Skip to main content
sharethis

'สวนดุสิตโพล' สำรวจความเห็นประชาชน 1,021 คน ส่วนใหญ่ 78.51% ชี้ว่า 'ประยุทธ์' ควรจะถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นอันดับ 1, 75.67% อยากให้อภิปรายผลงานของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และ 46.03% คิดว่าการอภิปรายฯ จะส่งผลให้เกิดการยุบสภา - 'นิด้าโพล' เผยประชาชนรายได้น้อยกว่ารายจ่าย น้ำมัน-อาหารแพงกระทบการใช้จ่าย

10 ก.ค. 2565 จากกรณีที่ฝ่ายค้านยื่นญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในวันที่ 19 -22 ก.ค. 2565 โดยพุ่งเป้าไปที่ 11 รัฐมนตรี ส่งผลให้การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ถูกจับตามอง เนื่องจากอาจเป็นการอภิปรายครั้งสุดท้ายก่อนที่รัฐบาลจะครบเทอมและเข้าสู่การเลือกตั้งใหญ่ต่อไป เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่องประชาชนคิดอย่างไรกับการจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ จำนวนทั้งสิ้น 1,021 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 4-7 ก.ค. 2565 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ณ วันนี้ ถึงเวลาหรือยังที่จะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ
ถึงเวลาแล้ว 83.38% ยังไม่ถึงเวลา 16.62%

2. ประชาชนสนใจติดตาม “การอภิปรายไม่ไว้วางใจ” ที่กำลังจะมีขึ้นหรือไม่
สนใจ 71.02% ไม่สนใจ 28.98%

3. ประชาชนอยากให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจในเรื่องใดบ้าง
อันดับ 1 ผลงานของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 75.67%
อันดับ 2 สาเหตุของสินค้าแพง การควบคุมราคาสินค้า 73.49%
อันดับ 3 การทุจริต คอรัปชั่น เอื้อประโยชน์แก่พวกพ้อง 70.71%
อันดับ 4 การแก้กฎหมายเพื่อประโยชน์ของประชาชน 64.45%
อันดับ 5 การใช้งบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง อนุมัติโครงการต่างๆ 60.58%

4. สิ่งที่ประชาชนอยากเห็นจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
อันดับ 1 เนื้อหาที่นำมาอภิปรายไม่ซ้ำ ค้านอย่างมีเหตุผล มีหลักฐาน 80.18%
อันดับ 2 ควบคุมอารมณ์ สุภาพ ให้เกียรติกัน 77.50%
อันดับ 3 นำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง 76.11%

5. สิ่งที่ประชาชนไม่อยากเห็นจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
อันดับ 1 การโต้เถียง ทะเลาะเบาะแว้ง การประท้วงบ่อยครั้ง 84.33%
อันดับ 2 เล่นเกมการเมืองมากเกินไป ไม่คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชน 68.95%
อันดับ 3 พูดนอกประเด็น นำเรื่องเก่ามาพูด 64.84%

6. ประชาชนคิดว่าการอภิปรายที่กำลังจะมีขึ้นจะส่งผลให้เกิดการยุบสภาหรือไม่?
มีผล 46.03% ไม่มีผล 35.46% ไม่แน่ใจ 18.51%

7. ประชาชนคิดว่ารัฐมนตรีคนใด ที่ควรจะถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ
อันดับ 1 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม 78.51%
อันดับ 2 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี 65.17%
อันดับ 3 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข 61.30%
อันดับ 4 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ 50.20%
อันดับ 5 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม 38.59%

'นิด้าโพล' เผยประชาชนรายได้น้อยกว่ารายจ่าย น้ำมัน-อาหารแพงกระทบการใช้จ่าย

ด้านศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ปัญหาการใช้จ่ายของประชาชน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 6-8 ก.ค. 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,312 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับปัญหาการใช้จ่ายของประชาชน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย  (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

เมื่อถามถึงรายได้ปัจจุบันของประชาชน พบว่า ร้อยละ 47.10 ระบุว่า รายได้ลดลง รองลงมา ร้อยละ 46.72 ระบุว่า รายได้เท่าเดิม และร้อยละ 6.18 ระบุว่า รายได้มากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบรายได้กับรายจ่ายในแต่ละเดือนของประชาชน พบว่า ร้อยละ 60.06 ระบุว่า รายได้น้อยกว่ารายจ่าย รองลงมา ร้อยละ 32.62 ระบุว่า รายได้พอ ๆ กับรายจ่าย และร้อยละ 7.32 ระบุว่ารายได้มากกว่ารายจ่าย

เมื่อถามถึงการใช้จ่ายในปัจจุบันที่สร้างผลกระทบต่อประชาชนมากที่สุด พบว่า

อันดับ 1 ร้อยละ 32.73 ระบุว่า การใช้จ่ายด้านน้ำมันเชื้อเพลิง

อันดับ 2 ร้อยละ 25.79 ระบุว่า การใช้จ่ายด้านอาหารประจำวัน

อันดับ 3 ร้อยละ 13.47 ระบุว่า การใช้จ่ายด้านไฟฟ้าในครัวเรือน

อันดับ 4 ร้อยละ 6.10 ระบุว่า การใช้จ่ายด้านแก๊สหุงต้ม

อันดับ 5 ร้อยละ 3.36 ระบุว่า การใช้จ่ายด้านการผ่อนชำระค่ารถ

อันดับ 6 ร้อยละ 3.18 ระบุว่า การใช้จ่ายด้านน้ำประปา

อันดับ 7 ร้อยละ 2.79 ระบุว่า การใช้จ่ายด้านการผ่อนชำระค่าบ้าน

อันดับ 8 ร้อยละ 2.32 ระบุว่า การใช้จ่ายด้านอุปกรณ์หรือวัตถุดิบในการประกอบอาชีพ และการใช้จ่ายด้านการเรียนหนังสือของตนเองหรือบุตรหลาน ในสัดส่วนที่เท่ากัน

อันดับ 9 ร้อยละ 1.79 ระบุว่า การใช้จ่ายด้านค่าเช่าที่อยู่อาศัย

อันดับ 10 ร้อยละ 1.56 ระบุว่า ไม่มีการใช้จ่ายใดที่สร้างผลกระทบ

อันดับ 11 ร้อยละ 1.50 ระบุว่า การใช้จ่ายด้านการโดยสารขนส่งสาธารณะ

ร้อยละ 3.05 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ การใช้จ่ายด้านหนี้สินนอกระบบ การใช้จ่ายด้านยาและเวชภัณฑ์ การใช้จ่ายด้านโทรศัพท์มือถือ การใช้จ่ายด้านอินเทอร์เน็ต การใช้จ่ายด้านเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายและการใช้จ่ายด้านเคเบิ้ลทีวี และร้อยละ 0.04 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 8.61 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.30 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 17.99 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.53 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.57 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 13.26 มีอายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.76 มีอายุ 26-35 ปี ร้อยละ 19.28 มีอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.53 มีอายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.17 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.27 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.43 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.99 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.31 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 31.71 สถานภาพโสด ร้อยละ 64.94 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.20 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.15 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่าง ร้อยละ 27.74 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.76 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.83 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 23.33 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.04 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.30 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 8.92 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.08 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.49ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.27 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 17.00 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.36 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 4.50 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.38 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 20.81 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.55 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 29.19 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.30 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 3.66 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 5.72 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 7.77 ไม่ระบุรายได้

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net