Skip to main content
sharethis

112WATCH คุยกับ อนุสรณ์ อุณโน รองศาสตราจารย์ คณะสังคมวิทยาฯ มธ. วิเคราะห์สถานการณ์การเคลื่อนไหวปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ความจำเป็นและหนทางที่เป็นไปได้ กุญแจความสำเร็จของการประท้วงบนท้องถนน รวมทั้งการรับมือกับการบังคับใช้ ม.112 ที่มากขึ้นเรื่อยๆ และบทบาทของชุมชนทางวิชาการ

อนุสรณ์ อุณโน รองศาสตราจารย์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (แฟ้มภาพ)

 

โครงการ 112WATCH สัมภาษณ์ อนุสรณ์ อุณโน รองศาสตราจารย์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในบทบาทของการปฏิรูปสถาบัน และบทบาทในฐานะนักวิชาการที่กำลังเพิ่มเรื่อยๆในวาระของการปฏิรูปกฎหมายมาตรา 112 ในประเทศไทย โดยบทสัมภาษณ์นี้แปลจากเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของโครงการ 112WATCH ในชื่อ Thai Activist-Scholar Confronts the Taboo Issue of Monarchy เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 ก.ย.ที่ผ่านมา มีรายละเอียดดังนี้

112Watch: การประท้วงทั้งหลายได้เริ่มขึ้นในช่วงกลางปี 2563 และครั้งสุดท้ายเมื่อปลายปี 2564 แต่ดูเหมือนว่าตอนนี้มันจะเริ่มเงียบสนิทลงไป ในความเห็นของคุณ กลุ่มผู้ประท้วงได้บรรลุเป้าหมายอะไรไปบ้างที่มีความโดดเด่นในบริบทของการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ และจะมีโอกาสที่จะได้หวนกลับมาประท้วงอีกหรือไม่?

อนุสรณ์: การประท้วงทั้งหลายอาจเรียกได้ว่าจบสิ้นลงตั้งแต่ปลายปี 2564 หรือแม้กระทั่งอาจจะกล่าวได้ว่าจบสิ้นตั้งแต่ปลายปี 2563 เลยด้วยซ้ำ โดยถ้าเราเอาการชุมนุมครั้งใหญ่มาเป็นเครื่องชี้วัดการจบสิ้น อย่างไรก็ดีการที่การประท้วงเงียบเช่นนี้นั้นไม่ใช่เป็นเพราะสปิริตของการต่อสู้แต่อย่างใด แต่เนื่องด้วยความหลากหลายในประเด็นการเมืองที่ประท้วง หรือการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ยิ่งกว่านั้นผลกระทบต่างๆ จากการประท้วงที่พุ่งเข้ามาอย่างถาโถมต่างหากที่ทำให้เป็นเช่นนี้

สำหรับเรื่องของสปิริตของการต่อสู้นั้น เห็นได้ชัดมากกว่าจะกล่าวว่าไม่ได้เงียบสนิทไปแบบที่ม็อบใหญ่เคยทำ เพราะมันยังคงมีสปิริตของการต่อสู้อยู่ และสั่นไหวอยู่ทุกเวลา อีกทั้งยังแข็งแกร่งมากขึ้น สปิริตที่กล่าวถึงนี้สามารถเห็นได้เชิงประจักษ์ในรูปแบบประท้วงต่างๆ ที่มีความหลากหลายและสร้างสรรค์ มากกว่าจะรอการให้เกิดม็อบขนาดใหญ่อย่างเดียว เช่น การประท้วงแบบ "ยืน หยุด ขัง" หรือ "คาร์ม็อบ" หรือแม้กระทั่งการก่อตั้งกองทุนราษฎรประสงค์ เป็นต้น นี่ยังไม่รวมถึงม็อบเยาวชนต่างๆ ที่ตั้งใจมุ่งการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์อีกด้วย

สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้น แม้ว่ากลุ่มผู้ประท้วงจะไม่ได้บรรลุเป้าหมายใดๆ กับการต้องการที่จะปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ แต่ก็ได้เกิดกระแสใหม่ๆ กับคนไทย โดยเฉพาะกลุ่มคนหนุ่มสาวที่มีแนวคิดอยากจะเปลี่ยนแปลงในขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ เช่น จำนวนคนที่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีก่อนฉายภาพยนตร์ หรือจำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมพิธีพระราชทานปริญญาบัตรก็ลดน้อยลงเช่นกัน สิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นล้วนถือเป็นการประท้วงอย่างหนึ่งในตัวของมันเอง นี่ยังไม่นับผลโหวตจากโพลล์ต่างๆ ที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์อีกด้วย และจากทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมานั้น หากถามว่าอะไรคือสิ่งที่กลุ่มผู้ประท้วงทำแล้วได้บรรลุเป้าหมายบ้างนั้น คือการทำให้สังคมไทยได้ตื่นรู้และตั้งคำถามอย่างเห็นได้ชัดต่อการมีอยู่ของสถาบันกษัตริย์ไทย

อย่างที่ได้กล่าวไปแม้ว่าจะยังไม่มีโอกาสในการกลับมาชุมนุมอีกครั้งรอบใหม่ของกลุ่มผู้ประท้วงในอนาคตอันใกล้ เนื่องด้วยมาตราการการกดดันอย่างหนัก อีกทั้งการเคลื่อนไหวครั้งใหม่จะต้องใช้กลยุทธ์ที่เรียนรู้จากบทเรียนครั้งก่อนมาใช้ในการต่อสู้กับระบอบเก่าที่มีสถาบันกษัตริย์อยู่ศูนย์กลาง ที่ซึ่งยังเคลื่อนไหวและปรากฎให้เห็นอยู่เสมอ ดั่งในผลการเลือกตั้งทางการเมืองต่างๆ รวมทั้งการเลือกตั้งครั้งถัดไปที่กำลังจะมาถึงนั้น จะเป็นศึกตัดสินสำคัญได้เช่นกัน

การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์นั้นจำเป็นอย่างไร และยังพอจะมีทางเป็นไปได้ไหม?

การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่แล้วอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง นั้นเพราะว่านี่คือหลักสำคัญของวิกฤตทางการเมืองที่มีสถาบันกษัตริย์อยู่ตรงกลาง และมันไม่มีทางจบลงได้เลย หากไม่มีการปฏิรูปเสียก่อน การเคลื่อนไหวต่างๆ ของฝ่ายอนุรักษ์นิยมอย่างเช่น กลุ่มพันธมิตรคนเสื้อเหลือง หรือกลุ่ม กปปส. ที่ในมุมหนึ่งก็เคลื่อนไหวผลักดันให้เกิดการรัฐประหารโดยทหาร เพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังมีกลุ่มยอรัลลิสต์ที่ร่วมมือกับรัฐร่วมกันใช้มาตรา 112 ที่นำมาใช้กำจัดกลุ่มคนที่เห็นต่างจากพวกตน ซึ่งมันได้ทำให้สังคมไทยได้มีความแตกแยกลงฝังลึกในทุกย่อมหญ้าในหมู่พวกเราทุกคนที่ต้องการอย่างด่วนให้มีการแก้ไข ดังนั้นคำถามว่าปฏิรูปสถาบันกษัตริย์อย่างไรนั้นอาจจะมีคำตอบในตัวของมันเอง หรืออย่างน้อยก็ได้ตอบคำถามของคุณเองในตัวคำถามไปบ้างแล้ว ประเด็นคือทำอย่างไรให้เป็นไปได้มากที่สุดเสียมากกว่า

ผมคิดว่า เราควรมองว่าสถาบันกษัตริย์นนั้นเป็นสถาบันทางสังคมไทยอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่แค่ตัวละครหนึ่งในทางการเมือง นอกจากตัวตนจะเกี่ยวข้องทางกฎหมาย และเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของรัฐ แต่สถาบันกษัตริย์ได้เข้าไปเกี่ยวข้องทั้งทุกมุมมอง ทั้งความเชื่อ และคุณค่าทางสังคม ซึ่งนั้นแปลว่ามันไม่ง่ายเลยที่จะปฏิรูปตามความตั้งใจของเรา นั้นเป็นเพราะตัวตนของสถาบันกษัตริย์นั้นมีความเป็นเอกภาพจากเจตจำนงขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทั่วไปหรือปณิธานของมนุษย์ แต่กระนั้นในฐานะสถาบันทางสังคมอย่างหนึ่ง ก็จะถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลง โดยจะเกิดขึ้นจากเจตจำนงขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทั่วไปและปณิธานของมนุษย์ หากจะตัดสินจากสิ่งที่ผมพึ่งได้พูดไปก่อนหน้านี้เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการประท้วงทั้งหลาย นั้นก็เพราะสถาบันกษัตริย์ก็เป็นสถาบันทางสังคมอย่างหนึ่งจริงๆ ที่กำลังเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงจากรากฐาน และไม่มีใครสามารถหยุดมันได้ หนทางและการพูดถึงสถาบันกษัตริย์อย่างมีชั้นเชิงนั้นจะต้องทำให้สถาบันกษัตริย์นั้นได้ไตร่ตรองและวางเส้นทางของการเปลี่ยนแปลงด้วยตนเองที่มีความสอดคล้องทั้งในแง่ของประเด็นต่างๆ และการมีอยู่ของตน หรือสอดคล้องกับจังหวะและสิ่งแวดล้อมต่างๆ พวกเขาจะต้องให้ความสำคัญวัฒนธรรมในสังคมทุกๆพื้นที่ที่แตกต่างกัน ไม่เพียงจะให้ความสำคัญในโลกการเมืองเท่านั้น มันจะมีความเป็นไปได้อย่างยิ่งที่จะปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ แต่นี่จะต้องใช้กลยุทธ์และวิธีการที่เหมาะสมและเป็นไปได้

ป้าย "ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์" หน้าสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี ประจำประเทศไทย วันที่ 26 ต.ค.63

ส่วนใหญ่แล้วกลุ่มผู้ประท้วงนั้นเป็นนักเรียน นักศึกษาที่มาจากชนชั้นกลางในสังคม ยกเว้นแค่บางคนเท่านั้น อะไรคือกุญแจสำคัญถ้าพวกเขาต้องการที่จะประสบความสำเร็จการประท้วงบนท้องถนน?

"การประสบความสำเร็จ" ในการประท้วงบนท้องถนนในประเทศนไทยนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นนักในหมู่กลุ่มผู้ประท้วงทั่วไป ซึ่งไม่สามารถเปรียบเทียบได้เลย เพราะกลุ่มนี้เขาเป็นนักเรียน นักศึกษา หรือเยาวชนทั่วไป มองในมุมหนึ่ง "การลุกหือของนักเรียนนักศึกษา" ในปี 1973 หรือ 2516 นั้นถูกนำโดยองค์กรหนึ่งที่มีความคิดภายใต้อุดมการณ์ทางการเมืองอันหนึ่ง และชัดเจนว่าเหตุผลที่ทหารต้องลงมาจัดการพร้อมๆ กับการแทรกแซงโดยสถาบัน เช่นเดียวกับในปี 1992 หรือ 2535 ที่สถานการณ์อันบานปลายนั้น เพราะการแทรกแซงจากสถาบัน การเคลื่อนไหวกลุ่มนักเรียน นักศึกษาในปัจจุบันนั้นมีความแตกต่างมาก ที่จะเห็นได้จากการทำงานของพวกเขาที่ค่อนข้างหละหลวมและไม่มีเสียงจากองค์กรอื่นๆ ทางการเมืองมาวุ่นวาย มันสำคัญอย่างมากที่ความต้องการของพวกเขานั้นชัดเจนเพียงแค่การ "ปฏิรูปสถาบัน"

ในอีกมุมหนึ่งในปี 1990 หรือ 2533 ที่มีการเคลื่อนไหวของคนรากหญ้า โดยเฉพาะกลุ่มสมัชชาคนจนนั้น แข็งขันด้วยการจัดการอันดีพร้อม และสามารถดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในท้องถิ่นของพวกเขาเป็นอย่างดี และมีความต้องการที่ชัดเจนที่อยากจะให้ความเป็นอยู่ของพวกเขานั้นดีขึ้น และที่ชัดเจนคือไม่ได้มีความต้องการจะเปลี่ยนแปลงหรือทำอะไรกับระบอบการปกครอง แต่อยากให้ระบอบการปกครองใส่ใจดูแลความต้องการของพวกเขาเท่านั้น ซึ่งการเคลื่อนไหวของนักเรียน นักศึกษาในปัจจุบันนั้น ไม่ได้ถูกจัดการภายในอย่างดี หรือไม่ได้ดำเนินการในแบบที่กล่าวมาโดยสิ้นเชิง แต่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองให้ดีขึ้น และไม่ได้อยากให้ระบอบการปกครองมาใส่ใจดูแลอะไร

หากพิจารณาปัจจัยต่างๆ ของคำว่า "ประสบความสำเร็จ" ของนักเรียนนักศึกษานั้น ยังไม่ใกล้เคียงกับคำว่า "ประสบความสำเร็จในการประท้วงบนท้องถนน" ด้วยซ้ำ แต่ถ้าจะพูดถึงการประสบความสำเร็จในการทำให้ประชาชนลุกฮือสนใจก็พอได้ แต่ก็ยังไม่เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้แน่นอน อย่างไรก็ดีด้วยธรรมชาติองค์กรภายในกลุ่มของนักเรียนนักศึกษาผู้ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประท้วงและความต้องการของพวกเขากำลังอยู่ทางแยก อันมีบริบทสังคมและการเมืองแบบร่วมสมัยมาเกี่ยวข้อง การประท้วงบนท้องถนนอาจจะไม่ใช่กุญแจสู่ความสำเร็จก็เป็นได้ ยิ่งกว่านั้นกุญแจสำคัญสำหรับเรื่องนี้ได้สอดแทรกภายในวัฒนธรรมการเมืองของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนับรวมสถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันทางสังคมจะยิ่งมีความชัดเจนในคำตอบของกุญแจสำคัญนี้ สิ่งเหล่านี้ที่กล่าวมารวมถึงกิจกรรมทางการเมืองต่างๆ ที่มีความสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมนั้น สามารถนำมาดำเนินการอย่างต่อเนื่องไปก่อนได้

จะต้องรับมืออย่างไรกับการบังคับใช้กฎหมายมาตรา 112 ที่มากขึ้นเรื่อยๆ ได้ ?

การบังคับใช้กฎหมายมาตรา 112 นั้นย่อมต้องมากขึ้นเรื่อยๆ อยู่แล้ว เพราะเหล่าผู้มีอำนาจต่างคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ชอบธรรมด้วยกฎหมายมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการบังคับใช้มาตรารุนแรงต่างๆ ที่มากดดันผู้เห็นต่าง ซึ่งมันดูเรียบง่ายกว่ากับการบังคับใช้กฎหมายมาตรา 112 อีกทั้งพวกเขาเองก็มั่นใจในการใช้กลยุทธ์ทางกฎหมายนี้ ในขณะเดียวกันเองฝ่ายตุลาการก็ยืนเคียงข้างกับพวกเขา หรือก็อาจจะอยู่ภายใต้การควบคุมของพวกเขาด้วยซ้ำ และแน่นอนว่าผู้เห็นต่างที่ถูกดำเนินคดีจะต้องได้รับโทษอย่างแน่นอนและจะได้รับการละเว้นโทษภายหลัง น่าเศร้าแต่เป็นเรื่องจริงที่ว่า หลายๆ เคสก็เป็นแบบนั้น ซึ่งมันทำให้พวกเขาคิดว่าวิธีการนี้ดี และจะถูกใช้มากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับการรับมือกับปัญหาเรื่องนี้นั้น ผมคิดว่าก้าวแรกคือต้องมองเรื่องนี้ให้มันเป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรมเสียก่อน โดยจะต้องชี้ให้ทุกคนเห็นว่าการบังคับใช้กฎหมายมาตรา 112 นี้เต็มไปด้วยปัญหาร้ายแรงหลายอย่าง และตีตราว่าการบังคับใช้กฎหมายมาตรา 112 นี้มันไม่ควรเป็นกฎหมายด้วยในข้อแรก ต่อมาชี้ให้เห็นว่าการบังคับใช้กฎหมายนี้เป็นเจตนาที่จะกดดันจัดการกับผู้เห็นต่างเสียมากกว่า ที่ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการเมือง และไม่อยู่ในหลักการของกฎหมาย

ก้าวที่สอง ทำให้มันดูไร้ประสิทธิภาพลง แม้ว่ามันจะยากเย็นที่จะเปลี่ยนเรื่องนี้ด้วยฝ่ายตุลาการจากภายในพวกเขา แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างผลกระทบจากภายนอก อย่างเช่น การมีกิจกรรมทางการเมือง อาทิ กิจกรรม "หยุด ยืน ขัง" ที่ได้รับการตอบรับดี และได้รับการสนับสนุนจากนานาชาติ ด้วยรูปแบบกิจกรรมการกดดันต่างๆ ต่อการบังคับใช้กฎหมายมาตรา 112 นั้นจะทำให้มันดูไร้ประสิทธิภาพลงเรื่อยๆ อย่างไรก็ดีระหว่างนี้ แนวหน้าของการต่อสู้ผู้ซึ่งเป็นผู้เห็นต่างทั้งหลายต้องระมัดระวังต่อการแสดงออก พวกเขาไม่ควรให้กฎหมายนี้มาทำร้ายพวกเขาถึงแม้ว่ามันจะดูจำเป็น หรือคุ้มค่าก็ตาม

คุณเป็นนักวิชาการที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยเป็นหลัก อะไรคือบทบาทของนักวิชาการทั้งหลายที่ทำได้กับสถานการณ์ที่มีการจุดประเด็นการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ รวมถึงการรังแกด้วยการบังคับใช้กฎหมายมาตรา 112 ?

การบังคับใช้กฎหมายนี้ รวมถึงมาตรารุนแรงต่างๆ ที่กระทำต่อกลุ่มผู้ประท้วง ยิ่งต้องทำให้นักวิชาการทั้งหลายต้องลงมืออย่างจริงจัง โดยปกติแล้วเราจะจัดการพูดคุยเสวนากันทางวิชาการบนประเด็นนี้ แม้ว่าที่ผ่านมาเราได้จัดการเสวนาทางวิชาการในประเด็นนี้ไปแล้วสองสามครั้ง ซึ่งจริงๆ แล้วควรจัดการพูดคุยเสวนาทางวิชาการแบบนี้มากขึ้น เป็นการชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องทางกฎหมาย และถูกใช้ในการกลั่นแกล้งเสียมากกว่า และวิธีการนี้เป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดในการดำเนินการในฐานะนักวิชาการ ที่จะสามารถเปิดโอกาสให้ผู้เห็นต่างได้มีสถานที่เพื่อแสดงความคิดเห็นที่จะถูกนำไปใช้ในการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ จริงๆ แล้วเราก็วางแผนที่จะจัดการพูดถึงเสวนาทางวิชาการแล้ว แต่เนื่องด้วยการแพร่ระบายของโรค COVID-19 เราจึงมีความจำเป็นจะต้องเลื่อนออกไปก่อนอย่างน้อยสองปี และในตอนนี้ที่ทางสถานที่ก็อนุญาตให้ดำเนินการจัดกิจกรรมได้แล้ว บวกกับจำนวนของผู้ที่ต้องเผชิญกับการถูกบังคับใช้กฎหมายมาตรา 112 ก็มีมากขึ้น ผมคิดว่านี่คือเวลาที่จะต้องจัดกิจกรรมพูดคุยเสวนาทางวิชาการบนประเด็นเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ได้แล้ว ซึ่งเราจะเปิดโอกาสให้ถกถามและเสวนาบนประเด็นการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์อย่างเปิดเผย รวมทั้งปลอดภัยด้วยการดำเนินงานในองค์กรวิชาการนี้ ไม่อย่างนั้นเราก็จะไม่เจอทางออกของวิกฤตทางการเมืองได้สักที อีกทั้งเราอาจจะเริ่มแคมเปญบางอย่างเกี่ยวกับประเด็นนี้ แม้ว่าสิบปีที่ผ่านมาเราได้เคยออกแคมเปญการแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 มาแล้ว และยังไม่สำเร็จแต่เราสามารถทำมันได้อีก แต่อาจจะมีหนทางที่แตกต่างออกไป พวกเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลเดี่ยว หรือเป็นกลุ่มต่างๆ สามารถเข้าร่วมแคมเปญนี้ด้วยกันได้ ที่จะเป็นแคมเปญเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายมาตรา 112 และการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ และเราควรทำให้สิ่งเหล่านี้ที่เป็นกลุ่มก้อนอันโดดเด่นของพวกเรา โดยพักเรื่องราวที่เป็นด้านลบ แล้วก้าวไปข้างหน้าต่อร่วมกัน เพื่อแสวงหาการสนับสนุน แม้ว่าจะเป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยมด้วยก็ตาม เพื่อรับมือกับปัญหาเหล่านี้กับสถาบันกษัตริย์ที่เป็นสถาบันทางสังคมอย่างหนึ่งอันซึ่งเกี่ยวข้องไปทั้งหมดของสังคมไทย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net