Skip to main content
sharethis

องค์การสหประชาชาติ (UN) กำหนดให้ทุกวันจันทร์ของสัปดาห์แรกในเตือนตุลาคมเป็น 'วันที่อยู่อาศัยโลก' หรือ World Habitat Day เพื่อให้นานาประเทศได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมและปลอดภัยตามข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 40/202 ใน พ.ศ.2528 โดยในปีนี้ 'วันที่อยู่อาศัยโลก' ตรงกับวันที่ 4 ต.ค. 2564

ถึงแม้องค์การสหประชาชาติจะกำหนดให้มี 'วันที่อยู่อาศัยโลก' แต่ปัญหาเรื่องความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยกลับยังเป็นความท้าทายที่คนทั่วโลกต้องเผชิญ รวมถึงประเทศไทย ที่ช่องว่างความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัยยังคง 'ทิ้งห่าง' ระหว่างคนที่มีรายได้สูงและคนที่มีรายได้น้อย และช่องว่างเหล่านั้นค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเกิดวิกฤติโรคระบาดโควิด-19

นอกจากนี้ ปัญหาความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยในไทยดูเหมือนจะสั่นคลอนมากขึ้น หลังคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เตรียมศึกษาแนวทางการแก้กฎหมายให้ชาวต่างชาติสามารถครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในไทยได้มากขึ้น หวังดึงตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้นหลังโควิด-19 ซึ่งแน่นอนว่าเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์และมีหลายฝ่ายออกมาแสดงความกังวลต่อมาตรการนี้เป็นอย่างมาก

ประชาไทได้พูดคุยกับนักวิชาการ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ ถึงข้อเสนอและทางออกกรณีการแก้กฎหมายให้ต่างชาติซื้อบ้านในไทย หากรัฐบาลยืนยันจะทำเช่นนั้น ควรศึกษาและดำเนินการต่ออย่างไรให้คนไทยรู้สึกมั่นคง-อุ่นใจว่า "ที่อยู่อาศัย" ยังคงเป็น "สิทธิที่พลเมืองควรจะได้รับ"

ผศ.ดวงมณี เลาวกุล จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

คมสันติ์ จันทร์อ่อน จากมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย (มพศ)

 

โสภณ พรโชคชัย นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์

 

สำหรับแนวคิดหลักของวันที่อยู่อาศัยโลกประจำปีนี้ คือ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกซึ่งส่งผลต่อความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย โดยหัวข้อสำคัญในการพูดคุย คือ "การเร่งพัฒนาเขตเมืองเพื่อโลกที่ปราศจากคาร์บอนไดออกไซด์" เพราะคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 70% ที่เกิดขึ้นบนโลกนั้นมาจากการเผาไหม้ในเขตเมืองทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการขนส่ง อาคารบ้านเรือน ไฟฟ้า และการจัดการขยะ ซึ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เหล่านี้เป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

องค์การสหประชาชาติมองว่าทุกภาคส่วนบนโลก ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล องค์กรต่างๆ ภาคธุรกิจ ชุมชน สถาบันการศึกษา มาจนถึงระดับปัจเจก ต้องร่วมมือกันสร้างเมืองที่มีความยั่งยืนและปราศจากคาร์บอนไดออกไซด์ ในวันที่อยู่อาศัยโลกประจำปีนี้ องค์การสหประชาชาติจะร่วมเป็นกระบอกเสียงในโครงการระดับโลกอย่าง "Race to Zero" ซึ่งสนับสนุนให้ทั่วโลกลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงร่วมสนับสนุนโปรเจ็กต์ ClimateAction4Cities ที่ริเริ่มโดยโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Settlements Programme: UN-HABITAT) เพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลแต่ละประเทศพัฒนาแผนลดคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ และจะมีการพูดคุยถึงประเด็นนี้ในเวทีประชุมนานาชาติเรื่องสภาพอากาศโลก COP26 ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือน พ.ย. ที่จะถึงนี้

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net