Skip to main content
sharethis

นิด้าโพลเผยผลสำรวจ คนต่างจังหวัด 66.14% อยากได้เลือกตั้งผู้ว่าฯ เอง ‘มาก’ และ 57.80% เห็นว่าผู้ว่าฯที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงกับผู้ว่าฯที่มาจากการแต่งตั้งของส่วนกลาง "มีความแตกต่างอย่างมาก" 

25 เม.ย.2565 เมื่อวันที่ 24 เม.ย.ที่ผ่านมา ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “คนต่างจังหวัด อยากเลือกตั้งผู้ว่าฯ ของตนเองหรือไม่” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18-20 เมษายน 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,320 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคนต่างจังหวัด อยากเลือกตั้งผู้ว่าฯ ของตนเองหรือไม่ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความต้องการของประชาชนในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 66.14 ระบุว่า อยากได้มาก รองลงมา ร้อยละ 18.64 ระบุว่า ค่อนข้างอยากได้ ร้อยละ 10.07 ระบุว่า ไม่อยากได้เลย ร้อยละ 3.79 ระบุว่า ไม่ค่อยอยากได้ และร้อยละ 1.36 ระบุว่า เฉยๆ อย่างไรก็ได้

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในจังหวัด กับการมีผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการแต่งตั้งจากส่วนกลางจะทำให้ผลของการพัฒนาจังหวัดมีความแตกต่างกัน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 57.80 ระบุว่า มีความแตกต่างอย่างมาก ในผลของการพัฒนาจังหวัด รองลงมา ร้อยละ 27.05 ระบุว่า ค่อนข้างมีความแตกต่าง ในผลของการพัฒนาจังหวัด ร้อยละ 8.71 ระบุว่า ไม่มีความแตกต่างเลย ในผลของการพัฒนาจังหวัด ร้อยละ 5.91 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความแตกต่าง ในผลของการพัฒนาจังหวัด และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่แน่ใจ

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 28.41 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 19.62 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 37.05 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.92 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 48.11 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.89 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 13.18 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.88 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 19.32 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.51 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.11 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.91 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.42 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.06 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่นๆ และร้อยละ 0.61 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 30.53 สถานภาพโสด ร้อยละ 66.90 สมรสแล้ว ร้อยละ 2.27 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.30 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส 

ตัวอย่าง ร้อยละ 28.03 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 35.45 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.03 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.02 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.09 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.38 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่าง ร้อยละ 9.39 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.47 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 19.70ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.09 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.32 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 22.35 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 5.23 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.45 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่าง ร้อยละ 24.17 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.82 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.29 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.83 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.70 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 3.48 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.71 ไม่ระบุรายได้

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net