นโยบายป่ากับวิถีไร่หมุนเวียน : ชุมชนบ้าน "เบ๊อะบละตู"

นิทรรศการภาพถ่ายออนไลน์จาก "เบ๊อะบละตู" ชุมชนที่กำลังเผชิญปัญหาการจะถูกประกาศเป็นเขตอุทยาน และการห้ามเผานอกฤดูกาลที่ ทำให้ต้องเปลี่ยนจากการเกษตรแบบไร่หมุนเวียนที่ควบคู่ไปกับวิถีของการอนุรักษ์ป่า ไปเป็นไร่เชิงเดี่ยวที่ต้องใช้สารเคมีมากขึ้น

 

30 มี.ค. 2566 พื้นที่สื่อสิทธิพื้นที่ส่งเสียง (The Rights to Space, Rights to Speak -R2S) จัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายออนไลน์ชุด "ชุมชนบ้านเบ๊อะบละตู" ที่กำลังเผชิญปัญหาการจะถูกประกาศเป็นเขตอุทยาน และการห้ามเผานอกฤดูกาลที่ ทำให้ต้องเปลี่ยนจากการเกษตรแบบไร่หมุนเวียนที่ควบคู่ไปกับวิถีของการอนุรักษ์ป่า ไปเป็นไร่เชิงเดี่ยวที่ต้องใช้สารเคมีมากขึ้น

อาจเอื้อม

ภาพ พินธร จารินรัตน์

สายน้ำแห่งชีวิต

ภาพ สุวิทย์ อุดมรักพันธ์พง

ชุมชนบ้านเบ๊อะบละตูเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงปกาเกอะญอ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดตาก โดยคนบ้านเบ๊อะบละตูกำลังเผชิญปัญหากับการจะถูกประกาศเป็นเขตอุทยาน และผลกระทบจากนโยบายการจัดการป่าของรัฐ เช่น การที่ห้ามเผานอกฤดูกาลที่กำหนด ที่กระทบวิถีชีวิตและการทำเกษตรกรรมของชาวบ้านที่นี่ ที่ส่วนใหญ่ยังคงทำการเกษตรบนฐานวัฒนธรรมแบบไร่หมุนเวียนที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่ควบคู่ไปวิถีของการอนุรักษ์ป่า เป็นเกษตรบนพื้นที่สูงที่ต้องการการเผาเพื่อให้แร่ธาตุซึมลงสู่ดินและควบคุมวัชพืช และมีการจัดการให้ป่าสามารถฟื้นฟูได้ด้วยตัวเองตามวิถีในรูปแบบของชาวกะเหรี่ยง

แม้ว่าปัจจุบันเริ่มมีการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจอยู่ด้วยก็ตาม แต่ผู้คนยังคงต้องพึ่งพิงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติในสำหรับการดำรงชีวิต ทว่าเมื่อนโยบายของรัฐที่ไม่ได้คำนึงถึงวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่มีลักษณะเฉพาะ ผู้คนจึงถูกบังคับในทางตรงและทางอ้อมให้ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำการเกษตรแบบไร่หมุนเวียนเป็นไร่เชิงเดี่ยวมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบในหลายมิติ เช่น การสูญเสียหน้าดินและป่าอย่างถาวร ซึ่งส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนการปนเปื้อนของสารเคมีที่ทำลายสุขภาพด้วย ทั้งที่พวกเขาควรมีสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตของตนเอง มีความมั่นคงในอาหาร และชีวิต ตลอดจนกระทั่งมีสิทธิ์ในการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย

Trees of life

ภาพ รภัสพงษ์ ภูคัสมาส

Cross the Line

ภาพ รภัสพงษ์ ภูคัสมาส

Leader / Son

ภาพ รภัสพงษ์ ภูคัสมาส

R2S สำรวจความท้าทายที่สำคัญที่กลุ่มชาติพันธุ์กำลังเผชิญในวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งจากโครงการที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสภาพแวดล้อม กฎหมายและนโยบายที่มีผลกระทบระยะยาว และนำไปสู่การละเมิดสิทธิของชนพื้นเมือง วิกฤตสภาพภูมิอากาศและนโยบายที่เกี่ยวข้องส่งผลกระทบทางลบที่สำคัญ เช่น การทำเกษตรกรรม ความมั่นคงทางอาหารและที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศ ทรัพยากรน้ำและป่าไม้ ตลอดจนวีถีชีวิตของชุมชนชาติพันธุ์

จากวัฒนธรรมและภูมิปัญญาดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ พวกเขาจึงพึ่งพาตนเองและใช้ประโยชน์ตามสมควรโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามเนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่มาจากชนกลุ่มน้อย พวกเขาจึงไม่มีเสียงและเวทีเพียงพอที่จะสื่อสารความท้าทายที่พวกเขาต้องเผชิญต่อสาธารณะ

R2S ทำงานเพื่อปกป้องสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง และเปิดเวทีเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสนับสนุนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีความรับผิดชอบ

แนวทางในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อโลกของเรา เพื่อจัดการกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ เราจะต้องดำเนินการทันที เราสนับสนุนนโยบายที่เป็นธรรม ความยุติธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ และการไม่เลือกปฏิบัติ สำหรับโลกที่การตัดสินใจขับเคลื่อนด้วยความเสมอภาค หลักนิติธรรม และความตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีสติ และศักยภาพของพลังงานหมุนเวียนเพื่ออนาคตที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นของโลกและคนในรุ่นต่อไป

 

เส้นแบ่ง

ภาพ พินธร จารินรัตน์

ต้นน้ำ

ภาพ พินธร จารินรัตน์

ทางเลือก

ภาพ พินธร จารินรัตน์

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท