100 องค์กรนอกภาครัฐส่งจดหมายเปิดผนึกจี้คุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติหลังเกิดเหตุที่ สน.ดินแดง

องค์กรนอกภาครัฐ 100 แห่งร่วมกันลงชื่อส่งจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาล และผู้แทนองค์การสหประชาชาติ เรียกร้องให้ปกป้องสิทธิแรงงานข้ามชาติ หลังเกิดเหตุตำรวจ สน.ดินแดง ควบคุมตัวแรงงานสัญชาติกัมพูชา 7 คนฐานไม่มีใบอนุญาต ขณะที่พวกเขาเดินทางมายื่นหนังสือทวงถามความคืบหน้าข้อเสนอแก้ไขปัญหาในกลุ่มแรงงานข้ามชาติระหว่างการระบาดโควิด-19

4 พ.ย. 2564 เมื่อวันที่ 1 พ.ย. ที่ผ่านมา องค์กรนอกภาครัฐ 100 องค์ร่วมกันลงนามในจดหมายเปิดผนึกส่งถึงนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของผู้ย้ายถิ่นฐาน ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านสถานการณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประธานรัฐสภาไทย องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และสำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวแรงงานข้ามชาติสัญชาติกัมพูชา 7 คนที่ถูกจับที่ สน.ดินแดง เมื่อวันที่ 29 ต.ค. ที่ผ่านมา พร้อมชกเชยเยียวยา และคุ้มครองสิทธิแรงงานช้ามชาติ รวมถึงยุติการจับกุมแรงงานข้ามชาติด้วยเหตุผลว่าไม่มีเอกสารแสดงตน จนกว่าจะบวนการจัดทำเอกสารจะแล้วเสร็จ โดยเนื้อความในจดหมายระบุดังต่อไปนี้

เรียน นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา 

พวกเราซึ่งเป็นองค์กรที่มีรายชื่อด้านท้าย เขียนจดหมายเพื่อแสดงข้อกังวลและเรียกร้องให้มีการปฏิบัติในกรณีดังต่อไปนี้

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 แรงงานข้ามชาติจากกัมพูชาเจ็ดคน ถูกจับและควบคุมตัวที่กระทรวงแรงงานในประเทศไทย แม้ว่าพวกเขาจะเป็นส่วนหนึ่งของตัวแทนที่เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อเรียกร้องให้กระทรวงแรงงานปรับปรุงสิทธิสวัสดิการแก่แรงงานข้ามชาติในระหว่างทีมีการระบาดของโควิด-19 การจับกุมเกิดขึ้นแม้มีการให้อภัยโทษในเว็บไซต์ที่ของทางการไทยและกำหนดระยะเวลาการทำเอกสารตามกฎหมายของแรงงานข้ามชาติ และขณะที่พวกเขากำลังใช้สิทธิมนุษยชนในฐานะเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

หน้าที่หลักอย่างหนึ่งของกระทรวงแรงงานคือ “การรับเรื่องร้องทุกข์หรือคำขอที่ส่งมอบให้กับรัฐมนตรี” แต่รัฐมนตรีแรงงานกลับไม่ได้ทำหน้าที่ที่มีต่อแรงงานข้ามชาติเจ็ดคนนี้ ซึ่งได้ยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการ

เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2564 ประมาณ 9.00 น. ตัวแทนคณะทำงานติดตามสถานการณ์และให้ความช่วยเหลือแก่แรงงานในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ประกอบด้วยสหภาพคนทำงาน เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชนและแรงงานข้ามชาติ ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อเรียกร้องให้กระทรวงแรงงานปรับปรุงสิทธิสวัสดิการแก่แรงงานข้ามชาติในระหว่างทีมีการระบาดของโควิด-19

ข้อเรียกร้องของคณะทำงานติดตามสถานการณ์และให้ความช่วยเหลือแก่แรงงานในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ประกอบด้วยสหภาพคนทำงาน เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ และแรงงานข้ามชาติ ตัวแทนลูกจ้างที่เป็นแรงงานข้ามชาติ คือ 1. แต่งตั้งคณะทำงานบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวสามสัญชาติ โดยต้องมีตัวแทนแรงงาน ภาคประชาสังคม และรัฐ 2. ประกาศลดค่าใช้จ่ายลงทั้งหมด โดยเฉพาะค่าธรรมเนียมการขอยู่ในราชอาณาจักร 3.กำหนดเงื่อนไขประกันสุขภาพของเอกชนสำหรับแรงงานสามสัญชาติ ที่ราคาและสิทธิประโยชน์ไม่ต่ำกว่าประกันสุขภาพหรือประกันสังคมของกระทรวงสาธารณะสุข และ 4. ยกเลิกระเบียบของสำนักงานประกันสังคมที่เป็นข้อจำกัดการเข้าไม่ถึงความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. กองทุนเงินทดแทน

ประมาณ 11.00 น. ระหว่างรอผลการเจรจาของตัวแทนแรงงานและเจ้าหน้าที่ แรงงานข้ามชาติเจ็ดคนที่รอบริเวณอาคารกระทรวงแรงงาน กลับถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) และเจ้าหน้าที่ไม่ทราบฝ่ายสวมเสื้อกั๊กที่มีข้อความชื่อ "รมต.สุชาติ ชมกลิ่น" รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน เข้ามาตรวจสอบเอกสารประจำตัวของแรงงาน พร้อมทั้งถ่ายรูปเอกสารของแรงงานเก็บไว้   

แรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชา (ผู้หญิงสามคน และผู้ชายจำนวน 4 คน) ถูกจับและควบคุมตัวไปสถานีตำรวจนครบาลดินแดง โดยแรงงานหญิงข้ามชาติรายหนึ่งที่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว เมื่อเช้า "แม่" บอกลูกว่าจะมาเจรจาเรื่องเอกสารทำงาน แต่เย็นวันนั้นมี "ลูก" อย่างน้อย 2 คนที่ยังไม่ทราบว่าวันนี้แม่ของตนจะอยู่ที่ไหน

มีการแจ้งข้อกล่าวหาเข้าเมืองผิดตามกฎหมาย ตาม พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522

การปฏิเสธไม่ให้เข้าถึงทนายความและการสอบสวนที่ต้องถูกตั้งคำถาม

มีข้อกล่าวหาว่าแรงงานข้ามชาติทั้งเจ็ดคนถูกกดดันจึงลงลายมือชื่อรับสารภาพ แม้ในขณะนั้นจะยังไม่สามารถเข้าถึงทนายความและ/ตัวแทนด้านกฎหมาย และไม่มีล่ามที่แปลได้ครอบคลุมอยู่ด้วย พวกเขาสามารถเข้าถึงทนายความได้เมื่อประมาณบ่ายสาม เจ้าหน้าที่ตำรวจยังส่งแรงงานทั้งเจ็ดคนไปที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ซอยสวนพลู) ซึ่งเป็นที่ควบคุมตัวพวกเขาจนถึงวันนี้

การจับกุมแรงงานข้ามชาติซึ่งเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งเดินทางไปกระทรวงเพื่อเป็นตัวแทนยื่นหนังสือ ถือเป็นการกระทำที่ผิดพลาดและละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงาน

เมื่อรัฐมนตรีและกระทรวงไม่เคารพมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 กันยายน 2564

เป็นเรื่องน่าตกใจที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นภายหลังมติครม. วันที่ 28 กันยายน 2564และมีการประกาศ ซึ่งเป็นมติที่อนุญาตให้แรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายจากกัมพูชา ลาว และเมียนมา สามารถอาศัยอยู่ต่อไปในประเทศไทย และให้นายจ้างมีเวลาที่จะทำเรื่องเพื่อขอใบอนุญาตทำงานอย่างถูกต้อง มติที่ชอบด้วยเหตุผลเช่นนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อนายจ้าง คนงาน รวมทั้งการจัดการของรัฐ

แม้จะมีมติของคณะรัฐมนตรีเช่นนี้ แต่กระทรวงมหาดไทย และ/หรือกระทรวงแรงงานยังไม่ปฏิบัติตามกลไกและขั้นตอนปฏิบัติที่จำเป็น เพื่อให้เกิดผลตามมติของรัฐบาลดังกล่าว  

มติของรัฐบาลมีผลต่อแรงงานข้ามชาติสองกลุ่ม รวมทั้ง (1) แรงงานต่างด้าวสามสัญชาติผิดกฎหมายที่ไม่ได้ขออนุญาตทำงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย (2) แรงงานต่างด้าวสามสัญชาติที่ดำเนินการขออนุญาตทำงานตามมติ 29 ธ.ค. 63 แต่กระบวนการยังไม่แล้วเสร็จ

โดยมติของรัฐบาลที่มีการประกาศมีผลให้ปฏิบัติต่อแรงงานทั้งสองกลุ่มดังนี้ กลุ่มแรงงานผิดกฎหมายที่ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต สามารถอยู่ในราชอาณาจักรและให้ทำงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และนายจ้างยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กระทรวงที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงแรงงาน และ/หรือกระทรวงมหาดไทย ออกประกาศและเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา และจะทำให้แรงงานข้ามชาติสามารถทำงานและอยู่ในราชอาณาจักรได้ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566

เกือบหนึ่งเดือนหลังรัฐบาลไทยมีมติดังกล่าว ยังไม่มีการออกประกาศจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง การเลื่อนการออกประกาศและการเพิกเฉยต่อหน้าที่ ส่งผลกระทบต่อหน่วยงานด้านสาธารณสุขในการดำเนินงานเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ได้สำเร็จ

ความล่าช้าของรัฐมนตรีและกระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องที่น่าเสียใจ เพราะทำให้เกิดปัญหาอย่างมาก ไม่เพียงกับแรงงานข้ามชาติ แต่ยังรวมถึงนายจ้างของพวกเขาด้วย 

โดยในเย็นของวันที่ 29 ตุลาคม 2564 รายงานจากเพจของครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชนระบุว่า จบขั้นตอนเจรจา เตรียมส่งตัวคนงานข้ามชาติทั้งเจ็ดคนไปกักกันอย่างน้อย 14 วัน หรือจนกว่าจะมีการออกประกาศของกระทรวงเพื่อบังคับใช้ตามมติ ครม. วันที่ 28 กันยายน 2564  ทั้งๆที่สถานกักตัวของไทยมีความเสี่ยงสูงต่อการติดโรคโควิด-19

พวกเราที่มีรายชื่อด้านท้ายจึง

  • เรียกร้องให้ปล่อยตัวนักปกป้องสิทธิมนุษยชนข้ามชาติทั้งเจ็ดคนทันที เพราะเป็นการจับกุมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน เพราะเกิดขึ้นภายหลังการมติของรัฐบาลไทยที่ให้อภัยโทษคนงานเหล่านี้ระหว่างรอการทำเอกสารตามกฎหมาย 
  • เรียกร้องให้รัฐบาลไทยขอโทษโดยทันที และให้การเยียวยาและการชดเชยที่เป็นผลต่อแรงงานข้ามชาติทั้งเจ็ดคนที่เป็นเหยื่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  • เรียกร้องกระทรวงแรงงาน และ/หรือกระทรวงมหาดไทยให้เคารพมติครม. วันที่ 28 กันยายน 2564 ยุติการชะลอการดำเนินงาน และให้เดินหน้าตามกระบวนการออกเอกสารที่ถูกต้องให้กับแรงงานข้ามชาติ และดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมาย ทางปกครอง และอื่น ๆ ที่จำเป็น เพื่อประกันให้มีการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของแรงงานข้ามชาติ
  • เรียกร้องให้มีข้อตกลงชั่วคราวยุติการจับกุมและควบคุมตัวแรงงานข้ามชาติ ด้วยเหตุว่าไม่มีเอกสาร จนกว่ากระบวนการจัดทำเอกสารจะแล้วเสร็จ 
  • เรียกร้องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ องค์การสหประชาชาติ และหน่วยงานอื่นๆ ที่รับผิดชอบ และเกี่ยวข้องกับการปกป้องสิทธิมนุษยชน ให้ดำเนินการเพื่อยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนเช่นนี้

รายชื่อองค์กรที่ลงนาม

1. Asian Muslim Action Network (AMAN)

2. Asian Resource Foundation (ARF)

3. Legal Support for Children and Women (LSCW), Cambodia

4. สมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม (SYSI)

5. เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม Young Leadership for Social Change Network

6. เครือข่าย People Go Network

7. มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์

8. สหพันธ์คนงานข้ามชาติ

9. กลุ่มคนงานหญิงเพื่อความยุติธรรม 

10. สหภาพนักศึกษาและคนทำงานศาลายา 

11. Clean  Cloth Campaign(CCC ),South East Asia  Coalition

12. Persatuan Sahabat Wanita Selangor, Malaysia

13. มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์

14.  Workers Assistance Center, Inc. Philippine  

15. MADPET-Malaysians Against Death Penalty and Torture, Malaysia

16. National Catholic Commissions on Migration NCCM, Thailand

17. The Building and Wood Workers International (BWI) Asia Pacific

18. Persatuan Komuniti Prihatin Selangor & Kuala Lumpur,Malaysia

19.  มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ

20. Safety and Rights Society (SRS), Bangladesh,

21. Women's Centre,Sri Lanka

22.  Legal Action for Women, UK

23. Global Women’s Strike, UK

24. Center for Alliance of Labor and Human Rights (CENTRAL), Cambodia

25. We Women Lanka

26. Think Centre, Singapore

27. Equitable Cambodia, Cambodia

28.  Mekong Migration Network ( MMN)

29.  มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนา (FED)

30.  มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์

31.  Focus on the Global South

32. สมาคมสิทธิและเสรีภาพเพื่อประชาชน

33.  Social Action for Community and Development (SACD ),Cambodia

34.  มูลนิธิมานุษยะ

35.  Women of Color, USA

36. Global Women’s Strike USA

 37. International Black Women for Wages for Housework 

38.  Labour Behind the Label, UK

39.  Global Women Against Deportations, UK

40. Defenders in Dordrecht, Netherlands

41. Lawyers' Rights Watch Canada

42. Nijera Kori , Bangladesh

43. มูลนิธิศักยภาพชุมชน

44. โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่ (PPM)

45 : กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา

46. เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่

47.  กลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์  (คัดค้านเหมืองโปแตชและโรงไฟฟ้าถ่านหิน  จ.ชัยภูมิ)

48. กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด  6  หมู่บ้าน  (คัดค้านเหมืองทองคำ  ต.เขาหลวง  อ.วังสะพุง  จ.เลย)

49. กลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส  (คัดค้านการขุดเจาะสำรวจแร่โปแตช  อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร)

50. กลุ่มรักษ์น้ำซับคำป่าหลาย  (คัดค้านการขอประทานบัตรทำเหมืองหินทราย  ต.คำป่าหลาย  อ.เมือง จ.มุกดาหาร)

51. กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนเขาเหล่าใหญ่-ผาจันได  (คัดค้านการทำเหมืองหิน  ต.ดงมะไฟ อ.สุวรรณคูหา  จ.หนองบัวลำภู)

52. กลุ่มรักษ์บ้านแหง  (คัดค้านการขอประทานบัตรทำเหมืองถ่านหินลิกไนต์ ต.บ้านแหง  อ.งาว  จ.ลำปาง)

53. กลุ่มรักษ์ลำคอหงษ์ (คัดค้านการขอประทานบัตรทำเหมืองโปแตช อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา)

54. กลุ่มคนเหล่าไฮงามไม่เอาเหมืองแร่ (คัดค้านการขอประทานบัตรทำเหมืองทรายแก้ว ต.เหล่าไฮงาม อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์)

55.  Center for Orang Asli Concerns, Malaysia

56. National Union of Transport Equipment & Allied Industries Workers. Malaysia

57. Korea Center for United Nations Human Rights Policy (KOCUN), Korea

58. โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์)

59. สหพันธ์เกษตรภาคใต้ (สกต.)

60. มูลนิธิรักษ์ไทย

61. Protection International

62.  Independent Trade Union Federation (INTUFE)

63.  Worker's Information Center (WIC), Cambodia

64. Social Action for Community and Development (SACD)

65. Youth Resource Development Program (YRDP)

66. Cambodia Human Rights and Development Association (ADHOC)

67. Global Women’s Strike Ireland

68. Asian Forum for Human Rights and Development (FORUM-ASIA)

69. RESISTERS DIALOGUE

70. มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา  (HRDF)

71. กลุ่มสื่อเพื่อการขอสัญชาติ

72. กลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน)

73. ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม

74. ขบวนการอีสานใหม่

75. กลุ่มบ้านพัก

76. พรรคปฎิวัติ มมส  

77. กลุ่มมูฟไฮ 

78.  ขบวนการสุรินทร์ใหม่ 

79. อุดรพอกันที

80. กลุ่มกอผือรื้อ เผด็จการ 

81. คณะราษฎรบึงกาฬ

82. โคราชมูฟเมนต์   

83. กลุ่มขอนแก่นพอกันที  

84. ภาคีนักเรียน

85. The International Service for Human Rights (ISHR )

86. Awaj Foundation, Bangladesh

87. ศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

88. Foundation for Women, Law and Rural Development (FORWARD)

89. Green Advocates International ,Liberia

90. Payday men's network,UK

91. PINAY Quebec,Canada

92. ขบวนการเคลื่อนไหวผู้หญิงสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

93. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (CRC)

94. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน 

95. กลุ่มด้วยใจรัก        

96. กลุ่มคนงาน Try Arm

97. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW)

98. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR)

99. เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน

100. Aliran, Malaysia

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท