Skip to main content
sharethis

สำรวจการปรับขึ้น- (ไม่มี)ลงของราคาสินค้าในกลุ่มอาหาร และพลังงานในรอบ 4 ปีที่ผ่านมาท่ามกลางภาวะโควิด-19 และอัตราเงินเฟ้อจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น

จากรายงานบทสัมภาษณ์ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม (Center for Research on Inequality and Social Policy: CRISP) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ประชาไท เพิ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมา พบว่า ค่าใช้จ่ายที่สร้างภาระมากที่สุดกับผู้มีรายได้น้อยในช่วงระหว่างการระบาดของโควิด-19 คือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ค่าอาหาร ค่าสาธารณูปโภค และยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่งคือค่าดูแลสุขภาพ โดยกว่า 3 ใน 4 ของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยไม่สามารถปรับลดค่าใช้จ่ายของตนเองลงได้ในช่วงการระบาดโดยที่ ค่าอาหาร ค่าเช่าบ้านหรือรายจ่ายที่เกี่ยวกับบ้าน และค่าเดินทาง เป็นค่าใช้จ่าย 3 กลุ่มที่คิดเป็นรายจ่ายเกือบร้อยละ 90 และรายได้ของกลุ่มคนที่จนที่สุดมากกว่ารายจ่ายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แม้ว่าจะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐแล้วก็ตามยังแทบไม่เหลือออม ซ้ำคนกลุ่มนี้ยังได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อมากกว่า

  • อ่านรายงานบทสัมภาษณ์ : โควิด-19 กับ ‘บาดแผล’ ของคนจนที่ไม่หายง่ายๆ https://prachatai.com/journal/2022/06/99090

ในโอกาสนี้จึงขอชวนเช็คอัตราการขึ้นของสินค้าในส่วนของอาหารและพลังงานที่น่าสนใจบางส่วนในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา จากรายงานราคาสินค้าขายปลีก (เฉลี่ยตามลักษณะจำเพาะ) ของจังหวัด กรุงเทพมหานคร เดือน พ.ค.62, พ.ค.63, พ.ค.64 และ พ.ค.65 จาก เว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์ www.moc.go.th

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net