัญหาและความท้าทายในแต่ละกลุ่ม ทั้ง โภชนาการในกลุ่มเด็กปฐมวัย ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มวัยรุ่น ผลิตภาพแรงงานต่ำในกลุ่มวัยแรงงาน และปัญหาสุขภาพของกลุ่มผู้สูงอายุ

อย่างไรก็ตาม สศช. มีข้อเสนอว่าภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งรัดการดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น เช่น การพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 การเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ถ่ายทอดความรู้ การยกระดับการอบรมและพัฒนาทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

ที่มา: TNN, 23/8/2564

เตือนผู้ประกอบการ-นายจ้าง เร่งนำแรงงานข้ามชาติเข้าระบบ ตามระเบียบ มท.-สธ.

เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2564 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงแรงงาน 4 ฉบับ พร้อมกับประกาศกระทรวงมหาดไทย 4 ฉบับ ที่มีผลบังคับใช้ทันที โดยประกาศดังกล่าวระบุถึงแนวทางการดำเนินการของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ คือ กลุ่มมติ ครม.วันที่ 20 ส.ค. 2562 กลุ่มมติ ครม.วันที่ 4 ส.ค. 2563 กลุ่มมติ ครม.วันที่ 10 พ.ย. 2563 และกลุ่มที่ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมาย เพื่อให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดให้แล้วเสร็จ รวมทั้งขยายระยะเวลาการหานายจ้างรายใหม่ของแรงงานต่างด้าวจาก 30 วัน เป็น 60 วัน

“พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี สั่งการให้กระทรวงแรงงานบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว โดยคำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจ สังคมโดยรวมของประเทศ และความสำคัญของกำลังแรงงานอันเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการฟื้นฟูประเทศ ทั้งภาวการณ์ปัจจุบันและภายหลังหากสถานการณ์โควิดคลี่คลาย

โดยนายจ้าง/สถานประกอบการและแรงงานต่างด้าวเอง จำต้องรู้บทบาท หน้าที่ และขั้นตอนปฏิบัติที่ต้องดำเนินการเพื่อให้คนต่างด้าวได้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตลอดจนได้รับการคุ้มครองตามสิทธิต่างๆ ที่พึงมี ซึ่งประกอบด้วย การยื่นขอใบอนุญาตทำงาน การตรวจและทำประกันสุขภาพ และการขออยู่ในราชอาณาจักร โดยแรงงานต่างด้าวตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2564 ทั้งหมดจะต้องขอใบอนุญาตทำงานก่อนใบอนุญาตทำงานเดิมหมดอายุ และขออยู่ในราชอาณาจักร ตรวจและทำประกันสุขภาพ” นายสุชาติ กล่าว

ทั้งนี้ขอให้นายจ้าง/สถานประกอบการ บริหารจัดการเวลาในการดำเนินการในขั้นตอนต่างๆให้ดี และติดตามข่าวสารจากรมการจัดหางานอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งนอกจากทำให้ใช้แรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมายไม่ต้องหลบซ่อนแล้ว ยังทำให้แรงงานต่างด้าวในความดูแลได้รับการดูแลตามกฎหมาย และการรักษาพยาบาลตามสิทธิที่พึงมี สำหรับขั้นตอนการดำเนินการ ระยะเวลา และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน

1.กลุ่มคนต่างด้าวตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2562

ขออนุญาตทำงานก่อนใบอนุญาตทำงานเดิมหมดอายุ ภายใน 30 ก.ย. 2564 หรือ 31 มี.ค. 2565 แล้วแต่กรณีของระยะเวลาการอนุญาตทำงานเดิม และขอตรวจอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักร รวมทั้งขอหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางฉบับใหม่กรณีเอกสารเดิมหมดอายุ ภายใน 1 ส.ค. 2565 เพื่อได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานในประเทศไทย ไม่เกินวันที่ 13 ก.พ. 2566

– กรณีใบอนุญาตทำงานหมดอายุ วันที่ 30 ก.ย. 2564 ชำระค่าธรรมเนียมยื่นคำขอ 100 บาท ใบอนุญาตทำงาน 1,350 บาท รวม 1,450 บาท

– กรณีใบอนุญาตทำงานหมดอายุ วันที่ 31 มี.ค. 2565 ชำระค่าธรรมเนียมยื่นคำขอ 100 บาท ใบอนุญาตทำงาน 900 บาท รวม 1,000 บาท

2.กลุ่มคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2563

– คนต่างด้าวที่ถือบัตรชมพู ที่ใบอนุญาตทำงานด้านหลังบัตรหมดอายุวันที่ 31 มี.ค. 2565 หากประสงค์ทำงานต่อไปต้องยื่นคำขออนุญาตทำงานก่อนใบอนุญาตทำงานสิ้นอายุ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมยื่นคำขอ 100 บาท ใบอนุญาตทำงาน 900 บาท รวม 1,000 บาท และขอตรวจอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักร ภายใน 1 ส.ค. 2565

– คนต่างด้าวที่ถือใบรับคำขอ (บต.23) ต้องตรวจและทำประกันสุขภาพ จัดทำหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยให้แล้วเสร็จจนได้บัตรชมพู ภายในวันที่ 31 มี.ค. 2565 หากประสงค์จะทำงานต่อไปให้ดำเนินการเช่นเดียวกับคนต่างด้าวที่ถือบัตรชมพู ที่ใบอนุญาตทำงานด้านหลังบัตรหมดอายุวันที่ 31 มี.ค. 2565 รวมทั้งขอหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางฉบับใหม่กรณีเอกสารเดิมหมดอายุ ภายใน 1 ส.ค. 2565 เพื่อได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานในประเทศไทย ไม่เกินวันที่ 13 ก.พ. 2566

3. กลุ่มคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2563

ขออนุญาตทำงานก่อนใบอนุญาตทำงานเดิมหมดอายุหรือภายในระยะเวลาที่กำหนดพร้อมชำระค่าธรรมเนียมยื่นคำขอ 100 บาท ใบอนุญาตทำงาน 1,800 บาท รวม 1,900 บาท ตรวจและทำประกันสุขภาพ ขอตรวจอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักร รวมทั้งขอหนังสือเดินทางใหม่กรณีเอกสารเดิมหมดอายุ ภายใน 1 ส.ค. 2565 เพื่อได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี นับจากการอนุญาตทำงานเดิมสิ้นสุด

4. กลุ่มคนต่างด้าวเข้ามาตาม MoU ที่วาระการจ้างงานครบ 2 ปี ให้ดำเนินการตามขั้นตอนปกติ โดยครม.มีมติ ขยายเวลาดำเนินการเพิ่ม 6 เดือน นับแต่ประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้องมีผลบังคับใช้ เพื่อได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี นับจากการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุด

5. กลุ่มคนต่างด้าว 3 สัญชาติที่เข้ามาทำงานตาม MoU คนต่างด้าวตามมติครม.เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2562 และคนต่างด้าวตามมติครม.เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2563 ซึ่งใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมาย อาทิ ไม่สามารถหานายจ้างรายใหม่ทันภายใน 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2564 จนถึงวันที่ 3 ส.ค. 2564

โดยนายจ้างต้องยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวและชำระค่าธรรมเนียม ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป – 1 ธ.ค. 2564 ตรวจและทำประกันสุขภาพ ขอตรวจอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักร รวมทั้งขอหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางฉบับใหม่กรณีเอกสารเดิมหมดอายุ ภายใน 1 ส.ค. 2565 เพื่อได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานในประเทศไทย ไม่เกินวันที่ 13 ก.พ. 2566 นอกจากนี้คนต่างด้าวที่เปลี่ยนนายจ้างเมื่อเลิกทำงานกับนายจ้างรายเดิมแล้ว ต้องทำงานกับนายจ้างใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่เลิกทำงานกับนายจ้างรายเดิม ทั้งนี้การอนุญาตทำงานเท่าสิทธิเดิมคือ วันที่ 13 ก.พ. 2566

กรณีที่หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางของคนต่างด้าวสิ้นอายุ ให้คนต่างด้าวดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารดังกล่าวภายในวันที่ 1 ส.ค. 2565 ในส่วนของการออกเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity : CI) ทางการเมียนมาจะออกเอกสารรับรองบุคคล (CI) ให้ โดยตั้งศูนย์บริการ จำนวน 5 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดระนอง จังหวัดชลบุรี และจังหวัดเชียงใหม่ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติลาว และกัมพูชา

สามารถขอเอกสารดังกล่าวได้ที่สถานเอกอัครราชทูตตามสัญชาติของตนที่ประจำอยู่ในประเทศไทย ซึ่งจะเริ่มดำเนินการโดยเร็วเมื่อสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย หรือสามารถดำเนินการได้ ในส่วนแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในกิจการที่อยู่ในระบบประกันสังคม ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน ระหว่างเข้าสู่ระบบประกันสังคมและยังไม่เกิดสิทธิ ต้องซื้อประกันสุขภาพตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด หรือซื้อประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัย เป็นระยะเวลา 4 เดือน ซึ่งรวมการประกันโรคโควิด-19 โดยอัตราเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทประกันภัย กรณีแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในกิจการที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมต้องซื้อประกันสุขภาพตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด หากเคยซื้อประกันสุขภาพแล้วไม่ต้องซื้ออีกโดยให้ใช้สำเนาบัตรประกันสุขภาพเดิม

สำหรับนายจ้าง/สถานประกอบการ และคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 หรือที่ไลน์ @Service_Workpermit และสายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร.1694 ซึ่งมีการจัดล่ามในภาษากัมพูชา เมียนมา และอังกฤษ ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และแนะนำ

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, 23/8/2564

สหภาพข้าราชการและคนทำงานภาครัฐเตรียมร้องนายกฯ ทบทวนมติ ครม.ตั้ง 'บุญชอบ' เป็นปลัดแรงงาน

มีรายงานว่า นายสุพจน์ พงษ์สุพัฒน์ ประธานสหภาพข้าราชการและคนทำงานภาครัฐ ได้เตรียมยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแะรมว.กลาโหม วันที่ 23 ส.ค. เพื่อขอให้พิจารณาทบทวนมติ ครม.กรณีแต่งตั้งนายบุญชอบ สุทธมนัสวงศ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นปลัดแรงงานแทนนายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงานที่จะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 ก.ย.นี้ เพื่อให้โอกาสแต่งตั้งข้าราชการกระทรวงแรงงานเป็นปลัดกระทรวงแรงงาน

นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่าโดยหลักการงานแต่ละงานต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ คนที่เติบโตในกระทรวงแรงงานก็เช่นกัน มิใช่งานลองผิดลองถูกและควรให้ความสำคัญ นอกจากนี้เรื่องขวัญกำลังใจก็สำคัญเพราะตำแหน่งสูงสุดคือปลัดกระทรวงฯ คนที่มีคุณสมบัติที่จะขึ้นสู่ตำแหน่งในกระทรวงแรงงานก็ท้อแท้ เมื่อเอาคนนอกเข้ามา และข้าราชการอื่น ๆ ในระดับล่าง ๆ ลงไปก็ไม่ได้ขึ้นสู่ตำแหน่งเป็นลูกโซ่ ภารกิจสำคัญของกระทรวงนี้เป็นงานละเอียดอ่อนต้องรู้ใจคน ต้องแก้ปัญหาคนเยอะเพราะมีผู้ใช้แรงงาน 30-40 ล้านคน จึงควรเลือกคนที่มีความรู้ความชำนาญในกระทรวงแรงงาน

“ผมไม่ได้เห็นด้วยมาตั้งแต่ต้นที่ย้ายคนนอกมานั่งตำแหน่งนี้ การยืนยันว่าทำงานกับรัฐมนตรีได้เป็นเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าข้าราชการในกระทรวงแรงงานปล่อยเกียร์ว่างจะทำอย่างไร ยิ่งตอนนี้มีสถานการณ์โควิดอยู่ด้วย ไม่ใช่ใช้ใครก็ได้มาทำงาน”

ที่มา: ไทยโพสต์, 22/8/2564

ก.แรงงาน ออกระเบียบกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างฉบับใหม่ อำนวยความสะดวกให้ลูกจ้างใช้สิทธิรับเงินสงเคราะห์ได้รวดเร็วขึ้น

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย รวมทั้งส่งผลกระทบต่อลูกจ้างที่ได้รับ ความเดือดร้อนจากการเลิกจ้าง และอาจไม่ได้รับการชดเชยตามกฎหมาย กรณีที่ลูกจ้างได้ยื่นเรื่องขอใช้สิทธิรับเงินช่วยเหลือจากเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ซึ่งติดระเบียบที่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่ใช้ระยะเวลานาน ดังนั้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว กระทรวงแรงงานจึงได้ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการพิจารณาคำขอรับเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ซึ่งเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564 ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศระเบียบดังกล่าวแล้ว โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ส.ค. 2564 เป็นต้นไป การแก้ไขระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างครั้งนี้ ประเด็นสำคัญคือให้ลูกจ้างได้รับการบรรเทาความเดือดร้อนได้อย่างรวดเร็ว สามารถเข้าถึงสิทธิการขอรับเงินสงเคราะห์อย่างทั่วถึง

นางโสภา เกียรตินิรชา โฆษกกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างฉบับใหม่นี้ มีประเด็นสำคัญ ได้แก่ กรณีนายจ้างนำคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานไปยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานจะต้องรอคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุดลูกจ้างจึงมีสิทธิขอรับเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ซึ่งได้แก้ไขระเบียบดังกล่าวเป็นลูกจ้างสามารถยื่นขอรับเงินสงเคราะห์ โดยไม่ต้องรอคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด หรือนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป โดยพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยดังกล่าว แม้คำสั่งนั้นไม่เป็นที่สุด และขยายระยะเวลาการยื่นขอรับเงินสงเคราะห์ เดิมลูกจ้างต้องยื่นขอรับเงินสงเคราะห์ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด แก้ไขระเบียบเป็น ลูกจ้างสามารถยื่นขอรับเงินสงเคราะห์ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด นอกจากนี้การรักษาสิทธิในการยื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์ เดิมลูกจ้างจะต้องมารับเงินสงเคราะห์ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ทราบผลการพิจารณาจ่ายเงินสงเคราะห์ หากไม่มารับเงินภายใน 60 วัน สิทธิการรับเงินสงเคราะห์นั้นเป็นอันระงับ แก้ไขระเบียบดังกล่าวเป็นกรณีลูกจ้างไม่สามารถมารับเงินภายใน 60 วัน ลูกจ้างสามารถยื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์ใหม่ได้ภายใน 1 ปี

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการขอรับเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองจังหวัดทุกจังหวัด หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครทุกพื้นที่ หรือโทรศัพท์สายด่วน 1546 หรือ 1506 กด 3

ที่มา: ThaiPR.net, 20/8/2564

กรมการจัดหางานเผยแรงงานต่างด้าวมีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายมีสิทธิฉีดวัคซีนโควิด

นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางานเปิดเผยว่ารัฐบาลโดยการนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยภายในปี 2564 มีเป้าหมายฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชากร จำนวน 50 ล้านคน หรือคิดเป็น 70 เปอร์เซนต์ ของจำนวนประชากร อย่างไรก็ตามในส่วนแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในประเทศไทยและมีใบอนุญาตทำงานถูกต้องตามกฎหมายสามารถฉีดวัคซีนได้ทุกคน โดยมีกระทรวงสาธารณสุขทำหน้าที่ในการจัดสรรจำนวน และมีแนวทางการดำเนินการดังนี้

1.แรงงานต่างด้าวที่อยู่ในระบบประกันสังคม (มาตรา 33 )แรงงานต่างด้าวแจ้งความประสงค์เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 กับนายจ้าง สถานประกอบการ เพื่อนายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อและจำนวนลูกจ้างทั้งคนไทยและคนต่างด้าวไปยังกระทรวงสาธารณสุขเพื่อพิจารณาจัดสรรจำนวนวัคซีน หลังจากนั้นสำนักงานประกันสังคมจะทำการแจ้งนัดวันและสถานที่ฉีดให้นายจ้างทราบ และจัดให้ลูกจ้างมาฉีดตามกำหนดนัดหมาย

และ2.แรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม แรงงานต่างด้าวที่ประสงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 สามารถดำเนินการจองฉีดวัคซีนได้ที่สถานพยาบาลที่เปิดจองวัคซีนทางเลือก ซึ่งมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานรับผิดชอบจัดสรรวัคซีน เบื้องต้นอยู่ระหว่างการกำหนดเลขประจำตัวสำหรับบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย เพื่อรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ติดต่อสายด่วน 1506 กด 7 เจ้าหน้าที่พร้อมให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00 น.- 17.00 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์, 19/8/2564

รมว.แรงงาน สั่ง กสร.ออกประกาศกระทรวงขอความร่วมมือนายจ้างให้หญิงตั้งครรภ์ทำงานที่บ้าน ลดเสี่ยงโควิด

19 ส.ค. 2564 สมาชิกเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน (Labour Network for People Rights) และตัวแทนครอบครัวแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งเป็นเครือข่ายที่รวมตัวกันของแรงงานจากหลายจังหวัดหลายภาคธุรกิจทั้งจากพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ และพื้นที่จังหวัดปทุมธานี นำโดย นางสาวศรีไพร นนทรี ผู้แทนกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง นางสาวธนพร วิจันทร์ ผู้ประสานงานเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน คุณจเด็ด เชาวิไล มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และผู้แทนเครือข่ายฯจากพื้นที่สมุทรปราการ สระบุรี รังสิต และปทุมธานี จำนวน 10 คน ขอเข้าพบ นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ในฐานะกำกับดูแลงานด้านนโยบายคุณภาพชีวิตแรงงาน เพื่อยื่นหนังสือข้อเรียกร้องต่อดังนี้ 1) สนับสนุนให้บริษัทมีการตรวจคัดกรองเชิงรุกให้กับคนงาน เพื่อคัดกรองคนงานที่ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง

2) มีมาตรการให้บริษัทจัดหาสถานที่สำหรับคนงานที่ต้องแยกกักตัว รักษา (Community Isolation) ทั้งในส่วนพื้นที่ของบริษัทหรือการประสานชุมชนในการจัดหาสถานที่ 3) มีมาตรการในการดูแลกลุ่มเปราะบาง เช่น กลุ่มคนงานหญิงตั้งครรภ์ โดยจัดสถานที่ทำงานใหม่ให้เหมาะสมกับหญิงตั้งครรภ์ให้มีความปลอดภัย 4) ต้องเร่งจัดหาวัคซีนเพื่อคนงานอย่างเร่งด่วน และ 5) มีมาตรการชัดเชนในการเยียวยาตามสิทธิของลูกจ้างที่มีอยู่ และสิทธิในการเยียวยาเพิ่มเติมตามมาตรการของภาครัฐ ทั้งกลุ่มเปราะบาง กลุ่มคนงานหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มครอบครัวคนงานที่เสียชีวิตจากโควิด-19

นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงานกล่าวว่า ข้อเรียกร้องดังกล่าวนั้น ปัจจุบันกระทรวงแรงงานได้ดำเนินการอยู่แล้ว ทั้งการตรวจคัดกรองโควิดเชิงรุก ในสถานประกอบการ การส่งเสริมให้สถานประกอบการดำเนินการตามโครงการ Factory Sandbox การฉีดวัคซีนโควิดแก่ผู้ประกันตน และการเยียวยาแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ส่วนมาตรการดูแลกลุ่มเปราะบาง เช่น กลุ่มคนงานหญิงตั้งครรภ์ โดยจัดสถานที่ทำงานใหม่ให้เหมาะสมกับหญิงตั้งครรภ์ให้มีความปลอดภัยนั้น ผมได้ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเร่งออกร่างประกาศกระทรวงโดยเร็วที่สุด และเร่งประชาสัมพันธ์ออกไป เพื่อขอความร่วมมือไปยังสถานประกอบการให้สตรีที่มีผลตรวจว่าตั้งครรภ์ ควรกำหนดให้มีการทำงานที่บ้าน (Work from Home) โดยให้จ่ายค่าแรงเต็มจำนวน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19

น.ส.ศรีไพร นนทรี ผู้แทนกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง กล่าวว่า ขอบคุณท่าน รมว.แรงงาน ที่ท่านได้รับเรื่อง รับลูก และแจ้งให้เราทราบในทันทีว่าจะออกประกาศกระทรวง เพื่อแยกคนท้องออกจากพื้นที่เสี่ยงโควิด ให้สามารถทำงานที่บ้านได้ และได้รับค่าจ้างเต็มจำนวน ซึ่งทางเราที่มาในวันนี้รู้สึกหายห่วงที่อย่างน้อยสิ่งที่ได้มาเข้าพบท่าน ได้รับการดูแลและดำเนินการโดยทันที เพื่อให้เครือข่ายแรงงานได้มีความปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่จากมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลดูแล

ที่มา: สยามรัฐ, 19/8/2564

กลุ่มผู้ใช้แรงงานแต่งชุดคลุมท้องเรียกร้อง ก.แรงงาน หาทางออกคนงานติดเชื้อโควิค-19 หวั่นคลัสเตอร์โรงงานบานปลาย

19 ส.ค. 2564 ที่บริเวณด้านหน้ากระทรวงแรงงาน นายสุทัศน์ เอี่ยมแสง ตัวแทนกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง นางสาวอัณธิกา โคตะมะ รองเลขาธิการกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง พร้อมด้วย เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิค-19พื้นที่สมุทรปราการ สระบุรี รังสิต และปทุมธานี กว่า 20 คน เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกถึง นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทวงแรงงาน เพื่อหาทางออกวิกฤตโควิด-19

ทั้งนี้กลุ่มผู้ใช้แรงงานได้แต่งตัวด้วยชุดคลุมท้องและชูป้ายข้อเรียกร้องด้วย จากนั้นเวลา 11.30 น. ผู้แทนกระทรวง ได้เชิญกลุ่มเครือข่ายฯ เข้าประชุมเพื่อหารือร่วมกับ นายสุชาติ รมว.แรงงาน ที่ชั้น 6 ของกระทรวงแรงงาน

ต่อมา นายสุชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังหารือร่วมกับกลุ่มเครือข่ายแรงงานว่ามาตรการดูแลกลุ่มคนงานหญิงตั้งครรภ์นั้น ควรมีสถานที่ทำงานที่เหมาะสม มีความปลอดภัย พร้อมให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเร่งออกร่างประกาศกระทรวงโดยเร็วที่สุด และเร่งประชาสัมพันธ์ เพื่อขอความร่วมมือไปยังสถานประกอบการให้สตรีที่มีผลตรวจว่าตั้งครรภ์ ควรกำหนดให้มีการทำงานที่บ้าน โดยให้จ่ายค่าแรงเต็มจำนวน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19

ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้ดำเนิน ทั้งการตรวจคัดกรองโควิดเชิงรุก ในสถานประกอบการ การส่งเสริมให้สถานประกอบการดำเนินการตามโครงการ Factory Sandbox การฉีดวัคซีนโควิดแก่ ผู้ประกันตน และการเยียวยาแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

ที่มา: โพสต์ทูเดย์, 19/8/2564

‘ลาว’ เรียกร้อง 'ไทย' ดูแลแรงงาน ชี้กลุ่มเดินทางกลับ ติดโควิด 30%

หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทมส์รายงานว่า นายชัยสมพร พรหมวิหาร ประธานสมัชชาแห่งชาติลาว ได้หารือกับนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผ่านทางออนไลน์ในวานนี้ (17 ส.ค.) โดยขอให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือแรงงานลาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการอำนวยความสะดวก เพื่อเดินทางกลับประเทศ

สถิติล่าสุดรายงานว่า มีแรงงานลาว มากกว่า 246,000 คนที่เดินทางกลับจากประเทศไทย ตั้งแต่เกิดโรคระบาด โดยมีแรงงานราว 150,000 คนกลับเข้ามายังลาวในปี 2563

การระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 ในประเทศไทยในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาส่งผลให้มีผู้ตกงานจำนวนมาก และบีบบังคับให้แรงงานลาวหลายร้อยคนต้องเดินทางกลับประเทศ

ในจำนวนผู้ที่เดินทางกลับประเทศมี 30% ที่ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งทำให้การควบคุมโรคระบาดในลาวยากขึ้นกว่าเดิม

นอกจากนี้ นายชัยสมพร ยังได้กล่าวขอบคุณประเทศไทยที่ช่วยแรงงานชาวลาว รวมทั้งยังช่วยจัดหาอุปกรณ์การแพทย์เพื่อช่วยลาวเอาชนะโรคระบาดไวรัส

ประธานทั้งสองกล่าวว่า พวกเขาให้ความสำคัญกับการพัฒนาความสัมพันธ์ระดับทวิภาคี และความร่วมมือระหว่าง 2 ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ, การค้า, การลงทุน, การท่องเที่ยว, การศึกษา และสุขภาพ

นอกจากนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงจะผลักดันให้มีการดำเนินการตามข้อตกลงที่ลงนามร่วมกันในปีที่ผ่านมา เพื่อผลประโยชน์สูงสุดร่วมกัน

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, 18/8/2564

ก.อุตสาหกรรม ขอโรงงานเข้มมาตรการป้องกันโควิด ด้วย “Bubble and Seal” และเข้าประเมินตนเองออนไลน์ TSC ชี้ลดการระบาดโควิดได้ 4.5 เท่า

นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เร่งขับเคลื่อนมาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในโรงงานที่ยังคงพบผู้ติดเชื้อโควิดต่อเนื่อง เพื่อให้การผลิตของภาคอุตสาหกรรมเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งจะเป็นส่วนที่สำคัญยิ่งต่อการพยุงเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ จากการส่งออก การบริโภค การจ้างงาน และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องภายในประเทศ โดยจะมีการดำเนินการดังนี้

1. ปรับมาตรการ Bubble and Seal และ Factory Isolation ภายในสถานประกอบการ ให้เหมาะสมกับโรงงานทุกขนาด พร้อมกับการสื่อสารให้แรงงานและชุมชนเข้าใจถึงเหตุผลที่ไม่หยุดประกอบกิจการ

2. สร้างความรู้ความเข้าใจและให้คำแนะนำการทำ Bubble and Seal ในรูปแบบ Coaching เพื่อให้โรงงานทุกขนาดสามารถดำเนินมาตรการได้พร้อมกันทั่วประเทศ

3. ปรับเกณฑ์ Good Factory Practice : GFP เพื่อปิดช่องว่างที่เป็นสาเหตุของการแพร่ระบาด โดยเสนอเพิ่มมาตรการตรวจคัดกรองเชิงรุกด้วยชุด Antigen Test Kit (ATK) และเข้มงวดการตรวจกำกับหอพัก การจัดรถรับส่งแรงงาน รวมทั้งการเว้นระยะห่างของผู้ปฏิบัติงาน

4. เร่งขอความร่วมมือโรงงาน โดยเฉพาะขนาดกลางและขนาดเล็ก เข้าประเมินตนเอง Online ในแพลตฟอร์ม Thai Stop Covid (TSC) และการสุ่มตรวจประเมินโรงงาน (Onsite) เพื่อแนะนำการใช้มาตรการต่างๆ ในเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ จากฐานข้อมูลที่ได้รับจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า โรงงานที่เข้าประเมิน TSC แล้ว มีแนวโน้มการติดเชื้อโควิดน้อยกว่าโรงงานที่ไม่ได้เข้าประเมินถึง 4.5 เท่า ดังนั้น จึงขอเชิญชวนโรงงานทุกขนาดเข้าประเมินตนเองผ่านแพลตฟอร์ม TSC ควบคู่ไปกับการทำ Bubble and Seal เพื่อป้องกันและลดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในโรงงาน

นายเดชา จาตุธนานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะหัวหน้าศูนย์บริหารสถานการณ์วิกฤตกระทรวงอุตสาหกรรม หรือศูนย์ CMC : Crisis Management Center กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจากการเก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 17 สิงหาคม 2564 พบการระบาดในโรงงาน 749 แห่ง มีผู้ติดเชื้อ 53,135 คน ใน 62 จังหวัด โดย 5 อันดับจังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อสะสมมากที่สุด คือ เพชรบุรี 4,597 คน ฉะเชิงเทรา 3,648 คน สระบุรี 3,647 คน สมุทรสาคร 3,571 คน และเพชรบูรณ์ 3,487 คน ส่วนอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ อุตสาหกรรมอาหาร 136 โรงงาน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 103 โรงงาน อุตสาหกรรมโลหะ 65 โรงงาน อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม 64 โรงงาน และอุตสาหกรรมพลาสติก 57 โรงงาน

“ปัจจุบันพบมีผู้ติดเชื้อใหม่ในโรงงานเพิ่มวันละประมาณ 13 แห่ง เฉลี่ยวันละกว่า 800 คน หรือประมาณ 4% ของจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันของประเทศ โดยแนวโน้มการระบาดในช่วงนี้จะไม่พบผู้ติดเชื้อเป็นคลัสเตอร์ขนาดใหญ่ แต่จะกระจายตัวไปในหลายโรงงาน หลายจังหวัด และพบผู้ติดเชื้อเป็นหลักสิบ ขณะที่ผู้ติดเชื้อในช่วงเมษายน-17 สิงหาคม 2564 มีจำนวนผู้หายป่วยและกลับมาทำงานได้แล้วจำนวนมาก” นายเดชา กล่าว

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีโรงงานเข้าประเมินออนไลน์ใน TSC แล้ว 20,032 แห่ง คิดเป็น 31% จากโรงงานทุกขนาด 64,038 แห่ง โดยรวมพบโรงงานผ่านเกณฑ์ จำนวน 13,235 แห่ง หรือคิดเป็น 66% และไม่ผ่านเกณฑ์ 6,797 แห่ง หรือคิดเป็น 34%

ที่มา: สำนักข่าวไทย, 18/8/2564

เปิด "คู่มือต่อต้านค้ามนุษย์บนโลกไซเบอร์" มหิดลพัฒนาต่อยอดเป็น 3 ภาษาครั้งแรก

ปัญหาการค้ามนุษย์บนโลกไซเบอร์ หรือ โลกออนไลน์ นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จากการใช้โลกออนไลน์เป็นเครื่องมือประกอบอาชญากรรมดังกล่าว อาจารย์ ดร.วัชรฤทัย บุญธินันท์ ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (IHRP) มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในฐานะ "ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำงานพัฒนาส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติในส่วนของกลุ่มเปราะบางที่เป็นเด็ก ซึ่งพบว่ามักตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ ที่มีสาเหตุหลักมาจากปัญหาความยากจนและการขาดโอกาส โดยได้มีการสร้างนวัตกรรม "คู่มือต่อต้านการค้ามนุษย์" จากการลงพื้นที่จริง เพื่อศึกษาปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น จนได้แนวทางอันเป็นประโยชน์ซึ่งจะช่วยให้เกิดความรู้เท่าทัน จนไม่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ โดยพัฒนาเป็น "คู่มือต่อต้านการค้ามนุษย์บนโลกไซเบอร์" ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยหวังให้เกิดความรู้เท่าทัน และขยายผลสู่การแก้ไขในระดับนโยบายของประเทศต่อไป

ผศ.ดร.นภารัตน์ กรรณรัตนสูตร ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิทธิมนุษยชน(นานาชาติ) โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (IHRP) มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในฐานะหัวหน้าทีมผู้วิจัยและพัฒนา "คู่มือต่อต้านการค้ามนุษย์บนโลกไซเบอร์" ซึ่งเกิดจากการได้ลงพื้นที่ศึกษาปัญหาแรงงานเด็กข้ามชาติที่จังหวัดสมุทรสาคร แล้วพบว่า เด็กกลุ่มเปราะบางที่เป็นแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ต้องหยุดเรียนกลางคันตั้งแต่ยังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา เนื่องจากพ่อแม่ของเด็กเหล่านี้ต้องการเกษียณตัวเอง แล้วให้ลูกออกมาหางานทำเพื่อช่วยเหลือครอบครัว เหมือนตัวเองที่ต้องเริ่มทำงานตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งทำให้เด็กๆ ส่วนใหญ่ใช้เวลาบนโลกออนไลน์ และมีโอกาสตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์เนื่องจากขาดความตระหนักรู้ถึงกลยุทธ์ในการหลอกลวงของผู้ค้ามนุษย์ จากที่มาของการไม่ตระหนักรู้ถึงการค้ามนุษย์บนโลกออนไลน์นี้ จึงนำมาสู่การสร้างคู่มือพร้อมสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ เช่น สื่อนิทานที่เป็นการ์ตูน ซึ่งแปลออกเป็น 3 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาพม่า รวมถึงเพลงประกอบชื่อ Cyber Zone

"ปัจจุบันการค้ามนุษย์ได้ขยายสู่โลกออนไลน์ จึงขอแนะนำให้ผู้ที่กำลังหางานทำ ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือ คนข้ามชาติ ศึกษาหาข้อมูลรายละเอียดสถานการณ์การจ้างงานหรือ การปฏิบัติของนายจ้างต่อแรงงานจากแหล่งที่น่าเชื่อถือไว้ใจได้ เช่น เว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชนหรือภาคประชาสังคมที่ทำงานกับกลุ่มแรงงานโดยตรง หรือติดต่อกับกลุ่มแรงงานที่ทำงานในพื้นที่ผ่านทาง Facebook เป็นต้น นอกจากนี้ อย่าหลงเชื่อการโฆษณาชวนเชื่อทางโลกออนไลน์ที่ว่า เงินดี งานสบาย และไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นเพราะผู้ที่มีส่วนร่วมในการค้ามนุษย์ เช่น นายหน้า หรือ ผู้ค้ามนุษย์ ไม่ได้ข้อมูลที่เป็นจริง เมื่อผู้ที่กำลังหางานนั้นหลงเชื่อคำสัญญาที่หลอกลวงของกลุ่มผู้ค้ามนุษย์ให้เดินทางมาทำงาน พวกเขามักจะมีโอกาสตกเป็นเหยื่อแรงงานที่มีพันธนาการหนี้ (debt bandage) เพราะต้องชำระค่าสมัคร ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ"ผศ.ดร.นภารัตน์กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา: ไทยโพสต์, 17/8/2564

ผู้ประกอบการร้านนวดยื่นฟ้องศาลแพ่งเอาผิดรัฐ 200 ล.-ชี้ล็อกดาวน์ไร้เยียวยา

ผู้ประกอบการร้านนวดเพื่อสุขภาพ นำโดย นายพิทักษ์ โยธา นายกสมาคมจารวีเพื่ออนุรักษ์นวดแผนไทย และนางอักษิกา จันทรวินิจ เจ้าของกิจการธรรญานวดเพื่อสุขภาพ เป็นโจทก์ฟ้องรัฐบาลร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการร้านนวดและสปาในกรุงเทพมหานครและจังหวัดในเขตพื้นที่สีแดงเข้ม เรียกร้องค่าเสียหายให้ผู้ประกอบการที่ได้รับความเดือดร้อนจากการถูกสั่งปิดสถานประกอบการร้านนวดตามคำสั่งของรัฐบาล ซึ่งที่ผ่านมาได้เรียกร้องไปหลายหน่วยงาน

นายพิทักษ์ โยธา เปิดเผยว่ากลุ่มผู้ประกอบการร้านนวดได้รับผลกระทบจากนโยบายสั่งปิดกิจการร้านนวดตั้งแต่ปี 2563 และถูกสั่งปิดต่อเนื่องทุกครั้งของการล็อกดาวน์ ซึ่งร้านนวดไม่เคยเป็นสถานที่เสี่ยงและไม่เคยมีผู้ติดเชื้อเกิดขึ้น แต่รัฐบาลก็ยังสั่งปิดร้านนวดทุกครั้ง จนผู้ประกอบการบางรายต้องปิดกิจการ จนถึงขณะนี้ยังไม่รับการเยียวยาจากภาครัฐเลยสักครั้ง และในวันนี้กลุ่มผู้ประกอบการได้เรียกร้องค่าเสียหายจากภาครัฐเป็นเงินจำนวน 200 ล้านบาท

ด้าน นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวเพิ่มเติมว่า พรรคก้าวไกลเป็นตัวกลางยื่นฟ้องให้กลุ่มผู้ประกอบการ โดยกล่าวว่าการฟ้องในครั้งนี้เป็นการฟ้องแพ่งแบบรวมกลุ่มหรือ Class Action ครั้งแรก ซึ่งคดีดังกล่าวจะเป็นเพียงหมุดหมายประวัติศาสตร์แรก ที่รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบต่อชีวิตของประชาชนและความเสียหายที่เกิดขึ้นของผู้ประกอบการ ทั้งๆที่เป็นมาตรการที่รัฐบาลสั่งแต่ไม่มีมาตรการที่จะมารองรับความเสียหายที่เกิดขึ้น

ซึ่งขณะนี้ผ่านมากว่าหนึ่งปีแล้วที่ผู้ประกอบการร้านนวดเหล่านี้ยังไม่เคยได้รับการเยียวยาจากภาครัฐเลย แต่ถ้าหากจะมาเยียวยาตอนนี้ก็สายเกินไปแล้ว เพราะไม่ได้สัดส่วนของความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยต้องพึ่งศาลแพ่งว่าละเมิดกับประชาชนในการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 ที่ผิดพลาดขนาดนี้ ก็ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับประชาชน

จากนั้นเราก็จะยื่นฟ้องสำหรับกลุ่มต่อๆไป ก็อาจเป็นนักดนตรี คนจัดงานอีเวนท์ ผู้ประกอบการร้านอาหาร ผับ บาร์ ญาติผู้เสียชีวิต กลุ่มแรงงานที่ถูกเลือกปฏิบัติจากมาตรการของรัฐที่มีการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานต่างชาติ และผู้ที่ทำงานในแคมป์ก่อสร้างหรือโรงงานขนาดใหญ่

โดยการแบ่งการฟ้องเป็นกลุ่มๆ เพราะการได้รับผลกระทบของแต่ละกลุ่มนั้นมีลักษณะค่าเสียหายที่เอามาคำนวณต่างกัน อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุดศาลอาจเห็นสมควรให้รวมคดีก็เป็นได้

ดังนั้น ตนจึงขอเรียนเชิญ ประชาชนและสื่อมวลชนติดตามการดำเนินคดีครั้งประวัติศาสตร์นี้ เพื่อเป็นบรรทัดฐานต่อไปในอนาคต ว่ารัฐบาลจะต้องดูแลรับผิดชอบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคนอย่างดีที่สุด อย่างเสมอภาคเท่าเทียม และไม่เลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ประเทศเกิดวิกฤตเช่นนี้

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, 17/8/2564

พิษโควิด-19 กระทบคนพิการไม่มีงานทำเกือบแสนคน เสี่ยงไม่มีรายได้

นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 ที่ยังแพร่ระบาดเป็นวงกว้างส่งผลกระทบต่อทุกคนจำนวนมาก โดยเฉพาะปัญหาแรงงานถูกเลิกจ้างงาน สถานประกอบการบางแห่งต้องปรับลดอัตรากำลังการจ้างงานให้น้อยลง ลดเวลาการทำงาน ส่งผลกระทบต่อรายได้ลดลง โดยเฉพาะกลุ่มคนพิการที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตนี้ จากรายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2564 พบคนพิการวัยทำงานที่ยังไม่มีอาชีพ จำนวน 72,466 คน จากจำนวนคนพิการวัยทำงานทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบ 857,253 คน สสส. ได้ร่วมกับมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ดำเนินโครงการส่งเสริมอาชีพความมั่นคงทางอาหารสู่การพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านสุขภาวะ เพื่อพัฒนาการจ้างงานคนพิการระยะยาวในวิกฤตโควิด-19 โดยใช้กลไกชุมชนด้านความมั่นคงทางอาหารมาจ้างงานเชิงสังคม ให้คนพิการทำงานที่บ้านและในท้องถิ่นของตัวเองได้ เช่น เกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ เพราะการจ้างงานลักษณะนี้คนพิการมีความรู้พื้นฐานเป็นทุนเดิม ทำให้ไม่ต้องปรับตัวจากการทำงานมาก และเป็นอาชีพที่สามารถทำงานที่บ้านและไม่ขาดแคลนอาหารในการบริโภค โดยโมเดลความมั่นคงทางอาหารและสนับสนุนอาชีพคนพิการมีเป้าหมาย 3 อย่าง คือ 1. พัฒนาทักษะคนพิการให้มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพที่ท้องถิ่นของตัวเองในภาวะวิกฤต 2. พัฒนาให้คนพิการทำงานตามแผนการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 3.พัฒนาเป็นพื้นที่นำร่องเพื่อถอดบทเรียนการทำชุมชนต้นแบบด้านสุขภาวะ ระดับหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ ในอนาคต

“ในวิกฤตโควิด-19 นี้ ถือเป็นโอกาสสร้างอาชีพแก่คนพิการซึ่งเป็นอีกกลุ่มประชากรที่ควรได้รับความเป็นธรรมทางสุขภาพในทุกมิติ ทั้งกาย จิต ปัญญา และสังคม การที่คนพิการสามารถประกอบอาชีพ และมีรายได้จากการทำงานเหมือนคนทั่วไป ทำให้เกิดความภูมิใจในตัวเอง และช่วยให้คนพิการมีพฤติกรรมทางสุขภาพที่ดีขึ้น เกิดการยอมรับจากสังคม โดยที่ผ่านมา สสส. ได้สนับสนุนเรื่องการส่งเสริมโอกาสการมีงานทำ ทั้งเรื่องการเตรียมความพร้อมของทั้งคนพิการ สถานประกอบการ และการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการผ่านการมีส่วนร่วมในชุมชนอยู่แล้ว” นางภรณี กล่าว

นายอภิชาติ การุณกรสกุล ประธานมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม กล่าวว่า โครงการส่งเสริมอาชีพความมั่นคงทางอาหารสู่การพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านสุขภาวะ สนับสนุนโดย สสส. จะเป็นการร่วมกันพัฒนาอาชีพไปยังคนพิการและครอบครัวในต่างจังหวัด ที่ตั้งใจพัฒนาเรื่องอาชีพและต้องการมีรายได้ในช่วงโควิด-19 ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้างหรือมีรายได้น้อยลง โดยบริษัทที่จ้างงานจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายเรื่องวัตถุดิบอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ และประสานเรื่องการจัดทำเอกสารและติดตามส่งรายงานให้บริษัทที่เข้าร่วมการจ้างงานเชิงสังคม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550

โดยคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องมีบัตรคนพิการ อายุ 20 – 70 ปี และผู้ดูแลจะต้องมีชื่อหลังบัตรคนพิการให้สามารถใช้สิทธิแทนคนพิการ เพื่อนำเงินไปเตรียมพื้นที่สำหรับการประกอบอาชีพ ซึ่งครอบครัวคนพิการส่วนใหญ่จะนิยมปลูกผัก สมุนไพร ผลไม้ และเลี้ยงสัตว์ และหลังจากผลผลิตถึงเวลาเก็บเกี่ยวก็จะถูกจำหน่ายหรือมีผู้ค้าเข้ามารับซื้อ และผลผลิตส่วนที่เหลือหรือแบ่งเก็บไว้ครอบครัวคนพิการจะนำมาบริโภคเป็นอาหาร ซึ่งเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในภาวะวิกฤตโควิด-19 โดยผลกำไรหรือรายได้ทั้งหมดที่ได้มาจากน้ำพักน้ำแรงของคนพิการและครอบครัว บริษัทจะไม่เรียกรับเงินคืน เพราะต้องการสร้างอาชีพให้คนพิการในระยะยาวและสามารถต่อยอดไปถึงอนาคตได้ ปัจจุบันได้จัดทำนำร่องไปแล้วตั้งแต่โควิด-19 ระลอกแรกเมื่อปี 2563 ที่บ้านยางชุม และบ้านวังศิลา อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ และเตรียมขยายพื้นที่เพิ่มไปยังจังหวัดต่างๆ ในอนาคตโดยมีโมเดลนำร่องจากที่นี่เป็นแบบอย่าง ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่แฟนเพจเฟซบุ๊ก คนพิการต้องมีงานทำ-มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม หรือโทรศัพท์สอบถามได้ที่ 02 279- 9385

ที่มา: แนวหน้า, 16/8/2564

เผยแรงงานไทยทำงานต่างแดนรวม 110 ประเทศ 118,572 คน สร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 153,006 ล้านบาท เป้าหมายปีนี้จัดส่งอีก 100,000 คน

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงานมีเป้าหมายจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 100,000 คน โดยจัดส่งแล้ว 38,019 คน แบ่งเป็นไต้หวัน 10,641 คน อิสราเอล 5,593 คน สวีเดน 5,287 คน ฟินแลนด์ 3,363 คน ญี่ปุ่น 1,948 คน ประเทศอื่นๆ 11,187 คน และอยู่ระหว่างจัดส่งตามแผนอีก 61,981 คน ซึ่งจากข้อมูล ณ เดือน ก.ค. 64 มีแรงงานไทยที่ยังทำงานอยู่ในต่างประเทศรวม 110 ประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 118,572 คน ส่งรายได้กลับประเทศผ่านระบบธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว 153,006 ล้านบาท

ทั้งนี้ รัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ให้ความสำคัญกับการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศอย่างมาก โดยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด–19 จะมุ่งเน้นการรักษาตลาดแรงงานเดิมซึ่งก็คือการส่งเสริมการจ้างงานอย่างต่อเนื่องกับงานภาคการเกษตรในรัฐอิสราเอล ภายใต้โครงการ “ความร่วมมือไทย-อิสราเอล เพื่อการจัดหางาน (TIC) งานภาคอุตสาหกรรมในประเทศญี่ปุ่น ผ่านองค์กร IM JAPAN และงานภาคก่อสร้าง อุตสาหกรรม และการเกษตรในสาธารณรัฐเกาหลี ผ่านระบบ EPS ควบคู่การขยายตลาดแรงงานใหม่ที่มีแนวโน้มความต้องการแรงงานไทย

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า กรมการจัดหางาน มีกำหนดการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ ก่อนสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ จำนวน 410 คน แบ่งเป็น สาธารณรัฐเกาหลี 60 คน เดินทางระหว่างวันที่ 17 – 19 สิงหาคม และรัฐอิสราเอล 350 คน ทยอยเดินทางวันที่ 25 สิงหาคม จำนวน 150 คน และวันที่ 30 สิงหาคม จำนวน 200 คน โดยแรงงานไทยสามารถเดินทางไปทำงานต่างประเทศอย่างถูกกฎหมาย 5 วิธี คือ 1.กรมการจัดหางานเป็นผู้จัดส่ง 2.บริษัทจัดหางานจัดส่ง 3.นายจ้างในประเทศไทยพาลูกจ้างของตนไปทำงานต่างประเทศ 4.นายจ้างในประเทศไทยส่งลูกจ้างของตนไปฝึกงานในต่างประเทศ 5.คนหางานแจ้งการเดินทางไปทำงานต่างประเทศด้วยตัวเอง ซึ่งวิธีเดินทางถูกกฎหมายดังกล่าวจะทำให้แรงงานไทยได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ได้ค่าจ้างที่เหมาะสม และยังได้รับการดูแลที่ดีตามสิทธิที่พึงมีด้วย

ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 -10 หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน 1694 หรือเว็บไซต์กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ www.doe.go.th/overseas

ที่มา: สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น, 16/8/2564

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net