Skip to main content
sharethis

ผลสำรวจบริษัท 1.2 ล้านแห่งทั่วญี่ปุ่น ณ เม.ย. 2565 พบมีประธานบริษัทที่เป็นผู้หญิง 8.2% ถือเป็นสถิติใหม่ แต่ยังน้อยกว่า 10% สะท้อนให้เห็นเรื่องความเท่าเทียมทางเพศในภาคธุรกิจของญี่ปุ่น


ที่มาภาพประกอบ: Igor Mróz (CC BY-NC 2.0)

17 ธ.ค. 2565 Teikoku Databank เปิดเผยผลสำรวจบริษัท 1.2 ล้านแห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น แสดงให้เห็นว่า ณ เม.ย. 2565 สัดส่วนของประธานบริษัทที่เป็นผู้หญิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากปี 2564 เป็นร้อย 8.2 แม้ว่าจะมีการเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่องรวมเป็นร้อยละ 3.5 ตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา แต่อัตรานี้ยังคงน้อยกว่าร้อยละ 10

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลจาก Teikoku Databank  ชี้ว่าประธานบริษัทหญิงส่วนใหญ่ร้อยละ 50.7 ประสบความสำเร็จในบทบาทดังกล่าวในธุรกิจครอบครัว เทียบกับผู้ชายที่ร้อยละ 40, ผู้หญิงที่ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นประธานจากการสรรหาภายในองค์กรคิดเป็นร้อยละ 8.4 ในขณะที่ตัวเลขนี้สำหรับผู้ชายอยู่ที่ร้อยละ 11.8 และการสรรหาจากภายนอกร้อยละ 1.4 ส่วยผู้ชายอยู่ที่ร้อยละ 2.2 แบบแผนนี้ได้บ่งชี้ว่าผู้หญิงระดับผู้บริหารเปลี่ยนงานน้อยกว่าผู้ชาย

ทั้งนี้ในรายงาน Global Gap Report ของ World Economic Forum ที่เผยแพร่เมื่อเดือน ก.ค. 2565 ญี่ปุ่นอยู่ในอันดับที่ 116 จาก 146 ประเทศ และตกจากอันดับที่ 117 เป็น 121 ในหมวดเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังจัดอยู่ในอันดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกในด้านความเท่าเทียมกันของค่าจ้างและสัดส่วนของผู้หญิงในตำแหน่งผู้บริหาร แม้รัฐบาลญี่ปุ่นได้กำหนดวาระ "การส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของผู้หญิงในที่ทำงาน" เป็นนโยบายหลัก แต่ยังดูเหมือนว่ายังไม่ได้ใช้ความพยายามอย่างเพียงพอในการผลักดันความก้าวหน้าของผู้หญิงในด้านเศรษฐกิจ

รายงานของ World Economic Forum ได้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติต่างๆ เกี่ยวกับสถานะของผู้หญิงโดยใช้ข้อมูล 4 ประเภท ได้แก่ เศรษฐกิจ การศึกษา สุขภาพ และการเมือง ดัชนีช่องว่างระหว่างเพศขึ้นอยู่กับค่าใดค่าหนึ่งซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดที่เป็นไปได้ ซึ่งบ่งชี้ว่าบรรลุความเท่าเทียมทางเพศแล้ว 

ในบรรดากลุ่มประเทศ G7 เยอรมนีอยู่ในอันดับที่ 10 ในด้านความเสมอภาคทางเพศ ตามมาด้วยฝรั่งเศส (15) อังกฤษ (22) แคนาดา (25) สหรัฐอเมริกา (27) และอิตาลี (63) ซึ่งมีเพียงญี่ปุ่นประเทศเดียวเท่านั้นในกลุ่ม G7 ที่ไม่ติด 100 อันดับแรก

ทั่วโลก ช่องว่าความเท่าเทียมทางเพศกว้างที่สุดอยู่ในหมวดการเมือง ซึ่งญี่ปุ่นรั้งอันดับ 139 จากทั้งหมด 146 อันดับ เนื่องจากมีสัดส่วนผู้หญิงในรัฐสภาเพียงร้อยละ 9.7 และตำแหน่งรัฐมนตรีร้อยละ 10 การที่ผู้หญิงไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาก็ส่งผลต่ออันดับนี้เช่นกัน

ในหมวดเศรษฐกิจ ญี่ปุ่นตกจากอันดับที่ 117 มาอยู่ที่ 121  เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ที่รวมถึงความเท่าเทียมกันของค่าจ้าง สัดส่วนของผู้หญิงในตำแหน่งผู้บริหารที่มีน้อยมากในภาคธุรกิจ

 

ที่มา
A New High, But Still Only 8.2% of Japanese Companies Have Female Presidents (nippon.com, 12 December 2022)
Japan Ranks 116th in 2022 Global Gender Gap Report (nippon.com, 15 July 2022)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net