Skip to main content
sharethis

หลังรัฐสภาตีตกร่างแก้รัฐธรรมนูญ 4 ฉบับ iLaw ตั้ง 3 ข้อสังเกต 1. ถ้าไม่มีเงื่อนไขต้องได้รับเสียง ส.ว. ถึงหนึ่งในสาม ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่าน 1 ฉบับ 2. มี ส.ว. 14 คน ที่ยังตั้งมั่น "ยอมตัดอำนาจ ส.ว.เลือกนายกฯ" ติดต่อกันสี่ครั้ง และ 3. ส.ส. จำนวน 333 คน ลงมติเห็นชอบ "ตัดอำนาจ ส.ว." ยกเว้น พปชร.-ร.พ.-พรรคเล็ก

12 ก.ย.2565 จากเมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา อันประกอบไปด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มีนัดลงมติเห็นชอบร่างแก้รัฐธรรมนูญ 2560 ภาคสี่ จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย  ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 43) หรือ ร่างเสนอแก้ไขเรื่องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม ที่เสนอโดยพรรคเพื่อไทย ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (เพิ่มมาตรา 25 วรรคห้า แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 29 เพิ่มมาตรา 29/1 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 34 มาตรา 44 มาตรา 45 มาตรา 47 และมาตรา 48) หรือ ร่างเสนอแก้ไขเรื่องสิทธิในกระบวนการยุติธรรม เสรีภาพในการแสดงออก และสิทธิทางสาธารณสุข ที่เสนอโดยพรรคเพื่อไทย ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 159 วรรคหนึ่ง และมาตรา 170 วรรคสอง) หรื่อ ร่างเสนอแก้ไขเรื่องที่มาและคุณสมบัตินายกฯ ที่เสนอโดยพรรคเพื่อไทย และ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 272) หรื่อ ร่างเสนอแก้ไขเรื่องตัดอำนาจ ส.ว.ชุดพิเศษของคสช. เลือกนายกฯ โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 ชื่อ

โดยรัฐธรรมนูญ ปี 2560 กำหนดให้ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่จะผ่านความเห็นชอบในวาระแรกได้ ต้องได้รับเสียงเห็นชอบจากรัฐสภามากกว่ากึ่งหนึ่ง หรือประมาณ 364 คน และต้องได้รับเสียงเห็นชอบจาก ส.ว. จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม หรือ 84 คนขึ้นไป ดังนั้น เมื่อร่างแก้รัฐธรรมนูญทุกฉบับแม้จะได้รับเสียงเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา แต่ถ้าติดกำแพงจากเสียงของเห็นชอบของ ส.ว. ก็ไม่สามารถที่จะผ่านวาระหนึ่งไปได้ ทั้งนี้ ผลของการลงมติครั้งดังกล่าว พบว่า “ร่างรัฐธรรมนูญทุกฉบับถูกปัดตก” 

ทั้งนี้ iLaw ตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจอย่างน้อย 3 ข้อดังนี้

1. ถ้าไม่มีเงื่อนไขต้องได้รับเสียง ส.ว. ถึงหนึ่งในสาม ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่าน 1 ฉบับ

จากผลการลงมติร่างแก้รัฐธรรมนูญจำนวนสี่ฉบับในวาระหนึ่ง (ชั้นรับหลักการ) พบว่า ผลการลงมติมีรายละเอียดดังนี้

1) ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่เสนอแก้ไขเรื่องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม (พรรคเพื่อไทย)

ส.ส.และ ส.ว. มีมติรับหลักการรวมกัน 382 เสียง ไม่รับหลักการ 252 เสียง งดออกเสียง 28 เสียง

ส.ว. มีมติรับหลักการ 40 เสียง ไม่รับหลักการ 153 เสียง งดออกเสียง 26 เสียง

2) ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่เสนอแก้ไขเรื่องสิทธิในกระบวนการยุติธรรม เสรีภาพในการแสดงออก และสิทธิทางสาธารณสุข (พรรคเพื่อไทย)

ส.ส.และ ส.ว. มีมติรับหลักการรวมกัน 346 เสียง ไม่รับหลักการ 300 เสียง งดออกเสียง 16 เสียง

ส.ว. มีมติรับหลักการ 8 เสียง ไม่รับหลักการ 197 เสียง งดออกเสียง 14 เสียง

3) ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่เสนอแก้ไขเรื่องที่มาและคุณสมบัตินายกฯ (พรรคเพื่อไทย)

เห็นชอบ 346 เสียง ไม่เห็นชอบ 293 เสียง งดออกเสียง 23 เสียง

มี ส.ว. เห็นชอบ 9 เสียง ไม่เห็นชอบ 193 เสียง งดออกเสียง 17 เสียง

4)  ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่เสนอแก้ไขเรื่องตัดอำนาจ ส.ว.ชุดพิเศษของคสช. เลือกนายกฯ (ภาคประชาชน)

เห็นชอบ 357 เสียง ไม่เห็นชอบ 253 เสียง งดออกเสียง 52 เสียง

มี ส.ว. เห็นชอบ 23 เสียง ไม่เห็นชอบ 151 เสียง งดออกเสียง 45 เสียง 

จากผลการลงมติจะเห็นว่า ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่เสนอแก้ไขเรื่องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม เป็นร่างที่ได้รับเสียงเห็นชอบมากที่สุด และได้รับเสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา (365 เสียง) แต่ทว่า ร่างแก้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวต้องตกไป เนื่องจากได้รับเสียงเห็นชอบจาก ส.ว. น้อยกว่าหนึ่งในสาม หรือ 84 เสียง ทำให้ร่างแก้รัฐธรรมนูญเป็นอันตกไปทุกฉบับ ทั้งนี้ จากการสำรวจผลการลงมติรายบุคคล ทำให้พบว่า มี ส.ว. 140 คน ที่ลงมติไม่ลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแม้แต่ฉบับเดียว และมีและมี ส.ว. จำนวนเพียง 5 คน ที่ลงมติรับหลักการร่างรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ได้แก่ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ พิศาล มาณวพัฒน์ มณเฑียร บุญตัน วันชัย สอนศิริ และ อนุศาสน์ สุวรรณมงคล

2. มี ส.ว. 14 คน ที่ยังตั้งมั่น "ยอมตัดอำนาจ ส.ว.เลือกนายกฯ" ติดต่อกันสี่ครั้ง

จากผลการลงมติร่างแก้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2565 มีข้อสังเกตว่า ส.ว. ที่รวมลงมติรับหลักการร่างแก้รัฐธรรมนูญที่เสนอให้แก้ไขมาตรา 272 หรือ การตัดอำนาจ ส.ว.แต่งตั้ง ที่มาจากคสช. ในการเลือกนายกฯ มีจำนวนน้อยลงกว่าครั้งแรกที่มีการเสนอเข้ามา เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563 ซึ่งมีทั้งข้อเสนอแบบมัดรวมหลายข้อจากภาคประชาชน และข้อเสนอรายประเด็นเฉพาะเลือกที่มานายกฯ ของพรรคเพื่อไทย ซึ่งร่างของพรรคเพื่อไทยได้รับเสียงเห็นชอบหรือรับหลักการสูงสุดถึง 56 เสียง แต่หลังจากมีการเสนอแก้ไขอีกอย่างน้อย 4 ครั้ง ส.ว.ก็ไม่ได้ลงมติเห็นชอบหรือรับหลักการได้มากเท่าครั้งแรกอีกเลย

แต่อย่างไรก็ดี พบว่า ในจากรายชื่อ ส.ว. ที่ลงมติรับหลักการร่างแก้รัฐธรรมนูญที่เสนอให้ตัดอำนาจ ส.ว.แต่งตั้ง ที่มาจากคสช. ในการเลือกนายกฯ มี ส.ว.แต่งตั้ง จำนวน 14 คน ที่ยังตั้งมั่น "ยอมตัดอำนาจ ส.ว.เลือกนายกฯ" ติดต่อกันมาแล้วอย่างน้อยสี่ครั้ง ตั้งแต่ปี 2563 จนถึง ปี 2565 ได้แก่ ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ คำนูณ สิทธิสมาน เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ เฉลิมชัย เฟื่องคอน เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประภาศรี สุฉันทบุตร ประมนต์ สุธีวงศ์ พรทิพย์ โรจนสุนันท์ พิศาล มาณวพัฒน์ มณเฑียร บุญตัน วันชัย สอนศิริ วัลลภ ตังคณานุรักษ์ อนุศาสน์ สุวรรณมงคล และอำพล จินดาวัฒนะ

นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่า มี ส.ว.แต่งตั้ง จำนวน 2 คน ที่ไม่เคยลงมติรับหลักการร่างแก้รัฐธรรมนูญแม้แต่ฉบับเดียว ได้แก่ พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร และ ว่าที่ ร.ต.วงศ์สยาม เพ็งพานิชภักดี

รัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดให้ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่จะผ่านความเห็นชอบในวาระแรกได้ ต้องได้รับเสียงเห็นชอบจากรัฐสภามากกว่ากึ่งหนึ่ง หรือประมาณ 364 คน และต้องได้รับเสียงเห็นชอบจาก ส.ว. จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม หรือ 84 คนขึ้นไป ดังนั้น เมื่อร่างแก้รัฐธรรมนูญทุกฉบับแม้จะได้รับเสียงเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา แต่ถ้าติดกำแพงจากเสียงของเห็นชอบของ ส.ว. ก็ไม่สามารถที่จะผ่านวาระหนึ่งไปได้ ทั้งนี้ ผลของการลงมติครั้งดังกล่าว พบว่า “ร่างรัฐธรรมนูญทุกฉบับถูกปัดตก”

อย่างไรก็ดี ถ้าลองนำผลการออกเสียงลงมติมาพิจารณาดูแบบละเอียดจะพบว่า จำนวนผู้ที่ลงมติรับหลักการร่างแก้รัฐธรรมนูญทุกฉบับ มีทั้งหมด 335 คน โดยมีทั้งพรรคฝ่ายค้าน ได้แก่ พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล พรรคเสรีรวมไทย พรรคเพื่อชาติ พรรคประชาชาติ พรรคพลังปวงชนไทย และพรรคไทยศรีวิลไลย์ และพรรคฝ่ายรัฐบาล ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา

ส่วน ส.ส. ที่ลงมติ “ไม่เห็นชอบร่างแก้รัฐธรรมนูญ” เหมือนกันทุกฉบับ มีทั้งหมด 98 คน โดยเสียงส่วนใหญ่มาจากพรรคพลังประชารัฐ และพรรคขนาดเล็กและขนาดกลาง ได้แก่ พรรครวมพลัง หรือ พรรครวมพลังประชาชาติไทย พรรคพลังชาติไทย และพรรคไทรักธรรม

ทั้งนี้ ถ้าดูเฉพาะการลงมติร่างแก้รัฐธรรมนูญ เรื่อง ตัดอำนาจ ส.ว.แต่งตั้ง ที่มาจากคสช. เลือกนายกฯ จะพบว่า นอกจากจะได้รับเสียงเห็นชอบจาก ส.ว. ไม่ถึงหนึ่งในสามตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนดแล้ว จำนวนผู้ลงมติรับหลักการร่างแก้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวยังมีเพียง 356 เสียง ซึ่งเป็นจำนวนน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของรัฐสภา ดังนั้น ร่างแก้รัฐธรรมนูญถึงไม่ผ่านสภาด้วยปัจจัยจาก ส.ว. และ ส.ส. ด้วยเช่นกัน ซึ่งตัวตั้วตัวดีสำคัญในการปัดตกร่างแก้รัฐธรรมนูญเรื่องตัดอำนาจ ส.ว. เลือกนายกฯ ก็คือ พรรคพลังประชารัฐ พรรครวมพลัง (ชื่อใหม่ของพรรครวมพลังประชาชาติไทย) และพรรคเล็กอีกจำนวน 4 พรรค

จากปรากฏการณ์นี้ สะท้อนให้เห็นด้วยว่า พรรคพลังประชารัฐที่นำโดย พล.อ.ประวิตร ต้องการให้มีกลไกในการสืบทอดอำนาจหลังการเลือกตั้งครั้งหน้าที่จะเกิดขึ้นอย่างช้าในเดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งที่ผ่านมา กลไกดังกล่าวเป็นอำนาจต่อรองที่ทำให้พรรคการเมืองที่เคยประกาศไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องกลับลำ อาทิ พรรคประชาธิปัตย์ เพราะเห็นว่า การจัดตั้งรัฐบาลโดยไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจาก ส.ว.แต่งตั้ง เป็นเรื่องยากลำบาก และทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้รับการสนับสนุนจาก ส.ส. ให้เป็นนายกฯ ในที่สุด

3. ส.ส. จำนวน 333 คน ลงมติเห็นชอบ "ตัดอำนาจ ส.ว." ยกเว้น พปชร.-ร.พ.-พรรคเล็ก

จำนวนผู้ที่ลงมติรับหลักการร่างแก้รัฐธรรมนูญทุกฉบับ มีทั้งหมด 335 คน  โดยมีทั้งพรรคฝ่ายค้าน ได้แก่ พรรคเพื่อไทย  พรรคก้าวไกล  พรรคเสรีรวมไทย พรรคเพื่อชาติ พรรคประชาชาติ พรรคพลังปวงชนไทย และพรรคไทยศรีวิลไลย์ และพรรคฝ่ายรัฐบาล ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา 

ส่วน ส.ส. ที่ลงมติ “ไม่เห็นชอบร่างแก้รัฐธรรมนูญ” เหมือนกันทุกฉบับ มีทั้งหมด 98 คน โดยเสียงส่วนใหญ่มาจากพรรคพลังประชารัฐ และพรรคขนาดเล็กและขนาดกลาง ได้แก่ พรรครวมพลัง หรือ พรรครวมพลังประชาชาติไทย พรรคพลังชาติไทย และพรรคไทรักธรรม 

ทั้งนี้ ถ้าดูเฉพาะการลงมติร่างแก้รัฐธรรมนูญ เรื่อง ตัดอำนาจ ส.ว.แต่งตั้ง ที่มาจากคสช. เลือกนายกฯ จะพบว่า นอกจากจะได้รับเสียงเห็นชอบจาก ส.ว. ไม่ถึงหนึ่งในสามตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนดแล้ว จำนวนผู้ลงมติรับหลักการร่างแก้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวยังมีเพียง 356 เสียง ซึ่งเป็นจำนวนน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของรัฐสภา ดังนั้น ร่างแก้รัฐธรรมนูญถึงไม่ผ่านสภาด้วยปัจจัยจาก ส.ว. และ ส.ส. ด้วยเช่นกัน ซึ่งตัวตั้วตัวดีสำคัญในการปัดตกร่างแก้รัฐธรรมนูญเรื่องตัดอำนาจ ส.ว. เลือกนายกฯ ก็คือ พรรคพลังประชารัฐ พรรครวมพลัง (ชื่อใหม่ของพรรครวมพลังประชาชาติไทย) และพรรคเล็กอีกจำนวน 4 พรรค

จากปรากฏการณ์นี้ สะท้อนให้เห็นด้วยว่า พรรคพลังประชารัฐที่นำโดย พล.อ.ประวิตร ต้องการให้มีกลไกในการสืบทอดอำนาจหลังการเลือกตั้งครั้งหน้าที่จะเกิดขึ้นอย่างช้าในเดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งที่ผ่านมา กลไกดังกล่าวเป็นอำนาจต่อรองที่ทำให้พรรคการเมืองที่เคยประกาศไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องกลับลำ อาทิ พรรคประชาธิปัตย์ เพราะเห็นว่า การจัดตั้งรัฐบาลโดยไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจาก ส.ว.แต่งตั้ง เป็นเรื่องยากลำบาก และทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้รับการสนับสนุนจาก ส.ส. ให้เป็นนายกฯ ในที่สุด

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net