จากกรณีดาราฮอลลีวู้ด 'รัสเซล โครว์' ที่เดินทางเข้ามาทำงานในไทย ถ่ายภาพเสาไฟของไทยซึ่งมีสายพันรุงรังจนเกิดเป็นกระแสในโซเชียลมีเดีย โดยในเวลาต่อมาการไฟฟ้านครหลวงได้ออกมาปฏิเสธว่าสายที่ปรากฏในภาพนั้นเป็นสายสื่อสาร ไม่ใช่สายไฟของการไฟฟ้านครหลวง 'Rocket Media Lab' ชวนเดินทางสำรวจว่าถนนเส้นไหนเอาสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงดินบ้าง
ที่มาภาพ: kmarius
- สายระโยงระยางที่เราเห็นอยู่บนเสาไฟฟ้ามี 3 แบบ คือสายไฟฟ้ารับผิดชอบโโย กฟน. สายสื่อสารของบริษัทเอกชน รับผิดชอบโดย กสทช. และสายสื่อสาร CCTV รับผิดชอบโดย กทม.
- การนำสายไฟฟ้าลงดินของ กฟน. เริ่มตั้งแต่ปี 2527 โดยโครงการแรกที่มีการนำสายไฟฟ้าลงดิน คือโครงการสีลม
- นอกจากการนำสายสื่อสารลงดินไฟพร้อมกับโครงการนำสายไฟฟ้าลงดินแล้ว โครงการนำสายสื่อสารลงดินเพิ่งจะเริ่มทำเมื่อปี 2560 นี่เอง
- ในขณะที่ กทม. เพิ่งจะปรากฏโครงการการนำสายสื่อสาร CCTV ลงดินพร้อมงบประมาณในข้อบัญญัติงบประมาณปี 2562
- ก่อนหน้านี้การนำสายสื่อสารลงดินเป็นงบฯ ของ อปท. แต่ล่าสุดรัฐบาลเล็งรับเป็นเจ้าภาพในการนำสายสื่อสารลงดินทั่วประเทศ โดยมีข้อเสนอใช้เงินจากกองทุน USO
- กฟน.ได้นำสายไฟฟ้าลงดินเสร็จสิ้นไปแล้ว 6 โครงการ ก็คือ สีลม จิตรลดา ปทุมวัน พหลโยธิน, พญาไท, สุขุมวิท รวม 46.6 กม.
- การนำสายสื่อสารลงดินของ กสทช. จำนวน 72 เส้นทาง เสร็จสิ้น 48 เส้นทาง 70.992 กม.
- การนำสายสื่อสารลงดินของสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร 36 เส้นทาง เสร็จสิ้น 11 เส้นทาง
จากกรณีดาราฮอลลีวู้ด รัสเซล โครว์ ที่เดินทางเข้ามาทำงานในไทย ถ่ายภาพเสาไฟของไทยซึ่งมีสายพันรุงรังจนเกิดเป็นกระแสในโซเชียลมีเดีย โดยในเวลาต่อมาการไฟฟ้านครหลวงได้ออกมาปฏิเสธว่าสายที่ปรากฏในภาพนั้นเป็นสายสื่อสาร ไม่ใช่สายไฟของการไฟฟ้านครหลวง
Rocket Media Lab ชวนเดินทางสำรวจว่าถนนเส้นไหนเอาสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงดินบ้าง
สายไฟฟ้า
บนเสาไฟฟ้าต้นหนึ่ง (ถนนบางเส้นแยกกันระหว่างเสาไฟฟ้าที่ให้ไฟส่องสว่างกับเสาไฟฟ้าที่เป็นตัวพาดสายไฟ) ประกอบไปด้วยสายไฟหลายแบบด้วยกัน หากเป็นสายไฟฟ้าก็จะมีสายไฟฟ้าแรงสูงที่อยู่ด้านบนสุด ต่ำลงมาก็คือสายไฟฟ้าแรงต่ำ ในกรุงเทพฯ รับผิดชอบโดยการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ในต่างจังหวัดรับผิดชอบโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
และที่เรามักเห็นเป็นเส้นม้วนระโยงระยางเป็นวงกลมอยู่ตามเสาไฟฟ้าที่กลายมาเป็นดราม่าอยู่บ่อยๆ นั้นก็คือสายสื่อสาร ซึ่งมีทั้งสาย CCTV (กล้องวงจรปิดและกล้องจราจร) รับผิดชอบโดยกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสายสื่อสาร ทั้งสายโทรศัพท์, อินเทอร์เน็ต, เคเบิ้ลทีวี ซึ่งรับผิดชอบโดย กสทช. เช่าการพาดสายโดยจ่ายค่าเช่าให้ กฟน.
สำหรับการนำสายไฟฟ้าลงดินนั้น กฟน.ริเริ่ม “โครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน” ในพื้นที่ที่มีความสำคัญ ในแผนฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 โดยในช่วงแรกนั้นวางไว้ 10 โครงการ ได้แก่ สีลม, ปทุมวัน, จิตรลดา, พหลโยธิน, พญาไท, สุขุมวิท (บางส่วน), นนทรี, พระราม 3, รัชดาภิเษก-อโศก และ รัชดาภิเษก-พระราม 9
แต่โครงการแรกที่มีการอนุมัติงบประมาณและลงมือทำก็คือถนนสีลม ความยาว 2.7 กม. โดยเริ่มต้นทำในปีพ.ศ.2527 และเสร็จสิ้นในปีพ.ศ. 2531 ตามมาด้วยโครงกรปทุมวัน 6.7 กม. (2535-2550) โครงการจิตรลดา 6.8 กม. (2539-2550) โครงการพหลโยธิน 8 กม. (2547-2557) โครงการพญาไท 3.8 กม. (2547-2557) และโครงการสุขุมวิท (บางส่วน) 7 กม. (2547-2557)
จากนั้นในปีพ.ศ. 2551 กฟน.ก็ได้มีการจัดทำแผนงานเปลี่ยนระบบสายฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน (2551-2556) อีก 3 โครงการคือ ปทุมวัน จิตรลดา, พญาไท (เพิ่มเติม) 25.2 กม. โดยเพิ่มเติมจากโครงการเดิม สุขุมวิท (ที่เหลือ) พระราม 3 และนนทรี ตามมาด้วยโครงการรัชดาภิเษก – อโศก และโครงการ รัชดาภิเษก – พระราม 9 ระยะทาง 22.5 กม. ในปีพ.ศ.2555 จากนั้นในปีพ.ศ.2557 ก็มีแผนโครงการสายไฟฟ้าลงดินตามแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง ตามมาด้วยโครงการสายไฟฟ้าลงดินตามแนวรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล ในปีพ.ศ.2558
ก่อนที่ในปีพ.ศ. 2558 จะมีการทบทวนแผนเดิมและเปลี่ยนเป็นแผนงานใหม่เพื่อรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียนระยะทางรวม 261.6 กม. วงเงิน 143,092 ล้านบาท (ระยะที่ 1 จำนวน 39 เส้นทาง ระยะทางรวม 127.3 กม.) จากนั้นในปีพ.ศ. 2559 จึงมีความคิดเพื่อบูรณาการการนำทั้งสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงดิน เพื่อรองรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน อันเป็นแผนพัฒนากรุงเทพฯ 20 ปีซึ่งริเริ่มมาจากมรว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เมื่อครั้งทำงานเป็นผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มีการเซ็นข้อตกลงร่วม (MOU) ระหว่าง กสทช., กฟน., ทีโอที, สตช, กทม. เพื่อดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน รองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน
โดยหลังจากมีการเปลี่ยนแผนใหม่เพื่อรองรับการเป็นมหานครอาเซียน กฟน. จึงนำเอาแผนเดิมมาปรับปรุงในปีพ.ศ. 2560 เป็นแผนงานเปลี่ยนระบบสายฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน 2551-2556 (ฉบับปรับปรุง) ซึ่งในปีเดียวกัน ครม.เห็นชอบให้ดำเนินการตามแผนจากปี 2558 วงเงิน 9,088.8 ล้านบาท
ต่อมา ในปีพ.ศ. 2561 คสช. ก็ได้อนุมัติแผนพัฒนา 10 ปี (2559-2568) ในการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินใน 3 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ 88.1 กม. สมุทรปราการ 25.7 กม. นนทบุรี 13.5 กม. วงเงิน 48,717 ล้านบาท และในปีเดียวกันนี้ยังปรากฏแผนงานสายไฟฟ้าลงดินโครงการสายไฟฟ้าลงดินตามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพูอีกด้วย จากนั้นในปีพ.ศ. 2562 กฟน.ก็ได้นำเสนอแผนงานเปลี่ยนระบบสายฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินเพิ่มเติม เป็นฉบับเร่งรัด (Quick Win) ใน 3 เส้นทางตามแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วงและเขียว ระยะทาง 20.5 กม. วงเงิน 3,673.40 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นแผนล่าสุด ณ ปัจจุบันนี้
จากปีพ.ศ.2527 จนถึงปัจจุบัน เฉพาะในส่วนของกรุงเทพมหานคร กฟน.ได้นำสายไฟฟ้าลงดินเสร็จสิ้นไปแล้ว 6 โครงการ ก็คือ สีลม จิตรลดา ปทุมวัน พหลโยธิน, พญาไท, สุขุมวิท รวม 46.6 กม.
โดยโครงการที่ยังคงดำเนินการอยู่ก็คือ โครงการนนทรี, พระราม 3, รัชดาภิเษก-อโศก, รัชดาภิเษก-พระราม 9, โครงการสายไฟฟ้าลงดินตามแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง,โครงการสายไฟฟ้าลงดินตามแนวรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล,โครงการสายไฟฟ้าลงดินตามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพู, โครงการมหานครอาเซียน,โครงการ Quick Win และเตรียมวางแผนเส้นทางแผนงานเปลี่ยนระบบสายฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินเพื่อรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน ระยะที่ 2 ระยะทาง 134.3 กม. ที่เหลือ
สายสื่อสาร
การนำสายสื่อสารลงดินนั้น ในช่วงแรกเป็นผลพวงมาจากโครงการริเริ่ม “โครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน” ของ กฟน. เนื่องด้วยสายสื่อสารนั้นพาดอยู่บนเสาไฟฟ้าที่ กฟน.รับผิดชอบอยู่แล้ว และการนำสายไฟฟ้าลงดินนั้น กฟน.ต้องมีการหักเสา จึงทำให้มีการนำสายสื่อสารลงดินไปด้วย เช่น โครงการสีลม
แต่หากเป็นโครงการการนำสายสื่อสารลงดินโดยตรงนั้น เกิดขึ้นจากแผนพัฒนากรุงเทพฯ 20 ปีเพื่อเป็นมหานครอาเซียน ซึ่งริเริ่มมาจาก มรว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เมื่อครั้งทำงานเป็นผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร โดยได้มีการเซ็นข้อตกลงร่วม (MOU) ระหว่างกสทช., กฟน., ทีโอที, สตช, กทม. ในปีพ.ศ. 2559
แผนแรกที่เกิดขึ้นภายใต้การทำแผนของ กสทช. ก็คือ แผนการจัดระเบียบสายสื่อสารและการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน พ.ศ.2559-60 โดยเป็นการสำรวจเส้นทางที่นำสายไฟฟ้าลงดินแล้ว แต่ยังไม่ได้นำสายสื่อสารลงดิน จำนวน 5 เส้นทาง ระยะทาง รวม 3.7 กิโลเมตร ต่อมาคือแผนการนำสายสื่อสารลงใต้ดินในปี 2560 จำนวน 4 โครงการ 9 เส้นทาง และแผนการจัดระเบียบสายสื่อสารในซอยพหลโยธิน 8 (ซอยสายลม)
ตามมาด้วยแผนในปีพ.ศ.2561 ประกอบด้วย 5 เส้นทาง ระยะทาง 4.4 กม. เส้นทางจัดระเบียบสายสื่อสารเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร จำนวน 2 เส้นทาง ระยะทาง 7 กม. และเส้นทางจัดระเบียบสายสื่อสารของการไฟฟ้านครหลวง จำนวน 23 เส้นทาง ระยะทาง 45 กม.
นอกจากนี้ในปีพ.ศ.2561 ในส่วนของกรุงเทพมหานคร โดยสำนักจราจรและขนส่ง ยังได้มีแผน “การนำสายสื่อสารลงดินตามโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวง” ออกมาจำนวน 39 เส้นทาง โดยจะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นแผนของกสทช.หรือแผนของกทม. เส้นทางการนำสายสื่อสารลงดินล้วนแล้วแต่ดำเนินตามแผนการนำสายไฟฟ้าลงดินของกฟน.ทั้งสิ้น เนื่องด้วยสายสื่อสารนั้นพาดอยู่บนเสาไฟฟ้าของ กฟน. จึงเป็นการง่ายในการทำงานหากจะดำเนินงานตามเส้นทางที่ กฟน.ทำไว้แล้วหรือกำลังดำเนินการอยู่
จากนั้นในปีพ.ศ. 2562 กสทช.นำเสนอแผนการนำสายสื่อสารลงดิน 26 เส้นทาง ระยะทาง 12.605 กม. และสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานครเองก็ปรากฏแผนพร้อมงบประมาณในการนำสายสื่อสารลงดินในปีพ.ศ. 2562 นี้ 8 โครงการ 12 เส้นทาง ในปีพ.ศ.2563 กสทช.นำเสนอแผนการนำสายสื่อสารลงดิน 12 เส้นทาง ระยะทาง 48.7 กม. และที่ยังทำไม่เสร็จในปี 2562 อีก 8 โครงการ ส่วนสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมานคร มีแผนและงบประมาณนำสายสื่อสารลงดินในปีพ.ศ.2563 จำนวน 13 โครงการ จำนวน 31เส้นทาง (เป็นงบฯ ต่อเนื่องจากปี 2562 จำนวน7 เส้นทาง)
และในปีพ.ศ.2564 กสทช. นำเสนอแผนการนำสายสื่อสารลงดินในเส้นทางที่ไม่สามารถนำสายลงใต้ดินได้ในเขตการไฟฟ้านครหลวง ในปี 2563 จำนวน 4 โครงการ เส้นทางเดิมจากปี 2563 12 เส้นทาง และแผนภายใต้มหานครอาเซียน 3 โครงการ (เป็นเส้นทางซ้ำกับ กทม.) และสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร มีแผนและงบประมาณการนำสายสื่อสารลงดิน 8 โครงการ 23 เส้นทาง (เป็นงบฯ ต่อเนื่องจากปี 2563 ทั้ง 23 เส้นทาง และมี 6 เส้นทางเป็นงบฯ ต่อเนื่องไปถึงปี 2565)
ถนนเส้นไหนนำ ‘สายไฟฟ้า’ ลงดินบ้าง
โครงการสีลม รวม 2.7 กม.
ถนนสีลม (จากแยกเจริญกรุง -แยกศาลาแดง)
โครงการปทุมวัน รวม 6.7 กม.
ถนนพระรามที่ 4 (จากหน้าอาคารโอลิมเปีย -สี่แยกสามย่าน) ถนนพญาไท (จากสี่แยกสามย่าน -สี่แยกราชเทวี) ถนนพระรามที่ 1 (จากสี่แยกปทุมวัน -สี่แยกราชประสงค์) ถนนเพลินจิต (จากสี่แยกราชประสงค์ -ทางรถไฟ) ถนนราชดําริ (จากเชิงสะพานเฉลิมโลก -สี่แยกศาลาแดง)
โครงการจิตรลดา รวม 6.8 กม.
ถนนพระราม 6 (จากถนนเพชรบุรี -ถนนราชวิถี) ถนนศรีอยุธยา (จากถนนพระราม 6 -ถนนสวรรคโลก) ถนนราชวิถี (จากถนนพระราม 6 -ถนนสวรรคโลก) ถนนสวรรคโลก (จากถนนราชวิถี -ถนนสุโขทัย) ถนนสุโขทัย (จากถนนสวรรคโลก -ถนนพิชัย) ซอยสุโขทัย 3 (ตลอดซอย) ถนนพิชัย (จากถนนสุโขทัย -ถนนราชวิถี) ถนนอู่ทองใน (จากถนนราชวิถี -ถนนราชดําเนินนอก) ถนนราชดําเนินนอก (จากถนนอู่ทองใน -ถนนพิษณุโลก) ถนนพิษณุโลก (จากถนนราชดําเนินนอก -ถนนพระราม 6) ถนนนครสวรรค์ (จากถนนพิษณุโลก -คลองผดุงกรุงเกษม)
โครงการพหลโยธิน รวม 8 กม.
ถนนพหลโยธิน (จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ -ถนนลาดพร้าว) ถนนประดิพัทธ์ (จากถนนพหลโยธิน -ถนนพระราม6) ถนนวิภาวดีรังสิต (จากบริษัทการบินไทยจํากัด -ซ.เฉยพวง และ ซ.เฉยพ่วง )ซ.แยกถนนพหลโยธิน คือ ซ.พหลโยธิน 7 และ8
โครงการพญาไท รวม 3.8 กม.
ถนนพญาไท (จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ -ถนนเพชรบุรี) ถนนโยธี (จากถนนพญาไท -ซอยเสนารักษ์) ถนนศรีอยุธยา (จากถนนพญาไท -ถนนราชปรารภ) ถนนเพชรบุรี (จากถนนพญาไท -ถนนบรรทัดทอง)
โครงการสุขุมวิท รวม รวม 12.6 กม.
ถนนสุขุมวิท (จากถนนเพลินจิต -ซอยสุขุมวิท 81) ซอยแยกถนนสุขุมวิท คือ ซอยสุขุมวิท 3, 15, 18, 20, 22, 24, 31 และ 33
โครงการปทุมวัน จิตรลดา พญาไท (เพิ่มเติม) รวม 6 กม.
ถนนโยธี (ซอยเสนารักษ์ – ถนนพระราม 6) ถนนศรีอยุธยา (แยกพญาไท – ซอยศรีอยุธยา 7) ถนนเพชรบุรี (แยกบรรทัดทอง – แยกอุรุพงศ์) ถนนราชปรารภ (แยกประตูน้ำ – แยกศรีอยุธยา) ถนนพระรามที่ 1 (แยกปทุมวัน – เชิงสะพานกษัตริย์ศึก) ถนนราชวิถี (จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ -ถ. พระราม 6)
โครงการนนทรี รวม 8.3 กม. โครงการพระราม 3 รวม 10.9 กม. โครงการรัชดาภิเษก-อโศก รวม 8.2 กม. โครงการรัชดาภิเษก-พระราม 9 รวม 14.3 กม. โครงการสายไฟฟ้าลงดินตามแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง 2557 โครงการสายไฟฟ้าลงดินตามแนวรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล 2558 โครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าใต้ดินเพื่อรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน ระยะที่ 1 จำนวน 39 เส้นทาง ระยะทางรวม 127.3 กม. โครงการสายไฟฟ้าลงดินตามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพู 2561 โครงการ เปลี่ยนระบบสายฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ฉบับเร่งรัด (Quick Win) จำนวน 3 เส้นทางตามแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วงและเขียว ระยะทาง 20.5 กม. โครงการ เปลี่ยนระบบสายฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินเพื่อรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน ระยะที่ 2 ระยะทาง 134.3กม.
ถนนเส้นไหนนำ ‘สายสื่อสาร’ ลงดินบ้าง
ถนนโยธี (ซอยเสนารักษ์ – ถนนพระราม 6) ถนนศรีอยุธยา (แยกพญาไท – ซอยศรีอยุธยา 7) ถนนเพชรบุรี (แยกบรรทัดทอง – แยกอุรุพงศ์) ถนนราชปรารภ (แยกประตูน้ำ – แยกศรีอยุธยา) ถนนพระราม 1 (แยกปทุมวัน – เชิงสะพานกษัตริย์ศึก)
โครงการจิตรลดา
ถนนพิษณุโลก (แยกพาณิชยการพระนคร–แยกยมราช)
โครงการพหลโยธิน
ถนนประดิพัทธ์ (แยกประดิพัทธ์ – แยกสะพานควาย) ถนนพหลโยธิน (แยกลาดพร้าว –อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ)
โครงการพญาไท
ถนนพญาไท (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ – แยกปทุมวัน) ถนนศรีอยุธยา (ถนนพญาไท – ถนนราชปรารภ) ถนนโยธี (ถนนพญาไท – ซอยเสนารักษ์) ถนนเพชรบุรี (ถนนพญาไท – ถนนบรรทัดทอง)
โครงการสุขุมวิท
-
ถนนสุขุมวิท (ทางรถไฟ – ซอยสุขุมวิท 81) ซอยสุขุมวิท 3 (ซอยนานา)
ถนนราชปรารภ (ถนนศรีอยุธยา – แยกประตูน้ำ) ถนนพระราม 1 (ถนนพญาไท – สะพานกษัตริย์ศึก) ถนนพิษณุโลก (แยกพาณิชยการพระนคร – แยกยมราช) ถนนศรีอยุธยา (ถนนพญาไท – ถนนราชปรารภ) ถนนราชดำเนินนอก (สะพานผ่านฟ้า– สะพานมัฆวานรังสรรค์)
โครงการถนนนานา
สุขุมวิท ซ. 3 (ถนนสุขุมวิท -คลองแสนแสบ)
โครงการนนทรี
ถนนสาธุประดิษฐ์ (ถนนเลียบทางด่วนเฉลิมมหานคร -ซอยสาธุประดิษฐ์ 12) ซอยสว่างอารมณ์ (ตั้งแต่ถนนสาธุประดิษฐ์ -ถนนนราธิวาสราชนครินทร์)
โครงการถนนวิทยุ
ช่วงที่หนึ่ง (ถนนพระราม 4 -แยกสารสิน) ช่วงที่สอง (แยกสารสิน -ถนนเพลินจิต)
โครงการถนนพระจันทร์
ถนนหน้าพระธาตุ (ถนนหน้าพระลาน -หน้าทางเข้า ม. ธรรมศาสตร์) ถนนพระจันทร์ (ถนนหน้าพระธาตุ -ถนนมหาราช) ถนนมหาราช (หน้าพระลาน -ถนนพระจันทร์)
โครงการจิตรลดา (เพิ่มเติม)
ถนนเพชรบุรี (แยกยมราช -แยกอุรุพงษ์) ถนนนครสวรรค์ (แยกนางเลิ้ง -คลองผดุงกรุงเกษม)
โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนข้าวสาร
ถนนข้าวสาร (ตั้งแต่ถนนตะนาว -ถนนจักรพงษ์)
โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณปากคลองตลาด
ถนนจักรเพชร (เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า -สะพานเจริญรัช)
โครงการบริเวณหน้าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ โครงการบริเวณท่าน ้ำ นนทบุรี เทศบาลนนทบุรี โครงการถนนศรีสมาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โครงการเส้นทางนำสายสื่อสารลงใต้ดินเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ถนนอัษฎางค์ (ถนนราชดำเนินกลาง -ถนนบำรุงเมือง) ถนนบำรุงเมือง (สี่แยกช้างโรงสี -แยกสี่กั๊กเสาชิงช้า) ถนนเฟื่องนคร (แยกสี่กั๊กเสาชิงช้า -แยกสี่กั๊กพระยาศรี) ถนนเจริญกรุง (แยกสี่กั๊กพระยาศรี -แยกท้ายวัง) ถนนราชินี (ถนนราชดำเนินกลาง -สี่แยกช้างโรงสี) ถนนตะนาว (ถนนราชดำเนินกลาง -วงเวียนถนนตะนาว) ถนนพระสุเมรุ (ถนนสิบสามห้าง -ถนนราชดานินกลาง) ถนนบวรนิเวศน์ (วงเวียนถนนตะนาว -ถนนพระสุเมรุ) ถนนราชบพิตร (ถนนเฟื่องนคร -ถนนอัษฎางค์)
โครงการถนนอัษฎางค์ (ตั้งแต่สี่แยกช้างโรงสี -สี่แยกสะพานมอญ) โครงการถนนราชินี (สี่แยกช้างโรงสี -สี่แยกสะพานมอญ)
ถนนจรัญสนิทวงศ์ (เชิงสะพานพระราม 7 – แยกท่าพระ) ถนนพหลโยธิน (แยกลาดพร้าว - ถนนงามวงศ์วาน) ถนนลาดพร้าว (แยกลาดพร้าว ถนนรัชดาภิเษก) ถนนพระราม 3 (สะพานพระรามเก้า ถึงเลียบทางพิเศษเฉลิมมหานคร) ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (ถนนสาทรเหนือ/ใต้ – ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 10) ถนนรัชดาภิเษก – ถนนพระราม 9 ถนนรัชดาภิเษก – ถนนอโศก ถนนประชาราษฎร์สาย 2 (ถนนประชาราษฎร์สาย 1 - ถนนเตชะวณิช) ถนนพระราม 4 (ถนนราชดําริ - สถานีย่อยคลองเตย) ถนนวิทยุ (ถนนพระราม 4 - ถนนเพลินจิต) บริเวณนานาเหนือ (ถนนสุขุมวิท - คลองแสนแสบ) ถนนสาธุประดิษฐ์ (ถนนเลียบทางด่วนเฉลิมมหานคร - ซอยสาธุประดิษฐ์ 12)
ช่วงที่หนึ่ง (ถนนพระราม 4 - แยกสารสิน) ช่วงที่สอง (แยกสารสิน - ถนนเพลินจิต)
ถนนหน้าพระธาตุ (ถนนหน้าพระลาน - หน้าทางเข้า ม. ธรรมศาสตร์) ถนนพระจันทร์ (ถนนหน้าพระธาตุ - ถนนมหาราช) ถนนมหาราช (หน้าพระลาน - ถนนพระจันทร์)
ถนนข้าวสาร (ถนนตะนาว - ถนนจักรพงศ์)
ซอยอนุมานราชธน (ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ - ถนนเดโช) ซอยรัชดาภิเษก (ถนนนางลิ้นจี่ - ถนนสาธุประดิษฐ์)
ถนนราชินี (สะพานมอญ -ปากคลองตลาด) ถนนอัษฎางค์ (สะพานมอญ -ปากคลองตลาด) คลองราชนัดดา (ถนนอัษฎางค์ -ถนนมหาไชย) คลองราชบพิธ (ถนนอัษฎางค์ -ถนนมหาไชย) ชุมชนแพร่งภูธร แพร่งนรา และแพร่งสรรพศาสตร์ ถนนตะนาว (ถนนราชดำเนินกลาง -แยกสี่กั๊กเสาชิงช้า)
ถนนรัชดาภิเษก (แยก อสทม. -แยกรัชวิภา) ถนนพระราม 4 (สามย่านมิตรทาวน์ -แยกคลองเตย) ถนนเพชรบุรี (แยกประตูน้ำ -แยกมักกะสัน) ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ (แยกอโศกเพชรบุรี -แยกคลองตัน) ถนนอโศก (แยกอโศกเพชรบุรี -แยกอโศกสุขุมวิท) ถนนรัชดาภิเษก (แยกอโศกสุขุมวิท -แยกคลองเตย) ถนนราชวิถี (แยกสะพานกรุงธนฯ -แยกถนนพระราม 5) ถนนพหลโยธิน (แยกลาดพร้าว -อนุสาวรีย์หลักสี่) ถนนสิรินธร (แยกบางพลัด -บรมราชชนนี) ถนนจรัญสนิทวงศ์ (สะพานพระราม 7 -แยกท่าพระ) ถนนอิสรภาพ (ถนนวังเดิม -ประชาธิปก) ถนนวังเดิม (อิสรภาพ -อรุณอัมรินทร์)
ถนนพหลโยธิน ถนนลาดพร้าว ถนนรัชดาภิเษก – ถนนพระราม 9 ถนนรัชดาภิเษก – ถนนอโศก ถนนลาดพร้าว (ถ.รัชดาภิเษก - ถ.ศรีนครินทร์) ถนนศรีนครินทร์ (ถ.ลาดพร้าว - ถ.รามคำแหง) ถนนแจ้งวัฒนะ (ฝั่งกรุงเทพฯ คลองประปา - คลองบางเขน) ถนนเพชรบุรี (ถนนราชปรารภ - ทางรถไฟ) ถนนดินแดง (ถนนราชวิถี - สามเหลี่ยมดินแดง แยกดินแดง - คลองสามเสน) ถนนเพชรบุรี (ถนนพญาไท - ถนนราชปรารภ) ถนนราชปรารภ (ถนนศรีอยุธยา – สามเหลี่ยมดินแดง) ถนนวิภาวดี-รังสิต (สามเหลี่ยมดินแดง-สถานีต้นทางวิภาวดี) ถนนดินแดง (สามเหลี่ยมดินแดง-แยกดินแดง) ถนนรามคำแหง (ถนนเพชรบุรี – ถนนศรีนครินทร์) ถนนเพชรบุรี (ถนนสุขุมวิท 63 (เอกมัย) – ถนนรามคำแหง) ถนนสามเสน (ถนนทหาร - ถนนนครไชยศรี) ถนนทหาร (ถนนสามเสน - ถนนประดิพัทธ์) ถนนประชาราษฎร์สาย 1 (ถนนประชาราษฎร์สาย 2 - ถนนทหาร) ถนนอังรีดูนังต์ (ถนนพระราม 1 - ถนนพระราม 4) ถนนพระราม 3 ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถนนจรัญสนิทวงศ์ (เชิงสะพานพระราม 7 – แยกท่าพระ) ถนนอรุณอมรินทร์ (เชิงสะพานพระราม 8- ถนนประชาธิปก) ถนนบรมราชชนนี (ถนนจรัญสนิทวงศ์- ถนนอรุณอมรินทร์) ถนนพรานนก(ถนนจรัญสนิทวงศ์-ถนนอรุณอัมรินทร์) ถนนชิดลม (ถนนเพชรบุรี - ถนนเพลินจิต) ถนนสาทร (ถนนเจริญกรุง - ถนนพระราม 4) ถนนเจริญราษฎร์ (ถนนพระราม 3 - ถนนสาทร) ถนนสามเสน (ถนนนครไชยศรี - ถนนลูกหลวง) ถนนประชาธิปก (เชิงสะพานพระปกเกล้า - วงเวียนใหญ่) ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน (วงเวียนใหญ่ - ถนนรัชดาภิเษก)
ช่วงที่หนึ่ง (ถนนพระราม 4 -แยกสารสิน) ช่วงที่สอง (แยกสารสิน -ถนนเพลินจิต)
ถนนราชวิถี (ถนนอู่ทองใน -ถนนสวรรคโลก) ถนนศรีอยุธยา (ถนนอู่ทองใน -ถนนพระราม 5) ถนนพระราม 5 (ถนนสุโขทัย -ถนนราชวิถี) โครงการถนนหลังสวน (ตั้งแต่แยกถนนเพลินจิต -แยกสารสิน)
ถนนเพชรบุรี (ถนนราชปรารภ-ทางรถไฟ) ถนนดินแดง (ถนนราชวิถี–สามเหลี่ยมดินแดง แยกดินแดง–คลองสามเสน) ถนนเพชรบุรี (ถนนพญาไท - ถนนราชปรารภ) ถนนราชปรารภ (ถนนศรีอยุธยา – สามเหลี่ยมดินแดง) ถนนวิภาวดีรังสิต (สามเหลี่ยมดินแดง - สถานีต้นทางวิภาวดี) ถนนดินแดง (สามเหลี่ยมดินแดง – แยกดินแดง) ถนนรามคําแหง (ถนนเพชรบุรี – ถนนศรีนครินทร์) ถนนเพชรบุรี (ถนนสุขุมวิท 63 (เอกมัย) – ถนนรามคําแหง) ถนนสามเสน (ถนนทหาร-ถนนนครไชยศรี) ถนนทหาร (ถนนสามเสน–ถนนประดิพัทธ์) ถนนประชาราษฎร์สาย 1 (ถนนประชาราษฎร์สาย 2- ถนนทหาร) ถนนแจ้งวัฒนะ (ฝั่งกรุงเทพฯ คลองประปา - คลองบางเขน) ถนนลาดพร้าว (ถนนรัชดาภิเษก – ถนนศรีนครินทร์) ถนนศรีนครินทร์ (ถนนลาดพร้าว-ถนนรามคําแหง) ถนนชิดลม (ถนนเพชรบุรี- ถนนเพลินจิต) ถนนสาทร (ถนนเจริญกรุง–ถนนพระราม 4) ถนนเจริญราษฎร์ (ถนนพระราม 3–ถนนสาทร) ถนนสามเสน (ถนนนครไชยศรี-ถนนลูกหลวง) ถนนประชาธิปก (เชิงสะพานพระปกเกล้า - วงเวียนใหญ่) ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน (วงเวียนใหญ่ - ถนนรัชดาภิเษก) ถนนอรุณอมรินทร์ (เชิงสะพานพระราม 8 - ถนน ประชาธิปก) ถนนบรมราชชนนี (ถนนจรัญสนิทวงศ์ - ถนนอรุณอมรินทร์) ถนนพรานนก (ถนนจรัญสนิทวงศ์–ถนนอรุณอมรินทร์) ถนนพระราม 3 ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถนนรัชดาภิเษก - ถนนพระราม 9 ถนนรัชดาภิเษก-ถนนอโศก
เสร็จเท่าไร และตรงไหนยังไม่เสร็จ
ถนนนานา (ถนนสุขุมวิท -คลองแสนแสบ) ถนนสาธุประดิษฐ์ (ถนนเลียบทางด่วนเฉลิมมหานคร -ซอยสาธุประดิษฐ์ 12) ซอยสว่างอารมณ์ (ซอยสาธุประดิษฐ์ 19 ตั้งแต่ถนนสาธุประดิษฐ์ -ถนนนราธิวาสราชนครินทร์) ถนนเพชรบุรี (แยกยมราช -แยกอุรุพงศ์) ถนนนครสวรรค์ (นางเลิ้ง -คลองผดุงกรุงเกษม) ถนนข้าวสาร (ตั้งแต่ถนนตะนาว - ถนนจักรพงษ์) บริเวณหน้าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ บริเวณท่าน้ำนนทบุรี เทศบาลนนทบุรี ถนนศรีสมาน (สํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม) ถนนอัษฎางค์ (ถนนราชดำเนินกลาง -ถนนบำรุงเมือง) ถนนบำรุงเมือง (สี่แยกช้างโรงสี -แยกสี่กั๊กเสาชิงช้า) ถนนเฟื่องนคร (แยกสี่กั๊กเสาชิงช้า -แยกสี่กั๊กพระยาศรี) ถนนเจริญกรุง (แยกสี่กั๊กพระยาศรี -แยกท้ายวัง) ถนนราชินี (ถนนราชดาเนินกลาง -สี่แยกช้างโรงสี) ถนนตะนาว (ถนนราชดาเนินกลาง -วงเวียนถนนตะนาว) ถนนพระสุเมรุ (ถนนสิบสามห้าง -ถนนราชดานินกลาง) ถนนบวรนิเวศน์ (วงเวียนถนนตะนาว -ถนนพระสุเมรุ) ถนนราชบพิตร (ถนนเฟื่องนคร -ถนนอัษฎางค์) ถนนอัษฎางค์ (สี่แยกช้างโรงสี -สี่แยกสะพานมอญ) ถนนราชินี (สี่แยกช้างโรงสี -สี่แยกสะพานมอญ) ถนนข้าวสาร (ตั้งแต่ถนนตะนาว -ถนนจักรพงศ์) ถนนราชินี (สะพานมอญ – ปากคลองตลาด) ถนนอัษฎางค์ (สะพานมอญ – ปากคลองตลาด) ถนนราชวิถี (ถนนพิชัย – ถนนสวรรคโลก) ถนนสวรรคโลก (ถนนราชวิถี – ถนนศรีอยุธยา) ถนนศรีอยุธยา (ถนนราชดำเนินการนอก – ถนนพระราม 5) ถนนพระราม 5 (ถนนสุโขทัย – ถนนลูกหลวง) ถนนราชวิถี (ตั้งแต่ถนนอู่ทองใน -ถนนสวรรคโลก) ถนนศรีอยุธยา (ตั้งแต่ถนนอู่ทองใน -ถนนพระราม 5) ถนนพระราม 5 (ตั้งแต่ถนนสุโขทัย -ถนนราชวิถี) ถนนหลังสวน (ตั้งแต่แยกถนนเพลินจิต -แยกสารสิน) ช่วงจากแยกปทุมวัน - แยกราชประสงค์ พื้นท่ีเขตปทุมวัน ถนนโยธี (ซอยเสนารักษ์ – ถนนพระราม 6) ถนนศรีอยุธยา (แยกพญาไท – ซอยศรีอยุธยา 7) ถนนเพชรบุรี (แยกบรรทัดทอง – แยกอุรุพงศ์) ถนนราชปรารภ (แยกประตูน้ำ – แยกศรีอยุธยา) ถนนพระราม 1 (แยกปทุมวัน – เชิงสะพานกษัตริย์ศึก) ถนนพิษณุโลก (แยกพาณิชยการพระนคร–แยกยมราช) ถนนประดิพัทธ์ (แยกประดิพัทธ์ – แยกสะพานควาย) ถนนพหลโยธิน (แยกลาดพร้าว – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) ถนนพญาไท (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ – แยกปทุมวัน) ถนนศรีอยุธยา (ถนนพญาไท – ถนนราชปรารภ) ถนนโยธี (ถนนพญาไท – ซอยเสนารักษ์) ถนนเพชรบุรี (ถนนพญาไท – ถนนบรรทัดทอง) ถนนสุขุมวิท (ทางรถไฟ – ซอยสุขุมวิท 81) ถนนราชดำเนินนอก (สะพานผ่านฟ้า – สะพานมัฆวานรังสรรค์) ถนนจักรเพชร (ตั้งแต่เชิงสะพาน พระพุทธยอดฟ้า - สะพานเจริญรัช) ถนนลูกหลวง (สะพานมัฆวานรังสรรค์ - ถนนนครสวรรค์)
ถนนจรัญสนิทวงศ์ (เชิงสะพานพระราม 7 – แยกท่าพระ) ถนนพระราม 3 (สะพานพระรามเก้า -เลียบทางพิเศษเฉลิมมหานคร) ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (ถนนสาทรเหนือ/ใต้ – ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 10) ถนนประชาราษฎร์สาย 2 (ถนนประชาราษฎร์สาย 1 - ถนนเตชะวณิช) ถนนพระราม 4 (ถนนราชดําริ - สถานีย่อยคลองเตย) ถนนวิทยุ (ถนนพระราม 4 - ถนนเพลินจิต) บริเวณนานาเหนือ (ถนนสุขุมวิท - คลองแสนแสบ) ถนนสาธุประดิษฐ์ (ถนนเลียบทางด่วนเฉลิมมหานคร - ซอยสาธุประดิษฐ์ 12) ถนนเพชรบุรี (ถนนราชปรารภ - ทางรถไฟ) ถนนดินแดง (ถนนราชวิถี - สามเหลี่ยมดินแดง และ แยกดินแดง- คลองสามเสน) ถนนอังรีดูนังต์ (ถนนพระราม 1 - ถนนพระราม 4)
เสร็จช้า ล้มแผน และการตั้งกรรมาธิการศึกษาฯ
อ้างอิง
รายงาน แผนการจัดระเบียบสายสื่อสาร และการนําสายสื่อสารลงใต้ดิน ปีพ.ศ. 2560-2564
แผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานคร ปีพ.ศ. 2561-2564 แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน โดย การไฟฟ้านครหลวง