Skip to main content
sharethis

หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ภาวิน มาลัยวงศ์ และชานันท์ ยอดหงษ์ อธิบายเรื่องจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ที่เริ่มต้นหลังการตัดสินคดีอาชญากรรมสงครามโลกครั้งที่ 2 กรณีห้องทดลองมนุษย์ของนาซี นำมาสู่ Nuremberg Code ที่การทดลองในมนุษย์ผู้ร่วมการทดลองต้องรับทราบและยินยอม และอีกกรณีหนึ่ง เมื่อมีการร้องเรียนกรณีการทดลองรักษาโรคซิฟิลิสที่เมืองทัสคีกี สหรัฐอเมริกา ระหว่าง ค.ศ. 1932-1972 โดยผู้ร่วมการทดลองไม่ได้รับข้อมูลที่เพียงพอ นำมาสู่ Belmont Report การตั้งหลักจริยธรรมในการทดลองกับมนุษย์ ที่จะต้อง1. เคารพในบุคคล2. มีคุณประโยชน์ไม่ก่ออันตราย และ 3. หลักความยุติธรรม ทั้งนี้หลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ถูกนำมาปรับใช้กับการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์อีกด้วย ติดตามทั้งหมดได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net