Skip to main content
sharethis

'วงสัมมนานานาชาติว่าด้วย 30 ปีพฤษภา' ลั่นเป้าหมายต่อไปต้องหา 'คนสูญหาย' เหตุ 'อายุความ' ของ 'การสูญหาย' ยังไม่สิ้นสุด จึงยังไม่ได้ถูกนับหนึ่ง ข้องใจโลกคิดถึง 'เสรีภาพ' แต่ไทยกลับมีรัฐประหารอีก ชี้เหตการณ์พฤษภาทมิฬเป็น บทเรียนที่ทั้ง 'สุข-เศร้า'

 

18 พ.ค.2565 เมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 รายงานต่อสื่อมวลชน โดยสรุปวง​สัมมนานานาชาติว่าด้วย “30 ปีพฤษภาประชาธรรมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน” ซึ่งจัดขึ้นวันที่ 18 พ.ค. ที่ห้อง LT 2 ชั้น 3 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ดังนี้

อดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 กล่าวว่า จากคำแนะนำของ ศาสตราจารย์ วิทิต มันตราภรณ์ ผู้เชี่ยวชาญแห่งสหประชาชาติ  ที่บอกว่าอายุความของการสูญหายนั้นยังไม่สิ้นสุด เพราะยังไม่ได้ถูกนับหนึ่ง ฉะนั้นสิ่งที่เราจะทำต่อไปคือทวงหาคนหาย เพื่อให้ความกระจ่างชัดขึ้น แม้ว่าประวัติศาสตร์บางส่วนจะถูกปล่อยออกมา ทั้งนี้สิ่งที่เราตั้งเป้าไว้ต่อไป หลังจากสร้างอนุสรณ์สถานให้เกิดขึ้น เราเห็นว่าแม้บ้านเมืองจะมีความขัดแย้ง แต่ต้องไม่แตกแยกและเราจะต้องป้องกันไม่ให้ การรัฐประหารเกิดขึ้น  

​“เราจะเคลื่อนไหวในเรื่องของศพคนสูญหายว่าอยู่ที่ไหน ไม่ว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งหรือเผด็จการ จะต้องรับผิดชอบหาคนหายให้เรา ซึ่งครอบครัวของญาติจะถามหาความชอบธรรม ผู้สูญหายให้กลับคืนมา  โดยไม่ให้รัฐบาลบ่ายเบี่ยงอีกต่อไป และการต่อสู้ของญาติจะต้องนำมา ซึ่งการเปลี่ยนแปลง ให้กองทัพและรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร  ต้องคำนึงถึงสิทธิและความชอบธรรมของประชาชน” อดุลย์ กล่าว 

​ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 กล่าวว่า ทั้งนี้โอกาสในการทำรัฐประหาร แม้จะมีการพยายามขู่ประชาชนคนไทยตลอดเวล าแต่ตนก็เชื่อว่าจากนี้ไปไม่ใช่เรื่องง่าย  คนที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ต่างๆจะไม่มีวันยอม โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ทั้งนี้ตนดีใจที่สังคมพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น และเปลี่ยนแปลงภายใต้การต่อสู้ร่วมกัน ของญาติวีรชนกับภาคประชาชน  ตนขอสัญญาว่าจะทำให้ดีที่สุดตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ ต้องทำในสิ่งที่ถูกต้องของบ้านเมืองให้เกิดขึ้นให้ได้ 

กษิต ภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ กล่าวถึง เรื่องการปกครองประชาธิปไตยสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐตอนหนึ่งว่า เหตุการณ์เมื่อปี 2534 ในประเทศไทย เป็นเรื่องของการรัฐประหาร ในส่วนนั้นจะมีการแทรกแซ งและส่งผลกระทบต่อคนทั้งโลก คือ ทิศทางที่โลกเคลื่อนไหว ไปในทางเสรีภาพและประชาธิปไตย แต่ประเทศไทยก็กลับไปมีการรัฐประหารในปี 2534 อีก ทั้งที่โลกยังคิดถึงเรื่องของเสรีภาพ แต่ทำไมประเทศไทยถึงมีรัฐประหารอีก อะไรเป็นสิ่งผิดปกติในประเทศไทย

​“ปี 2534 จนถึงปัจจุบัน 2565 ยังเห็นว่าเรามีพลเอก ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีหลายท่าน  ในขณะที่ประเทศต่างๆเปลี่ยนไป แต่ประเทศไทยยังคงหยุดนิ่งอยู่ในของลักษณะการเมืองระดับเก่า เป็นสิ่งที่ซึ่งกระบวนการประชาธิปไตยยังมีการหยุดชะงัก ถือว่ายังไม่สำเร็จในเรื่องของ กระบวนการสร้างรากฐานประชาธิปไตย ทำไมถึงยังเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ทำไม ยังยากกว่าที่ประเทศไทยจะประสบความสำเร็จ ในเรื่องของกระบวนการวางรากฐานประชาธิปไตย ซึ่งส่วนตัวมองว่า เพราะเป็นเรื่องของพื้นฐานความเชื่อ ทางวัฒนธรรมดั้งเดิม และกระบวนการที่ทหาร ต้องมาดูแลสังคมเพื่อสร้างความเป็นธรรม และเป็นเรื่องของการเคารพโครงสร้าง และกองทัพในประเทศไทยถูกมองว่า เป็นองค์กรและเป็นสถาบัน ที่ต้องมาช่วยปกป้องประเทศ ทำเพื่อให้ประเทศขับเคลื่อนไปข้างหน้า ไม่มีสถาบันอื่นๆที่ทำหน้าที่ในการดูแล และเป็นที่เชื่อถือในเรื่องของการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง คือสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วง 90 ปีของการพัฒนาการในประเทศไทย” กษิต  กล่าว  

​อดีต รมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า ชนชั้นกลางอาจจะยังมองถูกมองว่าเป็นศูนย์กลางในช่วง 90 ปีที่ผ่านมา แต่คนเหล่านี้ยังไม่บรรลุข้อตกลง ที่จะกำหนดลักษณะของประเทศไทยเป็นอย่างไร นอกจากนี้ เห็นว่ายังมีกลุ่มที่พยายามอนุรักษ์นิยม อยู่ภายใต้กระบวนการเคลื่อนไหว  ดังนั้นเราต้องทำงานร่วมกัน ในทิศทางที่สร้างสันติภาพ ต้องปรึกษาหารือกันและร่วมมือตัดสินใจ เพื่อให้การขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย

​ตัวแทนจากประเทศเนปาล กล่าวว่า ในเรื่องของอำนาจอธิปไตย ประเทศเรามีรัฐธรรมนูญที่น่าสนใจ เราจัดตั้งระบบแต่เรายังมีความเคลื่อนไหว เรื่องความไม่สงบอยู่ ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา  เรายังคงเห็นถึงความขัดแย้ง ทั้งนี้ในช่วง 75 ปีที่ผ่านมาถึงแม้ว่าเราจะมีรัฐธรรมนูญที่ดีและหลากหลาย แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะดูแล ในเรื่องของข้อท้าทายของความยากจน และความสัมพันธ์ของกลุ่มต่างๆในสังคม

​“ในเรื่องของสิทธิมนุษยชนนั้น เราเห็นว่ายังควรที่จะต้องเน้นเรื่องการปฎิบัติ และคนที่เกี่ยวข้องจะต้องให้ความสำคัญ เรื่องการขับเคลื่อนซึ่งคนกลุ่มต่างๆ  ในส่วนของประเทศเอเชียใต้ปีที่ผ่านๆมา เราพยามมองว่าปัญหาที่เกี่ยวกับ ปกครองคืออะไรเราพยามที่จะทำให้สิ่งที่เราพยามพูดคุยหรือ walking talk เกิดขึ้นจริ งซึ่งเป็นความท้าทายที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และกระบวนการประชาธิปไตย ไม่ใช่เพียงวาทะกรรมที่เกิดขึ้น ต้องพูดถึงเรื่องโอกาสและความก้าวหน้าในสังคม อาจจะต้องส่งเสริมให้คนหนุ่มสาว , กระบวนการเคลื่อนไหวประชาสังคมทำงานร่วมกัน และมีหลักประกันร่วมกัน ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ต้องเอาใจใส่ และร่วมมือการทำงานเพื่อให้สิ่งที่เราอยากผลักดันให้เกิดขึ้นได้จริง” ตัวแทนจากประเทศเนปาล กล่าวว่า

​ขณะที่ วิเชียร ตันศิริคงคล ประธานสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (สป.ยธ.) กล่าวตอนหนึ่งว่า จะต้องมีการนำหลักนิติรัฐมาใช้เป็น 1 ใน 3 เสาเข็มหลักของประเทศ และกฎหมายที่ออกมาจะต้องเป็นกฎหมาย ที่ทำเพื่อคนส่วนใหญ่ และต้องถูกพิจารณาปรับปรุงอยู่เสมอ ว่าเหมาะสมหรือไม่อย่างไร ทั้งนี้

เรื่องหลักสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก รัฐที่เป็นผู้ปกครองถึงแม้ว่าจะมีความชอบธรรมในการปกครอง  แต่กฎที่อยู่เหนือกฎหมายก็คือ กฎความเป็นมนุษย์ , สิทธิมนุษย์มนุษยชนและมีถ้ากฎหมายไหน ที่ไปละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน ก็แสดงว่ากฎหมายนั้นใช้ไม่ได้ 

​ประธาน สป.ยธ. กล่าวว่า  หลักนี้เป็นหลักที่ทั่วโลกให้การยอมรับ ประเทศใดที่ออกกฏหมายละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือนำไปสู่การเขียน  แล้วนำไปสู่การทรมาน เอากฎหมายที่นำไปสู่การล้างเผ่าพันธุ์ เป็นความชอบธรรมประการหนึ่งที่ทำให้นานาชาติสามารถเข้าไปแทรกแซงได้  ส่วนหลักที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาล  และหลักแต่ปฏิบัติจริงน้อยคนที่จะทราบ   รูปแบบการปกครองที่ผู้ปกครอง ต้องใช้ธรรมาภิบาลในการบริหารบ้านเมือง ไม่ใช่หลักการสั่งจากบนลงล่าง หรือหลักที่ใช้บังคับ ทั้งนี้หากใครเป็นคนสั่งจะต้องรับผิดชอบด้วย และคนที่สั่งก็สามารถที่จะถูกดำเนินคดีฟ้องร้องได้

วิเชียร กล่าวว่า หลังจากเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 เราตื่นตัวในทางการเมือง ต้องมีการปฏิรูปประเทศทำอย่างไร ให้ประเทศไทยมีความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง  ซึ่งในสมัยรัฐบาลบรรหาร พรรคชาติไทยเคยมีนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง โดยใช้กระแสการปฏิรูปการเมืองเป็นธงนำ และได้ผล คือ พรรคชาติไทยได้รับเลือกมาเป็นอันดับ 1 และเป็นแกนนำในการจัดตั้งฐบาล ซึ่งนายบรรหารสัญญาในการหาเสียงเลือกตั้ง คือ การปฏิรูปการเมือง 

​ประธาน สป.ยธ. กล่าวว่า  เหตุการณ์พฤษภาทมิฬมีทั้งสุขแลเศร้าๆ คือมีการปราบปรามอย่างรุนแรง และทุกวันนี้ญาติวีรชนยังตามหาศพไม่พบ ส่วนการนำมาซึ่งความสุขให้สังคมไทย ในบางเรื่อง คือ เกิดความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม เป็นกระแสกดดันที่ทำให้รัฐบาลในขณะนั้น ต้องไม่ผิดคำพูดและเกิดกระแสการปฏิรูปการเมืองเกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยครั้งใหญ่ ในปี 2540 คือ เกิดรัฐธรรมนูญ  แต่ภาคประชาสังคมในยุคที่คุณทักษิณเป็นนายกฯ แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร สิ่งที่ปรากฏก็คือตอนที่คุณทักษิณทำเยอะแยะไปหมด แต่พอเกิดการรัฐประหารในปี 2549 ไม่เหมือนกับหลายประเทศ ที่เกิดการรัฐประหารและประชาชนออกมาต้าน แต่ในปี 2549 ปรากฏไม่เกิดการต่อต้านสะท้อนให้เห็น  อย่างไรก็ตาม เสาเข็มหลักในการจะเกิดประชาธิปไตย ซึ่งคนไทยหวงแหนรัฐธรรมนูญหวงแหน หลักสิทธิมนุษยชนและหลักนิติรัฐ เปรียบเสมือนต้นไม้ที่ยังไม่หลังอย่างรากลึก 

​ส่วน พิภพ ธงไชย ที่ปรึกษาคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 กล่าวว่า  นายพิภพกล่าวว่า การตั้งคณะกรรมการญาติวีรชน สำคัญมากเพราะเป็นคณะกรรมการย่าที่มีพลังมากกว่าทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามประวัติศาสตร์ในสังคมไทยและเป็นคณะกรรมการที่มีการยอมรับของสังคมไทยใน 30 ปีที่ผ่านมาซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องไปยังรัฐบาลให้ยอมรับการสูญเสียวีรชนแต่รัฐบาลไม่พอใจพยามกดญาติไว้เพียงแค่การสังคมสงเคราะห์โดยไม่ได้ยกระดับอย่างแท้จริง ซึ่งการต่อสู้ของคณะกรรมการญาติมีภารกิจที่สำคัญ คือ สร้างอนุสรณ์สถานซึ่งมีพิธีเปิดไปเมื่อ วันที่ 17 พ.ค. 65

​ปรึกษาคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 กล่าวว่า ถ้าเทียบเหตุการณ์ ที่เมืองกวางจูเกาหลีใต้ ซึ่งตนได้ไปร่วมงานพร้อมกับนายอดุลย์และลูกชายของนายอดุลย์ ที่ประเทศเกาหลีใต้  เห็นถึงความเปรียบเทียบชัดเจนว่า ภาคประชาชนและรัฐบาลของเกาหลีใต้ ให้ความสำคัญกับเหตุการณ์กวางจู มากกว่าเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 ของไทยซึ่ งครบรอบ 30 ปีเมื่อวานนี้อย่างฟ้ากับดิน

​“ญาติวีรชนพฤษภา 35 ทำงานอย่างเหนื่อยยาก ตลอด 30 ปี แม้จะมีเรื่องอุปสรรคต่างๆ และการที่จะทำให้รัฐบาลยอมรับ  เราพยายามกดดันรัฐบาลให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุดใน 2 สมัยคือ สมัยรัฐบาลทักษิณและสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์แต่เราก็ต้องทำงานอย่างเหนื่อยยาก ข้อเสนอต่างๆก็ถูกเก็บไว้ในลิ้นชัก จึงเห็นว่าการทำอะไรที่ฉาบฉวยของพรรคการเมือง  ไม่ทำอะไรให้กับญาติและประชาชนที่เสียสละเลือดเนื้ออย่างแท้จริง” พิภพ กล่าว 

วิทิต มันตาภรณ์ ศาสตราจารย์และผู้เชี่ยวชาญแห่งสหประชาชาติ  กล่าวว่า  ที่ผ่านมาเราคิดว่ารัฐประหารจะไม่เกิดขึ้น แต่ก็เกิดขึ้นอีกและปัจจุบันเราก็อยู่กับรัฐประหาร โดยล่าสุดนำไปสู่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สิ่งที่อยากฝากไว้ คือ อะไรที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายความมั่นคง ของประเทศไทยต้องระวังให้มาก เพราะส่วนมากเป็นกฎหมายที่ไม่สมสัดส่วนกับภัยที่เขาอ้าง  เหมือนกับหลายประเทศชอบอ้างแบบนี้เช่นกัน ปัจจุบันนี้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กระทบกับพื้นที่ทางภาคใต้มาก  

​ผู้เชี่ยวชาญแห่งสหประชาชาติ  กล่าวว่า  เรื่องความโปร่งใสของประวัติศาสตร์ ในประเทศไทยมีประเด็นมาก ซึ่งในอดีตเคยมีการ 3 คณะกรรมการเข้ามาดูแล แต่เมื่อมีเหตุการณ์อะไรใหญ่ๆ กลับก็ไม่มีชื่อคนระดับสูงที่เกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบจริงๆ รวมถึงเรื่องของการไต่สวน , สอบสวน ซึ่งตนคิดว่าควรที่จะมีการแสดงเจตนารมย์ที่รับผิดชอบ ทั้งเรื่องของอาวุธและการใช้กำลังที่เกี่ยวข้อง ก็เกินความจำเป็น และถ้ามองเรื่องอาวุธที่จะใช้กับคนที่ประท้วงบนถนน เจ้าหน้าที่ที่เข้ามาจะต้องถูกฝึกให้เข้าใจหลักเกณฑ์ด้วย

วิทิต กล่าวว่า  ส่วนเรื่องการทรมานเป็นมิติใหญ่ สำหรับประเทศไทยเกี่ยวกับกฎหมาย เพราะเราเป็นภาคีของ อนุสัญญาที่ห้ามทรมานและการปฏิบัติที่เหยียดหยาม  ตอนนี้เรากำลังร่างกฏหมายในเรื่องนี้  ซึ่งความพยายามให้กฎหมายในสภานี้  ตรงกับหลักสากลมากที่สุด รวมทั้งในเรื่องของนิยามคำว่าทรมาน ไม่ใช่กรณีที่บีบบังคับให้สารภาพ ถือเป็นการข่มขู่ที่ผิดกฎหมาย ซึ่งอยู่ในนิยามคำว่าทรมานอันใหม่ที่จะเกิดขึ้นในกฏหมายไทย

​“เรื่องการอุ้มหาย อยากให้เปลี่ยนความเข้าใจ เพราะร่างกฎหมายใหม่ที่ควบคู่กับเรื่องทรมาน กำลังจะเปลี่ยนความเข้าใจเรื่องนี้ เพื่อเตรียมให้ประเทศไทย เป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งเรายังไม่ได้เป็นภาคีถึงแม้ลงนามแล้ว คืออนุสัญญาเรื่องคนหาย สิ่งสำคัญในเรื่องของการอุ้มหาย คือไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่าเขาตาย  อุ้มหาย คือ เรื่องของการสมคบเพื่อปิดบังมากกว่า ดังนั้นพยานหลักฐานอาจจะเป็นการโทรศัพท์กันบ่อยๆในช่วงนั้นก็ได้  เป็นพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมาก

เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ที่ไปเกี่ยวข้อง กับคนที่ถูกผลักเข้ารถแล้วหายไป  ไม่จำเป็นต้องดูว่าศพอยู่ที่ไหน ซึ่งตรงนี้กำลังมีความเข้าใจใหม่ขึ้นในสังคมไทย แต่ค้างอยู่กับพฤษภาทมิฬ  ​ในหลักกฏหมายสากล ซึ่งสนธิสัญญาที่เรากำลังรอเป็นภาคีอยู่ ระบุว่าอายุความไม่เกิด ยังไม่เริ่มนับจนกว่าเรารู้ว่าเขาอยู่ที่ไหน เรื่องนี้ก็แทรกอยู่ในร่างกฎหมายใหม่ในรัฐสภาช่วงนี้ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ควบระหว่างการอุ้มหายแล้วทรมาน” วิทิต กล่าว 

​ผู้เชี่ยวชาญแห่งสหประชาชาติ  กล่าวว่า ความรับผิดชอบต่อเหยื่อ ในช่วงหลังจากพฤษภาทมิฬ ก็ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เพื่อจะเยียวยา คือ จ่ายเงินซึ่งเป็นบรรทัดฐานที่เกิดขึ้น ในบรรทัดประวัติศาสตร์ไทย  กรณีที่มีการเกิดเหตุใหญ่ๆแต่ละครั้งคือจ่าย  แต่ไม่รู้ว่าใครรับผิดชอบ ซึ่งเราไม่ได้ว่าอะไรเรื่องการชดใช้ แต่เรื่องความจริงของผู้รับผิดชอบน้อยมาก   ดังนั้นขอฝากไว้ว่าการเอื้อต่อเหยื่อ ไม่ได้แต่เฉพาะเรื่องเงิน แต่ความจริงที่ต้องแสวงหาข้อมูลที่ชี้ชัด และเปิดให้เห็นกฏหมายว่าฝ่ายไหน ลำดับสูงสุดรับผิดชอบไม่มากก็น้อย 

วิทิต กล่าวว่า  การหาข้อเท็จจริงจะพึ่งรัฐอย่างเดียวก็ไม่เวิร์ค แต่เราต้องช่วยกันเขียนประวัติศาสตร์ แล้วบันทึกประวัติศาสตร์เราเอง ต้องเรียกร้องตามประวัติศาสตร์ที่เราละลึกถึงและจำได้  เพื่อให้ความยุติธรรมกับเขา เพราะเขาไม่สามารถที่จะอยู่ที่นี่ เพื่อเรียกร้องกับเรา  และเราไม่เคยลืมเขา ต้องเน้นสิ่งที่จริงโดยไม่ลืมจิตวิญญาณ ของคนที่หายไปแล้ว แล้วตายไปแล้วที่ถูกกระทบ คำมั่นเล็กๆนี้ดีกว่าคำมั่นของบางฝ่าย ที่บอกว่าจะไม่เป็นนายกรัฐมนตรีแต่ก็ยังมาเป็น  หรือบางฝ่ายที่ยึดอำนาจที่ไม่ชอบธรรม ไม่ว่าเขาจะถือว่าเป็นบรรทัดฐานที่เขาทำได้หรือไม่  แต่ความ จริงแล้วในโลกสากล  ต้องยึดประชาธิปไตยที่มาจากประชาชนเป็นหลัก ยึดสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ ยึดการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยกัน ซึ่งเริ่มจากบทเรียนที่เรามี จากพฤษภาทมิฬที่เรามีความทรงจำร่วมกัน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net