ชาติและการจัดการความรู้ มองผ่านพิพิธภัณฑ์สิงคโปร์ | หมายเหตุประเพทไทย EP.423

หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง และต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี แนะนำบทความ “การก่อรูปและการเปลี่ยนแปลงความหมายของพิพิธภัณฑสถาน: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสิงคโปร์จากยุคอาณานิคมสู่การสร้างชาติ” โดย ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ (อ่านบทความ) ทำความเข้าใจความหมายที่ปรากฏจากการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสิงคโปร์ 3 ยุค ตั้งแต่ยุคอาณานิคม หลังสิงคโปร์ได้รับเอกราช และในยุคปัจจุบัน

ในอดีตเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ใช้พิพิธภัณฑ์จัดระเบียบและสร้างความรู้แบบจักรวรรดิ เคยเน้นจัดแสดงพืชพรรณสัตว์ป่า ชาติพันธุ์วรรณา จนกระทั่งเมื่อสิงคโปร์ได้รับเอกราชและแยกออกจากมาเลเซียหลัง ค.ศ. 1965 สิ่งจัดแสดงและวิธีเล่าเรื่องในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสิงคโปร์ก็เริ่มเปลี่ยนแปลง หันมาเน้นผู้คนชุมชนในสิงคโปร์ หรืออีกนัยหนึ่งคือการปลูกฝังพลเมือง ตามวาระหรือนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้สิงคโปร์จัดระเบียบชาติและองค์ความรู้ผ่านพิพิธภัณฑ์อย่างไรติดตามได้ในรายการ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท