องค์กรสิทธิมนุษยชนเผยรายงาน ปี'59-62 รัฐบาลปักกิ่งกดดันต่างชาติส่งผู้ร้ายข้ามแดนไต้หวันให้จีนแล้วกว่า 600 ราย

องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนเผยรายงาน ระหว่างปี ‘59-’62 ทางการจีนกดดันรัฐบาลต่างชาติให้ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนชาวไต้หวันไปจีนมากกว่า 600 ราย แม้ตำรวจสองฝ่ายเคยตกลงจะส่งผู้ร้ายกลับประเทศของตัวเองเท่านั้น ด้านไต้หวันชี้เป็นการพยายามทำลายอธิปไตยของไต้หวัน  

ภาพธงไต้หวัน ถ่ายโดย Winston Chen
 

องค์กรนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน ‘เซฟการ์ดดีเฟนเดอร์ส’ (Safeguard Defenders) เปิดเผยรายงานเมื่อวันที่ 30 พ.ย.ที่ผ่านมา ระบุว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2562 มีชาวไต้หวันถูกส่งตัวไปที่จีนแล้วมากกว่า 600 ราย หลังรัฐบาลต่างประเทศถูกรัฐบาลปักกิ่งกดดันให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนชาวไต้หวันมาที่ประเทศจีน 

เซฟการ์ดดีเฟนเดอร์ส ระบุด้วยว่า การกระทำเช่นนี้ของจีนถือเป็นการพยายาม "ทำลายอธิปไตยของไต้หวัน"

ทางการจีนอ้างว่า เกาะไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน และใช้กำลังแย่งชิงมา ถ้าเป็นไปได้ รวมถึงที่ผ่านมา ทางการจีนพยายามใช้ยุทธวิธีโดดเดี่ยวทางการทูตไต้หวันมากยิ่งขึ้น

ล่าสุด สำนักข่าวไทยโพสต์ รายงานด้วยว่า เมื่อ 21 พ.ย.ที่ผ่านมา ระบุว่า รัฐบาลปักกิ่งเพิ่งลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนกับลิทัวเนียเหลือระดับอุปทูต หลังประเทศลิทัวเนียอนุญาตให้ไต้หวันเปิดสำนักงานที่เปรียบเสมือนสถานทูตของไต้หวันในกรุงวิลนิอุส ประเทศลิทัวเนีย โดยให้ใช้ชื่อว่า "ไต้หวัน"

เดิมทีในปี พ.ศ. 2552 ไต้หวันกับจีนเคยตกลงกันว่า ตำรวจของทั้งสองฝ่ายจะส่งตัวผู้ต้องสงสัยกลับประเทศของตัวเอง แต่หลังจาก ไช่อิงเหวิน 

แต่ทางการจีนเริ่มเมินเฉยข้อตกลงนี้มากขึ้น หลัง ไช่อิงเหวิน ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีไต้หวันเมื่อปี พ.ศ. 2559 ซึ่งไช่อิงเหวินมีนโยบายเน้นทำให้ไต้หวันมีอัตลักษณ์ความเป็นประเทศของตนเองไม่ใช่ส่วนหนึ่งของจีน ทำให้จีนพยายามอ้างความเป็นเจ้าของเหนือเกาะไต้หวันมากขึ้น

รายงานของเซฟการ์ดดีเฟนเดอร์ส ระบุว่า ทางการจีนได้ทำการกดดันรัฐบาลหลายแห่งอย่าง ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา ให้ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนชาวไต้หวันที่ถูกกล่าวหาในคดีลักลอบใช้บริการทางโทรศัพท์ กลับประเทศจีน แม้ว่าก่อนหน้านี้ รัฐบาลไต้หวัน และคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (HCR) พยายามขัดขวางแล้วก็ตาม 

รายงานเปิดเผยด้วยว่า ชาวไต้หวันที่ถูกส่งตัวไปที่จีน มักเผชิญกับ ‘การคุมขังโดยพลการ, การทารุณกรรม การบังคับสูญหาย และการบีบบังคับให้มีการสารภาพผิดออกสื่อโทรทัศน์’ 

ประเทศที่มีการบังคับส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนมากที่สุด คือ มากกว่า 200 กรณี ถึงแม้ว่าประเทศสเปนจะมีข้อผูกมัดด้านอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชนก็ตาม มีตัวอย่างคือกรณีที่ศาลสเปนเคยสั่งตัดสินให้ผู้ต้องสงสัยคดีต้มตุ๋นชาวจีน และชาวไต้หวัน จำนวน 121 รายถูกส่งตัวกลับประเทศจีนทั้งหมด ซึ่งในทางอ้อม เป็นเหมือนการทำตามนโยบายจีนเดียว ที่รัฐบาลปักกิ่งพยายามอ้างว่า เกาะไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีนมาโดยตลอด 

เซฟการ์ดดีเฟนเดอร์ส เคยออกมาวิจารณ์รัฐบาลมาดริดในประเด็นนี้ว่า สเปนเพิกเฉยต่อพันธกรณีต่อสิทธิมนุษยชน และขาดความเข้าใจสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศจีนนั้นรุนแรงมากขนาดไหน 

ในทางกลับกัน ประเทศสาธารณรัฐเชกเคยปฏิเสธส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนชาวไต้หวัน 8 รายให้ประเทศจีนเมื่อปี 2563 ซึ่งรัฐบาลเชกให้เหตุผลว่า บุคคลเหล่านี้เสี่ยงต่อการถูกทารุณกรรม และทางการจีนมีประวัติในด้านสิทธิมนุษยชนอันย่ำแย่ 

รัฐบาลไต้หวันพูดถึงรายงานฉบับนี้เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมาว่า จีนไม่มีอำนาจศาลเหนือประชาชนชาวไต้หวันที่ถูกกล่าวหาว่าต้องคดีอยู่ในต่างประเทศ บุคคลเหล่านี้ควรถูกส่งตัวให้กับไต้หวันเพื่อดำเนินคดี 

สภากิจการจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเป็นหน่วยงานของไต้หวัน มีหน้าที่กำหนดนโยบายที่เกี่ยวกับจีน ระบุว่า นี่เป็นเป้าหมายของจีนที่ต้องการแสดงให้เห็นว่า ‘พวกเขามีอำนาจอธิปไตยเหนือไต้หวัน’ จึงพยายามร้องขอให้รัฐบาลต่างประเทศส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนชาวไต้หวันมาให้จีน 

สภากิจการจีนแผ่นดินใหญ่ เรียกร้องให้จีนเล็งเห็นว่า การต่อต้านอาชญากรรมไม่ควรจะถูกทำให้ข้องเกี่ยวกับการเมือง และพวกเขาหวังว่า หน่วยงานด้านการบังคับกฎหมายของทั้งจีน และไต้หวัน จะสามารถร่วมมือกันในการต่อต้านอาชญากรรมและปกป้องสวัสดิภาพประชาชน

สำหรับองค์กรเซฟการ์ดดีเฟนเดอร์ส เป็นองค์กรที่คอยสอดส่องและสนับสนุนนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนในเอเชีย ผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรนี้คือ ปีเตอร์ ดาห์ลิน ซึ่งถูกทางการจีนส่งตัวออกนอกประเทศในปี พ.ศ. 2559 หลังจากถูกคุมขังเป็นเวลา 23 วัน และบังคับให้สารภาพผิดออกสื่อโทรทัศน์

ทั้งนี้ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เซฟการ์ดดีเฟนเดอร์ส ออกมาวิจารณ์องค์การตำรวจสากลตั้งเจ้าหน้าที่สันติบาลระดับสูงของจีน “หูบินเฉิน” เป็นหนึ่งในกรรมการบริหาร หวั่นพรรคคอมมิวนิสต์จีนอ้างใช้ ‘หมายแดง’ ของตำรวจสากล ไล่จับคนเห็นต่างหรือวิจารณ์จีนนอกประเทศ

 

เรียบเรียงจาก

China ‘hunting’ Taiwanese abroad through deportation: rights group, HKFP, 01-12-2021

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ตำรวจสากลตั้งสันติบาลจีนเป็นหนึ่งในกรรมการบริหาร กลุ่มสิทธิหวั่นใช้อำนาจไล่ล่าผู้วิจารณ์จีน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท