Skip to main content
sharethis

มูลนิธิ HRDF ทำโพลสำรวจความเห็นรู้ไหมว่าคนปลูกดอกกุหลาบ คือ “แรงงานข้ามชาติ” ภายใต้แคมเปญ #คนที่ปลูกกุหลาบให้คุณ #whomademyflower  เนื่องในวันวาเลนไทน์ ระบุ แรงงานที่ปลูกดอกไม้ในประเทศไทยมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ คือ "แรงงานข้ามชาติ" ซึ่งต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งจากสภาพการทำงานและความเป็นอยู่ 

 

14 ก.พ. 2566 เวลา 17.30 น. ที่อ่างแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (HRDF) ร่วมกับนักศึกษา มช. จัดทำโพลสำรวจความเห็นคนที่ผ่านไปมา รู้ไหมว่าคนปลูกดอกกุหลาบ คือ “แรงงานข้ามชาติ” และต้องการสนับสนุนให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงสิทธิแรงงานอย่างเป็นธรรมและมีความปลอดภัยในสถานที่ทำงานหรือไม่ ภายใต้แคมเปญ #คนที่ปลูกกุหลาบให้คุณ #whomademyflower  เนื่องในวันวาเลนไทน์

จากการสำรวจพบว่า คนส่วนใหญ่ที่ร่วมกิจกรรมไม่รู้ว่าดอกกุหลาบในประเทศไทยถูกปลูกโดยแรงงานข้ามชาติ และต้องการสนับสนุนให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงสิทธิแรงงาน

มูลนิธิ HRDF ระบุว่า แรงงานที่ปลูกดอกไม้ในประเทศไทยมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ คือ "แรงงานข้ามชาติ" ซึ่งต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างมากทั้งสภาพการทำงานและความเป็นอยู่ แรงงานข้ามชาติเหล่านี้หลายคนมาจากประเทศเพื่อนบ้านที่แสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น แต่ไม่สามารถสิทธิแรงงาน การรักษาพยาบาล และยังได้รับอันตรายจากการทำงานจากการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงในสวนดอกกุหลาบทุกวัน

แคมเปญ #คนที่ปลูกกุหลาบให้คุณ #whomademyflower ต้องการส่งเสียงของแรงงานข้ามชาติในสวนกุหลาบ เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของสิทธิแรงงานที่เป็นธรรมและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน พร้อมข้อเรียกร้อง 3 ประเด็นหลัก

1. แรงงานข้ามชาติต้องเข้าถึงสิทธิแรงงานอย่างเป็นธรรม

แรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมปลูกกุหลาบมักได้รับค่าจ้างต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่รัฐบาลไทยกำหนด  คนงานมักถูกขอให้ทำงานเป็นเวลานานและบางครั้งก็ไม่ได้พักผ่อนทำให้เกิดความเหนื่อยล้าทางร่างกายและจิตใจ ภาครัฐและนายจ้างต้องให้สิทธิสวัสดิการแก่แรงงานข้ามชาติให้ถูกต้องและเป็นธรรมตามกฎหมายว่าด้วยเรื่อง พ.ร.บ คุ้มแรงงาน  

ภาพ HRDF

2. นายจ้างต้องคุ้มครองความปลอดภัยของแรงงานข้ามชาติ

นายจ้างดอกไม้ทุกเจ้า ต้องจัดสถานที่พักที่ปลอดภัยให้แรงงาน รวมถึงน้ำสะอาด เครื่องป้องกันสารเคมี อุปกรณ์การทำงานที่ปลอดภัย ที่พักของแรงงานต้องไม่ตั้งอยู่ใกล้ไร่เพื่อลดการปะปนกับสารเคมีอันตราย

3. สนับสนุนธุรกิจที่ให้ความเป็นธรรมกับแรงงานข้ามชาติ

เราขอให้ผู้บริโภคทุกท่านหันมาซื้อดอกไม้จากธุรกิจที่มั่นใจว่าให้ความเป็นธรรมต่อแรงงานข้ามชาติทั้งทางด้านแรงงานและความปลอดภัยในที่ทำงาน

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net