Skip to main content
sharethis

เนื่องในโอกาสวันเด็กเแห่งชาติ ประชาไทมัดรวม 'ข่าวเด็ก' ที่ผู้ใหญ่ไม่ควรพลาด ชวนผู้อ่านทำความรู้จักสิ่งที่เด็กๆ และเยาวชนหลากหลายกลุ่มต้องเผชิญ ผ่านบทสัมภาษณ์ รายงานพิเศษ และสารคดี

  • ทำไมยังมีเด็กขายนมเปรี้ยวตามสี่แยกไฟแดง
  • การที่ผู้ใหญ่ชอบโพสต์รูปเด็กลงโซเชียลนั้นเป็นการทำร้ายเด็กอย่างไร
  • เมื่อเด็กแสดงออกทางการเมืองกลับถูกใช้กฎหมาย #ม112 คุกคามเสรีภาพ
  • สถานการณ์สู้รบที่ยังไม่จบในประเทศเมียนมาส่งผลต่อเด็กในพื้นที่ชายแดนอย่างไร
  • เด็กในรั้วโรงเรียนต้องเจอกับอะไรบ้าง
  • เด็กในสถานสงเคราะห์อยากได้ขนมจริงไหม
  • หากจะแก้ปัญหาเด็กล้นสถานสงเคราะห์ ภาครัฐ-ประชาสังคมควรมีแนวทางอย่างไร
  • 'แม่วัยใส-สังคมสูงวัย-โครงสร้างครอบครัวที่เปลี่ยนไป' ความท้าทายของไทยในวันที่เด็กเกิดน้อยลง  

 

หนึ่งวันที่โรงเรียนชายแดน การศึกษาภาคบังคับให้ทุกคน…ต้องรอด… 

“เบบี้ บังเกอร์ (Baby Bunker)” คือ หลุมหลบภัยของโรงเรียนบ้านท่าตาฝั่ง ต.สบเมย อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน

โรงเรียนตั้งอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำสาละวิน - เส้นพรมแดนสมมติที่ถูกใช้ขีดแบ่งแบบรัฐชาติสมัยใหม่ แยกไทยและเมียนมาออกจากกัน ขณะที่แม่น้ำสายนี้ไม่ใช่สิ่งกีดขวางสำนึกร่วมในการเป็นชาติพันธุ์ของพี่น้องกระเหรี่ยงทั้งสองฝั่ง

เพียงข้ามฝั่ง - ผู้คนในประเทศเพื่อนบ้านกำลังต่อสู้เพื่อช่วงชิงอำนาจอธิปไตยที่ถูกปล้นไปโดยรัฐบาลเผด็จการทหารตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหาร 1 ก.พ. 2564 การสู้รบต่อเนื่องยาวนาน และทำให้เกิดความสูญเสียที่ไม่รู้วันจบ และความรุนแรงนั้นไม่หยุดอยู่เพียงเส้นพรมแดนที่ขีดเอาไว้

เมื่อข้ามฝั่งกลับมา - ยิ่งห่างไกลจากเมืองหลวง ความเป็นชาติเหมือนว่าจะยิ่งถูกเน้นย้ำ ธงชาติไทยใหญ่น้อยถูกประดับประดาถี่ๆ ถึงแม้ว่าในบางพื้นที่ชายแดนจะมีเครื่องบินรบของประเทศเพื่อนบ้านตีวงเลี้ยวกว้างไปหน่อย การศึกษาของเด็กๆ ที่บ้านท่าตาฝั่ง ยังต้องไปต่อด้วยการทุ่มเทแรงกายแรงใจของบุคลากรทางการศึกษาร่วมกับชุมชน

ภัยคุกคามที่แท้คืออะไร? พรมแดนมีจริงหรือไม่?  และรัฐชาติสนับสนุนผู้คนของตนผ่านการจัดการศึกษาอย่างไร?

วิดีโอชุด "เบบี้บังเกอร์" เรียน-หลบ-รอด จัดทำโดย ประชาไท x Lanna Project

‘การศึกษาของกระป๋องมีฝัน’ การ์ตูนของ ‘สะอาด’ นักวาดการ์ตูนไทย ที่ใช้เวลา 6 ปีสำหรับการเขียน และประสบการณ์ชั่วชีวิตในระบบการศึกษาไทย ผ่านระบบแบบค่ายทหารในโรงเรียนประถม จุดเริ่มต้นของประสบการณ์เลวร้ายในวัยเรียน สู่การเป็นเด็กแสบที่ขึ้นไปพูดเรื่องการคอร์รัปชั่นของ ผอ. และการบ่มเพาะความสนใจต่อประเด็นการเมืองและสังคม จนเป็นการ์ตูนที่เขาตั้งใจให้ทั้งสนุกและเห็นปัญหาของระบบการศึกษาไทย อ่านที่นี่

คุยกับตัวแทนกลุ่ม ‘นักเรียนเลว’ ผู้ผลักดันการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ‘พ.ร.บ.ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของผู้เรียน’ ที่มุ้งเน้นปกป้องคุ้มครองสิทธิของนักเรียน และส่งเสริมความตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน อะไรคือสาเหตุที่เปลี่ยนแนวทางการเรียกร้องจากการลงถนนจัดกิจกรรมมาเป็นการผลักดันกฎหมายเข้าสู่สภา รวมถึงอนาคตการศึกษาไทยที่จะได้เห็นหากการผลักดันกฎหมายนี้เป็นจริงขึ้นมาได้ อ่านที่นี่ 

‘วันเด็กไปไหนดี’ เด็กหลายคนอาจชวนพ่อแม่ไปเที่ยวห้าง กินขนม ดูหนัง หรือแม้แต่ไปดูไดโนเสาร์ และมีอีกหลายคนเช่นกันที่เลือกทำบุญโดยมอบขนม เลี้ยงข้าวเด็กๆ ในสถานสงเคราะห์ แล้วเด็กในสถานสงเคราะห์ต้องการจริงหรือ? ขนม นม เนยสารพัดที่หลั่งไหลเข้าไป (ไม่เฉพาะเพียงแค่วันเด็ก) สามารถทดแทนความอบอุ่นจากครอบครัวได้จริงหรือไม่ และตอกย้ำการเป็นผู้รับของเด็กมากเกินไปหรือเปล่า

ประชาไทคุยกับ กอบกาญจน์ ตระกูลวารี หัวหน้างานพัฒนาบุคลากร สหทัยมูลนิธิ ผู้ซึ่งทำงานกับเด็กและข้องเกี่ยวกับสถานสงเคราะห์มากว่า 20 ปี เพื่อทำความเข้าใจ และรู้จักกับเด็กๆ ให้มากขึ้น อ่านที่นี่

สรุปเสวนาแนวทางการจัดสวัสดิการเพื่อ ‘เด็กกลุ่มเสี่ยง’: เครือข่าย ngo ด้านเด็กและเยาวชนเห็นพ้องต้องแก้ที่ครอบครัว มุ่งให้สถานสงเคราะห์เป็นทางเลือกสุดท้าย หวังแก้ปมเด็กตกค้างจำนวนมากในสถานสงเคราะห์ สืบเนื่องจากกรณีบ้านพักเด็กครูยุ่นที่เกิดขึ้นเมื่อเดือน พ.ย. ปีที่ผ่านมา อ่านที่นี่

เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติวนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง ชวนพิจารณาสถานการณ์ประเทศไทยที่จำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลง แต่ปัญหาและสวัสดิภาพของเด็กยังไม่ดีขึ้น เด็กยังคงถูกแจ้งหายเป็นอันดับต้นๆ แม่วัยรุ่นไทยอยู่ตรงไหนกันแน่ของอาเซียน โครงสร้างครอบครัวไทยแบบพ่อแม่ลูกที่มีลูกไม่เกิน 1-2 คน รวมทั้งเทรนด์ครอบครัวใหม่แบบสังคมผู้สูงวัย และผู้คนที่เริ่มอยู่ตัวคนเดียวมากขึ้น รวมทั้งโครงสร้างประชากรในอนาคตที่ประชากรวัยเด็กจะมีน้อยกว่าประชากรผู้สูงอายุ อ่านที่นี่

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net