Skip to main content
sharethis

ศบค. รายงานสถานการณ์ COVID-19 ในไทย ผู้ป่วยใหม่ 7,686 ราย สะสม 2,377,500 ราย รักษาหาย 7,445 ราย สะสม 2,272,009 ราย เสียชีวิต 13 ราย สะสม 22,032 ราย ฉีดวัคซีน (22 ม.ค. 65) สะสม 112,252,924 โดส

23 ม.ค. 2565 ศบค. รายงานสถานการณ์ COVID-19 ในไทย ผู้ป่วยใหม่ 7,686 ราย สะสม 2,377,500 ราย รักษาหาย 7,445 ราย สะสม 2,272,009 ราย เสียชีวิต 13 ราย สะสม 22,032 ราย ฉีดวัคซีน (22 ม.ค. 65) สะสม 112,252,924 โดส

เผยผลอนามัยโพล ชี้คนไทยกังวลตรุษจีน หวั่นโควิดระบาด-ค่าฝุ่นสูง

สำนักข่าวไทย รายงานว่านายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่าจากสถานการณ์การเฝ้าระวังโรคโควิด-19 อย่างใกล้ชิด และปริมาณค่าฝุ่น PM2.5 ที่คาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นอยู่ในระดับ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีส้ม) ในช่วงวันที่ 25 – 26 มกราคม ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและภาคกลาง ประชาชนจึงต้องเฝ้าระวังและป้องกันสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากข้อมูลการสำรวจอนามัยโพล วันที่ 15-21 มกราคม 2565 พบว่า คนไทยร้อยละ 65 ยังมีความกังวลหากมีการระบาดของโรคโควิด-19 และปริมาณค่าฝุ่น PM2.5 สูง โดยเรื่องที่กังวลมากที่สุดคือ กลัวติดเชื้อจากการไปจับจ่ายซื้อของวันไหว้ในตลาด ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาเก็ต ร้อยละ 51.8 รองลงมาคือ กลัวการติดเชื้อจากการรวมญาติที่บ้าน หรือสถานที่พักอาศัย ร้อยละ 42 และ ห่วงผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง อาจติดเชื้อได้ง่าย มีอาการรุนแรง ร้อยละ 41.2 ขณะที่ร้อยละ 35 ไม่รู้สึกกังวล เนื่องจากมีการป้องกันตนเองอย่างดีแล้ว ร้อยละ 71.9 รู้สึกชินกับสถานการณ์ ร้อยละ 33.3 และได้รับวัคซีนครบแล้วตามเกณฑ์ ร้อยละ 29.7 นอกจากนี้ ผลสำรวจ อนามัยโพลยังพบว่า หากมีการระบาดของโรคโควิด-19 และสถานการณ์ปัญหาฝุ่น PM2.5 ประชาชนร้อยละ 85.3 จะป้องกันตนเองด้วยการสวมหน้ากากป้องกันเมื่อไปที่สาธารณะ ร้อยละ 72.5 ล้างมือบ่อย ๆ และ ร้อยละ 64.3 ติดตามสถานการณ์ฝุ่น และการระบาดของโรคเป็นระยะ ๆ

“ทั้งนี้ประชาชนที่มีกิจกรรมช่วงวันตรุษจีน เช่น จับจ่ายซื้อของในวันไหว้ ทั้งในตลาด ห้างสรรพสินค้า หรือซูเปอร์มาเก็ต หรือมีการรวมญาติไหว้บรรพบุรุษ รวมถึงการกินอาหารร่วมกันภายในครอบครัว ขอให้ปฏิบัติ ตามหลัก UP (Universal Prevention) อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการติดและการแพร่ของโรคโควิด-19 โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคประจำตัว ควรให้ความระมัดระวัง และดูแลเป็นพิเศษ พร้อมทั้งให้ร่วมกันลดปริมาณการเกิดฝุ่น PM2.5 โดยไม่เผากระดาษเงิน กระดาษทอง ไม่เผาขยะ ใช้ธูปสั้น หรือเปลี่ยนไปใช้ธูปไฟฟ้าแทน” อธิบดีกรมอนามัยกล่าว

เปิด 10 จังหวัด "ฉีดวัคซีนเข็ม 4" พร้อมเงื่อนไข 

เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ รายงานเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2564 ว่า นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึง แผนการบริหารวัคซีนป้องกันโควิด-19 เดือน ก.พ. ว่า ขณะนี้ ศบค.เห็นชอบแผนการฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 4 ให้กับประชากรในพื้นที่ 10 จังหวัดท่องเที่ยวและจังหวัดที่พบการติดเชื้อสูง

จากเดิมประกาศให้ฉีดเฉพาะกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ด่านหน้า และกลุ่มเสี่ยง 608 เท่านั้น การฉีดวัคซีนเข็ม 4 จะเน้นในจังหวัดสีฟ้า เพื่อรองรับการเปิดพื้นจังหวัดท่องเที่ยว (Sandbox) ดังนั้น ประชาชนที่รับวัคซีนเข็ม 3 ไปแล้วเกิน 3 เดือนสามารถเข้ารับเข็ม 4 ได้

2 สูตรวัคซีน เข็ม 4     

1. ประชาชนที่ฉีดเข็ม 1-2 ซิโนแวค + เข็ม 3 แอสตร้าเซนเนก้า  เข็ม 4 แนะนำ "แอสตร้าเซนเนก้า"    

2. ประชาชนที่ฉีดเข็ม 1-2 แอสตร้าเซนเนก้า + เข็ม 3 ไฟเซอร์  เข็ม 4 แนะนำ "ไฟเซอร์"

สำหรับการติดต่อรับ วัคซีนเข็ม 4 จะเป็นหน้าที่ของทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นเลขานุการฯ จะวางแผนการบริหารจัดการวัคซีนในแต่ละจังหวัด กำหนดจุดฉีด และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้ามารับเข็ม 4 ต่อไป ดังนั้น ขอให้ประชาชนติดตามในส่วนของแต่ละจังหวัด

สำหรับ 10 จังหวัดที่มีการระบุให้ประชาชนเข้ารับเข็ม 4 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1. พื้นที่นำร่องการท่องเที่ยวที่เปิดรับผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร 4 จังหวัด ได้แก่  ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา   

2. พื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว หรือมีการระบาด 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี กาญจนบุรี ปทุมธานี

จำนวนเป้าหมายในการฉีดโดยรวมเดือน ก.พ. 2565
 
ประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไป ไม่เคยได้รับวัคซีน (เข็ม 1-2) จำนวน 0.5 ล้านราย

สูตร แอสตร้าเซนเนก้า – แอสตร้าเซนเนก้า

แอสตร้าเซนเนก้า – ไฟเซอร์

วัคซีน แอสตร้าเซนเนกก้า 0.5 ล้านโดส และ ไฟเซอร์ 0.5 ล้านโดส
ประชากรอายุ 12-17 ปี ไม่เคยได้รับวัคซีน (เข็ม 1-2) จำนวน 0.05 ล้านราย

สูตรวัคซีน ไฟเซอร์ – ไฟเซอร์ (ฝาม่วง) จำนวน 0.1 ล้านโดส

เด็กอายุ 5-11 ปี ที่มี 7 กลุ่มโรคเรื้อรังและนักเรียนระดับป.5-6 (เข็ม 1) จำนวน 1 ล้านราย

สูตรวัคซีน ไฟเซอร์ – ไฟเซอร์ (ฝาส้ม) จำนวน 0.1 ล้านโดส

เข็มกระตุ้นในผู้ที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ประชาชนทั่วไป กลุ่มเสี่ยง ผู้ประกันตน จำนวน 8 ล้านราย

สูตรวัคซีน ซิโนแวค – แอสตร้าเซนเนก้า – แอสตร้าเซนเนก้า

แอสตร้าเซนเนก้า – แอสตร้าเซนเนก้า – ไฟเซอร์

จำนวนวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า 6 ล้านโดส และ ไฟเซอร์ 2 ล้านโดส

เข็มกระตุ้นผู้ที่เคยติดเชื้อ จำนวน 0.5 ล้านราย

สูตรวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า

จำนวนวัคซีน 0.5 ล้านโดส

สำรองสำหรับตอบโต้การระบาด จำนวน 1 ล้านราย

สูตรวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า

จำนวนวัคซีน 1 ล้านโดส 

**รวมทั้งหมด 11.6 ล้านโดส แบ่งเป็น แอสตร้าเซนเนก้า 8 ล้านโดส ไฟเซอร์ 3.6 ล้านโดส

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net