Skip to main content
sharethis

ในวัฒนธรรมงานสื่อมวลชนของประเทศตะวันตก แม้การฝึกงานจะเป็นพื้นที่ให้กับสื่อมวลชนจบใหม่ได้เรียนรู้ประสบการณ์พิเศษที่หาไม่ได้จากห้องเรียน แต่หากมองอีกมุมหนึ่งนี่คือ 'แรงงานแลกความหวัง-แรงงานขายฝัน' อีกตำแหน่งงานที่ไม่มีความมั่นคงในอุตสาหกรรมสื่อ แลกกับการได้เงินที่ต่ำ (หรือไม่ได้เลย) และการจ้างงานชั่วคราว ต้องอยู่กับการขูดรีดตนเองเพื่อเติมเต็มความคาดหวังที่ไม่แน่ชัดของนายจ้าง


ที่มาภาพ: International Journalists' Network

  • ในวัฒนธรรมงานสื่อมวลชนของประเทศตะวันตก งานแรกๆ ที่เกือบทุกคนต้องผ่านก็คือ ‘เด็กฝึกงาน’ สื่อมวลชนจบใหม่หลายคนต้องผ่านการฝึกงานลักษณะนี้อย่างน้อย 2 ครั้งหรือมากกว่านั้น ก่อนจะได้เป็นสื่อมืออาชีพ
  • การฝึกงานเป็นพื้นที่ให้กับสื่อมวลชนจบใหม่ได้เรียนรู้ประสบการณ์พิเศษที่ไม่สามารถหาได้จากห้องเรียน และเริ่มสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนต่างๆ ที่ได้ผลตอบแทนเป็นแนวทางการทำงานและความก้าวหน้าในอาชีพในระยะยาว
  • แต่หลายปีที่ผ่านมา การฝึกงานกลายเป็นส่วนสำคัญในแง่การเล่นพวกพ้องและสร้างเครือข่ายกับชนชั้นนำ โดยที่องค์กรข่าวได้สร้างท่อส่งตรงตำแหน่งงานดีๆ ให้กับมหาวิทยาลัยชั้นนำและกีดกันนักศึกษาที่ไม่มีสิทธิพิเศษคนอื่นๆ ออกไป
  • นอกจากนี้สื่อมวลชนฝึกงาน ยังต้องอยู่กับการขูดรีดตัวเอง จากการที่ต้องบังคับให้ตัวเองทำงานที่ยากๆ เพื่อเติมเต็มความคาดหวังที่ไม่แน่ชัดของนายจ้าง
  • ผู้ฝึกงานหลายคนจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรของตัวเองเพื่อให้ผ่านการฝึกงาน ไม่ว่าจะเป็นการที่หลายคนต้องทำงานเสริม ใช้รถของตัวเองในการทำงาน หรือต้องยืมรถพ่อแม่ใช้ การไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรของผู้ฝึกงาน เป็นการสร้างช่องว่างให้ทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างผู้ฝึกงานบางคน กับอุตสาหกรรมที่พวกเขาหวังจะเข้าไปทำงาน
  • แนวคิดเรื่อง 'แรงงานแลกความหวัง (hope labor) และ 'แรงงานขายฝัน' (aspirational labor) อธิบายว่าผู้ฝึกงานยอมรับสภาพการจ้างงานแบบนี้ก็เพราะหวังว่าประสบการณ์ที่พวกเขาได้รับ จะทำให้ได้งานที่ค่าจ้างสูงขึ้นและมีความมั่นคงมากขึ้น

การทำงานสื่อมวลชนต้องพบเจอกับช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านมากมาย สื่อมืออาชีพหลายคนอาจย้อนความทรงจำได้ว่างานแรกๆ ของพวกเขาส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นการตามไล่ตามทำข่าวการประชุมที่มีอยู่มากมายมหาศาลไม่มีจบสิ้น หรือบ้างก็ถูกเรียกตัวให้มาทำงานอย่างเร่งด่วน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่อะไรที่เด็กฝึกงานด้านอื่นๆ ได้พบเจอกัน แต่เป็นแนวปฏิบัติที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมสื่อมวลชนของตะวันตก สื่อมวลชนจบใหม่หลายคนต้องผ่านการฝึกงานลักษณะนี้อย่างน้อย 2 ครั้งหรือมากกว่านั้น ก่อนที่จะได้ทำงานประจำหรือออกไปเป็นสื่อมวลชนอิสระ (ฟรีแลนซ์)

การฝึกงานเป็นพื้นที่ให้กับสื่อมวลชนจบใหม่ได้เรียนรู้ประสบการณ์พิเศษที่ไม่สามารถหาได้จากห้องเรียน และเริ่มสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนต่างๆ ที่ได้ผลตอบแทนเป็นแนวทางการทำงานและความก้าวหน้าในอาชีพในระยะยาว

แต่ตามที่หลายคนบอกเล่าว่าในหลายปีที่ผ่านมาการฝึกงานกลายเป็นส่วนสำคัญในอุตสาหกรรมข่าวในแง่การเล่นพวกพ้องและสร้างเครือข่ายกับชนชั้นนำ โดยที่องค์กรข่าวการสร้างท่อส่งตรงงานในตำแหน่งสูงให้กับมหาวิทยาลัยชั้นนำ และกีดกันนักศึกษาที่ไม่มีสิทธิพิเศษคนอื่นๆ ออกไป

ต้องอยู่กับการขูดรีดตัวเองเพื่อเติมเต็มความคาดหวังที่ไม่แน่ชัดของนายจ้าง


ที่มาภาพ: International Journalists' Network

ตามที่ ‘มีเรียม กอลล์มิทเซอร์’ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมอนทรีออล กล่าวถึงในบทความชิ้นใหม่เกี่ยวกับการเรียนด้านสื่อสารมวลชน  ‘Laboring in journalism’s crowded, precarious entryway: Perceptions of journalism interns,’  ระบุว่านักศึกษามักจะมีมุมมองต่อการฝึกงานที่ว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยฝึกฝนความเป็นมืออาชีพและสร้างมาตรฐานทางสื่อมวลชน ซึ่งนักศึกษาก็มักคิดว่าเป็นการได้รับความรู้จาก ‘กลุ่มคนที่ทำงานจริง’ แลกกับการได้เงินที่ต่ำ (หรือไม่ได้เลย) และการจ้างงานชั่วคราว

กอลล์มิทเซอร์ มีความเห็นไปในทางที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมการฝึกงาน เธอแย้งว่าการฝึกงานที่ได้ค่าจ้างต่ำหรือไม่ได้เลย ทั้งยังมีสถานะไม่มั่นคงและชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน ไม่ใช่สิ่งที่ต้องแลกเพื่อการฝึกฝน แต่การฝึกงานที่แท้เป็นไปเพื่อฝึกให้อยู่กับความไม่มั่นคงที่เป็นธรรมชาติของการจ้างในอุตสาหกรรมข่าวที่พวกเขากำลังจะได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง และฝึกให้เคยชินกับเงื่อนไขการทำงานสื่อมวลชนที่เป็นอยู่ แต่ขณะเดียวกันยังต้องพยายามเค้นตัวเองในการฝึกงาน เพื่อหวังว่าสักวันหนึ่งพวกจะได้มีงานที่มั่นคงและเป็นที่พึงพอใจ

กอลล์มิทเซอร์ ได้ข้อสรุปทั้งหมดนี้จากการสัมภาษณ์สื่อมวลชนรุ่นใหม่ 10 คน ในแคนาดาและเยอรมนี ผู้ซึ่งแต่ละคนเคยผ่านการฝึกงานมาแล้วอย่างน้อย 2 ครั้ง แม้อาจจะเป็นกลุ่มตัวอย่างที่น้อย แต่ก็เต็มไปด้วยข้อมูลและเรื่องราวเชิงลึกที่น่าสนใจ ทำให้เธอพบว่าผู้ฝึกงานที่ขวนขวายตั้งใจที่ได้รับคำแนะและการบ่มเพาะที่ดี กลับมักจะได้รับประสบการณ์ที่ถูกปฏิบัติไม่ดี เช่นถูกเมินเฉยจากคนทำงานที่ดูจะไม่เคยมีเวลาให้ และบ่อยครั้งได้รับคำสั่งที่ไม่มีเหตุผลจากคนทำงานตำแหน่งที่สูงกว่า เธอมองว่า ‘กลุ่มคนที่ทำงานจริง’ ไม่มีประสิทธิภาพที่จะหารูปแบบการฝึกงานที่สามารถพัฒนาศักยภาพ ทำให้ไม่มีการปูรากฐานที่เพียงพอให้ผู้มาฝึกงานได้มีบรรทัดฐานและคุณค่าที่ดีของการเป็นสื่อมวลชน

กลายเป็นว่าพวกเขาต้องอยู่กับการขู่รีดตัวเอง จากการที่พวกเขาบังคับให้พวกเขาเองทำงานที่ยากๆ เพื่อเติมเต็มความคาดหวังที่ไม่แน่ชัดของนายจ้าง

“มันบ่งบอกได้ว่า” เธอกล่าว “เป็นคนฝึกงานเอง ไม่ใช่นายจ้างที่พยายามทำงานหนักเพื่อให้การฝึกงานนั้นบรรลุจุดประสงค์ที่มันควรจะเป็น”

ผู้ฝึกงานหลายคนจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรของตัวเองเพื่อให้ผ่านการฝึกงาน ไม่ว่าจะเป็นการที่หลายคนต้องทำงานเสริม ใช้รถของตัวเองในการทำงาน หรือต้องยืมรถพ่อแม่ใช้ การไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรของผู้ฝึกงาน เป็นการสร้างช่องว่างให้ทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างผู้ฝึกงานบางคน กับอุตสาหกรรมที่พวกเขาหวังจะเข้าไปทำงาน

การฝึกงานที่ได้ค่าจ้างต่ำหรือไม่ได้เลย ทั้งยังมีสถานะไม่มั่นคงและชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน ไม่ใช่สิ่งที่ต้องแลกเพื่อการฝึกฝน แต่การฝึกงานที่แท้เป็นไปเพื่อฝึกให้อยู่กับความไม่มั่นคงที่เป็นธรรมชาติของการจ้างในอุตสาหกรรมข่าวที่พวกเขากำลังจะได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง และฝึกให้เคยชินกับเงื่อนไขการทำงานสื่อมวลชนที่เป็นอยู่ แต่ขณะเดียวกันยังต้องพยายามเค้นตัวเองในการฝึกงาน เพื่อหวังว่าสักวันหนึ่งพวกจะได้มีงานที่มั่นคงและเป็นที่พึงพอใจ

มีเรียม กอลล์มิทเซอร์’ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมอนทรีออล

'แรงงานแลกความหวัง-แรงงานขายฝัน'


ที่มาภาพ: International Journalists' Network

กอลล์มิทเซอร์ ได้ใช้แนวคิด ‘แรงงานแลกความหวัง’ (hope labor) และ ‘แรงงานขายฝัน’ (aspirational labor) เพื่อมาอธิบายว่าทำไมผู้ฝึกงานถึงยอมรับสภาพการจ้างงานแบบนี้ ที่เป็นเหมือนการเบียดเสียดกันเข้าไปทำงานในระดับมืออาชีพ ผู้ฝึกงานยอมรอคอยโดยหวังว่าประสบการณ์ที่พวกเขาได้รับจะทำให้ได้งานที่ค่าจ้างสูงขึ้นและมีความมั่นคงมากขึ้น

แต่กอลล์มิทเซอร์ บอกว่าแล้วพวกเขาจะได้เรียนรู้ว่าจริงๆ แล้วการฝึกงานเป็นการเรียนรู้เพื่อให้เคยชินกับรูปแบบของสภาพการจ้างงานในอุตสาหกรรมข่าว ซึ่งการได้ทำงานในรูปแบบที่ผู้ฝึกงานต้องการนั้นอาจจะไม่เกิดขึ้นเลย มันทำให้เห็นภาพที่ว่าการทำงานสื่อมวลชนในช่วงเริ่มต้นนั้น ต้องทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ภายใต้การบีบรัดจากสภาพเศรษฐกิจที่โกลาหลนั้นมันเป็นอย่างไร

 

ที่มา
Journalism internships are an education — in precarious work (MARK CODDINGTON AND SETH LEWIS, NiemanLab, 16 November 2021)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net