Skip to main content
sharethis

ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถีเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยกประสบการณ์สิงคโปร์แก้ปมเผาไร่ปาล์มน้ำมันที่ปลูกในอินโดฯ ชี้ภาคเอกชนประกาศไม่รับซื้อจากการเผาแล้ว รัฐบาลรออะไรอีก ย้ำแม้รักษาการยังมีอำนาจในการจัดการ พร้อมส่องนโยบาย 3 พรรคการเมืองเรื่องฝุ่น

จากสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ภาคเหนือของไทยยังความรุนแรงระดับม่วง แดง อย่างต่อเนื่อง สภาลมหายใจเชียงใหม่ออกมาประกาศเตือนและแนะนำให้งดการทำกิจกรรมนอกอาคาร ปิดประตูหน้าต่างบ้านให้มิดชิด เลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง และควรใส่หน้ากากอนามัยกันฝุ่นขนาดเล็กตามมาตรฐาน 

1 เม.ย.ที่ผ่านมา ประชาไทสัมภาษณ์ วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) ถึงประเด็นแถลงการณ์ของมูลนิธิชีววิถี (BioThai) และกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)  กรณีออกแถลงการณ์เรียกร้องให้กระทรวงพาณิชย์และผู้นำรัฐบาลยุติการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อแก้ปัญหาฝุ่นพิษข้ามพรมแดนโดยทันทีวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอุตสาหกรรมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศเพื่อนบ้านกับการเกิดฝุ่นควันข้ามพรมแดนรวมทั้งชวนมองวิสัยทัศน์พรรคการเมืองต่อการแก้ปัญหาฝุ่น

วิฑูรย์ กล่าวว่าจากสถานการณ์การเผาไหม้ทั้งพื้นที่เกษตรและพื้นที่ป่าหากเปรียบเทียบประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงทั้งสองพื้นที่ ในโดยรวมดีขึ้น ปัญหาหนักที่เกิดขึ้นคือประเทศในภูมิภาคหากดูจากตัวเลขเฉลี่ยทั้งปีที่เกิดขึ้น โดยในภาคเหนือจะเป็นฝุ่นข้ามพรมแดนรัฐฉานคือบริเวรที่เกิดฝุ่นเยอะที่สุด เพราะเป็นบริเวณพื้นที่การผลิตข้าวโพดที่มหญ่ที่สุดของพม่า ฝุ่น 50-60% จึงเกิดขึ้นที่รัฐฉานและส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทางภาคเหนือของไทยอย่างชัดเจนวิธีการแก้ปัญหาที่ตรงจุดที่สุดคือการจัดการกับฝุ่นพิษข้ามพรมแดนพร้อมกับการจัดการภายในของไทย

 

ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวถึง คำแถลงของ FTA Watch และ Bio Thai การที่จะสามารถลดฝุ่นพิษจากข้ามพรมแดน ต้องใช้มาตรการการบีบบังคับหรือกดดันให้บริษัทอาหารสัตว์ของไทยที่นำเข้าข้าวโพดจากพื้นที่ สามารถยกเว้นหรือยุติการนำเข้า รวมไปถึงการกำหนดโควตา หรือกำหนดภาษี ตามมาตรา 7 ที่ว่าหากการนำเข้าหรือความตกลงมีผลกระทบต่อสุขภาพของคน สัตว์ หรือพืช สามารถยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามในความตกลงได้

และอีกหนึ่งจุดที่ควรโฟกัสคือ การนำเข้าข้าวโพดมายังประเทศไทยต้องผ่านมติของคณะรัฐมนตรีจากข้อเสนอของกระทรวงพาณิชย์ ผู้ที่ต้องรับผิดชอบหลักในการจัดการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ประยุทธ์ จันทร์โอชา และจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพานิชย์ และเพื่อให้การยุติการนำเข้าข้าวโพดจากพื้นที่เผาสามารถดำเนินการไปได้ต้องมีหน่วยงานอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง

ยกประสบการณ์สิงคโปร์ แก้ปมเผาไร่ปาล์มน้ำมันที่ปลูกในอินโดฯ

ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี เล่าถึง ประสบการณ์ของประเทศสิงคโปร์ว่า ใช้มาตรการอาเซียนในการหาทางแก้ปัญหาฝุ่นพิษที่เกิดขึ้นในสิงคโปร์ที่เกิดจากการเผาไร่ปาล์มน้ำมันที่ปลูกในประเทศอินโดนีเชียเป็นหลัก แต่ท้ายที่สุดตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ร่วมกันแก้ปัญหาโดยมีแผนปฏิบัตรการและรายละเอียดชัดเจนแต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้

สิ่งที่รัฐบาลสิงคโปร์ทำและตรงเป้าหมายที่สุด ใน 2 เรื่องกับผู้ที่รับผิดชอบและมีบทบาทโดยตรง คือการผลิตและการส่งเสริมการผลิต ซึ่งทำให้เกิดฝุ่นพิษในอินโดนีเซียและผู้ค้าสินค้าปาล์มน้ำมันจะต้องรับผิดชอบ

เป็นกรณีที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับประเทศไทย ข้าวโพดทั้งหมดที่ปลูกในพม่า ณ ปัจจุบัน 70% ส่งออกมาที่ประเทศไทย และปริมาณการนำเข้าข้าวโพดทั้งหมดในประเทศไทย จากปี 2564 และ 2565 ที่ผ่านมา 90% มาจากพม่า บริษัทที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตและการค้าใช้วัตถุดิบจากข้าวโพด คือบริษัทอาหารยักษ์ใหญ่ของไทย ที่เป็นเจ้าของตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในพม่า รวมไปถึงในเวียดนามและกัมพูชา แต่ในพม่าจะมีพื้นที่ปลูกใหญ่ที่สุดเกือบ 4 ล้านไร่

คนที่ส่งเสริมการผลิตในระบบเกษตรในหลายประเทศคือบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทย จากรายงานของรัฐบาลสหรัฐที่เรียกว่า Grain Reports : USDA ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าสิ่งที่บริษัทไทยได้เปรียบหลายบริษัทที่มีธุรกิจเมล็ดพันธุ์เช่นเดียวกันคือการมีระบบเกษตรพันธะสัญญา แถมการรับประกันการซื้อและข้าวโพดที่เหลือ 30% ในพม่าได้ส่งมายังบริษัทอาหารสัตว์ของไทยซึ่งไปลงทุนส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ในพม่า

ชี้ภาคเอกชนประกาศไม่รับซื้อจากการเผาแล้ว รัฐบาลรออะไรอีก 

วิฑูรย์กล่าวว่า ในช่วงการเกิดฝุ่นพิษในไทยบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ ประกาศและประชาสัมพันธ์ว่าทางบริษัทจะรับซื้อข้าวโพดที่ไม่ผ่านการเผาเท่านั้น ฉะนั้นรัฐบาลหรือนายกรัฐมนตรีต้องตระหนักแล้วว่าบริษัทพร้อมที่จะรับมาตรการจะไม่นำเข้าข้าวโพดที่มาจากการเผา และสิ่งที่สามารถทำได้ง่ายกว่าการประกาศยุติการนำเข้าคือการประกาศเงื่อนไขการนำเข้า เพื่อแสดงที่มาว่ามาจากการผลิตที่ไม่ได้มาจากการเผา ผนวกกับมาตรฐาน GAP : Good Agricultural Practices ต้องเป็นหนึ่งเงื่อนไขที่อยู่ใน GAP

บริษัทสามารถที่จะออกเงื่อนไขได้ เปรียบเสมือนการสร้างกลไกหนึ่งที่สร้างการยอมรับระหว่างประเทศสิ่งที่สิงคโปร์ดำเนินการในเรื่อวของปาล์มน้ำมัน มีกระบวนการที่ไปพร้อมกับการสร้างมาตรฐาน ทั้งภาคการผลิตและภาคการค้า ในธุรกิจปาล์มน้ำมันจะเรียกว่า มาตรฐาน RSPO : Roundtable on Sustainable Palm Oil เป็นความร่วมมือของหลายบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ผลิตปาล์มและบริษัทที่ใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์จากปาล์ม ทุกบริษัทต้องมี Sustainability report ไม่ใช่แค่การขยายพื้นที่การผลิตแล้วทำให้เกิดปัญหาฝุ่นพิษการประกาศดั่งกล่าวนั้นเป็นเรื่องดีและรัฐบาลควรดำเนินการเพราะบริษัทเหล่านี้จะไม่มีการมาคัดค้านว่าไม่สามารถปฏิบัติตามได้ เนื่องจากบริษัทได้ออกมาประกาศเอง

ย้ำรัฐบาลรักษาการยังมีอำนาจจัดการ

ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี เล่าให้ฟังว่า ปัญหาคือการขยายพื้นที่การปลูกข้าวโพดและอ้อย เหตุผลที่สองพื้นที่ใหญ่ขยายตัวขึ้นเกิดจากยุทธศาสตร์พืชเศรษฐกิจ 4 ชนิดของคสช.ที่จัดตั้งกรรมการขึ้นเมื่อได้เข้าสู่อำนาจ กรรมการชุดดังกล่าวคือกรรมการของบริษัทอุตสาหกรรม ข้าวโพด อาหารสัตว์ น้ำตาล และพืชเศรษฐกิจ สิ่งที่รัฐบาลดำเนินการในช่วงที่ผ่านมาการออกแบบคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 12 คณะ 75% มาจากภาคเอกชนรายใหญ่ และผู้ผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่ก็อยู่ในกรรมการทั้ง 12 ชุด พื้นที่ที่ขยายขึ้นมาเกิดขึ้นในรัฐบาลนี้ที่ทำให้ปัญหาขยายมากขึ้นและการแก้ปัญหาที่ตัวปัญหาจริงๆ จึงไม่เกิดขึ้น

“รัฐบาลยังมีอำนาจเต็มในการบริหารประเทศ ยกเว้นเรื่องที่เกี่ยวของกับการได้เสียในเรื่องของการเลือกตั้งเพราะฉะนั้นรัฐบาลสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาได้โดยไม่ได้รับข้อสงสัย หากรัฐบาลต้องการแก้ปัญหาจริงๆ เรื่องนี้ไม่เป็นปัญหาในการบริหารในเชิงราชการและความชอบธรรมในทางการเมือง  แต่ในขณะนี้ประชาชน สื่อมวลชน และพรรคฝ่ายค้าน ได้ร่วมกันเรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพานิชย์ และ 3 กระทรวงหลักที่เกี่ยวข้องโดยตรงคือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์” วิฑูรย์กล่าว

ส่องวิสัยทัศน์พรรคการเมืองเรื่องฝุ่นพิษ

3 พรรคการเมืองที่มีนโยบายเกี่ยวกับฝุ่นพิษ พรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ นั้น วิฑูรย์ กล่าวว่าพรรคที่แก้ปัญหาในเรื่องฝั่นพิษได้ไม่มากคือ ประชาธิปัตย์ พุ่งเป้าการแก้ปัญหาฝุ่นพิษที่เกิดขึ้นจากภาคขนส่ง การแก้ปัญหาระยะยาวโดยการออก พ.ร.บ.อากาศสะอาด การเล็งผลในการแก้ปัญหาอาจจะต้องใช้เวลา หรือในบางทีที่ผ่านการเลือกตั้งไปแล้วก็ไม่ได้เห็นพรรคดำเนินการอย่างจริงจัง ในกรณีของการตั้งคำถามว่า 4-5 ปี ที่ผ่านมาทางพรรคอาจจะมีความใกล้ชิดกับบริษัทยักษ์ใหญ่จนไม่สามารถเสนอนโยบายนี้ออกไปได้ แต่ถึงอย่างไรก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับทางพรรคที่ว่านโยบายเหล่านี้ทีการประกาศก่อนจะมีฝุ่นพิษทางภาคเหนือหรือไม่ อย่างไร

พรรคเพื่อไทยได้มีการนำเสนอมาก่อนหน้าและได้มีคำแถลงสมทบจาก ปลอดประสพ สุรัสวดี หัวหน้าพนักงานการจัดการทรัพยากรธรรมสิ่งแวดล้อม เรื่องฝุ่นพิษโดยเฉพาะ เห็นถึงความจริงจังมากขึ้น แต่หากดูในตัวนโยบายยังมีน้ำเสียงชองการเรียกร้องในการเจรจาและเรียกร้องต่อผู้นำรัฐบาลให้มาดำเนินการในเรื่องนี้ในการเจรจากับเพื่อนบ้าน ไม่ได้มีควาชัดเจนในการดึงอุตสาหกรรมออกมารับผิดชอบโดยตรงยังไม่แตะข้อมูลทางโครงสร้างที่เกิดขึ้นจากภายในโดยตรง

ขณะที่พรรคก้าวไกลมุ่งไปสู่กลไกในการสนับสนุนส่งเสริมเปลี่ยนการเผาให้เป็นโอกาส โดยมีเงินสนับสนุนตำบลละ 3 ล้านบาท เพื่อกำจัดการเผาแล้วนำเงินมาใช้ในการเปลี่ยนชีวภาพเป็นรายได้ จากคำแถลงของพิธา หัวหน้าพรรคพร้อมกับปลอดประสพ เรียกร้องให้บริษัทเอกชนต้องแสดงความรับผิดชอบ เสนอให้มีการออกกฎหมายให้ผู้ก่อมลพิษจัดการ ยุติการนำเข้า การให้อุตสาหกรรมออกมารับผิดชอบทั้งทางแพ่งและทางอาญา เป็นข้อเสนอทางนโยบายที่ตรงไปสู้เป้าการแก้ปัญหามากที่สุด 

หมายเหตุ : ปิยราชรัตน์ พรรณขาม ผู้เขียนรายงานนี้ ปัจจุบันเป็นนักศึกษาฝึกงานประจำกองบรรณาธิการข่าวประชาไท จาก คณะศิลปศาสตร์ สาขานิเทศศาสตร์ วิชาเอกวารสารศาสตร์ ชั้นปีที่ 3  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net