จ.สงขลา หนุนเยาวชนสู่โลกอาเซียนผ่าน 'อานาชีด' สอดคล้องกับผลการวิจัย

เมื่อวันที่ 27-28 ส.ค. 2565 ในมหกรรมวิชาการเปิดโลกการศึกษาอิสลามที่โรงเรียนสิงหนครวิทยานุสรณ์ จ.สงขลา มีการแข่งขัน 'อานาชีด' ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับความนิยมมากในแหลมมลายูของกลุ่มประเทศอาเซียน งานวิจัยชี้เนื้อหาสาระของอานาชีดมุ่งเป้าหมายในการสร้างสันติภาพ

28 ส.ค. 2565 อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) แจ้งข่าวต่อสื่อมวลชนว่าเมื่อวันที่ 27-28 ส.ค. 2565 ที่ผ่านมาสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลาจัด มหกรรมวิชาการเปิดโลกการศึกษาอิสลามที่โรงเรียนสิงหนครวิทยานุสรณ์ อำเภอสิงหนคร อันเป็นเมืองประวัติศาสตร์ “สุลต่านสุไลหมาน”ของจังหวัดสงขลา ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาสนับสนุนงบประมาณการจัดกิจกรรมครั้งนี้ กว่า 30 รายการแข่งขัน หนึ่งรายการที่เป็นไฮไลต์บนเวทีที่มีผู้ชมมากที่สุดคือ 'อานาชีด' ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับความนิยมมากในแหลมมลายูของกลุ่มประเทศอาเซียน ตั้งแต่ชายแดนภาคใต้ มาเลเซีย บูรไน อินโดนีเซียและสิงคโปร์ จนสามารถสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง ครอบครัวตลอดจนประเทศชาติ ดังนั้นในกิจกรรมนี้จะเป็นก้าวสำคัญให้นักเรียน น้องๆ เยาวชนสู่เวทีที่สูงขึ้น

ในขณะงานวิจัยหัวข้อ “อานาชีดเสียงขับขานแห่งสันติภาพ” สะท้อนว่า อานาชีดมีประวัติความเป็น และพัฒนาการที่ยาวนานในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยเริ่มแรกได้มัการรับรูปแบบการขับร้องอานาชีดจากภูมิภาคประเทศอาหรับ แพร่กระจายมายังภูมิภาคมลายู คือ ประเทสอินโดนีเซีย มาเลเซีย และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเข้ามาเผยแพร่ในระยะแรกในปอเนาะ ตาดีกา (ศูนย์อบรมศาสนาประจำมัสยิด) และแพร่กระจายไปยังชุมชนในเวลาต่อมา ด้านบทบาทของการขับร้องอานาชีดจากผลการวิจัย พบว่า อานาชีดมีบทบาทสำคัญต่อประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในฐานะเป็นสื่อสำคัญในการปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจด้านศาสนา คุณธรรม จริยธรรม พัฒนาและกระตุ้นเด็ก เยาวชน โดยเฉพสะพัฒนาการด้านการใช้ภาษามลายูส่งผลสำคัญในการหล่อหลอมบุคลิกของเด็กให้กล้าแสดงออก โดยเฉพาะในสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 

โดยที่เนื้อหาสาระของอานชีดมุ่งเป้าหมายในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นแก่จิตใจผู้ขับร้อง อันจะนำไปสู้การสร้างสันติภาพในการอยู่ร่วมกันในสังคมต่อไป โดยกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับอานาชีดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เสนอแนะแนวทางในการอนุรักษ์อานาชีดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่น่าสนใจ หลายประการ ได้แก่ การส่งเสริมให้ตาดีกา ปอเนาะ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ชุมชน และสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในพื้นที่บางแห่ง ได้มีส่วนสำคัญในการอนุรักษ์ และสืบทอดบทร้องอานาชีด โดยใช้กระบวนการในรูปแบบการสอน การสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับอานาชีด ทั้งในรูปแบบการจัดกิจกรรมแสดงอานาชีดในโรงเรียน ในชุมชนในช่วงเทศกาลที่สำคัญทางศาสนา เช่น วันรายอ ตลอดจนการจัดกิจกรรมอานาชีดในลักษณะของการแข่งขันโดยความร่วมมือของเครือข่ายในอานาชีดในพื้นที่ รวมทั้ง ควรมีการเปิดพื้นที่การจัดกิจกรรม การนำเสนอ รวมทั้งการแข่งขันเกี่ยวกับอานาชีดอย่าต่อเนื่อง และมีการสร้างเครือข่ายเพื่อการเชื่อมโยงกันระหว่างโรงเรียนตาดีกา โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และควรมีการเปิดช่องทางการสื่อสารเพื่อสืบทอดอานาชีดให้ความหลากหลาย เช่น ทางวิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต และการแสดงแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับต่างพื้นที่อีกด้วย 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท