Skip to main content
sharethis

กป.อพช. ภาคเหนือและเครือข่ายค้านรัฐธรรมนูญ ม.272 จัดกิจกรรม ‘ลาบ ส.ว.’ ณ ท่าแพ เชียงใหม่ แถลงจี้ตัดอำนาจ ส.ว. เลือกนายกฯ 6-7 ก.ย. นี้

5 ก.ย. 2565 เวลา 17.00 น. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ (กป.อพช. ภาคเหนือ) และเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนคัดค้าน ม.272 จัดกิจกรรม ‘ลาบ ส.ว.’ ณ ข่วงประตูท่าแพ จ. เชียงใหม่

กป.อพช. ภาคเหนือ และเครือข่ายฯ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมสืบเนื่องจากวันที่ 6-7 ก.ย. 2565 มีระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภาในประเด็นสำคัญ คือ การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ที่เสนอโดยการเข้าชื่อกันของประชาชน ซึ่งเป็นข้อเสนอให้ยกเลิกมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 หรือ การตัดอำนาจสมาชิกวุฒิสภา ที่มาจากการคัดเลือกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในการลงมติเลือกบุคคลให้เป็นนายกรัฐมนตรี เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนภาคเหนือเล็งเห็นว่า อำนาจที่มากเป็น “พิเศษ” ของสมาชิกวุฒิสภาที่มีที่มาแบบ “พิเศษ” เป็นปัจจัยสำคัญทำให้รัฐสภาแห่งนี้ไม่ได้รับการเชื่อถือยอมรับ และทำให้รัฐบาลที่มาจากเสียงสนับสนุนของ สมาชิกวุฒิสภาขาดความชอบธรรม ขาดการยึดโยงกับประชาชน ทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง

ในเวลา 18.00 น. กป.อพช. ภาคเหนือและเครือข่ายฯ ได้อ่านแถลงการณ์ ระบุว่า ตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติทำรัฐประหารเมื่อปี 2557 ก็ได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศ ไปไว้ในมือคนกลุ่มเดียว และยังไม่คืนอำนาจให้อยู่ในมือของประชาชนอย่างแท้จริง แต่ยังคงยึดกุมอำนาจไว้ ด้วยกลไกหลากหลายในรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประกาศและคำสั่งของ คสช. และองค์กรอีกมากมายที่ถูกแต่งตั้งขึ้น โดยเครื่องมือที่เห็นได้เด่นชัดที่สุด ก็คืออำนาจของสมาชิกวุฒิสภาในการเลือกนายกรัฐมนตรีนี้เอง และกลไกที่จะคืนอำนาจ ให้ประชาชน ได้ที่สำคัญที่สุด คือ “การจัดการเลือกตั้งทั่วไปที่บริสุทธ์ โปร่งใส และเป็นธรรมโดยเร็ว” ซึ่งการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้านั้น จะไม่มีทางเป็นธรรมได้ และไม่มีทางที่จะได้รับการยอมรับ จากประชาชนได้ หากสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ยังคงมีอำนาจ ‘เหนือประชาชน’ ที่จะลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนต่อไป และรัฐบาลชุดต่อไป ดังนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อ ยกเลิกอำนาจ พิเศษของสมาชิกวุฒิสภาจึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น ที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน

“เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนภาคเหนือ จึงเห็นควรว่าให้ยกเลิกมาตรา 272 ตัดอำนาจ สว. โดยทันที เพื่อคืนอำนาจให้ประชาชน กระจายความมั่งคั่งให้ประชาชน ประชาชนมีเสรีภาพ เสมอภาค ภารดรภาพร่วมกัน” ชาติชาย ธรรมโม เลขาธิการ กป.อพช. ภาคเหนือ กล่าว

ทั้งนี้ ‘ลาบเหนือ’ เป็นอาหารพื้นถิ่นของภาคเหนือ โดยเครือข่ายฯ กล่าวว่า ในการจะทำลาบนั้น ประชาชนยังมีสิทธิเลือกวัตถุดิบเอง แต่สมาชิกวุฒิสภานั้นไม่ได้มาจากการเลือกของประชาชน แต่มีสิทธิเข้าไปเลือกนายกรัฐมนตรีแทนประชาชน ซึ่งไม่เป็นธรรม

แถลงการณ์ ตัดอำนาจ สว. กำจัดอำนาจเผด็จการ

เนื่องด้วยวันที่ 6-7 กันยายน พ.ศ.2565 มีระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภาในประเด็นสำคัญ คือ การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ที่เสนอโดยการเข้าชื่อกันของประชาชน ซึ่งเป็นข้อเสนอให้ยกเลิกมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 หรือ การตัดอำนาจสมาชิกวุฒิสภา ที่มาจากการคัดเลือกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในการลงมติเลือกบุคคลให้เป็นนายกรัฐมนตรี เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนภาคเหนือเล็งเห็นว่า อำนาจที่มากเป็น “พิเศษ” ของสมาชิกวุฒิสภาที่มีที่มาแบบ “พิเศษ”  เป็นปัจจัยสำคัญทำให้รัฐสภาแห่งนี้ไม่ได้รับการเชื่อถือยอมรับ และทำให้รัฐบาลที่มาจากเสียงสนับสนุนของ สมาชิกวุฒิสภาขาดความชอบธรรม ขาดการยึดโยงกับประชาชน ทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง

ตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติทำรัฐประหารเมื่อปีพ.ศ. 2557 ก็ได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศ ไปไว้ในมือคนกลุ่มเดียว และยังไม่คืนอำนาจให้อยู่ในมือของประชาชนอย่างแท้จริง แต่ยังคงยึดกุมอำนาจไว้ ด้วยกลไกหลากหลายในรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประกาศและคำสั่งของคสช. และองค์กรอีกมากมายที่ถูกแต่งตั้งขึ้น โดยเครื่องมือที่เห็นได้เด่นชัดที่สุด ก็คืออำนาจของสมาชิกวุฒิสภาในการเลือกนายกรัฐมนตรีนี้เอง และกลไกที่จะคืนอำนาจ ให้ประชาชน ได้ที่สำคัญที่สุด  คือ “การจัดการเลือกตั้งทั่วไปที่บริสุทธ์ โปร่งใส และเป็นธรรมโดยเร็ว” ซึ่งการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้านั้น จะไม่มีทางเป็นธรรมได้ และไม่มีทางที่จะได้รับการยอมรับ จากประชาชนได้ หากสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ยังคงมีอำนาจ “เหนือประชาชน” ที่จะลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนต่อไป และรัฐบาลชุดต่อไป ดังนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อ ยกเลิกอำนาจ พิเศษของสมาชิกวุฒิสภาจึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น ที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน     

เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนภาคเหนือ จึงเห็นควรว่าให้ยกเลิกมาตรา 272 ตัดอำนาจ สว. โดยทันที เพื่อคืนอำนาจให้ประชาชน กระจายความมั่งคั่งให้ประชาชน ประชาชนมีเสรีภาพ เสมอภาค ภารดรภาพร่วมกัน

 

5 กันยายน 2565

ย่ำค่ำ ณ ประตูท่าแพ เชียงใหม่

 

องค์กรและเครือข่ายที่ร่วมลงนาม​

1. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเหนือ​

2. ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ (CAN)​

3. ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น​

4. มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ(มพน.)​

5. สำนักข่าว LANNER​

6. มูลนิธิสื่อประชาธรรม​

7. สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ท เชียงใหม่​

8. บ้านสวนดอก​

9. ชมรมประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่​

10. ลำพูนปลดแอก​

11. ชาติพันธุ์ปลดแอก​

12. กลุ่ม R2S​

13. Lanna Project​

14. กลุ่มเฝ้าระวังอมก๋อย​

15.พรรควิฬาร์​

16. พิราบขาวเพื่อมวลชน​

17. KNACK​

18. NU- Movement ​

19. ทะลุ มช.​

20. สิทธิของคนพิการในการพัฒนาประชาธิปไตย​

21. เครือข่ายชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองพรรคก้าวไกล​

22. สหภาพแรงงานบาริสต้า เชียงใหม่​

23. มูลนิธิบ้านสบาย ผอ.สนั่น วุฒิ​

24. สถาบันการจัดการทางสังคม​

25. เครือข่ายปฏิบัติการลดโลกร้อน Thai C-CAN​

26. เครือข่ายทรัพยากรจังหวัดแพร่​

27. ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนโจ้โก้​

 

ภาพบรรยากาศ

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net