Skip to main content
sharethis

112WATCH สัมภาษณ์ สุณัย ผาสุข แนะหน่วยงานรัฐควรร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ UN แก้กฎหมายหมิ่นฯ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ชี้ที่ผ่านมามีความความคลุมเครือ กว้างเกินไป และยังมีโทษที่รุนแรง

สุณัย ผาสุข (แฟ้มภาพ แอมเนสตี้ฯ)

โครงการ 112WATCH สัมภาษณ์ สุณัย ผาสุข นักวิจัยอาวุโสผู้ที่ลงพื้นที่ประเทศไทยของ Human Right Watch (HRW) แผนกภาคพื้นเอเชีย ในบทบาทที่องค์กรของเขาต้องเผชิญหน้าโดยตรงกับปัญหากฎหมายมาตรา 112  บทบาทของประชาคมนานาชาติ รวมทั้งประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์นี้ 

สำหรับความเห็นต่อสถานการณ์เกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ในประเทศไทยนั้น สุณัย มองว่า ในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา รวมถึงรัฐบาลชุดที่ได้รับการเลือกตั้งก็ดีนั้น ได้ทำให้การบังคับใช้กฎหมายหมิ่นฯ เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในการบริหารงานของพวกเขาอย่างที่สุด โดยภายใต้รัฐบาลนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานั้น มีประชาชนมากกว่า 200 คนที่ถูกดำเนินคดีทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรา 112 ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่างๆ รวมถึงการแสดงความคิดเห็นบนโซเซียลมีเดีย การบังคับใช้กฎหมายหมิ่นฯในประเทศไทยนั้นมีความคลุมเครือ และกว้างเกินไป และยังมีการลงโทษทางอาญาที่รุนแรงโดยไม่จำเป็น หรือไม่แม้แต่เป็นการปกป้องสถาบันกษัตริย์ด้วยซ้ำ รวมทั้งความมั่นคงของชาติ ทาง Human Right Watch เองได้มีการพูดถึงเรื่องน่ากังวลนี้กับทางเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของ UN Human Right เช่นกัน เนื่องด้วยกฎหมายที่ปราบปรามเข้มงวดเช่นนี้นั้นไม่ควรจะต้องมีอยู่ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยเช่นกัน ทาง HRW ก็ไม่สบายใจอย่างมากถึงจำนวนตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ของการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นฯ รวมถึงการจำคุกที่โหดร้ายในประเทศไทยบางเคสก็มีการตัดสินคดีความไปแล้วเรียบร้อย

นักวิจัยอาวุโสผู้ที่ลงพื้นที่ประเทศไทยของ Human Right Watch กล่าวว่าว่าหน่วยงานนานาชาติ The International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR) ที่ประเทศไทยได้เคยให้สัตยาบันร่วมด้วยในปี 1996 โดยในบทบัญญัติทั่วไปที่ 34 ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ขององค์กร ICCPR ที่มีความเชี่ยวชาญนานาชาติที่ติดตามการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ ได้ระบุไว้เช่นกันว่า กฎหมาย เช่น กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนี้ “ไม่ควรกำหนดให้มีบทลงโทษที่รุนแรง ต้องคำนึงถึงพื้นฐานของผู้ที่ถูกวิจารณ์ที่เป็นรัฐบาล อีกทั้ง “ไม่ควรห้ามการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันต่างๆ”

สำหรับบทบาทของ Human Right Watch ต่อสถานการณ์นี้ สุณัย ระบุว่าทาง Human Right Watch ได้เรียกร้องให้ทางการไทยอนุญาตให้มีการแสดงออกทางความคิดเห็นด้วยสันติในทุกมุมมอง รวมถึงคำถามที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ด้วยเช่นกัน หน่วยงานรัฐบาลไทยควรร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจากสหประชาชาติและอื่นๆ ถึงการแก้ไขกฎหมายหมิ่นฯ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ Human Right Watch ได้แนะนำให้แก้ไขกฎหมายมาตรา 112 นี้ เพื่อไม่ให้บุคคลอื่นฟ้องร้องดำเนินคดีทางกฎหมายฯ เพราะไม่มีความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อบุคคลนั้น จึงจะเป็นการป้องกันไม่ให้นำมาใช้ในจุดประสงค์ทางการเมืองต่างๆ อีกทั้งตำรวจ อัยการ ศาล หรือเจ้าหน้าที่รัฐอื่นๆ ทีมีท่าทีต่างๆ ต่อการปฎิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นฯเอง ก็จะไม่ถูกกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดีด้วยเช่นกัน  การตีความของศาลเองในหลายๆ กรณีก็เหมือนจะแตกต่างกันออกไป ทำให้การลงโทษเป็นไปตามอำเภอใจเสียมากกว่า และบางครั้งก็เกินกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมาย อีกทั้งมักมีการคุมตัวผู้ที่ถูกกล่าวหาไว้เป็นเวลาหลายเดือน

สำหรับปัจจัยหลักที่น่ากังวลกรณีของการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นฯ นั้น สุนัย กล่าวว่าจากการจับกุมผู้ถูกกล่าวหาหลายๆ ครั้งในกรณีเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นฯจะมีการควบคุมตัวไว้ก่อนพิจารณาคดี ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิของพวกเขาภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอีกด้วย โดย ICCPR ได้กล่าวถึงสิทธิการได้รับการประกันตัวของผู้ถูกกล่าวหาในข้อ 9 ไว้ว่า “การจับกุมขังมันไม่ควรเป็นกฎหลักพื้นฐานสำหรับผู้ที่อยู่ในระหว่างการรอพิจารณาคดี แต่การได้รับการปล่อยตัวจะมีหลักประกันมาแสดงเท่านั้น” ทั้งบทลงโทษขั้นต่ำจับคุกควรถูกยกเลิก และลดโทษขั้นสูงสุดของความผิดต่อกฎหมายมาตรา 112  ทางการไทยควรชี้แจ้งให้ชัดเจนว่าผู้ถูกกล่าวหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีสิทธิได้รับการประกันตัว ทาง HRW เชื่อว่ายังมีผู้ถูกกล่าวหาที่ยังไม่ถูกถอดถอนคดีที่ควรได้รับการพิจารณาคดีโดยรวดเร็ว และในขณะเดียวกันการสืบสวนสอบสวนดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพการแสดงออกก็ควรได้รับการช่วยเหลือ หรือได้รับการถอดถอนระงับไปด้วย

ขณะที่ท่าทีของประชาคมนานาชาติต่อสถานการณ์การบังคับใช้กฎหมายหมิ่นฯ นี้ นักวิจัยอาวุโสผู้ที่ลงพื้นที่ประเทศไทยของ Human Right Watch กล่าวว่า องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนควรจะแสดงออกความกังวลต่อเรื่องการบังคับใช้กฎหมายนี้เพื่อให้เป็นที่สนใจในนานาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดทำการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ แต่ปัญหาคือทางการไทยมักปิดตากับเรื่องน่ากังวลนี้ในประชาคมนานาชาติ อีกหนึ่งความท้าทายคือการดำรงความกังวล และความสนใจในระดับนานาชาติให้คงอยู่ไว้เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ในพื้นที่ที่มีความรุนแรงมากขึ้น อย่างเช่น ในเมียนมาที่ได้ดึงความสนใจในระดับนานาชาติไป นอกจากนั้นในประชาคมนานาชาติยังมองว่าประเด็นที่เกี่ยวข้องกฎหมายมาตรา 112 เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนทางการเมือง และมักมีปฏิกิริยาที่ร้ายแรงหรือต่อต้านต่อความคิดเห็นขององค์กรสิทธิมนุษยชนต่างๆ เช่น Human Right Watch รัฐบาลในนานาชาติ และสหประชาชาติที่มัดเกิดขึ้นเป็นปกติ โดยอ้างว่าการแทรกแซงจากนานาชาติลักษณะนี้เป็นการบ่อนทำร้ายสถานภาพสถาบันกษัตริย์ประเทศไทยที่เป็นการกระทำเล็กๆ ค่อนเป็นค่อนไปที่จะกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง เหล่าการกระทำโต้ตอบแบบนี้สามารถพบเจอในทุกมุมของสังคม และชัดเจนอย่างยิ่งว่าไม่มีขีดจำกัดในคนทุกหมู่เหล่าทางการเมือง และชนชั้นทางสังคมต่างๆ หลังจากการรัฐประหารปี 2557 และการตอบโต้กลับต่อการลุกฮือของเยาวชน เพื่อประชาธิปไตย รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายมาตรา 112 นั้นได้รับการกดขี่ข่มเหง และถูกทำให้เป็นเรื่องเลวร้ายอีกด้วย แต่ก็มีการโต้แย้งอีกว่ากฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายที่รุนแรงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะล้วนเป็นเรื่องเอกลักษณ์ของชาติไทย ที่ซึ่งยอมรับไม่ได้ที่จะนำหลักกฎหมายสากล และสิทธิมนุษยชนมาบังคับร่วมใช้ได้ ทั้งนี้ประเทศไทยควรจะต้องโดนนานาชาติประณามต่อไปจนกว่าจะมีการริเริ่มอย่างจริงจังของการแก้ไขกฎหมายหมิ่นฯ และปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมายต่อไป

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net