พ่อแม่เพื่อน ‘ตะวัน-แบม’ รุดเยี่ยม หมอแจงอาการยังไม่วิกฤติ แต่อวัยวะเสื่อมของเสียคั่งแล้ว

พ่อแม่และเพื่อนของ "ตะวัน-แบม" เข้าเยี่ยมอาการหลังคืนวานนี้ทาง รพ.โทรตามแจ้งอาการน่าวิตก ผอ.แจงอาการล่าสุดอาการทรุดของเสียคั่งและไตจะเสื่อม ทั้งนี้ยังไม่วิกฤติสื่อสารได้หากแพทย์เห็นว่าวิกฤติหรืออันตรายถึงชีวิตอาจเข้าแทรกเพื่อรักษา

6 ก.พ.2566 หอผู้ป่วยพิเศษ ยูงทอง 2 โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ครอบครัวและเพื่อนของทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และอรวรรณ ภู่พงษ์ 2 นักกิจกรรมที่กำลังอดอาหารประท้วงและอาการเดินทางเข้าเยี่ยมอาการ

ครอบครัวและเพื่อนของทานตะวันและอรวรรณ

รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดมผู้อำนวยการโรงพยาบาลโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ชี้แจงว่าตอนนี้ทั้งสองคนนอนในหอผู้ป่วยปกตินอนอยู่ด้วยแต่ในทีนี้เป็นห้องแยกที่แพทย์สังเกตอาการได้ไม่ได้เป็นห้องผู้ป่วยวิกฤติซึ่งปกติก็จะนอนในหอถ้าไม่ได้มีอาการวิกฤติ และสามารถดำเนินการรักษาตามจรรณยาบรรณได้

นพ.พฤหัสกล่าวถึงเรื่องแนวทางการดูแลว่า ทางโรงพยาบาลได้ตั้งทีมแพทย์ดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากการอดอาหารประท้วงทางโรงพยาบาลเคยมีกรณีมาบ้างพอสมควรแต่ยังไม่ได้เป็นความเชี่ยวชาญใดจึงมีการใช้แพทย์วิชาชีพมาดูแลและทางทีมก็มีการสรุปอาการและแถลงการดำเนินการรักษาในแต่ละวันมีรอบสรุปคือ 8.00-16.00 น.

ผอ.ชี้แจงอาการของทั้งสองคนในช่วงเช้านี้ว่า แม้ค่าต่างๆ จะเลวร้ายลงแต่ความเห็นทางการแพทย์ก็ยังให้ทำต่อไปได้ยังไม่ได้เป็นวิกฤติจึงยังไม่ได้แทรกแซงตอนนี้จึงเป็นการพยายามทำให้สุขภาพของทั้งสองคนสามารถกลับมาดำเนินกิจกรรมต่อไปได้ในอนาคตทางโรงพยาบาลก็ไม่อยากให้อาการของทั้งสองคนทรุดลง แต่อาการที่มีจากการอดอาหารและน้ำจะทำให้อ่อนเพลีย เจ็บปวด ปวดท้อง แล้วก็มีเรื่องของสารที่เป็นของเสียเริ่มคั่ง และอวัยวะเช่นไตก็จะเสื่อมลง แต่ยังไม่ถึงขั้นวิกฤติยังสามารถพูดคุยสื่อสารรู้เรื่องกับแพทย์และผู้ที่มาเยี่ยมได้อยู่ ทางโรงพยาบาลยืนยันว่าเป็นโรงพยาบาลเพื่อประชาชนการดูแลรักษาก็ทำตามจรรณยาบรรณและวิชาชีพทางการแพทย์ ก็ขอให้ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องการดูแลในภาวะวิกฤติหรือฉุกเฉินใดๆ ต่อจากนี้

รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม

นพ.พฤหัส ตอบคำถามสื่อเรื่องการให้คำแนะนำเรื่องอาหารว่า ทางโรงพยาบาลก็ได้แนะนำที่จะให้อาหารเหลวหรือน้ำเกลือตั้งแต่แรกแต่ทั้งสองคนยังคงยืนยันเรื่องการอดอาหาร แต่สำหรับน้ำเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาทั้งสองคนก็รับน้ำได้พอสมควรแต่ปัจจุบันก็รับน้ำน้อยลง ส่วนอาการจะเข้าสู่ช่วงวิกฤติเมื่อไหร่นั้นเป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ลำบากเพราะมีปัจจัยเรื่องสุขภาพก่อนเริ่มอดอาหารและความเข้มข้นในการอด แต่ทางโรงพยาบาลดูแลในเรื่องสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงมีการเจาะเลือดทุกวันเป็นเกณฑ์มาตรฐานก็จะทำให้สังเกตอาการได้ว่าแพทย์จะควรว่าเข้าไปแทรกเพื่อทำการรักษาหรือให้คำแนะนำกับทั้งสองคนถ้าถึงช่วงวิกฤติหรืออันตรายถึงชีวิต

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท