อาจารย์ มช.-อบจ.แถลงสนับสนุน นศ.วิจิตรศิลป์ มช. หลังผู้บริหารไม่อนุญาตใช้หอศิลป์

คณาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่-องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนสนับสนุนนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังผู้บริหารปฏิเสธไม่ให้ใช้หอศิลป์ฯ แสดงงานเนื่องจากมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการเมือง

จากกรณีที่คณะวิจิตรศิลป์และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีคำสั่งปฏิเสธการใช้พื้นที่หอศิลปวัฒนธรรมในการแสดงผลงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการเมืองของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในสาขาวิชา Media Art and Design มีแถลงการณ์ต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ดังนี้

19 ต.ค. 2564 เพจเฟจบุ๊กประชาคมมอชอ - Community of MorChor เผยแพร่แถลงการณ์หลักสูตรสาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์ ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องเสรีภาพของปัญญาชนกับการแสดงออกในพื้นที่ทางศิลปะ โดยคณาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์แสดงจุดยืนว่า พื้นที่ทางศิลปะควรแสดงออกถึงความเท่าเทียมบนพื้นฐานแห่งสิทธิและเสรีภาพ เปิดโอกาสให้เกิดการแสดงออกที่มีความหลากหลาย สนับสนุนการมีส่วนร่วมของสาธารณะชน และสร้างกระบวนการเชื่อมต่อและประสานความเข้าใจ

แถลงการณ์

หลักสูตรสาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์ ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เสรีภาพของปัญญาชนกับการแสดงออกในพื้นที่ทางศิลปะ

คณาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์ขอแสดงจุดยืนต่อความหมายและทิศทางของ พื้นที่ทางศิลปะในบริบทของสถาบันการศึกษาที่ควรจะเป็นในสังคมไทยที่สัมพันธ์ต่อบริบท ของสังคมโลกในสภาวะสังคมสมัยใหม่

พื้นที่ทางศิลปะ ควรแสดงออกถึงความเท่าเทียมบนพื้นฐานแห่งสิทธิและเสรีภาพอย่างชัดเจน ในการแสดงออกทางความคิด กระบวนทัศน์ และการวิเคราะห์ โดยไม่ถูกปิดกั้น ทั้งนี้การแสดง ออกนั้นควรเป็นไปโดยการใช้หลักของเหตุผล ใช้ดุลพินิจพิจารณาไตร่ตรองด้วยความรอบคอบ มีความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งไม่มีการแบ่งแยกในความเป็นมนุษย์

พื้นที่ทางศิลปะ ควรเปิดโอกาสให้เกิดการแสดงออกที่มีความหลากหลาย ทั้งในประเด็นทาง ความคิด รูปแบบการนำเสนอของผลงานศิลปะ รวมไปถึงประเด็นความคิดและผลงานวิชาการ จากแขนงสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (Diversification Topics) ทั้งนี้ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ มีกระบวนการแลกเปลี่ยนทางทัศนคติ มีการถกประเด็นปัญหาต่างๆ (Discussion) ผลักดัน กระบวนการวิพากษ์และวิจารณ์ (Critical Thinking - Reflectivity Thinking) ให้ความสำคัญ ต่อกระบวนการใช้สติปัญญาและการรู้คิด เพื่อสร้างรากฐานของสังคมแห่งการเรียนรู้

พื้นที่ทางศิลปะ ควรให้การสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมอันเกิดจากเจตนาที่เอื้อประโยชน์กับ การมีส่วนร่วมของสาธารณะชน ไม่ปิดกั้นประเด็นหรือเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกับภาคประชา สังคมการเมือง สร้างความยืดหยุ่นและขยายพื้นที่ทางความคิดควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลง ของสถานการณ์ทางสังคมและปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม

พื้นที่ทางศิลปะ ควรสร้างกระบวนการเชื่อมต่อและประสานความเข้าใจ รวมทั้งให้ความ สำคัญในการแสดงออก เคารพใน สิทธิ หน้าที่ อิสรภาพ และบทบาทของศิลปิน นักสร้างสรรค์ นักคิด นักปรัชญา นักสังคมศาสตร์ ปัญญาชน และประชาชน ผู้เข้ามาใช้ความเป็นสาธารณะ ของพื้นที่ทางศิลปะในการแสดงออกทางความคิด (Forum) ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนใน เชิงสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม สร้างเสริมศักยภาพคนรุ่นใหม่กับทิศทางที่สอดคล้องกับความ เป็นพลเมืองโลกในสภาวะสังคมสมัยใหม่

คณาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์

ยุพา มหามาตร | ศุภชัย ศาสตร์สาระ | โฆษิต จันทรทิพย์ | Hyun Mi Roh | Nicolas Kolonias | จุฬาภรณ์ บัวขาว

วันจันทร์ ที่ 18 ตุลาคม 2564

ด้านมติชนออนไลน์ รายงานว่า คณาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแถลงการณ์ระบุว่า การกระทำของคณบดีคณะวิจิตรศิลป์ เป็นการละเมิดหลักการทางวิชาการและสิทธิเสรีภาพของนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ การกระทำดังกล่าวของผู้บริหารคณะขัดขวางกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา กระทบต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยในฐานะ องค์กร ที่ต้องยึดหลักการทางกฎหมาย หลักจริยธรรมทางวิชาการ หลักสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพทางิชาการ รวมถึงหลักสิทธิมนุษยชนสิทธิเสรีภาพของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ขอเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยทำการตรวจสอบและชี้แจงเรื่องดังกล่าวต่อสาธารณชนโดยด่วน

แถลงการณ์คณาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กรณีการละเมิดหลักการทางวิชาการและสิทธิเสรีภาพของนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์

สืบเนื่องจากที่ผ่านมา คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ ในฐานะผู้บริหารองค์กรทางวิชาการ ได้ดำเนินการลิดรอนและละเมิดสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ อาทิ มีคำสั่งให้เก็บผลงาน ของนักศึกษาบริเวณอาคารเรียนโดยพลการ การแจ้งความดำเนินคดีอาจารย์และ นักศึกษา การเรียกตรวจผลงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ก่อนการนำเสนอผลงานทาง ศิลปะที่เป็นส่วนหนึ่งของการเสนอสำเร็จการศึกษา การสั่งให้ตัดน้ำและไฟฟ้าในหอ ศิลปวัฒนธรรม และอาคารเรียน การปิดกั้นพื้นที่มิให้นักศึกษาเข้าไปติดตั้งผลงาน เพื่อจัดแสดงผลงานทางศิลปะ ตลอดจนการสร้างบรรยากาศแห่งความขัดแย้งและ ความกลัวขึ้นในคณะวิจิตรศิลป์

การกระทำดังกล่าวเป็นการขัดขวางกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาเพื่อจะมีศักยภาพ สูงทั้งในฐานะที่เป็นศิลปินและในฐานะของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งการ เรียนรู้ในการใช้สติปัญญา และมโนธรรมในการสร้างสรรค์ทางสุนทรียศาสตร์เพื่อผลัก ดันตัวนักศึกษาเองและสังคมไทยให้พัฒนาไปในทิศทาง ที่เป็นผลดีต่อส่วนรวม และมี ความพร้อมที่จะเผชิญกับพลวัตอันซับซ้อนทั้งภายในประเทศ และในสังคมโลกในปัจจุบัน และอนาคต รวมถึงกระทบต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในฐานะองค์กรที่ พึงยึดหลักการทางกฎหมายหลักจริยธรรมทางวิชาการ หลักสิทธิมนุษยชนและหลักสิทธิ และเสรีภาพของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

คณาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ จึงใคร่ขอเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดำเนิน การตรวจสอบและชี้แจงเรื่องดังกล่าวต่อสาธารณชนโดยด่วน เพราะกรณีที่เกิดขึ้น มิได้เป็นปัญหาการจัดการทั่วไประดับคณะ แต่เป็นปัญหาที่กระทบต่อความชอบธรรม ศักดิ์ศรี และภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังอาจเป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือ ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของคณะและมหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษาระดับ อุดมศึกษาที่มีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความเจริญงอกงามทางสติปัญญาของ นักศึกษาทุกคนเต็มตามศักยภาพอีกด้วย

คณาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ ดังมีรายชื่อดังนี้

1. ผศ.ดร.วราภรณ์ เรืองศรี

2. ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

3. ศ.เกียรติคุณสายชล สัตยานุรักษ์

4. ผศ.ดร.สิงห์ สุวรรณกิจ

5. ดร.สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์

6. อาจารย์กิตติศักดิ์ สุจิตตารมย์

7. อาจารย์กฤตภัค งามวาสีนนท์

8. อาจารย์ขวัญชนก กิตติวาณิชย์

9. ผศ.ดร.ธิกานต์ ศรีนารา

19 ตุลาคม 2554

ด้านองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกแถลงการณ์สนับสนุนนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการเรียกร้องเสรีภาพทางศิลปะ โดยระบุว่า การกระทำดังกล่าวของคณะผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์และหอศิลป์เป็นการละเมิดเสรีภาพทางวิชาการ

แถลงการณ์องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เรื่อง ขอแสดงจุดยืนร่วมสนับสนุนนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการเรียกร้องเสรีภาพทางศิลปะ

ตามที่คณะผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์และหอศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (หอศิลป์ มช.) ไม่อนุญาตให้นักศึกษาสาขาสื่อศิลปะฯ คณะวิจิตรศิลป์ เข้าใช้พื้นที่ในหอศิลป์เพื่อจัดแสดงผลงานรายวิชาซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการเรียนรู้ของวิชาดังกล่าวได้ โดยอ้างว่าเป็นเพราะผลงานของนักศึกษาเกี่ยวข้องกับการเมือง ทำให้ขัดกับระเบียบการขอใช้พื้นที่ของทางมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงาม อย่างไรก็ตาม นักศึกษาและคณาจารย์ได้พิจารณาระเบียบอย่างถี่ถ้วนแล้ว และไม่พบว่าขัดกับระเบียบข้อใดเลย นำไปสู่การชุมนุมเรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออกทางศิลปะ รวมถึงมีการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ด้วยการเข้าไปใช้หvศิลป์ที่ถูกปิดเอาไว้

องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้พิจารณาแล้ว มีความเห็นว่าการกระทำดังกล่าวของคณะผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์และหอศิลป์นั้น เป็นความพยายามในการควบคุมผลงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการเมือง โดpถือว่าเป็นการละเมิดเสรีภาพทางวิชาการ อันเป็นหลักที่สำคัญยิ่งในวงการวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานศึกษาที่ควรเป็นสถานที่ปลอดภัยสำหรับการเรียนรู้และแสดงความคิดเห็น เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่าคณะผู้บริหารไม่เพียงแต่ไม่ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนในการรักษาเสรีภาพทางวิชาการในสถานศึกษาเท่านั้น แต่ยังขัดขวางกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา อันเป็นเป้าหมายหลักของมหาวิทยาลัยอีกด้วย

จากที่กล่าวมาข้างต้น องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงขอแสดงจุดยืนร่วมสนับสนุนนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการเรียกร้องเสรีภาพทางวิชาการในมหาวิทยาลัย อันสมควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงออก

องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

18 ตุลาคม 2564

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท