เครือข่ายนักวิชาการฯ หนุนร่างแก้ รธน. มุ่งกระจายอำนาจ ที่รัฐสภากำลังจะพิจารณา

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการกระจายอำนาจ ออกแถลงการณ์สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฯ เพื่อยกเลิกหมวดการปกครองส่วนท้องถิ่นเดิมและใช้บัญญัติใหม่ ระบุช่วยคลี่คลายปัญหาการกระจุกตัวของอำนาจในโครงสร้างอำนาจราชการที่มีการรวมศูนย์อย่างเข้มข้นไว้ที่ราชการส่วนกลาง ชี้ไม่ได้มีเนื้อหาสาระใดที่ควรแก่การกังวลในเรื่องที่จะบั่นทอนความเป็นเอกภาพของรัฐ ไม่กระทบต่อความเป็นรัฐเดี่ยว หรือระบอบการปกครอง

28 พ.ย.2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการกระจายอำนาจ (คนก.) ออกแถลงการณ์สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฯ เพื่อยกเลิกหมวดการปกครองส่วนท้องถิ่นเดิมและใช้บัญญัติใหม่ หรือ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่....) พุทธศักราช.............. โดยระบุว่า 1. ร่างรัฐธรรมนูญฯ ดังกล่าวนี้มีเนื้อหาสาระที่มุ่งให้เกิดการกระจายอำนาจให้เกิดการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนของประชาชนในท้องถิ่นอันเป็นหลักการพื้นในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 และ รัฐธรรมนูญฯ ก่อนหน้านั้นแทบทุกฉบับ รวมทั้งเป็นไปตามหลักการจัดโครงสร้างและจัดสรรอำนาจรัฐตาม หลักการรวมศูนย์อำนาจ หลักการแบ่งอำนาจและหลักการกระจายอำนาจอันได้รับการยอมรับอย่างเป็นสากล

2. เนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญฯ นี้จะทำให้เกิดการคลี่คลายปัญหาการกระจุกตัวของอำนาจในโครงสร้างอำนาจราชการที่มีการรวมศูนย์อย่างเข้มข้นไว้ที่ราชการส่วนกลางและมีราชการส่วนภูมิภาคเป็นกลไก รักษาอำนาจของราชการส่วนกลางนั้นไว้ได้อย่างแท้จริง ผู้ที่ห่วงใยต่อปัญหาระดับรากเหง้าของประเทศโดยทั่วไปก็ จะทราบว่า โครงสร้างอำนาจที่รวมศูนย์เข้มข้นเช่นนี้ส่งผลอย่างรุนแรงต่อการเสียสมดุลของอำนาจใน สังคมไทยทั้งหมดและที่สุดก็ส่งผลต่อการจัดสรรแบ่งปันผลประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรมและเหลื่อมล้ำอย่างรุนแรงจากทรัพยากรของชาติและสังคม รวมทั้งภาระหน้าที่ระหว่างคนแต่ละฝ่ายในสังคม คนก.เห็นว่า แนวทางการกระจายอำนาจให้ถึงระดับที่จำเป็นตามร่างรัฐธรรมนูญฯ นี้ จะช่วยคลี่คลายปัญหา เช่นนั้น และช่วยดึงเอาศักยภาพของทั้งคนและทรัพยากรทั้งหลายในพื้นที่ต่างๆ เข้ามาสู่การร่วมจัดการ ประเทศและท้องถิ่นแต่ละแห่งให้เกิดความเติบโตอย่างมั่นคง มีคุณภาพและยั่งยืนได้

3. คนก. เห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฯ นี้ไม่ได้มีเนื้อหาสาระใดที่ควรแก่การกังวลในเรื่องที่จะบั่นทอนความเป็นเอกภาพของรัฐ ไม่กระทบต่อความเป็นรัฐเดี่ยว หรือระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับจะเป็นสิ่งที่ทำให้ความมั่นคงและความเป็นเอกภาพบนความหลากหลายของศักยภาพ วิถีวัฒนธรรม แนวทางการจัดการท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นเอง ฯลฯ เงื่อนไขเดียวของการจะเกิดสิ่งเหล่านี้ได้คือความใจกว้างและปรารถนาดีอย่างจริงใจของฝ่ายที่เกี่ยวข้องทุก ฝ่ายต่อความเปลี่ยนแปลงอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่สูงขึ้นของชาติและสังคมไทย ด้วยเหตุผลดังกล่าวมา คนก.จึงขอสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฯ ฉบับนี้ให้ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิก รัฐสภาและสาธารณชน และคนก. พร้อมที่จะสนับสนุนแนวทางการกระจายอำนาจที่เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง เช่นนี้ไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอหรือการดำเนินการจากกลุ่มการเมืองหรือบุคคลใดก็ตาม

โดยมีรายละเอียดของแถลงการณ์ดังนี้

แถลงการณ์เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการกระจายอำนาจ (คนก.) เรื่อง สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฯ เพื่อยกเลิกหมวดการปกครองส่วนท้องถิ่นเดิมและใช้บัญญัติใหม่ ( ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่....) พุทธศักราช..............)

ตามที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 76,591 คนได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่....) พุทธศักราช..........เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาและกำลังจะได้รับการพิจารณาจากรัฐสภาใน วาระแรก โดยร่างรัฐธรรมนูญฯ ฉบับนี้มีสาระสำคัญที่แตกต่างจากบทบัญญัติหมวด 14 เดิมหรือทำให้หลักการบาง ประการมีหลักประกันชัดเจนขึ้นหลายประการ เช่น (1) การกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) เป็นผู้มีหน้าที่และอำนาจทั่วไปในจัดการจัดทำ บริการสาธารณะ ยกเว้นภารกิจ 5 ประการคือภารกิจด้านทหารและการป้องกันประเทศ ด้านความมั่นคงภายใน ด้านกิจการต่างประเทศ ด้านธนาคารกลางและเงินตรา และบริการสาธารณะที่มีผลกระทบต่อประชาชนโดยรวม ทั้งประเทศ (2) การกำหนดให้รัฐบาล ราชการส่วนกลาง และราชการส่วนภูมิภาคจะมีหน้าที่และอำนาจในการ จัดทำบริการสาธารณะได้เฉพาะที่ไม่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของอปท. เฉพาะที่อปท.ทำไม่ได้ หรืออปท.ร้อง ขอให้จัดทำแทน (3) กรณีที่เกิดปัญหาความซ้ำซ้อนของหน้าที่หรืออำนาจในการทำบริการสาธารณะใด ให้ถือว่าอปท.เป็น ผู้มีหน้าที่อำนาจในเรื่องนั้นเว้นแต่จะเป็นกรณีทีอปท.ไม่อาจดำเนินการได้จนทำให้ประชาชนเดือดร้อนเสียหาย หรือที่อปท.ได้ร้องขอให้ราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคดำเนินการแทน (4) ในกรณีที่คณะกรรมการ กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดให้ราชการส่วนกลางและราชการส่วนท้องถิ่นถ่ายโอนภารกิจให้อปท.ภายในเวลาที่กำหนดแต่ไม่มีการถ่ายโอน ให้ถือว่าภารกิจเหล่านั้นได้ถูกถ่ายโอนไปยังอปท.โดย อัตโนมัติและให้บรรดากฎหมายต่างๆ ที่ให้หน้าที่และอำนาจแก่ราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในการทำภารกิจดังกล่าวสิ้นผลไป

(5) กำหนดให้มีการจัดสรรรายได้ระหว่างราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคและอปท. โดยให้มีการ จัดสรรรายได้ให้แก่ อปท.ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของรายได้สุทธิรัฐบาลภายใน 3 ปีนับแต่ใช้รัฐธรรมนูญฯ ฉบับนี้กับให้มีกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์และให้อำนาจอปท. ในการกู้เงินและออกพันธบัตรได้ (6) ให้มีกฎหมาย กำหนดวิธีการจัดทำบริการสาธารณะซึ่งเปิดโอกาสให้อปท. จัดตั้งบริษัทจำกัดหรือร่วมทุนในบริษัทจำกัดโดยไม่ จำกัดเฉพาะที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสาธารณูปโภคเท่านั้น มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดตั้งสหการระหว่างอปท. ให้ อปท.จัดเก็บภาษีหรือรับเงินอุดหนุนจากรัฐได้ รวมทั้ง การมอบอำนาจให้เอกชนจัดทำบริการสาธารณะ (7) กำหนดให้การกำกับดูแลอปท. ต้องเป็นการควบคุมภายหลังการกระทำ หากจะเพิกถอนการกระทำ ต้องเป็นอำนาจศาลปกครอง (8) ให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการมีสภาพลเมืองในทุกท้องถิ่นและวางหลักประกันการมี ส่วนร่วมกับอปท. และการจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วมของประชาชน (9) กำหนดให้คณะรัฐมนตรีจัดทำแผน ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคภายใน 2 ปีและจัดให้มีการทำประชามติยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคภายใน 5 ปี ฯลฯ

คนก. ได้พิจารณาบนพื้นฐานทางวิชาการ ปัญหาทางรัฐธรรมนูญ – กฎหมายและทางข้อเท็จจริงของปัญหาการกระจายอำนาจของประเทศไทยแล้ว เห็นว่า 

1. ร่างรัฐธรรมนูญฯ ดังกล่าวนี้มีเนื้อหาสาระที่มุ่งให้เกิดการกระจายอำนาจให้เกิดการปกครองตนเองตาม เจตนารมณ์ของประชาชนของประชาชนในท้องถิ่นอันเป็นหลักการพื้นในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 และ รัฐธรรมนูญฯ ก่อนหน้านั้นแทบทุกฉบับ รวมทั้ง เป็นไปตามหลักการจัดโครงสร้างและจัดสรรอำนาจรัฐตาม หลักการรวมศูนย์อำนาจ หลักการแบ่งอำนาจและหลักการกระจายอำนาจอันได้รับการยอมรับอย่างเป็นสากล

2. เนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญฯ นี้จะทำให้เกิดการคลี่คลายปัญหาการกระจุกตัวของอำนาจใน โครงสร้างอำนาจราชการที่มีการรวมศูนย์อย่างเข้มข้นไว้ที่ราชการส่วนกลางและมีราชการส่วนภูมิภาคเป็นกลไก รักษาอำนาจของราชการส่วนกลางนั้นไว้ได้อย่างแท้จริง ผู้ที่ห่วงใยต่อปัญหาระดับรากเหง้าของประเทศโดยทั่วไปก็ จะทราบว่า โครงสร้างอำนาจที่รวมศูนย์เข้มข้นเช่นนี้ส่งผลอย่างรุนแรงต่อการเสียสมดุลของอำนาจใน สังคมไทยทั้งหมดและที่สุดก็ส่งผลต่อการจัดสรรแบ่งปันผลประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรมและเหลื่อมล้ำอย่าง รุนแรงจากทรัพยากรของชาติและสังคม รวมทั้งภาระหน้าที่ระหว่างคนแต่ละฝ่ายในสังคม คนก.เห็นว่า แนวทางการกระจายอำนาจให้ถึงระดับที่จำเป็นตามร่างรัฐธรรมนูญฯ นี้ จะช่วยคลี่คลายปัญหา เช่นนั้น และช่วยดึงเอาศักยภาพของทั้งคนและทรัพยากรทั้งหลายในพื้นที่ต่างๆ เข้ามาสู่การร่วมจัดการ ประเทศและท้องถิ่นแต่ละแห่งให้เกิดความเติบโตอย่างมั่นคง มีคุณภาพ และยั่งยืนได้

3. คนก.เห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฯ นี้ไม่ได้มีเนื้อหาสาระใดที่ควรแก่การกังวลในเรื่องที่จะบั่นทอนความ เป็นเอกภาพของรัฐ ไม่กระทบต่อความเป็นรัฐเดี่ยว หรือระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับจะเป็นสิ่งที่ทำให้ความมั่นคงและความเป็นเอกภาพบน ความหลากหลายของศักยภาพ วิถีวัฒนธรรม แนวทางการจัดการท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นเอง ฯลฯ เงื่อนไขเดียวของการจะเกิดสิ่งเหล่านี้ได้คือความใจกว้างและปรารถนาดีอย่างจริงใจของฝ่ายที่เกี่ยวข้องทุก ฝ่ายต่อความเปลี่ยนแปลงอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่สูงขึ้นของชาติและสังคมไทย ด้วยเหตุผลดังกล่าวมา คนก.จึงขอสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฯ ฉบับนี้ให้ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิก รัฐสภาและสาธารณชน และคนก. พร้อมที่จะสนับสนุนแนวทางการกระจายอำนาจที่เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง เช่นนี้ไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอหรือการดำเนินการจากกลุ่มการเมืองหรือบุคคลใดก็ตาม

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการกระจายอำนาจ (คนก.)
28 พฤศจิกายน 2565

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท