Skip to main content
sharethis

รัฐไทยอยู่กับระบอบเผด็จการในรูปแบบต่างๆ มานาน แม้ว่ามีความพยายามในศตวรรษที่ 20 ที่จะออกจากรูปแบบเผด็จการหลายครั้ง แต่ก็ไม่มีผลอย่างยั่งยืนสักครั้ง ในที่สุดเผด็จการโดยตรงหรือซ่อนรูปก็กลับมาครอบงำรัฐใหม่อีกทุกทีไป

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น คงไม่ผิดที่จะพูดอย่างที่พูดกันอยู่เสมอว่า องค์กรและสถาบันสำคัญทางสังคม-การเมืองของไทย เช่น กองทัพ, ทุน, สถาบันพระมหากษัตริย์, สถาบันและระบบการศึกษา, องค์กรทางศาสนาและวัฒนธรรม ไม่ยอมขยับปรับเปลี่ยนไปสู่ระบอบปกครองอย่างอื่น นอกจากเผด็จการในรูปต่างๆ

แต่ความเหนียวแน่นคงทนของเผด็จการในรัฐ (และสังคม) ไทย ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า มันน่าจะมีอะไรที่ “ลึก” กว่าปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวแล้ว อย่างน้อยก็เพราะทั้งหมดเหล่านั้นล้วนเป็นปัจจัยภายนอกความเป็นมนุษย์ของคนไทย สิ่งที่ควบคู่กันไปกับพฤติกรรมของสถาบันและองค์กรดังกล่าวแล้ว คือวัฒนธรรมไทย (โลกทัศน์และระบบความสัมพันธ์ทางสังคมแบบไทย) ต่างหาก ซึ่งเป็นพื้นฐานอันเอื้ออำนวยให้ระบอบเผด็จการงอกงามอย่างไม่เสื่อมคลาย

พูดให้ง่ายกว่านั้นก็คือ คนไทยเองหรือวัฒนธรรมไทยเองนั่นแหละ มีส่วนอยู่ไม่น้อยที่ช่วยอุดหนุนให้ระบอบเผด็จการยืนยงอยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน

ด้วยเหตุดังนั้น ผมจึงอยากจะวิเคราะห์วัฒนธรรมไทย เท่าที่ผมมีความสามารถ แต่ก็วิเคราะห์เฉพาะในส่วนที่เกื้อหนุนให้ระบอบเผด็จการดำรงอยู่ได้อย่างคงทนในประเทศนี้

อ่านทั้งหมดได้ที่: https://prachatai.com/journal/2021/12/96206

ประชาไท #อ่านให้ฟัง หยิบบทความที่น่าสนใจมาอ่านให้คุณฟัง แบบไม่ต้องอ่าน

Prachatai Podcast on YouTube

Prachatai Podcast on Spotify

Prachatai Podcast on Apple Podcast

Prachatai Podcast on Podbean Service

Prachatai Podcast on Google Podcasts

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net