Skip to main content
sharethis

'สุชาติ​ ​ธา​ดา​ธำ​รง​เวช​' อดีต รมว.คลัง แนะลดภาษีน้ำมันลง​ 1 แสนล้าน​ ​เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายประชาชน​ พร้อมกับลดรายจ่ายรัฐบาล​ที่ฟุ่มเฟือยลง​ 1 แสนล้าน 


สุชาติ​ ​ธา​ดา​ธำ​รง​เวช​ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

13 มี.ค. 2565 ทีมสื่อพรรคเพื่อไทย รายงานว่า ศ.ดร.สุชาติ​ ​ธา​ดา​ธำ​รง​เวช​ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่าภาวะสงครามในยูเครน​โดยการบุกของรัสเซีย​ ทำให้มีมาตราการตอบโต้​จาก​ประเทศ​ NATO เป็นจำนวนมาก ในด้านการค้า, การโอนเงิน​ และการยึดเงินและทรัพย์สิน​ไว้ก่อน​ ซึ่งจะมีผลต่อเศรษฐกิจ​โลก​ ทำให้ราคาสินค้า​โภคภัณฑ์​ และสินค้าพื้นฐาน​ (น้ำมัน​ ก๊าซ)​ แพงขึ้น เนื่องจาก​ ปริมาณสินค้าลดลง​ ​จะเกิดเงินเฟ้อจากต้นทุนที่สูงขึ้น​ (Cost Push Inflation) ราคาสินค้าจะปรับขึ้นไปอยู่บนระดับใหม่​ อัตราเงินเฟ้อนี้​ จะไม่เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ​ (Spiral Inflation)​ หากไม่มีการพิมพ์แบงค์มาอุดหนุนสงคราม​ 

แต่ถ้ามีรัฐบาลประเทศใดๆ​ พิมพ์แบงค์มา​ใช้​มากเกินไป​ก็จะเกิดภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ​ ​ เช่น​ ​ญี่ปุ่นเคยพิมพ์แบงค์บาทมาใช้มากมาย​ ตอนเข้ายึดประเทศไทย​ ในสงคราม​โลกครั้งที่​ 2 ซึ่งธนาคารโลก​ คาดว่าเงินเฟ้อ​หรือการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหนนี้​ จะทำให้ประเทศยากจนในแอฟริกา​ และอเมริกาใต้ เกิดความไม่สงบ​ และเกิดการจลาจลได้ เพราะประชาชนไม่มีกินอยู่ไม่ได้​

สำหรับประเทศไทย​ ระดับราคาสินค้าทั่วไป​ จะถูกยกขึ้นไปอยู่ระดับใหม่​ รัฐบาลจึงควรค่อยๆ​ ปรับราคา​ขึ้น โดยใช้งบประมาณอุดหนุน​ เพื่อให้ประชาชนค่อยๆ​ รับราคาใหม่​ รัฐบาลเก็บภาษีน้ำมันปีละกว่า​ 2 แสน​ล้านบาท​ นำไปใช้จ่ายฟุ่มเฟือย​ ไม่เป็นประโยชน์​ ไปขยายระบบราชการ, ไปซื้ออาวุธ, ไปโฆษณา​ตัวรัฐบาล​เอง, ไปทำ​ IO​ รัฐบาลจึงควรลดรายจ่ายด้านนี้ลง​ 1 แสนล้านบาท​ แล้วไปลดภาษีน้ำมันลง​ 1 แสนล้านบาท​ เพื่อลดค่าครองชีพประชาชน​ และให้ประชาชนใช้เงินที่เขาหามาเอง​ได้มากขึ้น

ศ.ดร.สุชาติ​ เสนอว่ารัฐบาลควรรีบสร้างรายได้ให้ประเทศ​ โดยเปิดระบบเศรษฐกิจ, เปิดการท่องเที่ยว​ เพื่อประชาชนจะสามารถหารายได้มากขึ้น​ ​และให้ขึ้นค่าแรงงาน​ขั้นต่ำต่อวัน จาก​ 300​ บาท​ เป็น​ 500​ บาท เพื่อให้คนจนมีรายได้เพียงพอ​ ทันกับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น โดยรัฐให้สิ่งจูงใจ,​ ให้การลดหย่อนภาษี​ เพื่อให้ภาคธุรกิจ​ใช้เทคโนโลยี่​ที่สูงขึ้น​ ซึ่งประธานาธิบดีสหรัฐ​ฯ ก็ได้ประกาศนโยบายเช่นเดียวกันนี้ เมื่อสัปดาห์​ก่อน และให้รัฐบาลดูแลค่าเงินบาทให้แข่งขันได้​ ไม่แข็งจนเกินไป​ จนไม่มีคนซื้อ​สินค้าเรา แต่ไม่อ่อนเกินไป​ จนไปลดฐานะความเป็นอยู่ของคนไทย​ ทั้งนี้​เพื่อให้การส่งออกและท่องเที่ยวเติบโตมากขึ้น​ ได้เงินตราต่างประเทศ​มาแล้ว​ สามารถแลกเป็นเงินบาทได้มูลค่าสูงขึ้น

ศ.ดร.สุชาติ​ ระบุว่าในภาวะสงคราม​ สินค้าออกจะขายได้ดี​ และได้ราคาดี​อยู่แล้ว​ เมื่อประเทศไทย​ได้เงินตราต่างประเทศมาแล้ว ยังสามารถแลกเงินบาทได้มากขึ้น ก็จะทำให้มีเงินหมุนเวียนในประเทศมากขึ้น​ จะไปเพิ่มการจ้างงาน, เพิ่มรายได้คนทั่วประเทศ, เพิ่มการบริโภค, เพิ่มการออมและการลงทุน ซึ่งจะไปเพิ่มการใช้​กำลังการผลิต (capacity utilization​) ซึ่งการใช้กำลังการผลิตของไทยยังต่ำอยู่ประมาณ​ 65-75%  เท่านั้น​ เทียบกับญี่ปุ่น, เกาหลี​ ที่ใช้กำลังการผลิต​ใกล้ๆ​ 100%, การเพิ่มกำลังการผลิต​ จะไปเพิ่ม​ GDP และเพิ่มรายได้ภาษีให้รัฐบาล ภาวะเงินเฟ้อจาก​ต้นทุน​ทึ่สูงขึ้น ยังไม่จำเป็นต้องรีบขึ้นดอกเบี้ย​ เพราะจะทำให้ (ก)​ เงินบาทแข็งค่า​ ไปลดการส่งออก​และท่องเที่ยว และ​ (ข)​ ต้นทุนการเงินเพิ่มขึ้น​ ไปลดการบริโภคและการลงทุน​ในประเทศ ซึ่งจะทำให้​ GDP​ ลดลง

ศ.ดร.สุชาติ​ ทิ้งท้ายว่าแต่ประเทศตะวันตก​ อาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ย​ เพื่อลดเงินเฟ้อ​ เพราะเดิมเขา​ก็พิมพ์แบงค์มา​ใช้มากเกินไปอยู่แล้ว​ ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยโลกสูงขึ้น​ อาจทำให้เงินไหลออกจากตลาดทุนและตลาดทรัพย์สิน​ของไทยไปบ้าง​ แต่หากเราไม่ขึ้นดอกเบี้ยตามทันที​ เงินบาทก็จะอ่อนค่าลง​ ทำให้​การส่งออก​ และ GDP​ เพิ่มขึ้น​ เงินตราต่างประเทศ​ ก็จะไหลกลับเข้ามาในตลาดทุน​ ในที่สุด ดอกเบี้ยไทยก็จะเพิ่มตามดอกเบี้ยโลก​ (หมายถึง​ ดอกเบี้ยที่แท้จริง​ คืออัตราดอกเบี้ยที่ปรับเงินเฟ้อแล้ว)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net